คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ต้นไม้กินคนมีจริงหรือไม่ ?
ต้นไม้กินคน
พูดถึงต้นไม้กินคน (Man-eating tree) มันมีอยู่ในนิยายหลายเรื่อง และเรื่องเล่ามาช้านานแล้ว แต่ปัญหาที่นักธรรมชาติวิทยาต่างสงสัยกันคือ มันมีจริงอยู่บนโลกใบนี้หรือเปล่า?
จริงอยู่ที่พวกต้นไม้กินสัตว์(Carnivorous-plants) มีอยู่จริง และมีหลายชนิดด้วย แต่มันกินแค่แมงและสัตว์เล็กๆเท่านั้น แต่พวกสัตว์ใหญ่ๆ นั้น นักพฤกษศาสตร์บอกว่ามันไม่เคยปรากฏ
แต่ทว่า เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล ลิช (Karl Liche) นักเดินทางชาวเยอมันได้เขียนจดหมายถึง ดร.
เขากับเพื่อนเฮนดริกที่เป็นล่าม ได้ทำความรู้จักฉันมิตรกับพวกปิกมี่เผ่าฮึมโกโด ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในถ้ำ คนพวกนี้เป็นชนเผ่าล้าหลังที่ยังเปลือยกายอยู่ พวกเขาชวนคาร์กร่วมพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นก็พากันเดินเข้าไปในป่าทึบแล้วไปหยุดตรงที่โล่งตรงคุ้มลำธาร ที่นั้นมีต้นไม้ประหลาดขึ้นต้นหนึ่ง ซึ่งพวกฮึมโดโดเรียกมันว่า เตเป (Tepe)
คาร์ล ลิช ได้พรรณนารูปร่างลักษณะที่พิลึกพิลั่นของมันว่า
“ลองนึกภาพสับประรดสูงแปดฟุตและใหญ่ตามสัดส่วน แต่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ดูแล้วแข็งเหมือนเหล็ก ใบแปดใบย้อยลงมาจากลำต้น แต่ละใบยาวราวสิบเอ็ดฟุต และเรียวจนแหลม ใบสีเขียวคล้ำเหี่ยวห้อยและเหนียวมากเหมือนเสี้ยนโอ๊ก มีของเหลวใสรสหวานดื่มแล้วทำให้เมามายซึมออกมาที่แอ่งกลางยอดมีมือพัน ยาวแปดฟุตสีเขียว มีขนยาวออกมาทุกทิศทุกทาง มีรยางค์สีขาวเกือบใสหกใบชูสูงขึ้นไปในอากาศ หมุนและบิดไปมาไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ยังชูตั้งอยู่อย่างนั้น มันสูงห้าหกฟุต บางขนาดใบกก และอ่อนเหมือนขนนก.............”
“การเฝ้าของข้าพเจ้าถูกขัดจังหวะลงด้วยพวกพื้นเมืองที่เดินส่งเสียงไปรอบๆ ต้นไม้ด้วยน้ำเสียโหยหวน เขาท่องมนต์ที่ล่ามของข้าพเจ้าบอกว่าเพื่อขอลุแก่โทษปีศาจที่ยิ่งใหญ่ประจำต้นไม้ ขณะที่ยังคงกรีดร้องและท่องมนต์กระชั้นขึ้นนี้ พวกเขาก็ล้อมหญิงสาวคนหนึ่งใช้หลาวแหลมๆ จี้เธอ เธอไต่ขึ้นไปตามลำต้นอย่างช้าๆ สีหน้าหมดหวังและขึ้นไปยืนอยู่บนปลายยอด ซิก! ซิก! (ดื่ม! ดื่ม!) เสียงคนร้องตะโกณบอก เธอก้มลงดื่มน้ำเหนียวข้นในเบ้าแล้วยืนขึ้นใหม่ด้วยใบหน้าบ้าคลั่งและแขนสั่นระริก เธอทำเหมือนกระโดดลงมา แต่มิได้กระโดด
ต้นไม้กินคนที่เห็นนิ่งเฉยและดูเหมือนตายกลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง รยางค์ที่เรียวและบอบบางของมันสั่งระริกดั่งความโกรธเกรี้ยวของอสรพิษที่กำลังหิวกระหายอยู่เหนือตัวของเธอ แล้วเหมือนด้วยสัญชาตญาณของปีศาจ มันมัดเธอด้วยการรัดรอบคอและแขนรอบแล้วรอบเล่า ขณะเดียวกันเสียงเกลียดร้องด้วยความหวาดกลัวของเธอก็ค่อยแผ่วลง กลายเป็นเสียงครางอึกๆ อักๆ มือพันที่ดูเหมือนงูสีเขียวตัวใหญ่พากันชูขึ้นและหดตัวรัดรอบเธอวงแล้ววงเล่า รัดแน่นๆ เข้าอย่างรวดเร็วและเหนียวแน่นเหมือนงูอนาคอนดารัดเหยื่อไม่มีผิด
