ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : หลักการเบื้องต้นของสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
“...ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ...”
คำนี้บกพร่องในสาระสำคัญครับ กล่าวคือ ต้องแยก "ระบอบการปกครอง" กับ "รูปแบบของรัฐ" ออกจากกัน
“ประชาธิปไตย” ก็คือประชาธิปไตย (ไม่ต้องมีสร้อยท้าย) เพราะ คำว่า “อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ได้สื่อโดยรูปแบบของรัฐ ที่เป็น "ราชอาณาจักร"อยู่แล้ว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ “ระบอบการปกครอง” และคำว่า “ภายใต้รัฐธรรมนูญ" มันสื่อโดย “ระบอบการปกครอง(ประชาธิปไตย)”อยู่ในตัว
ถาม ว่าบกพร่องอย่างไร? ท่อนความดังกล่าว อาจทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อนไปได้ว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงสิทธิบางประการอันสำคัญ ถึงขนาดถูกเขียนหรือพูดติดปากเป็นสร้อยท้ายของระบอบการปกครอง ซึ่งเป็นความสำคัญผิด และมีความคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง ดังจะขยายความต่อไป
“เรื่อง The King can do No Wrong พระมหากษัตริย์ทรงปกเกล้าฯ แต่ไม่ปกครอง พระบรมราชโองการทางการเมืองต้องมีผู้รับสนองฯแล้วผู้รับสนองคือผู้รับผิดชอบ ผมคิดว่าคุณน่าจะรู้ว่าพระบรมราชโองการทางการเมืองเกิดจากคำแนะนำของผู้อื่น เช่นคำแนะนำของรัฐสภา หรือ คำแนะนำของคณะรัฐมนตรี”
ใช่ ผมไม่เคยปฏิเสธ และผมยืนยันตลอดว่า “ต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ” แต่ที่ผมพูดถึง คือ พระราชดำรัส , โครงการพระราชดำริ หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เหล่านี้พระมหากษัตริย์ไม่สมควรกระทำ และไม่มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำหรือจะกระทำได้ด้วย (คุณต้องให้ความสำคัญเชิงระบบครับ ซึ่งจะอธิบายต่อไป)
“สังคมไทยเป็นสังคมที่มีระดับชั้นทางสังคม ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีบทบาทอย่างไรพระมหากษัตริย์ก็มีบทบาทเช่นนั้นแต่มีสถานะสูงกว่าความคิดที่ว่ากษัตริย์ต้องไม่ทำอะไรเลย ขัดกับบทบาทที่เป็นจริงของพระมหากษัตริย์ไทย ที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง”
คุณ ต้องตั้งสติแล้วค่อยคิดนะครับ คือ ระบบที่คุณว่ามันไม่ใช่เรื่อง "ชนชั้น" แต่เป็นเรื่อง "มารยาททางสังคม" ไม่เกี่ยวกับการ “ใช้อำนาจ” เอาล่ะจะเป็นอะไรมันไม่ใช่สาระสำคัญ
สิ่งที่ต้องสนใจคือ คุณจะเอาประเพณีมาใช้ได้ ต่อเมื่อมันไม่ขัดต่อระบอบการปกครอง ถ้าคุณยกกษัตริย์เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ก็คงได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “กษัตริย์ต้องไม่ลงมาจัดการงานใด ๆ” เพราะ ในฐานะผู้ใหญ่ต้องเป็นที่เคารพของราษฎร หากผู้ใหญ่เข้ามาจัดการโดยบงการเองแล้ว หากผิดพลาดอะไร “เด็กมันถอนหงอก” ให้ได้ ! ฉะนั้น สิ่งที่คุณจะสื่อในความเป็น “ผู้ใหญ่ของบ้านเมือง” จึงต้องมีอำนาจจัดการ บงการทุกสิ่ง มันบกพร่องและขัดแย้งกับตัวระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง เพราะ ผู้บงการอำนาจรัฐ(ตัวจริง) มิใช่ “ราษฎร” (สิ่งที่คุณเสนอมันเป็นประชาธิปไตยตรงไหน?)
“ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นอดีตประธานบริษัทที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว ยังสามารถพูดให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของบริษัทได้ หรือ อดีตนายกฯ อดีตประธานาธิบดี ยังสามารถพูดให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารอะไรเลย
ทำนองเดียวกันแปลกอะไรที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศจะมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับชาติบ้านเมือง ส่วนรัฐบาลจะนำไปปฏิบัติหรือไม่เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลเองที่จะตัดสินใจดำเนินการ”
คุณเปรียบกษัตริย์ ในรูปของอดีตผู้มีอำนาจในบริษัทไม่ได้ เพราะ “ผลของการกระทำ” และ "กลไกเชิงระบบ" มันต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ :
ก.ผลของการกระทำ : การแสดงความเห็นของกษัตริย์ ซึ่งโดยสภาพความเป็นประมุขแห่งรัฐ และความเชื่อตกค้างจากระบอบการปกครองเดิม(ในความเคยเป็นเสมือนเทวะ “กษัตริย์” จึงทรงความเชื่อทางสังคมในระดับหนึ่ง การให้ความเห็นไปในทางใดย่อมมีผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย [ในระบอบปชต. “ความคิดเห็น” เป็นเสรีภาพ เป็นอำนาจอิสระ] ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องแสร้งยอมรับ(โดยจำยอม) เพราะ หากแสดงความเห็นขัดหรือแย้ง ก็จะถูกหยิบประเด็นโดยฝ่ายตรงข้าม เอามาโจมตีทางการเมือง ด้วยข้อหา “ไม่จงรักภักดี/ไม่รักสถาบัน/ ไม่ศรัทธาในกษัตริย์” และจะพาลเสียงคะแนนนิยมทางสังคมด้วย อีกทั้ง จะวิจารณ์ก็ถูกกฎหมายห้าม(มาตรา112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังจะอธิบายต่อไป)
ข.กลไกเชิงระบบ : โดยตัวระบบตามระบอบการปกครองปชต. จัดให้มี “ประมุขแห่งรัฐ”ขึ้น ถ้าในประเทศที่ใช้รูปแบบแห่งรัฐ เป็นราชอาณาจักร ตัวประมุขแห่งรัฐ ก็คือ กษัตริย์ (ดำรงตำแหน่งตลอดชีพ และถ่ายทอดทางสายเลือด) ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางการทูต และตรากฎหมายที่ถูกเสนอมาให้ต้องตราเท่านั้น โดยไม่สิทธิจะทำอย่างอื่นอีก เพราะพระองค์ต้องไม่มีสิทธิทำอะไร เพราะพระองค์ “ถูกห้ามรับความผิด” (หมายถึง ทรงรับผิดใด ๆ ไม่ได้ ดังนั้น กษัตริย์จึงต้องไม่ทำอะไร ตามหลัก the king can do no wrong) เว้นแต่ การทรงสิทธิ 3 ประการ ซึ่งต้องทำต่อเมื่อมีผู้รับสนอง เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป ที่ว่า “To state the matter shortly, the Sovereign has, under a constitutional monarchy such as ours, three rights the right to be consulted, the right to encourage, the right to warn. And a king of great sense and sagacity would want no others. He would find that his having no others would enable him to use these with singular effect.”
อ้างอิง : Walter Bagehot (Author), Paul Smith (Editor), The English Constitution , London: Cambridge, 2001, p. 60.
คุณจะเห็นได้ว่า องค์กรกษัตริย์ กับ องค์กรเอกชน เช่น บริษัท ในตัว "ผู้นำ"ขององค์กร มีความแตกต่างกันอย่างยิ่งในสาระสำคัญทุกประการ มันแทบจะเอามาเทียบกันไม่ได้ด้วยซ้ำ ผมรู้สึกแปลก ๆ ที่คุณยกขึ้นมาอ้าง ผมเข้าใจว่า คุณพยายามสื่อความว่า "กษัตริย์เคยเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเดิม!" : ซึ่งมันมั่ว สับสน และผิดระบอบฯโดยชัดแจ้ง สำหรับการอ้างแบบนี้
“ความคิดที่ว่าบทบาทของสถาบันฯ ควรเป็นอย่างไร ก็เป็นแค่ความคิดของคนๆ หนึ่ง เหมือนคุณเหมือนผม จะไปยึดว่ากษัตริย์ไทยต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้เหมือนประเทศนั้นประเทศนี้โดย อ้างอิงตำราอะไรก็ตาม สุดท้ายก็ต้องยอมรับความจริงว่าพระมหากษัตริย์ไทยไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศ อื่นๆ (ที่จริงก็ไม่มีที่ไหนเหมือนกันสักประเทศ)”
ไม่จริงเลยครับ มันเป็นเรื่องของ logic และหลักการที่ยอมรับร่วมกันสำหรับประเทศซึ่งให้มีกษัตริย์เป็นประมุข
เช่น เรื่องหลัก The king can do no wrong. กษัตริย์ทรงทำผิดไม่ได้ “เพราะกษัตริย์ต้องไม่ทรงทำอะไรโดยพระองค์เอง” แต่ไม่กี่ปีมานี้ กษัตริย์ภูมิพล กลับมีพระราชดำรัสว่า พระองค์ทรงทำผิดได้! ฟังดู “เหมือนดี”
มีคำถามว่า : ถ้าทรงทำผิดได้ แปลว่า ทรงทำอะไรโดยไม่ต้องมีผู้รับสนองฯ และ โดยไม่ต้องรับผิดชอบ ใด ๆ ก็ได้กระนั้นหรือ ! บทสรุปคือ คำกล่าวเชิงประชดที่ว่า “กษัตริย์” เป็นเทวดา คำนี้มันผิดตรงไหน? ถ้าอาศัยหลักการ(อะไรไม่ทราบ)ที่คุณว่ามา)
เรื่อง บทบาทของพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เรื่องที่เคลื่อนไหวตามใจ/อารมณ์แต่ละคน "การกระทำของกษัตริย์"ที่ผมหรือ อาจารย์สมศักดิ์ รวมถึงหลายท่านในฟ้าเดียวกันนำเสนอ ล้วนมาจากการอธิบายตามหลักคิดที่ทั่วโลกยอมรับ คุณจะมาบอกว่า “ตำราอะไรก็ช่าง” หรือ “ประเทศอื่นจะยังไงก็ช่าง” แล้วคุณมาด่วนสรุปเอาเองว่า “กษัตริย์ไทยไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศอื่น ๆ” อย่างนี้มันเคลื่อนไหวตามจิตใจ มันไร้ความแน่นอน คุณจะเอาความไม่แน่นอน มาใช้เป็นบรรทัดฐานตัดสินระบบไม่ได้ !
