ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ::: GUITAR Tip* Chords :::

    ลำดับตอนที่ #13 : ***รู้จักคอร์ดเบื้องต้น

    • อัปเดตล่าสุด 8 ต.ค. 51



    รู้จักคอร์ดเบื้องต้น 

            คอร์ด คำนี้ทุกคนรู้จักดีอยู่แล้วแต่คุณเข้าใจมันมากแค่ไหน คอร์ดคืออะไร หมายถึงอะไรเป็นต้น บางคนรู้จักเพียงแค่คอร์ดก็คือกดสายกีตาร์เส้นต่างๆ ที่ช่องต่างๆ ตามรูปบอกแค่นั้น เอาล่ะครับเราจะมารู้จักคำว่า "คอร์ด" กันมากขึ้น

            คอร์ด คือกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งถ้าเราจะถามว่ามีคอร์ดกีตาร์ทั้งหมดกี่คอร์ดในโลกนี้ คงจะไม่มีใครตอบได้เนื่องจากเราสามารถสร้างคอร์ดได้มากมายเหลือเกินแล้วแต่ผู้ประพันธ์แต่ละคน แต่เราก็สามารถจำแนกคอร์ดให้เป็นประเภทต่างๆ ที่สำคัญและพบบ่อยๆ ได้ เช่น คอร์ดเมเจอร์ (major), คอร์ดไมเนอร์ (minor) และคอร์ดเซเว่น (7) เป็นต้น คราวนี้เราจะมารู้จักการเรียกชื่อคอร์ดแต่ละประเภท

    คอร์ด

    การเรียกชื่อ(สากล)

    การเรียกชื่อ(ชาวบ้าน)

    %mojorเรียกแต่ชื่อคอร์ด (เช่นคอร์ดซีเมเจอร์ เรียกคอร์ดซี)
    %mminorไมเนอร์
    %7seventhเซเว่น (เจ็ด)
    %m7minor seventhไมเนอร์ เซเว่น (หรือไมเนอร์ เจ็ด)
    %6sixthซิก (หก)
    %m6minor sixthไมเนอร์ ซิก (หรือไมเนอร์ หก)
    %dimdiminishedดิม
    %+augmentedออกเมนเต็ด (บวก)
    %7sus4seventh suspension fourเซเว่น ซัส โฟ
    %sussuspensionซัส
    %7+5seventh augmented fifthเซเว่น ออกเมนเต็ด ไฟว์
    %7-5seventh flat fiveเซเว่น แฟล็ท ไฟว์
    %7-9seventh flat nineเซเว่น แฟล็ท ไนน์
    %maj7mojor seventhเมเจอร์ เซเว่น
    %m7-5minor seventh flat fiveไมเอนร์ เซเว่น แฟล็ท ไฟว์
    %9ninthไนน์ (เก้า)
    %m9minor ninthไมเนอร์ ไนน์ (ไมเนอร์ เก้า)
    %9+5ninth augmented fifthไนน์ อ๊อกเมนเต็ด ฟิฟท์
    %9-5ninth flat fiveไนน์ แฟล็ท ไฟว์
    %maj9major ninthเมเจอร์ ไนน์
    %11eleventhอีเลฟเว่น (สิบเอ็ด)
    %11+eleventh augmentedอีเลฟเว่น อ๊อกเมนเต็ด (สิบเอ็ด บวก)
    %13thirteenthเธอทีน (สิบสาม)
    %13b9thirteenth flat ninthเธอทีน แฟล็ท ไนน์

    %

    7

    seventh sixthเซเว่น ซิก

    6

    %

    9

    ninth sixthไนน์ ซิก

    6

    %+7augmented seventhอ๊อกเมนเต็ด เซเว่น (บวก เจ็ด)
    %dim7diminished seventhดิม เซเว่น (ดิม เจ็ด)
    %m+7minor augmented seventhไมเนอร์ อ็อกเมนเต็ด เซเว่น
    %13sus4thirteenth suspension fourเธอทีน ซัส โฟร์ (สิบสาม ซัส โฟ)
    %m (add 9)minor add ninthไมเนอร์ แอ๊ด ไนน์
    %(add 9)add ninthแอ๊ด ไนน์
    %9susninth suspensionไนน์ ซัส

