ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : คำนำ
คำนำ
        หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้ ผู้เขียนได้แต่งขึ้น และนำลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ติดต่อกันมา เป็นเวลาปีเศษ ในขณะที่เขียนนั้น ก็มิได้คำนึงถึงขนาดของเล่ม ถ้าหากจะพิมพ์เป็นเล่มขึ้น แต่เมื่อได้มาเห็นขนาด เมื่อได้รวบรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นแล้ว ผู้เขียนออกจะรู้สึกตกใจไม่น้อยไปกว่าท่านผู้อ่านอีกหลายคน เพราะขนาดหนังสือนั้นโตเกินคาด จำเป็นต้องแบ่งพิมพ์เป็นสองเล่ม แม้กระนั้นแล้ว หนังสือแต่ละเล่มก็โต จนผู้เขียนเองก็เห็นว่าอุ้ยอ้ายไป ถ้าหากว่าจะพิมพ์แบ่งออกเป็นสามเล่ม ก็อาจเบามือกว่าในรูปนี้ แต่จะทำให้ความสำคัญของหนังสือลดน้อยลงไป เพราะผู้เขียนเจตนาจะให้เล่ม ๑ นับรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดในยุคหนึ่ง และเล่ม ๒ นั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุคต่อมา
        ในระหว่างที่เรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" ยังลงพิมพ์อยู่ในสยามรัฐรายวันนั้น ได้มีผู้เขียนจดหมายมาถามบ่อยครั้งว่าเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นั้นเป็นเรื่องจริงหรือไฉน และ \"แม่พลอย\" ตัวเอกของเรื่องนั้น เป็นบุคคลจริงๆหรืออย่างไร ปัญหาเช่นนี้จะตอบแต่สั้นๆ ได้โดยยาก จำต้องใช้วิธีอุปมาอุปไมย ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัด ก็ต้องเปรียบกับการแสดงละคร ตามปกติในการเล่นละคร ย่อมต้องมีฉาก แต่ฉากละครนั้นเป็นของสมมุติ ตกแต่งให้ละม้ายคล้ายคลึงกับของจริง ส่วนตัวละครที่แสดงนั้น เป็นคนจริงๆ มีชีวิตและมีเนื้อหนังเหมือนคนดูทั้งหลาย หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นั้น เป็นของกลับกันกับ วิธีการแสดงละคร คือฉากทั้งหลายทั้งปวง ที่ผู้เขียนได้นำมาใช้ ในการเขียนเรื่องนี้ เป็นของจริงทั้งสิ้น และได้พยายามสอบสวนให้ตรงกับความจริง ตลอดจนเมื่อรวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มครั้งนี้ ก็ได้พยายามจนสุด ความสามารถที่จะให้เหตุการณ์ และรายละเอียดแห่งชีวิต ที่ได้นำมาบรรยายนั้นถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้นฉากละครแห่งเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" จึงเป็นของจริงทั้งหมด แต่ตัวละครนั้นกลับเป็น ของสมมุติ คือ \"แม่พลอย\" ก็ดี วงศาคณาญาติตลอดจนเพื่อนฝูงของ \"แม่พลอย\" ที่เข้ามามีบทบาทในท้องเรื่องก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ได้เกิดขึ้นด้วยจินตนาการของผู้เขียน แต่ในการสร้างบุคคลิกลักษณะของบุคคลเหล่านี้ ผู้เขียนก็ได้พยายามยึดถือเอาความจริงเป็นหลัก คอยกีดกันมิให้บุคคลเหล่านี้พูดหรือทำสิ่งใดที่อาจเกินความจริง ไปได้เลย เพราะฉากเบื้องหลังตัวละครนั้น ผู้เขียนได้นำของจริงมาใช้เสียแล้ว ดั่งที่ได้กล่าวมาแต่ต้น แม้แต่เครื่องแต่งตัวของ \"แม่พลอย\" จะนุ่งห่มสีอะไรก็ตรงต่อความจริง แต่ด้วยเหตุนี้ ตัวบุคคลในเรื่อง จึงกลายเป็นจริงขึ้นมาในความรู้สึกของผู้เขียน และบุคคลเหล่านี้ ได้เข้ามาดำเนินเรื่องของตัวเอง จนบางเวลาขณะที่เขียนอยู่นั้นเผลอไป เหมือนกับมีใครมากระซิบบอกให้เขียนอยู่ใกล้ๆ