คุณเอาสภาพที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน(ซึ่งวิปริตไปจากหลักการที่โลกยอมรับ รวมถึงเป็นไปตามหลักตรรกะด้านอำนาจรัฐในระบอบการปกครอง พูดง่าย ๆ ว่า คุณปฏิเสธหลักการและเหตุผลทั้งปวง โดยยึดสภาพที่วิปริตรในสังคมไทย ไป "ตัดสิน" หลักการได้อย่างไร? พูดสั้น ๆ คือ "คุณกำลังเอาสภาพที่วิปริตร ไปวินิจฉัยหลักการ" มันตลกครับ!
คุณต้องเอาหลักการเป็นตัวตั้ง แล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผิดจากหลักการอย่างไรบ้าง? แล้วปรับให้มันถูกเป็นระเบียบ มิใช่ “เอาสภาพที่วิปริต ไปวินิจฉัยหลักการ” วิธีการนี้มันพื้นมาก ๆ แต่คุณยกมาพูดกลับตาลปัตรทั้งหมด
“ถ้ารูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศต้องเหมือนกัน คงไม่เกิดความจริงเชิงประจักษ์ว่าทุกประเทศในโลก มีระบอบการปกครองไม่เหมือนกันเลย”
เฮ้อ ! คือ ตัว "ระบอบการปกครอง" มีหลาย ๆ ประเทศมาก ๆ ที่ใช้ระบอบซ้ำกัน เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น สวิส ไทย ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ซึ่งใช้ระบอบประชาธิปไตยดุจกัน กล่าวคือ "หลักการทางการปกครอง"เดียวกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ "กระบวนการจัดการชั้นรายละเอียด" ซึ่งต้องไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญ หากประเทศนั้น ๆ ได้ใช้ระบอบการปกครองเดียวกัน ดังนั้น การจัดการใดที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญของกระบวนการ "ใช้อำนาจรัฐ" หรือ "อำนาจอธิปไตย" จะต้องมีสาระสำคัญที่ไม่บิดเบือนจากกัน !
“พระราชดำรัสที่พระองค์พูดขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นไปในแนวทางการให้กำลังใจต่อรัฐบาลทั้งนั้น ผมศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ก็ไม่เคยเลยครับ ที่จะพูดชี้นำการทำงาน หรือ วิพากษ์การทำงานของรัฐบาล ดังนั้นจึงถือว่ายังดำรงตนอยู่เหนือการเมือง เมื่อต้นปี 2549 คุณก็ได้เห็นมีการขอนายกฯพระราชทาน พระองค์ท่านยังปฏิเสธเลยครับ และกล่าวว่ามันไม่เป็นประชาธิปไตยนี้คือสิ่งพิสูจน์ว่าในหลวงทรงเคารพใน ระบอบประชาธิปไตย และ ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการเมืองอย่างเคร่งครัด”
การที่กษัตริย์ตรัสสิ่งใดออกมาโดยไม่มีผู้รับสนอง(คนร่างให้พูด) ถ้ากษัตริย์ตรัสอะไรผิดพลาด กษัตริย์จะรับผิดชอบหรือไม่ แน่นอนครับ กฎหมายไทยห้ามไว้ว่า ไม่ต้องรับผิด ผมถามว่า “แล้วกษัตริย์ถือสิทธิอะไรเชิงการปกครอง ในการออกมาตรัส(เอง)โดยไม่ต้องรับผิดชอบ"
และคุณแน่ใจหรือครับว่า : กษัตริย์ไม่เคยพูดชี้นำการทำงาน... โครงการพระราชดำริทุกโครงการ เป็นตัวอย่างของการชี้นำหรือไม่ครับ?
ถ้ารัฐบาลใด มีนโยบายขัดกับโครงการพระราชดำริ รัฐบาลชุดนั้นจะทำแย้งได้มั้ย คือ ถ้าทำ จะโดนโจมตีมั้ย กษัตริย์ต้องคำนึงและสำรวมพระองค์ครับ
แนวคิดนี้ได้มีการนำเสนอตั้งแต่สมัยกษัตริย์ภูมิพลครองราชย์แรก ๆ แล้ว แต่พระองค์ก็ทรง "เพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจ"
กลายเป็นว่า "อำนาจ ไม่ต้องมาคู่กับ ความรับผิดชอบ" ตลกสิ้นดี ประชาธิปไตยภาษาอะไรกัน!
“เรื่อง คุณถามว่าใครจะรับผิดชอบโครงการพระราชดำรินั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าโครงการพระราชดำริเกิดมาจากเจตนาที่ดีของในหลวงที่จะ ช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการในพระราชดำริถือเป็นการแนะนำแนวทางครับว่าควรจะปฏิบัติยังไง แน่นอนในหลวงก็ทรงเป็นมนุษย์สามารถ พูดอะไรออกมาผิดพลาดได้ หรือทำอะไรผิดพลาดได้”
เรื่องนี้ อธิบายโดยภาษากฎหมายที่ว่า "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" (ไม่ใช่ "เจตนาชี้กรรม")
เพราะ "เจตนา" คือสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของบุคคล คนภายนอกรับรู้เจตนาอันอยู่ในใจนั้นไม่ได้ แต่จะทราบได้จากการกระทำของบุคคลนั้นที่แสดงออกเป็นกิริยา อันจะบ่งชี้เจตนาของบุคคลผู้แสดงนั้น
ฉะนั้น โครงการ พรด. จะดีหรือไม่ ต้องพิจารณาที่ผลครับ ไม่ใช่วัตถุประสงค์ ! และเมื่อผลมันเป็นความเสียหาย...คุณยังไม่ตอบผมเลยว่า ใครจะเป็นผู้รับผิด ! (หรือว่า “เงียบ ทำไม่รู้ไม่ชี้”)
“ถ้าผิดพลาดนักวิชาการผู้รู้จะต้องเป็นผู้ทูลคำแนะนำเพิ่มเติม ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ส่วนรัฐบาลนั้นเป็นผู้รับสนองแนวทางพระราชดำริไปปฏิบัติ ขอให้คุณเข้าใจไว้ว่า แนวทางพระราชดำรินั้น ถือเป็น"คำแนะนำ" เมื่อไปอยู่ในมือของรัฐบาลที่จะต้องนำไปปฏิบัติแล้ว ก็ถือว่าในหลวงทรงหมดความรับผิดชอบ รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแทน รัฐบาลจะดำเนินงานในโครงการใดก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาอีก ทีว่าควร
จะดำเนินงานอย่างไรเพื่อให้ตรงกับแนวทางที่ทรงวางเอาไว้ และต้องให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร”
“นักวิชาการจะเป็นผู้ทูลแนะนำ” คุณจะบ้ารึไงครับ !
ตกลงแล้วใครเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน? ใครกันแน่ที่ต้องทำโดยคำแนะนำ! ใครกันแน่ที่ต้องทำโดยมีผู้เสนอให้กระทำ!
คุณตอบตัวเองนะ คำถามพวกนั้น !