    %

    4fourth ninthโฟร์ ไนน์
    9
    %+11augmented eleventhอ็อกเมนเต็ด สิบเอ็ด
    %7+9seventh augmented ninthเซเว่น อ็อกเมนเต็ด ไนน ์
    %+4augmented fourthอ็อกเมนเต็ด โฟร์ (บวก สี่)

                   เครื่องหมาย % หมายถึงสัญญลักษณ์ต่าง คือ C, D, E, F, G, A และ B ซึ่งก็คือชื่อของโน็ตต่างๆ นั่นเอง เวลาเรียกก็เรียกชื่อโน็ตตามด้วยชื่อคอร์ด เช่น %m7 แทนด้วย Am7 อ่านว่า เอ ไมเนอร์ เซเว่น หรือ เอ ไมเนอร์ เจ็ด ซึ่งตัวเลขนี้บางทีจะอ่านเป็นภาษาไทยก็ได้ แต่ผมแนะนำว่าควรอ่านให้เป็นสากลจะดีกว่า จะได้คุ้นเคย

                      เรื่องของการจับคอร์ดและการวางนิ้วไม่มีกฎตายตัวที่บอกว่าต้องวางนิ้วแบบนั้นแบบนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือการวางนิ้วให้ตรงตำแหน่งของโน๊ต และไม่ทำให้เกิดเสียงบอด สิ่งที่ผมอยากแนะนำสำหรับการฝึกจับคอร์ดก็คือ

                      การจับคอร์ดกีตาร์ ใช้มือที่จะจับคอร์ด กำหลวมๆ ที่คอกีตาร์ในท่าที่ถนัด ใช้นิ้วโป้งเป็นนิ้วประคอง สำหรับบางคน (โดยเฉพาะคนที่เล่นกีตาร์คลาสสิก) อาจจะจับคอกีตาร์โดยใช้นิ้วโป้งยันกับคอกีตาร์ (เช่นในรูป) แทนที่จะกำรอบคอ ให้นิ้วทั้งสี่โก่งและตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ดมากที่สุด (อาจจะเข้าใจยากนิดนึงลองฝึกดู) เพื่อไม่ให้นิ้วไปโดนสายอื่นทำให้เสียงบอด



                        ส่วนที่กดสายกีตาร์คือส่วนปลายนิ้วทั้งสี่ และกดลงบนสายที่ระหว่างเฟร็ตหรือกลางช่อง หรือค่อนไปทางเฟร็ตตัวล่าง โดยที่นิ้วโป้งจะช่วยประคอง และช่วยเพิ่มแรงกดเวลาจับคอร์ดทาบ

                        การทาบ (bar) ก็คือการใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นนิ้วชี้) ทาบสายกีตาร์ตั้งแต่สองสายขึ้นไป เราจะคุ้นเคยกับคำว่าคอร์ดทาบ (bar chord) เช่นคอร์ด F Bb เป็นต้น ซึ่งคอร์ดทาบนี้ค่อนข้างเป็นสิ่งน่ากลัวในความคิดของมือใหม่ เนื่องจากมักจะบอด จับยาก เมื่อยและเจ็บนิ้วด้วย แต่ไม่ต้องกลัวครับลองใช้นิ้วโป้งของคุณช่วยกดที่หลังคอกีตาร์ตรงกลางคอจะทำให้คุณมีแรงกดมากขึ้นครับ หรืออีกวิธีคือการใช้นิ้วอื่น (ที่ว่างไม่ได้กดเส้นใด ๆ ) มาช่วยกดทับอีกชั้นหนึ่งก็ช่วยได้มากครับ





    เครดิตจาก  
    http://ce66018.www8.50megs.com/guitar.htm

    และ www.imageshack.us/
    สำหรับอัพโหลดภาพ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×