        เจตนาของผู้เขียนในการเขียนหนังสือนี้ ก็เพื่อจะบันทึกภาพรายละเอียดเบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงมาจนถึงสิ้นแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ในระยะเวลาที่ค่อนข้างจะนานนี้ ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นอันมากในเมืองไทย และได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นมากมายหลายเรื่อง เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆนี้ เป็นเรื่องที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ จึงเป็นสิ่งที่ใครๆก็ย่อมทราบ แต่สิ่งที่ประวัติศาสตร์มิได้จารึก ก็คือรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนความคิดเห็นของคน ที่ต้องประสบเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ สิ่งเหล่านี้นับว่า เป็นรายละเอียดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ และย่อมมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะการอบรมประเพณีและราบละเอียดเล็กๆน้อยๆแห่งชีวิต ย่อมเป็นมูลฐาน ของความคิดเห็นและกระทำให้บุคคลเกิดปฏิกิริยาแตกต่างกันไป ในเมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากระทบตัว หากเราได้ทราบรายละเอียดต่างๆนั้นได้บ้างพอสมควร เราก็สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็น บางอย่าง ความรู้สึกนึกคิดบางอย่าง และปฏิกิริยาต่างๆนั้นได้มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่สามารถรู้รายละเอียดเหล่านี้ เสียเลยแล้ว ต่อไปเราก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จะอธิบายมูลเหตุ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้แจ่มแจ้ง และไม่อาจเข้าใจว่า เพราเหตุใดจึงได้มีปฏิกิริยาบางอย่างเกิดขึ้น หลังจากที่ได้มีเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุต่างๆที่ได้กล่าวมานี้ ผู้เขียนจึงมีเจตนาที่จะให้หนังสือ \"สี่แผ่นดิน\" นี้เป็นที่รวบรวม \"รายละเอียดเบื้องหลัง ประวัติศาสตร์\" ต่างๆเหล่านี้ไว้อีกอย่างหนึ่ง นอกจากจะก่อความบันเทิงให้แก่ผู้อ่านแต่อย่างเดียว ถ้าหากว่า จะเปรียบเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นนั้น เป็นลายโครงบนผืนผ้าลายอย่างไทยๆ ผู้เขียนก็มีเจตนาที่จะให้หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้เป็นลายประกอบ เพื่อจะได้ทำผ้าลายผืนนั้นมีลวดลายเต็มขึ้น และวิจิตรพิศดารยิ่งขึ้น ผู้เขียนจะได้กระทำสำเร็จสมดั่งความเจตนาหรือไม่ ก็ยังไม่กล้ารับรอง
        ในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนกำเนิดของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนได้รับความอุปการะ จากท่านผู้อ่านมากมายหลายท่านด้วยกัน บางท่านก็กรุณาให้ความรู้อันหาค่ามิได้ บางท่านก็กรุณาตักเตือนความผิดพลาด และข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถแก้ใขปรับปรุง ฉบับที่เป็นรูปเล่มนี้ ให้ถูกต้องต่อความเป็นจริงยิ่งขึ้น บางท่านก็มีความกรุณาให้กำลังใจสนับสนุน โดยวิธีเข้ามารับนับเป็นญาติโยมของ \"แม่พลอย\" ไต่ถามทุกข์สุขและส่งของมาให้ตามแต่โอกาส ซึ่งพระคุณเหล่านี้ ผู้เขียนขอจารึกไว้มิรู้ลืม และขออุทิศความดีแห่งหนังสือเล่มนี้ทั้งหมดเท่าที่มี ให้แก่ผู้มีอุปการคุณ ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้ว
        หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้ใช้เวลานานในการเขียน และใช้เวลาอีกนานในการตรวจแก้การเรียงพิมพ์ เมื่อได้ทำสำเร็จมาเป็นรูปเล่ม ถึงมือท่านผู้อ่าน ผู้เขียนก็ออกจะภูมิใจเป็นธรรมดา และความภูมิใจนั้นจะมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าหนังสือนี้ สามารถให้ความบันเทิงและประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ได้ตามสมควร
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๖
        หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้ ผู้เขียนได้แต่งขึ้น และนำลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ติดต่อกันมา เป็นเวลาปีเศษ ในขณะที่เขียนนั้น ก็มิได้คำนึงถึงขนาดของเล่ม ถ้าหากจะพิมพ์เป็นเล่มขึ้น แต่เมื่อได้มาเห็นขนาด เมื่อได้รวบรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นแล้ว ผู้เขียนออกจะรู้สึกตกใจไม่น้อยไปกว่าท่านผู้อ่านอีกหลายคน เพราะขนาดหนังสือนั้นโตเกินคาด จำเป็นต้องแบ่งพิมพ์เป็นสองเล่ม แม้กระนั้นแล้ว หนังสือแต่ละเล่มก็โต จนผู้เขียนเองก็เห็นว่าอุ้ยอ้ายไป ถ้าหากว่าจะพิมพ์แบ่งออกเป็นสามเล่ม ก็อาจเบามือกว่าในรูปนี้ แต่จะทำให้ความสำคัญของหนังสือลดน้อยลงไป เพราะผู้เขียนเจตนาจะให้เล่ม ๑ นับรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดในยุคหนึ่ง และเล่ม ๒ นั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุคต่อมา
        ในระหว่างที่เรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" ยังลงพิมพ์อยู่ในสยามรัฐรายวันนั้น ได้มีผู้เขียนจดหมายมาถามบ่อยครั้งว่าเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นั้นเป็นเรื่องจริงหรือไฉน และ \"แม่พลอย\" ตัวเอกของเรื่องนั้น เป็นบุคคลจริงๆหรืออย่างไร ปัญหาเช่นนี้จะตอบแต่สั้นๆ ได้โดยยาก จำต้องใช้วิธีอุปมาอุปไมย ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัด ก็ต้องเปรียบกับการแสดงละคร ตามปกติในการเล่นละคร ย่อมต้องมีฉาก แต่ฉากละครนั้นเป็นของสมมุติ ตกแต่งให้ละม้ายคล้ายคลึงกับของจริง ส่วนตัวละครที่แสดงนั้น เป็นคนจริงๆ มีชีวิตและมีเนื้อหนังเหมือนคนดูทั้งหลาย หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นั้น เป็นของกลับกันกับ วิธีการแสดงละคร คือฉากทั้งหลายทั้งปวง ที่ผู้เขียนได้นำมาใช้ ในการเขียนเรื่องนี้ เป็นของจริงทั้งสิ้น และได้พยายามสอบสวนให้ตรงกับความจริง ตลอดจนเมื่อรวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มครั้งนี้ ก็ได้พยายามจนสุด ความสามารถที่จะให้เหตุการณ์ และรายละเอียดแห่งชีวิต ที่ได้นำมาบรรยายนั้นถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้นฉากละครแห่งเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" จึงเป็นของจริงทั้งหมด แต่ตัวละครนั้นกลับเป็น ของสมมุติ คือ \"แม่พลอย\" ก็ดี วงศาคณาญาติตลอดจนเพื่อนฝูงของ \"แม่พลอย\" ที่เข้ามามีบทบาทในท้องเรื่องก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ได้เกิดขึ้นด้วยจินตนาการของผู้เขียน แต่ในการสร้างบุคคลิกลักษณะของบุคคลเหล่านี้ ผู้เขียนก็ได้พยายามยึดถือเอาความจริงเป็นหลัก คอยกีดกันมิให้บุคคลเหล่านี้พูดหรือทำสิ่งใดที่อาจเกินความจริง ไปได้เลย เพราะฉากเบื้องหลังตัวละครนั้น ผู้เขียนได้นำของจริงมาใช้เสียแล้ว ดั่งที่ได้กล่าวมาแต่ต้น แม้แต่เครื่องแต่งตัวของ \"แม่พลอย\" จะนุ่งห่มสีอะไรก็ตรงต่อความจริง แต่ด้วยเหตุนี้ ตัวบุคคลในเรื่อง จึงกลายเป็นจริงขึ้นมาในความรู้สึกของผู้เขียน และบุคคลเหล่านี้ ได้เข้ามาดำเนินเรื่องของตัวเอง จนบางเวลาขณะที่เขียนอยู่นั้นเผลอไป เหมือนกับมีใครมากระซิบบอกให้เขียนอยู่ใกล้ๆ