หน้าที่ ของกษัตริย์ ต้องสำรวมไว้ในฐานะที่ตนต้องไม่กระทำอะไรผิด (เพราะต้องทรงไม่ทำอะไรเลยทั้งสิ้น(โดยองค์เอง)) ผมถามคุณดัง ๆ ว่า "ที่คุณกล่าวมา มันเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐภายใต้ระบอบปชต.รึไง ? "
คุณ พยายามทุกครั้งที่จะแสดงหรือใช้เหตุผล แต่คุณไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะอ้างโดยมีหลักการ หรือโต้แย้งอย่างมีตรรกะเลย คุณยึดจิตใจเป็นเกณฑ์ทุกครั้ง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนขับเคลื่อนตลอดเวลาตามอารมณ์มนุษย์ ---สิ่งที่ไม่แน่นอนนี้ มันจะใช้เป็นบรรทัดฐาน(ในเชิงวิเคราะห์)ไม่ได้ !(ผมย้ำมาเป็นครั้งที่ร้อยแล้ว)
“นี่คือคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
http://www.rdpb.go.th/rdpb/TH/BRANDSITE/theoffice_s01.aspx ระบุชัดเจนว่ามีหน้าที่รับผิดชอบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถ้าหากจะตรวจสอบหรือจะวิพากษ์วิจารณ์ก็ให้วิจารณ์การทำงานของ กปร. เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ผมเอาข้อมูลให้คุณดูตรงนี้ ก็หวังว่าคุณคงจะเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ"
ข้อมูลที่คุณอ้าง : คุณเข้าใจผิดแล้วจริง ๆ เอาอย่างนี้ ผมจะแจงคร่าว ๆ ใหม่ (จะขยายความ ในส่วนที่มันอาจไม่ชัดเจน)
ที่ ผมเคยอธิบายว่า "กษัตริย์จะทรงทำอะไรโดยพระองค์เองมิได้ ถ้าจะกระทำต้องผ่านผู้รับสนองฯ" คุณต้องเข้าใจด้วยครับว่า คำว่า "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" ไม่ใช่หมายถึง "ผู้ที่ลงมือทำงานแทนกษัตริย์"
"ผู้รับสนองฯ" หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการเสนอพระมหากษัตริย์ ให้กระทำการใด ๆ (เช่น นายกรัฐมนตรี รมต. หรือ ประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้ง) และเป็นผู้รับสนองต้องเป็นผู้ลงนามรับการนั้นไปกระทำ
"การที่ไปกระทำ"นั้น ไม่ใช่บัญชาของกษัตริย์ครับ แต่เป็น "การรับทราบ"ของกษัตริย์ คนที่ถืออำนาจ(แทนปวงชน)จริง ๆ คือ ผู้เสนอให้กระทำ(หมายถึง ผู้รับสนองฯ นั่นเอง)
คณะกรรมการชุดดังกล่าว เป็นเพียงผู้กระทำ(ลงมือปฏิบัติ)ตามคำสั่งของกษัตริย์เท่านั้นเอง การอธิบายถึงผู้รับสนองฯ(ของผม) มิได้หมายความว่า "กษัตริย์"ไม่สามารถลงมือไถนา เกี่ยวข้าว โดยพระองค์เองได้ หากแต่ผมหมายถึง พระองค์ทรงถืออำนาจโดยพระองค์เองมิได้ต่างหาก
ผมคิดว่าคุณคงกระจ่างขึ้นนะครับในส่วนนี้
“คุณ phuttipong สามารถอ้างอิงได้มั้ยครับว่า มีตอนไหนบ้างที่ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองโดยมีเนื้อหาแบบไม่เป็นกลางบ้าง”
ผมเข้าใจว่าสิ่งที่คุณจะสื่อ คือ "การกระทำที่ไม่ลงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยกษัตริย์?" และ "ตัวอย่างเนื้อหาของพระราชดำรัส"
"การกระทำที่ไม่ลงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยกษัตริย์?" ก่อนครับ (แล้วจะต่อด้วย พรด. ในภายหลัง เพื่อโยงเนื้อหาให้เป็นระบบขึ้น) ผมจะยกตัวอย่าง กรณีวันมหาวิปโยค
เหตุการณ์ พระราชทานนายกฯ(ทั้งที่กษัตริย์พยายามปฏิเสธการกระทำนี้) เป็นเหตุการณ์ที่ชัดแจ้งในการเข้าแทรกสอดระบบที่จะขับเคลื่อนชักพากลไกด้วย ตัวของระบอบประชาธิปไตยเองได้ แต่กษัตริย์ได้อาศัยขณะเวลาที่ประชาชน “กำลังมีชัยชนะในการขับเคลื่อนระบบ” เข้ายุติเหตุการณ์ “ผลที่ได้” “กับ “ผลที่สมควรจะได้” มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ :
ผลที่เราได้รับจากเหตุการณ์นองเลือดแต่ละครั้ง คือ ประชาชนขับเคลื่อนแต่ไม่ได้โค่นล้มเผด็จการได้ด้วยตัวของประชาชนเอง(เพราะมี อัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยทุกครั้ง ตอนละครใกล้จะจบ) ทั้งที่การฆ่าล้างประชาชนของรัฐบาลถนอม และ สุจินดา เป็นตัวแปรที่บังคับให้รัฐบาล “ต้องอยู่ไม่ได้” แต่เมื่อเหตุการณ์บ่มเพาะใกล้จะถึงจุดยุติ กระบวนการแทรกแซงกลไกก็ได้เกิดขึ้นกลางครัน ! (ผมทราบว่าคุณกำลังจะแย้งอะไร ผมจะอธิบายต่อไป)
“พระมหากรุณาธิคุณ” ที่เกิดขึ้นทำให้ “สิ่งที่เราสมควรจะได้จากเหตุการณ์” มันไม่ได้ คือ ความสำนึกของประชาชนที่ “โค่นล้ม” อำนาจเผด็จการโดยประชาชนเอง(เหมือนปฏิวัติฝรั่งเศส) สำนึกในความเป็น “เสรีประชาธิปไตย” เราหลุดลอยไป แต่สิ่งที่เราได้ก็คือ กษัตริย์เป็นผู้ขจัดโพยภัยจากเหตุการณ์ทั้งปวง และเป็นผู้ที่ฟื้นฟูประชาธิปไตย !?! ซึ่งพฤติการณ์ของกษัตริย์นี้ เป็นไปในทาง “หวังผลทางสังคม” เพื่อคานอำนาจต่อระบบผู้แทนโดยแท้ทีเดียว
ภายหลังจากเหตุการณ์ กษัตริย์ฟื้นฟูอำนาจขึ้นมาอีก โดยความสำคัญของกษัตริย์กลายเป็นผู้ค้ำยันประชาธิปไตยของชาติ (แทนที่จะเป็นหน้าที่ของปวงชน) อำนาจหน้าที่ที่กษัตริย์ไม่สำนึกให้อยู่ในกรอบ แต่พยายามแสดงตนเป็นรัฐาธิปัตย์ตลอดเวลา มันหมายความว่าอะไร? ไม่ใช่ “ความเคยชิน กับ ความพยายามขยายแดนอำนาจ” หรอกหรือ !
“ความเคยชิน” ในระบบเก่า คุณต้องทำความเข้าใจต่อมัน ว่า จะนำมาเป็นตัวแปร ทำให้ระบบหลักวิปริตรไปหาทำได้ไม่ และไม่ใช่สิ่งที่ชอบธรรม สิ่งที่กษัตริย์ต้องสำนึกต่อระบอบใหม่(ประชาธิปไตย) และ ราษฎรต้องสำนึกในอำนาจของตนด้วย
ราษฎรจะใช้เสรีภาพ(ในการคืนอำนาจของ กษัตริย์โดยทางอ้อม หรือทางตรง) เพื่อทำลายเสรีภาพของราษฎรเองไม่ได้ (จะใช้เสรีภาพเพื่อทำลายเสรีภาพ มิได้)
ถามว่าสิ่งที่ต้องทำคืออะไร ? เราควรมองกษัตริย์ให้พระองค์เป็นเพียง “มนุษย์” ที่ประกอบด้วย “ดี-ชั่ว” เดชาสิทธิ์ จะมีไม่ได้ แต่เอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันทางกฎหมาย ยังพึงสงวนไว้อยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ(หากเราจะยังนับถือ/ใช้ ระบบราชอาณาจักร) แต่สถานะของกษัตริย์ต้องถูกจำกัดให้กระทำในนามผู้รับสนองฯเท่านั้น อย่ามาบิดเบือนประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ” หรือ “ ความเคยชินของสังคม”
เรื่องนี้ ผมจะสะท้อนว่า กษัตริย์ต้องอยู่ "นอกเหนือ(ไม่ใช่อยู่เหนือ)การเมือง" ฉะนั้น พระองค์ไม่มีสิทธิที่จะให้คำแนะนำ หากไม่ "ถูกขอ" และคำแนะนำของพระองค์ "ต้องไม่ผูกมัด"การกระทำของรัฐบาล (ไม่ว่าจะเป็นการผูกมัดโดยกฎหมาย หรือ โดยสภาพก็ตาม) โดยที่จะต้องไม่มีการนำพระราชดำรัส ไปขยายความเพื่ออ้างเป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดของตน(เพราะการตรัสความเห็น ส่วนพระองค์ ต้องกระทำภายในหมู่ผู้เข้าเฝ้าเท่านั้น และหากจะตรัสอย่างแพร่หลายในสาธารณะต้องกระทำโดยผ่านผู้รับสนองฯเท่านั้น ; หมายถึง ต้องมีผู้ร่างให้พูด และผู้ร่างนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งปวงในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น)
quote นี้ของคุณอีกประเด็น คือ ให้ผมยกตัวอย่างพระราชดำรัสที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ?
คุณ ยังไม่เข้าใจอีกหรือว่า ผมไม่เพ่งโทษตัวบุคคล แต่ผมโทษตัวระบบ(ที่วิปริตรไป) ! เอาล่ะ ในแง่เสียหาย หรือไม่เป็นกลาง มันปรากฏชัด เช่น (ความจริงผมไม่จำเป็นต้องชี้เลย เพราะผมพูดถึงระบบที่ต้องเป็น/ ควรจะเป็น ไม่ใช่พูดถึงทำนองให้คุณมาพูดว่า "ไหนล่ะเสียหาย" ตลกเป็นเด็กขนานใหญ่เลยคุณ)
ตัวอย่าง : เรื่องนี้ขอทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ประเด็นชอบชังทางการเมือง กล่าวคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีพระราชดำรัสโกยคะแนนอยู่เป็นนิจในยามที่ศก.บ้านเมืองทรุด รัฐบาลรับหน้าเสื่อ ส่วนกษัตริย์เป็นพระเอก!?
ผมถามว่า กษัตริย์พึงตรัสออกมาโดยไม่มีใคร "ขอให้แสดงความเห็น"หรือไม่ ? และ ทรงรู้อยู่ว่า "ทรงมีอิทธิพลทางสังคมในระดับพอสมควร" ฉะนั้นการกล่าวออกโทรทัศน์แบบนี้ มันจะเป็นการกดดันฝ่ายบริหารให้พยายามดิ้นรนทำตามพรด.(ซึ่งจะดีหรือไม่ หรือเหมาะสมทางบริหารหรือไม่ มันต้องพูดอีกประเด็นหนึ่ง) ถามว่า มันเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนของกษัตริย์ภายใต้การปกครองที่ "กษัตริย์" can do no wrong หรือไม่!
case สั้น ๆ แบบนี้ น่าจะเห็นชัด(ถ้าคุณมั่นคงในหลักการเพียงพอ ไม่ใช่ "พอเพียง")!