แล้วตอนนี้ใบใหญ่ๆ ของมันก็ค่อยๆ ยกขึ้นช้าๆ และแข็งขึ้น เหมือนแขนของปั่นจั่นยกตัวเองขึ้นบนอากาศ ขึ้นไปหาใบอื่นและปิดหุ้มรัดเหยื่อที่ตายแล้วด้วยพลังอันเงียบเชียบ เห็นโคนของใบไม้เหล่านี้เบียดเข้าหากันแน่นๆ เข้า มีของเหลวคล้ายน้ำผึ้งผสมเลือดไหลออกมาตามลำต้น พอเห็นดังนี้พวกคนป่ารอบๆ ตัวข้าพเจ้าก็ไชโยโห่ร้องออกมาอย่างบ้าคลั่ง วิ่งเข้าห้อมล้อมต้นไม้ ใช้ใบไม้ ใช้มือรองของเหลวมาดื่ม บ้างก็ใช้ลิ้นเลียจนมึนเมา จากนั้นก็มีพิธีกรรมที่อุจาดตามมาอีกจนไม่สามารถบรรยายได้ตามมา
ใบไม้ของต้นไม้ใหญ่คงอยู่ตำแหน่งตั้งขึ้นข้างบนแบบนั้นอยู่สิบวัน เมื่อข้าพเจ้ากลับมาในเช้าวันหนึ่งมันก็กลับตกลงเหมือนเดิม มือที่พันก็เหยียดยาวอย่างเดิม และนอกจากกะโหลกขาวที่ตกอยู่ที่โคนต้นแล้วก็ไม่มีอะไรอื่นเปลี่ยนแปลง”
จดหมายฉบับนี้ถูกส่งในนิตยสารภาษาเยอรมันชื่อ Graefe und Walther เมื่อปี 1878 หลังจากนั้นก็มีผู้แปลลงในหนังสือพิมพ์เมล์ที่ออกที่เมืองมัทราส อินเดีย และลงในหนังสือพิมพ์เวิลด์ ของกรุงนิวยอร์ก และในนิตยสารรียิสเตอร์ของออสเตรเลียเมื่อ ปี 1880 ทำให้เรื่องของต้นไม้กินคนกลายเป็นสนใจของสาธารณชน แต่พวกนักพฤษศาสตร์และนักสำรวจหลายคนไม่ยอมรับเรื่องนี้เพราะอ่านแล้วมันเหมือนนิยายเกินไป อีกทั้งคนชื่อลิชก็เป็นใครก็ไม่รู้ ทำให้เรื่องของต้นไม้กินคนจึงค่อยๆ เงียบหายไป
ต้นไม้กินคนเพิ่งจะกลับมาฮือฮากันอีกครั้งเมื่อหนังสือพิมพ์อเมริกันวิกลี่ ฉบับวันที่ 26 กันยายน 1920 นำมาลงเป็นเรื่องแทรกวันอาทิตย์ โดยปัดฝุ่นจดหมายของลิชมาเล่าใหม่ ให้ตื่นเต้นมากขึ้น พร้อมลงภาพประกอบเป็นสาวผมทองอยู่ในวงรัดของต้มไม้กินคน จนเป็นที่สนใจของผู้คนจำนวนมาก ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้ว่าการรัฐมิชิแกน เชส ซาลมอน ออสบอร์น ที่อุตสาห์ลงทุนไปที่มาดากัสคาร์ เพื่อไปเห็นต้นไม้กินคนด้วยตาของตัวเอง
ถึงแม้ออสบอร์นจะไม่พบต้นไม้กินคนมาที่สมหวังก็ตาม แต่คนพื้นเมืองบนเกาะนั้นแทบทุกคนบอกว่าเคยพบต้นไม้ดังกล่าว เขาบอกว่าต้นไม้นี้มีอยู่จริง
แต่กระนั้นพวกนักพฤกษสาสตร์ก็ทนความรำคาญออกมาโต้ว่า “ถ้าเจอมันจริง พวกตนจะให้เงินรางวัลหมื่นเหรียญ”เลยก็มี
และไม่รู้เพราะเงินรางวัลหรือเปล่า? ที่ทำให้นักผจญภัยที่หิวเงินต่างตามล่าต้นไม้กินคน แอล เฮิร์สต์ อดีตนายทหารอังกฤษ เดินทางไปเกาะมาดามกัสคาร์เมื่อปี 1935 แม้เขาไม่พบชนเผ่าฮึมโกโด แต่ใช้ว่าล้มเหลว เพราะเขาเจอคนที่บอกเรื่องราวว่า มันคือ ต้นไม้กินคน ที่เรียกมันว่า ต้นไม้ปีสาจ ที่ดักและกินคนมีอยู่จริง จากนั้นเขาก็ท่องเที่ยวค้นหาอยู่บนเกาะนานถึงสีเดือน จนกระทั้งพบต้นไม้ดังกล่าว เขาได้ถ่ายภาพมาด้วย เป็นรูปต้นไม้ใหญ่มีกระดูกสัตว์เกลื่อนรอบลำต้น แต่เขาไม่สามารถเอาต้นเป็นๆ มาได้ เพราะเขาไม่รู้ว่าจะขนออกมาอย่างไร
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ยอมเชื่อภาพถ่ายเหล่านั้น หาว่าเฮิร์สต์ทำปลอมขึ้นมา เพื่อพิสูจน์ความจริง เฮิร์สต์ได้เดินทางไปที่เกาะมาดากัสคาร์อีกครั้ง แต่ทว่า คราวนี้ เขาไปลับไม่กลับมาอีกเลย ทำให้เรื่องของต้นไม้กินคนยังคงความลึกลับและน่าค้นหาจนถึงปัจจุบัน
ความคิดเห็น