        เจตนาของผู้เขียนในการเขียนหนังสือนี้ ก็เพื่อจะบันทึกภาพรายละเอียดเบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงมาจนถึงสิ้นแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ในระยะเวลาที่ค่อนข้างจะนานนี้ ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นอันมากในเมืองไทย และได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นมากมายหลายเรื่อง เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆนี้ เป็นเรื่องที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ จึงเป็นสิ่งที่ใครๆก็ย่อมทราบ แต่สิ่งที่ประวัติศาสตร์มิได้จารึก ก็คือรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนความคิดเห็นของคน ที่ต้องประสบเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ สิ่งเหล่านี้นับว่า เป็นรายละเอียดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ และย่อมมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะการอบรมประเพณีและราบละเอียดเล็กๆน้อยๆแห่งชีวิต ย่อมเป็นมูลฐาน ของความคิดเห็นและกระทำให้บุคคลเกิดปฏิกิริยาแตกต่างกันไป ในเมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากระทบตัว หากเราได้ทราบรายละเอียดต่างๆนั้นได้บ้างพอสมควร เราก็สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็น บางอย่าง ความรู้สึกนึกคิดบางอย่าง และปฏิกิริยาต่างๆนั้นได้มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่สามารถรู้รายละเอียดเหล่านี้ เสียเลยแล้ว ต่อไปเราก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จะอธิบายมูลเหตุ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้แจ่มแจ้ง และไม่อาจเข้าใจว่า เพราเหตุใดจึงได้มีปฏิกิริยาบางอย่างเกิดขึ้น หลังจากที่ได้มีเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุต่างๆที่ได้กล่าวมานี้ ผู้เขียนจึงมีเจตนาที่จะให้หนังสือ \"สี่แผ่นดิน\" นี้เป็นที่รวบรวม \"รายละเอียดเบื้องหลัง ประวัติศาสตร์\" ต่างๆเหล่านี้ไว้อีกอย่างหนึ่ง นอกจากจะก่อความบันเทิงให้แก่ผู้อ่านแต่อย่างเดียว ถ้าหากว่า จะเปรียบเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นนั้น เป็นลายโครงบนผืนผ้าลายอย่างไทยๆ ผู้เขียนก็มีเจตนาที่จะให้หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้เป็นลายประกอบ เพื่อจะได้ทำผ้าลายผืนนั้นมีลวดลายเต็มขึ้น และวิจิตรพิศดารยิ่งขึ้น ผู้เขียนจะได้กระทำสำเร็จสมดั่งความเจตนาหรือไม่ ก็ยังไม่กล้ารับรอง
        ในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนกำเนิดของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนได้รับความอุปการะ จากท่านผู้อ่านมากมายหลายท่านด้วยกัน บางท่านก็กรุณาให้ความรู้อันหาค่ามิได้ บางท่านก็กรุณาตักเตือนความผิดพลาด และข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถแก้ใขปรับปรุง ฉบับที่เป็นรูปเล่มนี้ ให้ถูกต้องต่อความเป็นจริงยิ่งขึ้น บางท่านก็มีความกรุณาให้กำลังใจสนับสนุน โดยวิธีเข้ามารับนับเป็นญาติโยมของ \"แม่พลอย\" ไต่ถามทุกข์สุขและส่งของมาให้ตามแต่โอกาส ซึ่งพระคุณเหล่านี้ ผู้เขียนขอจารึกไว้มิรู้ลืม และขออุทิศความดีแห่งหนังสือเล่มนี้ทั้งหมดเท่าที่มี ให้แก่ผู้มีอุปการคุณ ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้ว
        หนังสือเรื่อง \"สี่แผ่นดิน\" นี้ใช้เวลานานในการเขียน และใช้เวลาอีกนานในการตรวจแก้การเรียงพิมพ์ เมื่อได้ทำสำเร็จมาเป็นรูปเล่ม ถึงมือท่านผู้อ่าน ผู้เขียนก็ออกจะภูมิใจเป็นธรรมดา และความภูมิใจนั้นจะมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าหนังสือนี้ สามารถให้ความบันเทิงและประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ได้ตามสมควร
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๖
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น