“การพูดชี้นำการทำงานจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ครับ การชี้นำนโยบายการคลัง, การชี้นำให้พัฒนาพื้นที่นี้ก่อน, หรือการบอกให้ปรับเปลี่ยน ครม. ฯลฯ เหล่านี้จึงจะถือว่าเป็นการชี้นำการทำงาน แต่โครงการพระราชดำริ มันไม่ใช่ เป็นประเพณีปฏิบัติของรัฐบาลแล้ว ที่รัฐบาลจะต้องสนองโครงการพระราชดำริ รัฐบาลมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน พระมหากษัตริย์ตามราชประเพณีไทยก็มีหน้าที่เช่นเดียวกันครับ คือบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร กฎหมายก็มีอยู่ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ๒๕๒๔”
เอาทีละเรื่องนะครับ
1.การชี้แจงนโยบายการคลัง เช่น พยายามที่จะเสนอทฤษฎีของพระองค์อยู่ตลอด เรื่องศก.พอเพียง ผมถามว่า "ชี้นำมั้ย"
2.ออก โครงการไปที่นั่นที่นี่ อ้างว่ารบ.ยังไม่จัดการ จึงลงมือเอง ถามว่า "กดดัน"มั้ย? มีอำนาจอะไร(ตามกฎหมายและตามระบอบการปกครอง)ที่ไปทำแบบนั้น !
3.การ ปรับเปลี่ยนครม. ----เรื่องนี้ ทรงทำยิ่งกว่าการปรับเปลี่ยนครม.อีกครับ แต่ทรงปรับ ...(บลา ๆ ๆ)ได้ด้วยกระบวนการทางสังคม(อำนาจแฝง)เลยล่ะ (ตัวอย่าง ผมกล่าวไปแล้วในเรื่อง เสื้อเหลือง หรือ กรณีการแก้กฎหมายให้อำนาจกษัตริย์ทุกครั้งหลัง รปห. คุณหาอ่านได้ง่ายมาก ๆ ใน ฟดก. หากคุณสนใจ)
4.คุณอ้างอีกแล้วว่า กษัตริย์ทำงานตามประราชประเพณี ทั้ง ๆ ที่เพิ่งอ้างมองเตสกิเออ อยู่หยก ๆ ผมอธิบายไปเยอะแล้วในส่วนความเชื่อ กับ สาระสำคัญแห่งระบอบฯ(ผมจะไม่อธิบายซ้ำแล้ว)
5.คุณอ้างระเบียบฯได้ยังไง ครับ !!! คุณต้องอ้างหลักรธน.สิครับ เพราะมันเป็นเรื่องการใช้อำนาจรัฐ คุณจะอ้างระเบียบแบบนั้นไม่ได้!!! แม้แต่คุณอ้างพระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชบัญญติ ยังฟังไม่ได้เลย คุณต้องอ้างกฎหมายที่จัดสรรองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ วิธีการ และการถ่วงดุล ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญ
มันเรื่องการจัดระเบียบองค์กรการใช้อำนาจรัฐแท้ ๆ คุณกลับไปอ้าง "ระเบียบ" เลยเถิดไปใหญ่แล้ว!
“การชี้นำที่คุณหมายถึงต้องหมายถึงการชี้นำนโยบายการคลัง, การชี้นำให้พัฒนาพื้นที่นี้ก่อน, หรือการบอกให้ปรับเปลี่ยน ครม. ฯลฯ หรือมีพระราชดำรัสที่แสดงออกถึงการแบ่งฝ่ายทางการเมือง ในหลวงไม่เคยพูดแบบนี้มาก่อน โครงการในพระราชดำริถือเป็นกลาง เพราะทุกสี ทุกกลุ่มการเมือง ต่างได้รับผลประโยชน์เช่นเดียวกัน ในฐานะพสกนิกรของแผ่นดินครับ”
เรื่อง การชี้นำนโยบาย ผมตอบไปแล้ว ส่วนเรื่องการแบ่งฝ่าย คืออย่างงี้ครับ การกระทำทางกฎหมาย(อาญา) แบ่งเป็น การกระทำการ และ การงดเว้นการกระทำ กรณีวันที่4 ธ.ค.ที่ผ่านมา(ผมไม่อยากยกตัวอย่างย้อนไปไกล) ทรงงดเว้นการกระทำ(ปฏิเสธ) ดังที่กล่าวมาแล้ว
ส่วนการกระทำการโดยตรงไม่มีครับ แต่ผ่านบุคคลอื่น ซึ่งคุณคงทราบว่าเป็นใคร(คนที่นั่งข้าง ๆ xxx )
“ผมขอย้ำกับคุณว่าพระราชดำรัสของในหลวงที่จะพูดให้เกิดความแบ่งฝักแบ่งฝ่ายนั้น ไม่เคยมีครับ กลับกันกับคุณ ในหลวงทรงมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติมากกว่าที่จะเป็นการเพิ่ม ปัญหา พระราชดำรัสของในหลวงมีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางให้กำลังใจคณะรัฐมนตรี ให้กำลังใจในการทำงาน
การให้"กำลังใจ"กับ"การชี้นำ"นั้น คุณต้องแยกให้ออกให้ชัดเจนนะครับ ในหลวงไม่เคยพูดว่าต้องเข้าข้างสีนั้นสีนี้ ต้องให้สีนั้นไปตีกับสีนี้ ไม่เคยพูด ถ้าหากมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองก็จะทรงพูดโดยเป็นกลางที่สุด ไม่เข้าข้างใคร ถึงเป็นพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพูด จะทำอะไรตามใจชอบได้ มีจารีตประเพณีคอยควบคุมอยู่”
การแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน หรือสร้างความเสียหาย หรือใด ๆ ทรงไม่มีสิทธิที่จะทำทั้งนั้น(แต่ทรงละเลยเสมอมา) ในกรณีเสื้อเหลือง ถ้ากษัตริย์จะออกมาปฏิเสธ(โดยทนเจ็บคอ)ในวันที่4 ธ.ค.2550 ที่ผ่านมาว่า "พวกนี้มันแอบอ้างพระองค์" พระองค์ก็นิ่งครับ (ภาษากฎหมาย ถือว่า "การนิ่ง(เช่นกรณีแบบนี้) คือการยอมรับ") อย่างที่ผมบอกว่า "พระองค์ทรงมีสิทธิที่จะชี้แจง หรือแก้ต่าง" แต่ไม่มีสิทธิที่จะทำอย่างอื่น หากไม่ถูกขอ(โดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการนั้น ๆ )
สิ่งที่มันเป็น ปัญหา แต่ royalist มองว่ามันคือธรรมเนียม คือ ทรงสนับสนุนซื้อเรือดำน้ำ หรือตำหนิว่าอย่างโน้นอย่างนี้ มันถูกหรือว่าผิด ใช่หรือไม่ใช่พอเพียง หรืออะไรเทือกนั้น "พระองค์ไม่ทรงสิทธิครับ"ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
“มองเตสกิเออกล่าวว่ากษัตริย์ใช่ว่าจะทำอะไรได้ตามใจชอบ เพราะมีขุนนาง มีพระ มีจารีตประเพณีคอยควบคุมอยู่ ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ ตามประเพณีการเมืองการปกครองไทยตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงมีพระราชดำรัสที่จะเป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทางการเมืองครับ”
คุณกล้าอ้างหลักการแบบนี้ด้วยเหรอครับ! มันแปลก ๆ และขัด ๆ กับทรรศนะของคุณทั้งหมดเลยนะ คือ คุณพยายามอ้างว่า "กษัตริย์ไทย" ต่างจาก "กษัตริย์ชาติอื่น" เพราะทรงผูกพันกับคนไทย? จึงต้องถือระเบียบเดียวกับตะวันตกแบบนั้นไม่ได้!
คุณเอายังไงกันแน่ !
ทุกวันนี้ ประเทศไทยให้กษัตริย์อยากจะมีโครงการอะไรก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ถามว่า "ไม่มีทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย" และ "ไม่มีอำนาจตามระบอบการปกครอง" ถามว่าทรงทำในสถานะอะไร? อีกทั้ง ชัดเจนว่า ไม่ใช่เงินส่วนพระองค์แน่ที่ไปใช้จ่ายในโครงการเหล่านั้น แต่มันเป็นภาษีของราษฎร ----ผมถามคุณว่า กษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ตามการปกครองระบอบนี้ด้วยเหรอ?(หลักฐานเรื่องเงิน ภาษี คุณหาจากกระทู้เก่า ๆ ใน ฟดก.นะครับ หาไม่ยาก)
“คุณ Phuttipong ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่นะครับ นี้ขนาดในหลวงทรงทำงานเพื่อประชาชนคุณยังโจมตีเลยหาว่าท่านชี้นำทางการเมือง แต่ถ้าไม่ทำงานเดี๋ยวก็โจมตีว่าอยู่เฉย กินเงินภาษีเปล่าๆอีก”
ผมไม่เคยขอร้องให้ใคร(รวมทั้งคุณ) เปลี่ยนทัศนคติเลย เรื่องนี้เป็นเรื่องเหตุผลครับ ถ้าเห็นแย้ง คุณต้องเอาเหตุผลมาหักล้าง (ไม่ใช่เอาความรู้สึกมาโต้กัน)
ที่ผมบอกให้กษัตริย์อยู่เฉย ๆ และรับเงินเดือนตามปกตินั้น(แต่ไม่ต้องมหาศาลแบบทุก ๆ วันนี้) ก็เพราะ จะทรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของพระองค์อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ไม่ใช่ว่าพระองค์ไม่ทำอะไรเลยนะครับ แต่พระองค์ทำหน้าที่ ในการที่ต้องไม่ทำเกินสิทธิของพระองค์เท่านั้น (ทุกวันนี้กระทำเกินสิทธิผิดหน้าที่ครับ) ดังที่ตำราอธิบายรธน.(ฉบับคลาสสิค) อธิบายว่า "...And a king of great sense and sagacity would want no others. He would find that his having no others would enable him to use these with singular effect.”
