ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของ " การสอน "

    ลำดับตอนที่ #25 : มารยาททางกายแบบไทย

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 52


    มารยาททางกายแบบไทย

    ๑. ถ้าต้องนั่งกับพื้นต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องนั่งพับเพียบโดยกิริยาสำรวมนั่งทรงตัว ตรงเก็บเท้าทั้งสองข้างชิดตัวเรียบร้อยไม่เกะกะ วางมือทั้งสองข้างชิดตัวเรียบร้อยไม่เกะกะ วางมือทั้งสองไว้บนตัก หันหน้าไปสู่ผู้ใหญ่ในลักษณะหน้าเงย
    ๒. ไม่นั่งล้ำหน้าผู้ใหญ่ ไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ ไม่เหยียดเท้าให้ผู้ใหญ่
    ๓. ไม่ถือสาวิสาสะใช้หรือรับประทานของที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
    ๔. ไม่ล้อเลียนผู้ใหญ่หรือผู้ที่สูงอายุกว่าตน
    ๕. ในงานพิธีใดที่เขาจัดเก้าอี้ให้แขกนั่ง เมื่อเห็นผู้ใหญ่ต้องยืนเพราะไม่มีที่นั่ง ผู้มีมารยาทดีควรลุกนั่งหรือหาที่นั่งเพิ่มเติมให้
    ๖. เมื่อต้องการจะดูสิ่งใดที่ผู้ใหญ่หรือผู้อื่นกำลังดูอยู่ เมื่อเขาไปทีหลังเขา อย่าเบียดแทรกเข้าไปหรือผู้อื่นข้างหน้า ต้องดูโดยมิให้เป็นการผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น
    ๗. ก่อนจะช่วยเหลือทำสิ่งใดโดยจำเป็นจะต้องแตะต้องร่างกายผู้ใหญ่ให้ดี ผู้อื่นก็ดี
    ควรกล่าวคำขอโทษเสียก่อนแล้วจึงช่วยเหลือ เช่น ปัดมด หรือหยิบผงออกจากตัวให้ เป็นต้น
    ๘. เมื่อเห็นสิ่งของ ๆ ผู้ใดตก หรือของนั้นจะเสียหายโดยเจ้าของไม่รู้ตัว ควรจะบอกให้เจ้าของทราบทันที
    ๙. ผู้มีมารยาทดีย่อมไม่ล้วง แคะ แกะ เกา หรือหาวเรอต่อหน้าผู้อื่น แม้จะไอจามก็ต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากให้เสียงค่อยลง และไม่ให้ผู้อื่นรังเกียจหรือรำคาญ
    ๑๐. เวลารับของจากผู้ใหญ่ ควรแบมือออกรับอย่าฉวยกระชากมาโดยแรง หรือถ้าเป็นของยาวควรแบมือรองรับของนั้น ถ้าเป็นของหนัก ก็ใช้มือทั้งสองรองรับของนั้นจากมือของผู้ใหญ่

    การไหว้
    การไหว้เป็นประเพณีไทยโบราณ เป็นวิธีเคารพแก่ผู้ควรเคารพ จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะแก่กาละเทศะ
    ๑. การไหว้มีหลายวิธี มีทั้งนั่งไหว้ยืนไหว้ เพื่อเคารพบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่กว่าตน
    ก. วิธีนั่งไหว้ นั่งพับเพียบพนมมือทั้งสองข้างขึ้นไว้ระดับอก ก้มศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดกันที่หว่างคิ้ว
    ข. วิธียืนไหว้ ถ้าจำเป็นต้องไหว้เพราะอยู่นอกสถานบ้านเรือน เมื่อพบคนที่ต้องเคารพตามหนทางก็ให้พนมมือทั้งสองยกขึ้นระดับอก ก้มศรีษะลงจนหัวแม่มือจรดกันหว่างคิ้ว

    ๒. การรับไหว้ เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้คือเคารพตอบเพื่อมิให้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้อง
    กระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้
    วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้

    ๓. วิธีนั่งลงศอก เป็นวิธีเคารพผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงมากอีกแบบหนึ่ง ในเวลานั่งพับเพียบอยู่กับพื้น ในเมื่อผู้เป็นใหญ่มานั่งพูดคุยด้วย ครั้นจะนั่งพับเพียบตัวตรง ๆ ก็รู้สึกว่าเคารพไม่พอ จึงก้มตัวลงให้แขนทั้งสองวางลงบนตักมือประสานกันเงยหน้าขึ้น ในโอกาสที่ต้องพูดโต้ตอบหรือนั่งเฉย ๆ เงยหน้าพอควรถ้ามิได้พูดโต้ตอบกับผู้ใหญ่

    ๔. เมื่อนั่งเก้าอี้อยู่ ถ้าผู้สูงศักดิ์หรือผู้ที่เราเคารพอย่างสูงมายืนหรือนั่งพูดอยู่ใกล้ ๆ เราจะนั่งอย่างเคารพในลักษณะทอดศอกลงบนเข่าของเรามือประสานกัน พูดโต้ตอบกับท่านก็ได้ ดีกว่านั่งเก้าอี้ตัวตรงเฉยเสีย ห้อยเท้าให้ชิดกันแลเก็บเท้าให้ชิดกับเก้าอี้ให้มากที่สุด

