ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    FAQSของRoyalismที่สมาชิกชนชั้นเดียวกันต้องตอบให้ได้

    ลำดับตอนที่ #2 : วัฒนธรรมไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

    • อัปเดตล่าสุด 28 พ.ค. 53


     “การจะเอาญี่ปุ่นหรืออังกฤษมาเปรียบเทียบกับไทย มันก็ไม่ถูกอีก บริบททางสังคมและวัฒนธรรมมันไม่เหมือนกันครับ สถาบันกษัตริย์ของอังกฤษและญี่ปุ่นนั้น ห่างเหินและไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประชาชน แต่ของไทยใกล้ชิดมาก อย่างที่ผมบอกแต่แรกว่า เป็นแบบพ่อปกครองลูก วัฒนธรรมไทยลูกให้ความเคารพต่อพ่อ พ่อให้ความเมตตาต่อลูกครับ กลับกันลูกในฐานะพสกนิกรแผ่นดิน จะไม่กล่าวร้าย และจะเทิดทูนเคารพพ่อของแผ่นดินอย่างสูงสุดครับ นี้คือประเพณีไทยที่คนไทยต่างยอมรับ”


    คุณจะยกเอาวัฒนธรรม มาใช้ได้เท่าที่มันไม่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งระบอบการปกครองหลัก ใครจะเคารพเทิดทูนอะไรเป็นเรื่องปัจเจกชนครับ ทุกวันนี้ ผมถามจริง ๆ ว่ามันเป็นสภาพของ "คนที่ถูกบังคับ"หรือไม่? เช่น คุณยอมรับมั้ยว่า "รัฐบาลถูกบังคับให้เดินตามพระราชดำรัส" รัฐบาลชุดใดเห็นแย้งกับ พระราชดำรัสจะถูกกล่าวหาว่า "ไม่จงรักภักดี คิดล้างราชบัลลังค์" ผมถามคุณจริง ๆ ว่า ระบอบประชาธิปไตย "การแสดงเจตนา" ต้องแสดงออกผ่าน "ผู้แทนปวงชน"ใช่หรือไม่? แต่ขณะที่ พระราชดำรัสมักเป็นเครื่องมือทำลายอีกฝ่ายเสมอ

    ทั้งที่กษัตริย์ไม่ พึงมีพระราชดำรัสใดโดยองค์เอง แม้แต่เศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องไม่มี เพราะกษัตริย์ไม่มีหน้าที่ผลิตผลงานแข่งกับฝ่ายบริหารหรือ ผู้แสดงเจตนาแทนปวงชน ตามระบอบปชต. เพราะกษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในโครงการหรือทฤษฎีของพระองค์

    เรื่องนี้ ผมเขียนไว้ในบทความ : บทวิจารณ์ข้อเขียนเกี่ยวกับกษัตริย์ของหยุด แสงอุทัย : ร่วมสรุปเป้าหมายของการอภิปรายกษัตริย์ในฟ้าเดียวกัน

    ถ้าคุณสนใจจริง ๆ เชิญเข้าไปอ่านได้ครับ ผมเขียนค่อนข้างละเอียด

    "คำแนะนำของพระมหากษัตริย์ เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลเองที่จะตัดสินใจดำเนินการ"

    คุณ ช่างพิลึกจริง ๆ ทีแรกคุณอ้างสภาพที่มันเกิดขึ้นจริงในสังคมโดยแย้งหลักการว่า "มันใช้กับไทยไม่ได้" แต่มาชั้นนี้ คุณกลับมาอ้างตัวระบบ และที่น่าประหลาดไปกว่านั้นก็คือ คุณยกเอาหลักการขึ้นมาโต้ผม !?

    คุณประสาทกลับรึเปล่า !

    ผมจะอธิบายสั้น ๆ ตามได้เกริ่นมาบ้างแล้ว เรื่องสภาพที่ปรากฏจริง ซึ่งมันทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาทางสังคม อันนำไปสู่การ "ขัดแย้งหลักการ อำนาจ และ ความรับผิดชอบ" กล่าวคือ เป็นผลจากอำนาจทางสังคมในการผลักดันหรือบีบบังคับให้กระทำตามคำแนะนำนั้น ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว

    “การพยายามเอากรอบคิดตามตำราฝรั่งมาใช้กับสังคมไทยโดยไม่ปรับปรุง ในทางกลับกันก็เหมือนเอาแกงเผ็ดแบบไทยๆ ไปใส่ปากฝรั่งจะกินได้ไหม?