คำนี้บกพร่องในสาระสำคัญครับ กล่าวคือ ต้องแยก "ระบอบการปกครอง" กับ "รูปแบบของรัฐ" ออกจากกัน
“ประชาธิปไตย” ก็คือประชาธิปไตย (ไม่ต้องมีสร้อยท้าย) เพราะ คำว่า “อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ได้สื่อโดยรูปแบบของรัฐ ที่เป็น "ราชอาณาจักร"อยู่แล้ว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ “ระบอบการปกครอง” และคำว่า “ภายใต้รัฐธรรมนูญ" มันสื่อโดย “ระบอบการปกครอง(ประชาธิปไตย)”อยู่ในตัว
ถาม ว่าบกพร่องอย่างไร? ท่อนความดังกล่าว อาจทำให้เข้าใจกันคลาดเคลื่อนไปได้ว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงสิทธิบางประการอันสำคัญ ถึงขนาดถูกเขียนหรือพูดติดปากเป็นสร้อยท้ายของระบอบการปกครอง ซึ่งเป็นความสำคัญผิด และมีความคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง ดังจะขยายความต่อไป
“เรื่อง The King can do No Wrong พระมหากษัตริย์ทรงปกเกล้าฯ แต่ไม่ปกครอง พระบรมราชโองการทางการเมืองต้องมีผู้รับสนองฯแล้วผู้รับสนองคือผู้รับผิดชอบ ผมคิดว่าคุณน่าจะรู้ว่าพระบรมราชโองการทางการเมืองเกิดจากคำแนะนำของผู้อื่น เช่นคำแนะนำของรัฐสภา หรือ คำแนะนำของคณะรัฐมนตรี”
ใช่ ผมไม่เคยปฏิเสธ และผมยืนยันตลอดว่า “ต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ” แต่ที่ผมพูดถึง คือ พระราชดำรัส , โครงการพระราชดำริ หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เหล่านี้พระมหากษัตริย์ไม่สมควรกระทำ และไม่มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำหรือจะกระทำได้ด้วย (คุณต้องให้ความสำคัญเชิงระบบครับ ซึ่งจะอธิบายต่อไป)
“สังคมไทยเป็นสังคมที่มีระดับชั้นทางสังคม ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีบทบาทอย่างไรพระมหากษัตริย์ก็มีบทบาทเช่นนั้นแต่มีสถานะสูงกว่าความคิดที่ว่ากษัตริย์ต้องไม่ทำอะไรเลย ขัดกับบทบาทที่เป็นจริงของพระมหากษัตริย์ไทย ที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง”
คุณ ต้องตั้งสติแล้วค่อยคิดนะครับ คือ ระบบที่คุณว่ามันไม่ใช่เรื่อง "ชนชั้น" แต่เป็นเรื่อง "มารยาททางสังคม" ไม่เกี่ยวกับการ “ใช้อำนาจ” เอาล่ะจะเป็นอะไรมันไม่ใช่สาระสำคัญ
สิ่งที่ต้องสนใจคือ คุณจะเอาประเพณีมาใช้ได้ ต่อเมื่อมันไม่ขัดต่อระบอบการปกครอง ถ้าคุณยกกษัตริย์เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ก็คงได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “กษัตริย์ต้องไม่ลงมาจัดการงานใด ๆ” เพราะ ในฐานะผู้ใหญ่ต้องเป็นที่เคารพของราษฎร หากผู้ใหญ่เข้ามาจัดการโดยบงการเองแล้ว หากผิดพลาดอะไร “เด็กมันถอนหงอก” ให้ได้ ! ฉะนั้น สิ่งที่คุณจะสื่อในความเป็น “ผู้ใหญ่ของบ้านเมือง” จึงต้องมีอำนาจจัดการ บงการทุกสิ่ง มันบกพร่องและขัดแย้งกับตัวระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง เพราะ ผู้บงการอำนาจรัฐ(ตัวจริง) มิใช่ “ราษฎร” (สิ่งที่คุณเสนอมันเป็นประชาธิปไตยตรงไหน?)
“ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นอดีตประธานบริษัทที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว ยังสามารถพูดให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของบริษัทได้ หรือ อดีตนายกฯ อดีตประธานาธิบดี ยังสามารถพูดให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารอะไรเลย
ทำนองเดียวกันแปลกอะไรที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศจะมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับชาติบ้านเมือง ส่วนรัฐบาลจะนำไปปฏิบัติหรือไม่เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลเองที่จะตัดสินใจดำเนินการ”
คุณเปรียบกษัตริย์ ในรูปของอดีตผู้มีอำนาจในบริษัทไม่ได้ เพราะ “ผลของการกระทำ” และ "กลไกเชิงระบบ" มันต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ :
ก.ผลของการกระทำ : การแสดงความเห็นของกษัตริย์ ซึ่งโดยสภาพความเป็นประมุขแห่งรัฐ และความเชื่อตกค้างจากระบอบการปกครองเดิม(ในความเคยเป็นเสมือนเทวะ “กษัตริย์” จึงทรงความเชื่อทางสังคมในระดับหนึ่ง การให้ความเห็นไปในทางใดย่อมมีผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย [ในระบอบปชต. “ความคิดเห็น” เป็นเสรีภาพ เป็นอำนาจอิสระ] ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องแสร้งยอมรับ(โดยจำยอม) เพราะ หากแสดงความเห็นขัดหรือแย้ง ก็จะถูกหยิบประเด็นโดยฝ่ายตรงข้าม เอามาโจมตีทางการเมือง ด้วยข้อหา “ไม่จงรักภักดี/ไม่รักสถาบัน/ ไม่ศรัทธาในกษัตริย์” และจะพาลเสียงคะแนนนิยมทางสังคมด้วย อีกทั้ง จะวิจารณ์ก็ถูกกฎหมายห้าม(มาตรา112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังจะอธิบายต่อไป)
ข.กลไกเชิงระบบ : โดยตัวระบบตามระบอบการปกครองปชต. จัดให้มี “ประมุขแห่งรัฐ”ขึ้น ถ้าในประเทศที่ใช้รูปแบบแห่งรัฐ เป็นราชอาณาจักร ตัวประมุขแห่งรัฐ ก็คือ กษัตริย์ (ดำรงตำแหน่งตลอดชีพ และถ่ายทอดทางสายเลือด) ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางการทูต และตรากฎหมายที่ถูกเสนอมาให้ต้องตราเท่านั้น โดยไม่สิทธิจะทำอย่างอื่นอีก เพราะพระองค์ต้องไม่มีสิทธิทำอะไร เพราะพระองค์ “ถูกห้ามรับความผิด” (หมายถึง ทรงรับผิดใด ๆ ไม่ได้ ดังนั้น กษัตริย์จึงต้องไม่ทำอะไร ตามหลัก the king can do no wrong) เว้นแต่ การทรงสิทธิ 3 ประการ ซึ่งต้องทำต่อเมื่อมีผู้รับสนอง เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป ที่ว่า “To state the matter shortly, the Sovereign has, under a constitutional monarchy such as ours, three rights the right to be consulted, the right to encourage, the right to warn. And a king of great sense and sagacity would want no others. He would find that his having no others would enable him to use these with singular effect.”
อ้างอิง : Walter Bagehot (Author), Paul Smith (Editor), The English Constitution , London: Cambridge, 2001, p. 60.
คุณจะเห็นได้ว่า องค์กรกษัตริย์ กับ องค์กรเอกชน เช่น บริษัท ในตัว "ผู้นำ"ขององค์กร มีความแตกต่างกันอย่างยิ่งในสาระสำคัญทุกประการ มันแทบจะเอามาเทียบกันไม่ได้ด้วยซ้ำ ผมรู้สึกแปลก ๆ ที่คุณยกขึ้นมาอ้าง ผมเข้าใจว่า คุณพยายามสื่อความว่า "กษัตริย์เคยเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเดิม!" : ซึ่งมันมั่ว สับสน และผิดระบอบฯโดยชัดแจ้ง สำหรับการอ้างแบบนี้
“ความคิดที่ว่าบทบาทของสถาบันฯ ควรเป็นอย่างไร ก็เป็นแค่ความคิดของคนๆ หนึ่ง เหมือนคุณเหมือนผม จะไปยึดว่ากษัตริย์ไทยต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้เหมือนประเทศนั้นประเทศนี้โดย อ้างอิงตำราอะไรก็ตาม สุดท้ายก็ต้องยอมรับความจริงว่าพระมหากษัตริย์ไทยไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศ อื่นๆ (ที่จริงก็ไม่มีที่ไหนเหมือนกันสักประเทศ)”
ไม่จริงเลยครับ มันเป็นเรื่องของ logic และหลักการที่ยอมรับร่วมกันสำหรับประเทศซึ่งให้มีกษัตริย์เป็นประมุข
เช่น เรื่องหลัก The king can do no wrong. กษัตริย์ทรงทำผิดไม่ได้ “เพราะกษัตริย์ต้องไม่ทรงทำอะไรโดยพระองค์เอง” แต่ไม่กี่ปีมานี้ กษัตริย์ภูมิพล กลับมีพระราชดำรัสว่า พระองค์ทรงทำผิดได้! ฟังดู “เหมือนดี”
มีคำถามว่า : ถ้าทรงทำผิดได้ แปลว่า ทรงทำอะไรโดยไม่ต้องมีผู้รับสนองฯ และ โดยไม่ต้องรับผิดชอบ ใด ๆ ก็ได้กระนั้นหรือ ! บทสรุปคือ คำกล่าวเชิงประชดที่ว่า “กษัตริย์” เป็นเทวดา คำนี้มันผิดตรงไหน? ถ้าอาศัยหลักการ(อะไรไม่ทราบ)ที่คุณว่ามา)
เรื่อง บทบาทของพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เรื่องที่เคลื่อนไหวตามใจ/อารมณ์แต่ละคน "การกระทำของกษัตริย์"ที่ผมหรือ อาจารย์สมศักดิ์ รวมถึงหลายท่านในฟ้าเดียวกันนำเสนอ ล้วนมาจากการอธิบายตามหลักคิดที่ทั่วโลกยอมรับ คุณจะมาบอกว่า “ตำราอะไรก็ช่าง” หรือ “ประเทศอื่นจะยังไงก็ช่าง” แล้วคุณมาด่วนสรุปเอาเองว่า “กษัตริย์ไทยไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศอื่น ๆ” อย่างนี้มันเคลื่อนไหวตามจิตใจ มันไร้ความแน่นอน คุณจะเอาความไม่แน่นอน มาใช้เป็นบรรทัดฐานตัดสินระบบไม่ได้ !
