ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    FAQSของRoyalismที่สมาชิกชนชั้นเดียวกันต้องตอบให้ได้

    ลำดับตอนที่ #4 : ระบอบประชาธิปไตยกับสภาพสังคมไทยไปสู่การยกเลิกมาตรา112

    • อัปเดตล่าสุด 28 พ.ค. 53


     “ผมไม่ได้เพ้อเจ้อหรอกครับ ผมพูดด้วยความจริงล้วนๆ ว่าระบบความคิดและการศึกษาของคนไทยในปัจจุบัน รวมถึงสถานภาพทางสังคมนั้นยังไม่เหมาะที่จะยกเลิก ม.112 ประชาชนที่ถูกจ้างได้ด้วยเงิน ก็ไม่ใช่เรื่องพูดเล่นๆ ม็อบการเมืองที่ผ่านมาหลายกลุ่ม(อย่าต้องให้เอ่ยถึงเลย)ถูกพิสูจน์ว่าไม่ได้ มาด้วยใจ แต่มาด้วยเงิน ผลสุดท้ายแตกกันเองอีก เพราะผลประโยชน์การเงินไม่ลงตัว

    ส่วนบางกลุ่มถึงแม้จะไม่ได้ถูกจ้าง ด้วยเงิน แต่เพราะมีการศึกษาที่น้อย จึงทำให้ไม่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้เขาถูกหลอก ถูกชักจูงได้ง่าย อ่านใบปลิวโจมตีใส่ร้ายใคร ถ้าเขียนสำนวนดีๆ เขาก็เชื่อแล้วครับ ถ้าคนเขียนมีจิตวิทยาสูงประกอบกับคนอ่าน ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง”



    ผมเข้าใจครับว่า คุณพยายามสะท้อนสิ่งที่คุณเห็น(และผมก็เห็นมัน) แต่สิ่งที่เห็น(มันเหมือนกัน) แต่สังเคราะห์ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน คุณมองว่า พวกเขาโง่ วิเคราะห์ไม่เป็น จึงเลือกคนที่คุณไม่ชอบ(ที่คุณเห็นข้อเสียของเขาเข้ามาในสภา) แต่ผม(ซึ่งพอจะมีการศึกษาบ้าง)กลับเห็นว่า มันเป็นความหลากหลายทางความคิด ปชต.ไม่ใช่เรื่องของความ "ดีล้ำเลิศที่สุด" แต่มันเป็น "เบ้าหลอมของความหลากหลาย" ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มานั้นจะเป็นอะไร เมื่อผ่านกระบวนการแห่งการคัดสรรนั้น ก็ต้องยอมรับ จะเป็นตะกั่ว หรือเป็นทองคำ เมื่อเอามาหลอมรวมกัน ผลจะออกมาเป็นโลหะอะไร คุณก็ต้องยอมรับมัน การยอมรับความหลากหลาย(แห่งทรรศนะและความแตกต่างทั้งปวง)ของสังคม ก็คือสิ่งที่สำคัญที่จะรักษาปชต.

    ทุกวันนี้ มีความพยายาม "แบ่งแยก" ความหลากหลายต่าง ๆ แทนที่จะเป็นสังคมแห่งความกลมกลืนกัน (ใครคิดอะไรยังไง ก็ใคร่คิด) กลับเดียดฉันท์ "ถือตัว"ว่าตนเองเก่งฉลาด (อีโก้) มองคนอื่นที่มีสถานภาพต่ำกว่า(ทางศก.หรือสังคม) ว่า "ต่ำ" ผมไม่เข้าว่าว่า "ปชต.ของคนเหล่านี้" คือยังไงกันแน่? เพราะอย่างที่คุณพูด มันไม่ใช่ "เจตน์จำนงร่วมของปวงชน" แต่มันกลายเป็นเจตน์จำนงร่วมของ "กลุ่มชน"ในสังคมส่วนนึงเท่านั้น ที่ไป "พิพากษา"กลุ่มชนอีกส่วนว่า "โง่"

    จะจริงหรือไม่ "ปชต."ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยด้านการศึกษามาตัดสินครับ เพราะปชต.เกิดจาก ความหลากหลายทางสกุลรุนชาติ ให้คนเหล่านี้ มีสิทธิเท่าเทียมกัน

    ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของ "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"ครับ คือ ถ้าคุณเป็น "มนุษย์" คุณย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิ เว้นแต่สมัยที่ยังมีทาส อันนั้นเราก็ผ่านมาแล้ว ไม่ใช่จะยกเอาว่า แกมันโง่ ห้ามมีสิทธิเท่าฉันสิ ---อันนี้คุณ(หมายถึงคนที่คิดแบบนี้)ต้องกลับไปศึกษาปชต.เสียใหม่แล้วครับ

    สิ่งที่จะสื่อสุดท้ายสำหรับประเด็นนี้คือ คุณมีความเห็นได้ แต่อย่าไปพิพากษาคนอื่น(คุณไม่ใช่ศาล) อย่าไปตราคนอื่นว่าเป็นตามความคิดของคุณครับ วาทกรรมสมัยนี้บิดเบี้ยวไปมาก มีคนพยายามสร้างวาทะเพื่อบั่นทอนอำนาจของราษฎร ผมเห็นแล้วรู้สึกระอาอยู่ทุกวัน(แต่มันหนีไม่ได้ ก็เลยต้องมาขยายความคิด เช่น ถกกับคุณอยู่นี่)


    “ถึงแม้จะแก้กฎหมายได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่รักสถาบันฯจะรักน้อยลงนะครับ แต่ในขณะที่พวกหมิ่น ก็จะยิ่งหมิ่นมากขึ้นอีก แล้วยิ่งในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าทรงได้รับความเทิดทูนสูงขนาดไหน คนรักสถาบันมาเจอกับพวกหมิ่นอะไรจะเกิดขึ้นครับ คุณphuttipong อยากให้คนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเองใช่มั้ย”


    คุณสังเกตมั้ยว่า การมีกฎหมายห้ามหมิ่น มันทำให้ "การหมิ่น" มันดัง

    แต่คุณลองเปิดเสรีสิ จะไม่มีใครมองว่า "การหมิ่น"เป็นของประหลาด และจะไม่มีใครสนใจประโคมข่าวกันนัก

    เรื่องทางสังคม(กษัตริย์ถูกเทิดทูน) ผมอธิบายคุณแล้วหลายครั้ง ผมจะไม่ย้ำอีกครับ

    ผม เข้าใจว่าคุณกำลังมองว่าคุณ "พูดเรื่องจริงอยู่" (ผมก็รู้ ฟดก.ก็รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง) แต่ผมบอกคุณว่า "จะเอาสิ่งที่วิปริตรมาตัดสินตัวหลักการไม่ได้" (หลักนี้ไม่ได้คิดขึ้นตามใจด้วย ดังที่เคยอธิบายไว้บ่อยแล้วในข้อเขียนครั้งก่อน ๆ ที่ส่งหาคุณ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×