    ถ้าจะกอดตำราฝรั่งอะไรในประเทศไทยก็ผิดหมดครับ ต้องเลิกไหว้ผู้ใหญ่ เลิกกราบพระสงฆ์ งานสงกรานต์หรือลอยกระทงก็ไม่ต้องจัด หรือแม้แต่ภาษาไทยก็คงใช้พูดคุยกันไม่ได้ต้องไปใช้ภาษาอังกฤษแทนครับ”


    "ประชาธิปไตย "ก็คือ ประชาธิปไตยครับ ไม่มีหรอกครับแบบไทยหรือแบบฝรั่ง วาทกรรมนี้(ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ )มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความเป็นประชาธิปไตย(วิธีการนี้มันสกปรก ครับ)

    "คุณตั้งสติ" แล้วค่อย ๆ คิดทบทวนนะครับว่า : ที่แล้ว ๆ มา (พิจารณาดังนี้นะครับ)

    1.ประชาธิปไตยของไทยไม่เคยเป็นแบบฝรั่งเลย แต่เป็นประชาธิปไตยตามภูมิปัญญาไทยมาแต่ไหนแต่ไร จริงหรือไม่?

    2.สภาพประชาธิปไตยที่ระหกระเหินที่ผ่านมา ก็เพราะภูมิปัญญาไทยในระบอบการเมืองของเราเอง ใช่หรือไม่?

    3.การ อ้างเอาความต่างเป็นเหตุผลเพื่อทำลายประชาธิปไตย หรืออ้างว่าการรัฐประหารเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ การเล่นแร่แปรธาตุทางปัญญาที่ดูถูกประชาชนอย่างแรง ดังกล่าวนี้ มันเป็น "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" จริงหรือไม่?


    “ผม ยกตัวอย่างง่ายๆ คุณ phuttipong ลองไปดูหมิ่นศาสนา ดูถูกศาสดา ศาสนาอื่นสิครับ ผมไม่แน่ใจว่ามีกฎหมายห้ามหมิ่นศาสนาหรือไม่ แต่ถึงแม้เจ้าหน้าที่รัฐจะไม่เอาผิด แต่ถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณจะถูกรุมประชาทัณฑ์ครับ”


    คุณต้องแยกแยะไงครับ ระหว่าง "ความเชื่อ" กับ "ระบบการปกครอง" ที่คุณอ้างศาสนามันชัดว่า ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อ(ตามนัยทางสังคมศาสตร์ (ไม่ใช่ตามหลักปรัชญา)) ขณะที่ผมบอกให้คุณเอาความเชื่อออกจากระบบ โดยให้เหลือเท่าที่ไม่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งตัวระบอบการปกครอง ด้วยเหตุนี้ คุณจึงยก case กฎหมายห้ามดูถูกเหยียดหยามศาสนา มิได้


    “กำลังหลงยุคหรือเปล่าครับถึงได้มองว่าระบอบประชาธิปไตยแบบสากลนิยมเป็นคำตอบสุดท้ายที่จะตัดสินคุณงามความดี

    ปัจจุบัน ระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปมากว่าจุดนั้นแล้ว สามารถยอมรับการปกครองที่แตกต่างว่าก็มีคุณงามความดีในแบบฉบับของตนที่ สามารถคบค้าอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันได้ แต่ละระบบแต่ละระบอบการปกครองมีข้อดีข้อเสียตามแต่สภาพของสังคมในแต่ละ พื้นที่ คุณยังเชื่อความเชื่อเดิมตามที่ฝ่ายประชาธิปไตยชวนเชื่อไว้หรือว่าระบอบ สังคมนิยมไม่สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความรุ่งเรื่องไม่สามารถตอบสนองความสุขขั้นพื้นฐานของประชาชนได้

    ความดีความเลวมันอยู่ที่ตัวคนผู้นำในระบอบประชาธิปไตยแบบสากลนำพาประเทศไปสู่ความหายนะก็มี ระบอบสังคมนิยมสามารถตอบสนองความสุขของประชาชนได้ก็มีให้เห็นเมื่อโลกมันเปิดกว้าง”



    การนำเสนอของคุณ คุณยกเอาสิ่งที่ไม่แน่นอน(นามธรรม เช่น ความดีชั่วทางศีลธรรม) มาใช้ตัดสินสังคมที่สลับซับซ้อนในยุคปัจจุบัน คือ คุณพยายามอ้าง simple natural reason เสมอ ๆ คุณหลงยุค หรือว่าผมหลงยุคกันแน่ ?!
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×