คุณเอาสภาพที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน(ซึ่งวิปริตไปจากหลักการที่โลกยอมรับ รวมถึงเป็นไปตามหลักตรรกะด้านอำนาจรัฐในระบอบการปกครอง พูดง่าย ๆ ว่า คุณปฏิเสธหลักการและเหตุผลทั้งปวง โดยยึดสภาพที่วิปริตรในสังคมไทย ไป "ตัดสิน" หลักการได้อย่างไร? พูดสั้น ๆ คือ "คุณกำลังเอาสภาพที่วิปริตร ไปวินิจฉัยหลักการ" มันตลกครับ!
คุณต้องเอาหลักการเป็นตัวตั้ง แล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผิดจากหลักการอย่างไรบ้าง? แล้วปรับให้มันถูกเป็นระเบียบ มิใช่ “เอาสภาพที่วิปริต ไปวินิจฉัยหลักการ” วิธีการนี้มันพื้นมาก ๆ แต่คุณยกมาพูดกลับตาลปัตรทั้งหมด
“ถ้ารูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศต้องเหมือนกัน คงไม่เกิดความจริงเชิงประจักษ์ว่าทุกประเทศในโลก มีระบอบการปกครองไม่เหมือนกันเลย”
เฮ้อ ! คือ ตัว "ระบอบการปกครอง" มีหลาย ๆ ประเทศมาก ๆ ที่ใช้ระบอบซ้ำกัน เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น สวิส ไทย ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ซึ่งใช้ระบอบประชาธิปไตยดุจกัน กล่าวคือ "หลักการทางการปกครอง"เดียวกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ "กระบวนการจัดการชั้นรายละเอียด" ซึ่งต้องไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญ หากประเทศนั้น ๆ ได้ใช้ระบอบการปกครองเดียวกัน ดังนั้น การจัดการใดที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญของกระบวนการ "ใช้อำนาจรัฐ" หรือ "อำนาจอธิปไตย" จะต้องมีสาระสำคัญที่ไม่บิดเบือนจากกัน !
“พระราชดำรัสที่พระองค์พูดขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นไปในแนวทางการให้กำลังใจต่อรัฐบาลทั้งนั้น ผมศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ก็ไม่เคยเลยครับ ที่จะพูดชี้นำการทำงาน หรือ วิพากษ์การทำงานของรัฐบาล ดังนั้นจึงถือว่ายังดำรงตนอยู่เหนือการเมือง เมื่อต้นปี 2549 คุณก็ได้เห็นมีการขอนายกฯพระราชทาน พระองค์ท่านยังปฏิเสธเลยครับ และกล่าวว่ามันไม่เป็นประชาธิปไตยนี้คือสิ่งพิสูจน์ว่าในหลวงทรงเคารพใน ระบอบประชาธิปไตย และ ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการเมืองอย่างเคร่งครัด”
การที่กษัตริย์ตรัสสิ่งใดออกมาโดยไม่มีผู้รับสนอง(คนร่างให้พูด) ถ้ากษัตริย์ตรัสอะไรผิดพลาด กษัตริย์จะรับผิดชอบหรือไม่ แน่นอนครับ กฎหมายไทยห้ามไว้ว่า ไม่ต้องรับผิด ผมถามว่า “แล้วกษัตริย์ถือสิทธิอะไรเชิงการปกครอง ในการออกมาตรัส(เอง)โดยไม่ต้องรับผิดชอบ"
และคุณแน่ใจหรือครับว่า : กษัตริย์ไม่เคยพูดชี้นำการทำงาน... โครงการพระราชดำริทุกโครงการ เป็นตัวอย่างของการชี้นำหรือไม่ครับ?
ถ้ารัฐบาลใด มีนโยบายขัดกับโครงการพระราชดำริ รัฐบาลชุดนั้นจะทำแย้งได้มั้ย คือ ถ้าทำ จะโดนโจมตีมั้ย กษัตริย์ต้องคำนึงและสำรวมพระองค์ครับ
แนวคิดนี้ได้มีการนำเสนอตั้งแต่สมัยกษัตริย์ภูมิพลครองราชย์แรก ๆ แล้ว แต่พระองค์ก็ทรง "เพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจ"
กลายเป็นว่า "อำนาจ ไม่ต้องมาคู่กับ ความรับผิดชอบ" ตลกสิ้นดี ประชาธิปไตยภาษาอะไรกัน!
“เรื่อง คุณถามว่าใครจะรับผิดชอบโครงการพระราชดำรินั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าโครงการพระราชดำริเกิดมาจากเจตนาที่ดีของในหลวงที่จะ ช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการในพระราชดำริถือเป็นการแนะนำแนวทางครับว่าควรจะปฏิบัติยังไง แน่นอนในหลวงก็ทรงเป็นมนุษย์สามารถ พูดอะไรออกมาผิดพลาดได้ หรือทำอะไรผิดพลาดได้”
เรื่องนี้ อธิบายโดยภาษากฎหมายที่ว่า "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" (ไม่ใช่ "เจตนาชี้กรรม")
เพราะ "เจตนา" คือสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของบุคคล คนภายนอกรับรู้เจตนาอันอยู่ในใจนั้นไม่ได้ แต่จะทราบได้จากการกระทำของบุคคลนั้นที่แสดงออกเป็นกิริยา อันจะบ่งชี้เจตนาของบุคคลผู้แสดงนั้น
ฉะนั้น โครงการ พรด. จะดีหรือไม่ ต้องพิจารณาที่ผลครับ ไม่ใช่วัตถุประสงค์ ! และเมื่อผลมันเป็นความเสียหาย...คุณยังไม่ตอบผมเลยว่า ใครจะเป็นผู้รับผิด ! (หรือว่า “เงียบ ทำไม่รู้ไม่ชี้”)
“ถ้าผิดพลาดนักวิชาการผู้รู้จะต้องเป็นผู้ทูลคำแนะนำเพิ่มเติม ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ส่วนรัฐบาลนั้นเป็นผู้รับสนองแนวทางพระราชดำริไปปฏิบัติ ขอให้คุณเข้าใจไว้ว่า แนวทางพระราชดำรินั้น ถือเป็น"คำแนะนำ" เมื่อไปอยู่ในมือของรัฐบาลที่จะต้องนำไปปฏิบัติแล้ว ก็ถือว่าในหลวงทรงหมดความรับผิดชอบ รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแทน รัฐบาลจะดำเนินงานในโครงการใดก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาอีก ทีว่าควร
จะดำเนินงานอย่างไรเพื่อให้ตรงกับแนวทางที่ทรงวางเอาไว้ และต้องให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร”
“นักวิชาการจะเป็นผู้ทูลแนะนำ” คุณจะบ้ารึไงครับ !
ตกลงแล้วใครเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน? ใครกันแน่ที่ต้องทำโดยคำแนะนำ! ใครกันแน่ที่ต้องทำโดยมีผู้เสนอให้กระทำ!
คุณตอบตัวเองนะ คำถามพวกนั้น !
หน้าที่ ของกษัตริย์ ต้องสำรวมไว้ในฐานะที่ตนต้องไม่กระทำอะไรผิด (เพราะต้องทรงไม่ทำอะไรเลยทั้งสิ้น(โดยองค์เอง)) ผมถามคุณดัง ๆ ว่า "ที่คุณกล่าวมา มันเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐภายใต้ระบอบปชต.รึไง ? "
คุณ พยายามทุกครั้งที่จะแสดงหรือใช้เหตุผล แต่คุณไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะอ้างโดยมีหลักการ หรือโต้แย้งอย่างมีตรรกะเลย คุณยึดจิตใจเป็นเกณฑ์ทุกครั้ง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนขับเคลื่อนตลอดเวลาตามอารมณ์มนุษย์ ---สิ่งที่ไม่แน่นอนนี้ มันจะใช้เป็นบรรทัดฐาน(ในเชิงวิเคราะห์)ไม่ได้ !(ผมย้ำมาเป็นครั้งที่ร้อยแล้ว)
“นี่คือคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
http://www.rdpb.go.th/rdpb/TH/BRANDSITE/theoffice_s01.aspx ระบุชัดเจนว่ามีหน้าที่รับผิดชอบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถ้าหากจะตรวจสอบหรือจะวิพากษ์วิจารณ์ก็ให้วิจารณ์การทำงานของ กปร. เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ผมเอาข้อมูลให้คุณดูตรงนี้ ก็หวังว่าคุณคงจะเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ"
ข้อมูลที่คุณอ้าง : คุณเข้าใจผิดแล้วจริง ๆ เอาอย่างนี้ ผมจะแจงคร่าว ๆ ใหม่ (จะขยายความ ในส่วนที่มันอาจไม่ชัดเจน)
ที่ ผมเคยอธิบายว่า "กษัตริย์จะทรงทำอะไรโดยพระองค์เองมิได้ ถ้าจะกระทำต้องผ่านผู้รับสนองฯ" คุณต้องเข้าใจด้วยครับว่า คำว่า "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" ไม่ใช่หมายถึง "ผู้ที่ลงมือทำงานแทนกษัตริย์"
"ผู้รับสนองฯ" หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการเสนอพระมหากษัตริย์ ให้กระทำการใด ๆ (เช่น นายกรัฐมนตรี รมต. หรือ ประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้ง) และเป็นผู้รับสนองต้องเป็นผู้ลงนามรับการนั้นไปกระทำ
"การที่ไปกระทำ"นั้น ไม่ใช่บัญชาของกษัตริย์ครับ แต่เป็น "การรับทราบ"ของกษัตริย์ คนที่ถืออำนาจ(แทนปวงชน)จริง ๆ คือ ผู้เสนอให้กระทำ(หมายถึง ผู้รับสนองฯ นั่นเอง)
คณะกรรมการชุดดังกล่าว เป็นเพียงผู้กระทำ(ลงมือปฏิบัติ)ตามคำสั่งของกษัตริย์เท่านั้นเอง การอธิบายถึงผู้รับสนองฯ(ของผม) มิได้หมายความว่า "กษัตริย์"ไม่สามารถลงมือไถนา เกี่ยวข้าว โดยพระองค์เองได้ หากแต่ผมหมายถึง พระองค์ทรงถืออำนาจโดยพระองค์เองมิได้ต่างหาก
ผมคิดว่าคุณคงกระจ่างขึ้นนะครับในส่วนนี้
“คุณ phuttipong สามารถอ้างอิงได้มั้ยครับว่า มีตอนไหนบ้างที่ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองโดยมีเนื้อหาแบบไม่เป็นกลางบ้าง”
ผมเข้าใจว่าสิ่งที่คุณจะสื่อ คือ "การกระทำที่ไม่ลงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยกษัตริย์?" และ "ตัวอย่างเนื้อหาของพระราชดำรัส"
"การกระทำที่ไม่ลงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยกษัตริย์?" ก่อนครับ (แล้วจะต่อด้วย พรด. ในภายหลัง เพื่อโยงเนื้อหาให้เป็นระบบขึ้น) ผมจะยกตัวอย่าง กรณีวันมหาวิปโยค
เหตุการณ์ พระราชทานนายกฯ(ทั้งที่กษัตริย์พยายามปฏิเสธการกระทำนี้) เป็นเหตุการณ์ที่ชัดแจ้งในการเข้าแทรกสอดระบบที่จะขับเคลื่อนชักพากลไกด้วย ตัวของระบอบประชาธิปไตยเองได้ แต่กษัตริย์ได้อาศัยขณะเวลาที่ประชาชน “กำลังมีชัยชนะในการขับเคลื่อนระบบ” เข้ายุติเหตุการณ์ “ผลที่ได้” “กับ “ผลที่สมควรจะได้” มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ :
ผลที่เราได้รับจากเหตุการณ์นองเลือดแต่ละครั้ง คือ ประชาชนขับเคลื่อนแต่ไม่ได้โค่นล้มเผด็จการได้ด้วยตัวของประชาชนเอง(เพราะมี อัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยทุกครั้ง ตอนละครใกล้จะจบ) ทั้งที่การฆ่าล้างประชาชนของรัฐบาลถนอม และ สุจินดา เป็นตัวแปรที่บังคับให้รัฐบาล “ต้องอยู่ไม่ได้” แต่เมื่อเหตุการณ์บ่มเพาะใกล้จะถึงจุดยุติ กระบวนการแทรกแซงกลไกก็ได้เกิดขึ้นกลางครัน ! (ผมทราบว่าคุณกำลังจะแย้งอะไร ผมจะอธิบายต่อไป)
“พระมหากรุณาธิคุณ” ที่เกิดขึ้นทำให้ “สิ่งที่เราสมควรจะได้จากเหตุการณ์” มันไม่ได้ คือ ความสำนึกของประชาชนที่ “โค่นล้ม” อำนาจเผด็จการโดยประชาชนเอง(เหมือนปฏิวัติฝรั่งเศส) สำนึกในความเป็น “เสรีประชาธิปไตย” เราหลุดลอยไป แต่สิ่งที่เราได้ก็คือ กษัตริย์เป็นผู้ขจัดโพยภัยจากเหตุการณ์ทั้งปวง และเป็นผู้ที่ฟื้นฟูประชาธิปไตย !?! ซึ่งพฤติการณ์ของกษัตริย์นี้ เป็นไปในทาง “หวังผลทางสังคม” เพื่อคานอำนาจต่อระบบผู้แทนโดยแท้ทีเดียว
ภายหลังจากเหตุการณ์ กษัตริย์ฟื้นฟูอำนาจขึ้นมาอีก โดยความสำคัญของกษัตริย์กลายเป็นผู้ค้ำยันประชาธิปไตยของชาติ (แทนที่จะเป็นหน้าที่ของปวงชน) อำนาจหน้าที่ที่กษัตริย์ไม่สำนึกให้อยู่ในกรอบ แต่พยายามแสดงตนเป็นรัฐาธิปัตย์ตลอดเวลา มันหมายความว่าอะไร? ไม่ใช่ “ความเคยชิน กับ ความพยายามขยายแดนอำนาจ” หรอกหรือ !
“ความเคยชิน” ในระบบเก่า คุณต้องทำความเข้าใจต่อมัน ว่า จะนำมาเป็นตัวแปร ทำให้ระบบหลักวิปริตรไปหาทำได้ไม่ และไม่ใช่สิ่งที่ชอบธรรม สิ่งที่กษัตริย์ต้องสำนึกต่อระบอบใหม่(ประชาธิปไตย) และ ราษฎรต้องสำนึกในอำนาจของตนด้วย
ราษฎรจะใช้เสรีภาพ(ในการคืนอำนาจของ กษัตริย์โดยทางอ้อม หรือทางตรง) เพื่อทำลายเสรีภาพของราษฎรเองไม่ได้ (จะใช้เสรีภาพเพื่อทำลายเสรีภาพ มิได้)
ถามว่าสิ่งที่ต้องทำคืออะไร ? เราควรมองกษัตริย์ให้พระองค์เป็นเพียง “มนุษย์” ที่ประกอบด้วย “ดี-ชั่ว” เดชาสิทธิ์ จะมีไม่ได้ แต่เอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันทางกฎหมาย ยังพึงสงวนไว้อยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ(หากเราจะยังนับถือ/ใช้ ระบบราชอาณาจักร) แต่สถานะของกษัตริย์ต้องถูกจำกัดให้กระทำในนามผู้รับสนองฯเท่านั้น อย่ามาบิดเบือนประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ” หรือ “ ความเคยชินของสังคม”
เรื่องนี้ ผมจะสะท้อนว่า กษัตริย์ต้องอยู่ "นอกเหนือ(ไม่ใช่อยู่เหนือ)การเมือง" ฉะนั้น พระองค์ไม่มีสิทธิที่จะให้คำแนะนำ หากไม่ "ถูกขอ" และคำแนะนำของพระองค์ "ต้องไม่ผูกมัด"การกระทำของรัฐบาล (ไม่ว่าจะเป็นการผูกมัดโดยกฎหมาย หรือ โดยสภาพก็ตาม) โดยที่จะต้องไม่มีการนำพระราชดำรัส ไปขยายความเพื่ออ้างเป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดของตน(เพราะการตรัสความเห็น ส่วนพระองค์ ต้องกระทำภายในหมู่ผู้เข้าเฝ้าเท่านั้น และหากจะตรัสอย่างแพร่หลายในสาธารณะต้องกระทำโดยผ่านผู้รับสนองฯเท่านั้น ; หมายถึง ต้องมีผู้ร่างให้พูด และผู้ร่างนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งปวงในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น)
quote นี้ของคุณอีกประเด็น คือ ให้ผมยกตัวอย่างพระราชดำรัสที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ?
คุณ ยังไม่เข้าใจอีกหรือว่า ผมไม่เพ่งโทษตัวบุคคล แต่ผมโทษตัวระบบ(ที่วิปริตรไป) ! เอาล่ะ ในแง่เสียหาย หรือไม่เป็นกลาง มันปรากฏชัด เช่น (ความจริงผมไม่จำเป็นต้องชี้เลย เพราะผมพูดถึงระบบที่ต้องเป็น/ ควรจะเป็น ไม่ใช่พูดถึงทำนองให้คุณมาพูดว่า "ไหนล่ะเสียหาย" ตลกเป็นเด็กขนานใหญ่เลยคุณ)
ตัวอย่าง : เรื่องนี้ขอทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ประเด็นชอบชังทางการเมือง กล่าวคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีพระราชดำรัสโกยคะแนนอยู่เป็นนิจในยามที่ศก.บ้านเมืองทรุด รัฐบาลรับหน้าเสื่อ ส่วนกษัตริย์เป็นพระเอก!?
ผมถามว่า กษัตริย์พึงตรัสออกมาโดยไม่มีใคร "ขอให้แสดงความเห็น"หรือไม่ ? และ ทรงรู้อยู่ว่า "ทรงมีอิทธิพลทางสังคมในระดับพอสมควร" ฉะนั้นการกล่าวออกโทรทัศน์แบบนี้ มันจะเป็นการกดดันฝ่ายบริหารให้พยายามดิ้นรนทำตามพรด.(ซึ่งจะดีหรือไม่ หรือเหมาะสมทางบริหารหรือไม่ มันต้องพูดอีกประเด็นหนึ่ง) ถามว่า มันเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนของกษัตริย์ภายใต้การปกครองที่ "กษัตริย์" can do no wrong หรือไม่!
case สั้น ๆ แบบนี้ น่าจะเห็นชัด(ถ้าคุณมั่นคงในหลักการเพียงพอ ไม่ใช่ "พอเพียง")!
“การพูดชี้นำการทำงานจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ครับ การชี้นำนโยบายการคลัง, การชี้นำให้พัฒนาพื้นที่นี้ก่อน, หรือการบอกให้ปรับเปลี่ยน ครม. ฯลฯ เหล่านี้จึงจะถือว่าเป็นการชี้นำการทำงาน แต่โครงการพระราชดำริ มันไม่ใช่ เป็นประเพณีปฏิบัติของรัฐบาลแล้ว ที่รัฐบาลจะต้องสนองโครงการพระราชดำริ รัฐบาลมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน พระมหากษัตริย์ตามราชประเพณีไทยก็มีหน้าที่เช่นเดียวกันครับ คือบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร กฎหมายก็มีอยู่ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ๒๕๒๔”
เอาทีละเรื่องนะครับ
1.การชี้แจงนโยบายการคลัง เช่น พยายามที่จะเสนอทฤษฎีของพระองค์อยู่ตลอด เรื่องศก.พอเพียง ผมถามว่า "ชี้นำมั้ย"
2.ออก โครงการไปที่นั่นที่นี่ อ้างว่ารบ.ยังไม่จัดการ จึงลงมือเอง ถามว่า "กดดัน"มั้ย? มีอำนาจอะไร(ตามกฎหมายและตามระบอบการปกครอง)ที่ไปทำแบบนั้น !
3.การ ปรับเปลี่ยนครม. ----เรื่องนี้ ทรงทำยิ่งกว่าการปรับเปลี่ยนครม.อีกครับ แต่ทรงปรับ ...(บลา ๆ ๆ)ได้ด้วยกระบวนการทางสังคม(อำนาจแฝง)เลยล่ะ (ตัวอย่าง ผมกล่าวไปแล้วในเรื่อง เสื้อเหลือง หรือ กรณีการแก้กฎหมายให้อำนาจกษัตริย์ทุกครั้งหลัง รปห. คุณหาอ่านได้ง่ายมาก ๆ ใน ฟดก. หากคุณสนใจ)
4.คุณอ้างอีกแล้วว่า กษัตริย์ทำงานตามประราชประเพณี ทั้ง ๆ ที่เพิ่งอ้างมองเตสกิเออ อยู่หยก ๆ ผมอธิบายไปเยอะแล้วในส่วนความเชื่อ กับ สาระสำคัญแห่งระบอบฯ(ผมจะไม่อธิบายซ้ำแล้ว)
5.คุณอ้างระเบียบฯได้ยังไง ครับ !!! คุณต้องอ้างหลักรธน.สิครับ เพราะมันเป็นเรื่องการใช้อำนาจรัฐ คุณจะอ้างระเบียบแบบนั้นไม่ได้!!! แม้แต่คุณอ้างพระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชบัญญติ ยังฟังไม่ได้เลย คุณต้องอ้างกฎหมายที่จัดสรรองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ วิธีการ และการถ่วงดุล ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญ
มันเรื่องการจัดระเบียบองค์กรการใช้อำนาจรัฐแท้ ๆ คุณกลับไปอ้าง "ระเบียบ" เลยเถิดไปใหญ่แล้ว!
“การชี้นำที่คุณหมายถึงต้องหมายถึงการชี้นำนโยบายการคลัง, การชี้นำให้พัฒนาพื้นที่นี้ก่อน, หรือการบอกให้ปรับเปลี่ยน ครม. ฯลฯ หรือมีพระราชดำรัสที่แสดงออกถึงการแบ่งฝ่ายทางการเมือง ในหลวงไม่เคยพูดแบบนี้มาก่อน โครงการในพระราชดำริถือเป็นกลาง เพราะทุกสี ทุกกลุ่มการเมือง ต่างได้รับผลประโยชน์เช่นเดียวกัน ในฐานะพสกนิกรของแผ่นดินครับ”
เรื่อง การชี้นำนโยบาย ผมตอบไปแล้ว ส่วนเรื่องการแบ่งฝ่าย คืออย่างงี้ครับ การกระทำทางกฎหมาย(อาญา) แบ่งเป็น การกระทำการ และ การงดเว้นการกระทำ กรณีวันที่4 ธ.ค.ที่ผ่านมา(ผมไม่อยากยกตัวอย่างย้อนไปไกล) ทรงงดเว้นการกระทำ(ปฏิเสธ) ดังที่กล่าวมาแล้ว
ส่วนการกระทำการโดยตรงไม่มีครับ แต่ผ่านบุคคลอื่น ซึ่งคุณคงทราบว่าเป็นใคร(คนที่นั่งข้าง ๆ xxx )
“ผมขอย้ำกับคุณว่าพระราชดำรัสของในหลวงที่จะพูดให้เกิดความแบ่งฝักแบ่งฝ่ายนั้น ไม่เคยมีครับ กลับกันกับคุณ ในหลวงทรงมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติมากกว่าที่จะเป็นการเพิ่ม ปัญหา พระราชดำรัสของในหลวงมีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางให้กำลังใจคณะรัฐมนตรี ให้กำลังใจในการทำงาน
การให้"กำลังใจ"กับ"การชี้นำ"นั้น คุณต้องแยกให้ออกให้ชัดเจนนะครับ ในหลวงไม่เคยพูดว่าต้องเข้าข้างสีนั้นสีนี้ ต้องให้สีนั้นไปตีกับสีนี้ ไม่เคยพูด ถ้าหากมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองก็จะทรงพูดโดยเป็นกลางที่สุด ไม่เข้าข้างใคร ถึงเป็นพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพูด จะทำอะไรตามใจชอบได้ มีจารีตประเพณีคอยควบคุมอยู่”
การแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน หรือสร้างความเสียหาย หรือใด ๆ ทรงไม่มีสิทธิที่จะทำทั้งนั้น(แต่ทรงละเลยเสมอมา) ในกรณีเสื้อเหลือง ถ้ากษัตริย์จะออกมาปฏิเสธ(โดยทนเจ็บคอ)ในวันที่4 ธ.ค.2550 ที่ผ่านมาว่า "พวกนี้มันแอบอ้างพระองค์" พระองค์ก็นิ่งครับ (ภาษากฎหมาย ถือว่า "การนิ่ง(เช่นกรณีแบบนี้) คือการยอมรับ") อย่างที่ผมบอกว่า "พระองค์ทรงมีสิทธิที่จะชี้แจง หรือแก้ต่าง" แต่ไม่มีสิทธิที่จะทำอย่างอื่น หากไม่ถูกขอ(โดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการนั้น ๆ )
สิ่งที่มันเป็น ปัญหา แต่ royalist มองว่ามันคือธรรมเนียม คือ ทรงสนับสนุนซื้อเรือดำน้ำ หรือตำหนิว่าอย่างโน้นอย่างนี้ มันถูกหรือว่าผิด ใช่หรือไม่ใช่พอเพียง หรืออะไรเทือกนั้น "พระองค์ไม่ทรงสิทธิครับ"ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
“มองเตสกิเออกล่าวว่ากษัตริย์ใช่ว่าจะทำอะไรได้ตามใจชอบ เพราะมีขุนนาง มีพระ มีจารีตประเพณีคอยควบคุมอยู่ ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ ตามประเพณีการเมืองการปกครองไทยตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงมีพระราชดำรัสที่จะเป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทางการเมืองครับ”
คุณกล้าอ้างหลักการแบบนี้ด้วยเหรอครับ! มันแปลก ๆ และขัด ๆ กับทรรศนะของคุณทั้งหมดเลยนะ คือ คุณพยายามอ้างว่า "กษัตริย์ไทย" ต่างจาก "กษัตริย์ชาติอื่น" เพราะทรงผูกพันกับคนไทย? จึงต้องถือระเบียบเดียวกับตะวันตกแบบนั้นไม่ได้!
คุณเอายังไงกันแน่ !
ทุกวันนี้ ประเทศไทยให้กษัตริย์อยากจะมีโครงการอะไรก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ถามว่า "ไม่มีทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย" และ "ไม่มีอำนาจตามระบอบการปกครอง" ถามว่าทรงทำในสถานะอะไร? อีกทั้ง ชัดเจนว่า ไม่ใช่เงินส่วนพระองค์แน่ที่ไปใช้จ่ายในโครงการเหล่านั้น แต่มันเป็นภาษีของราษฎร ----ผมถามคุณว่า กษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ตามการปกครองระบอบนี้ด้วยเหรอ?(หลักฐานเรื่องเงิน ภาษี คุณหาจากกระทู้เก่า ๆ ใน ฟดก.นะครับ หาไม่ยาก)
“คุณ Phuttipong ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่นะครับ นี้ขนาดในหลวงทรงทำงานเพื่อประชาชนคุณยังโจมตีเลยหาว่าท่านชี้นำทางการเมือง แต่ถ้าไม่ทำงานเดี๋ยวก็โจมตีว่าอยู่เฉย กินเงินภาษีเปล่าๆอีก”
ผมไม่เคยขอร้องให้ใคร(รวมทั้งคุณ) เปลี่ยนทัศนคติเลย เรื่องนี้เป็นเรื่องเหตุผลครับ ถ้าเห็นแย้ง คุณต้องเอาเหตุผลมาหักล้าง (ไม่ใช่เอาความรู้สึกมาโต้กัน)
ที่ผมบอกให้กษัตริย์อยู่เฉย ๆ และรับเงินเดือนตามปกตินั้น(แต่ไม่ต้องมหาศาลแบบทุก ๆ วันนี้) ก็เพราะ จะทรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของพระองค์อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ไม่ใช่ว่าพระองค์ไม่ทำอะไรเลยนะครับ แต่พระองค์ทำหน้าที่ ในการที่ต้องไม่ทำเกินสิทธิของพระองค์เท่านั้น (ทุกวันนี้กระทำเกินสิทธิผิดหน้าที่ครับ) ดังที่ตำราอธิบายรธน.(ฉบับคลาสสิค) อธิบายว่า "...And a king of great sense and sagacity would want no others. He would find that his having no others would enable him to use these with singular effect.”
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น