    ๕. การกราบ

    วิธีกราบ นั่งในท่าหมอบพนมือให้ชิดกันลงบนพื้นไว้ข้างหน้า ก้มศรีษะละกับพื้นให้หว่างคิ้วจรดนิ้วหัวแม่มือกราบหรือหมอบกราบจะกระทำให้ แก่ผู้ทรงศักดิ์ เจ้านาย และอาวุโส และกราบครั้งเดียวโดยไม่แบมือลงกับพื้น

    ๖. การคลาน

    วิธีคลาน เป็นการเคลื่อนตัวผ่านคนมาก ๆ ซึ่งกำลังนั่งอยู่กับพื้น หรือมีผู้อาวุโสที่นั่งอยู่กับพื้น ประเพณีของเราสอนกันไว้ว่าผู้มีมารยาทดีย่อมไม่เดินกรายหัวคน
    วิธีคลานมีหลายชนิด การคลานคือใช้กระดูกหัวเข่าเคลื่อนออกไปแทนใช้เท้าเดิน
    ก. คลานเข่า ใช้มือทั้งสองวางแบลงกับพื้นพยุงตัวไว้ นั่งคุกเข่าชิดกับพื้น กระดกนิ้วเท้ายันกับพื้นให้ตรงเท้าแขนทั้งสองให้มือแบยันพื้นจนสุดแขนแลตาม ด้วยเข่าซ้ายสลับกันไปถึงจุดหมายปลายทาง
    ข. คลานเข่า คือคู้เข่าให้หัวเข่าทั้งสองข้างเคลื่อนไปข้างหน้า สลับเข่าซ้ายทีหนึ่งขวาทีหนึ่งแทนใช้เท้าเดินไม่ต้องใช้มือช่วยพยุงตัวแบบ คลานสี่ขาอย่างข้อ ก. แต่การคลานแบบนี้ไม่สู้เป็นที่นิยมถือว่าไม่สุภาพเท่ากับคลานสี่ขาอย่างข้อ ก.
    ค. คลานยกของมือเดียว ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์แลเจ้านาย แลผู้ทรงอาวุโส
    คลานยกของสองมือ ( คลานโขยก )
    มือทั้งสองถือของคุกเข่าแล้วตั้งเข่าขึ้นข้างหนึ่งให้ตรง สืบเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้าโดยการขยับตัว ( โขย่างตัวขึ้น ) แล้วเปลี่ยนเข่าอีกข้างหนึ่งตั้งขึ้นสลับกันไปจนถึงจุดหมาย
    ง. คลานศอก คือคลานเข่าอย่างธรรมดา แต่งอศอกให้ลำแขนท่อนล่างทอดไปตามพื้นให้ศอกเลื่อนไปข้างหน้าแทนมือ แขนและขาจะเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน

    ๗. การยืน

    เป็นอิริยาบถที่ใช้กระดูกส่วนยาวของขาแลหัวเข่าทุกส่วนช่วยกระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลังพร้อมด้วยศีรษะขึ้นให้ตรงเพื่อให้น้ำหนักลงมาอยู่ที่ปลายเท้า สองข้างในเวลาตั้งตัวขึ้นตรง
    การเคารพในท่ายืน มีดังนี้
    ยืนเคารพธงชาติ เป็นสัญญลักขณ์ประจำชาติซึ่งเป็นที่รักแลหวงแหนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ชาตินั้น ๆ ทั่วโลก ฉะนั้นเวลาเชิญธงชาติขึ้นเสาแลลงจากเสาทุกวัน เราจึงหยุดเคารพเป็นกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่ได้เห็นแลได้ยินเพลงชาติ บรรเลงตามเวลาที่เชิญธงชาติขึ้นหรือลง
    ๑. ในพิธีต่าง ๆ เมื่อเห็นคนเชิญธงชาติผ่านหน้า เราต้องยืนขึ้นเพื่อทำความเคารพทุกครั้ง ธงชาติเป็นสัญญลักษขณ์
    อันศักดิ์สิทธิ์ของชาติ ในเมื่อข้าราชการหรือประชาชนคนใดบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ชาติต้องเสียชีวิตใน ระหว่างปฏิบัติราชการ รัฐบาลจะใช้ธงชาติคลุมศพเพื่อให้เกียรติอย่างสูง
    ๒. ในทันทีที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาถึงในงานพิธีต่าง ๆ เราต้องยืนตรงเพื่อถวายความเคารพ หรือเวลาเราอยู่บนถนนก็เช่นเดียวกัน คือรีบหันหน้าไปทางที่เสด็จ ฯ ผ่านแล้วหยุดยืนตรงเพื่อถวายความเคารพหรือจะถวายคำนับก็ได้
    ๓. ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีต้องหยุดยืนตรงนิ่งอยู่กับที่จน กว่าจะจบเพลงเพื่อถวายความเคารพ แลต้องถวายคำนับหรือยกมือไหว้เคารพเมื่อเพลงจบ
    ๔. ยืนต้อนรับผู้ใหญ่ที่กำลังเดินเข้ามาในงาน ถ้าเรากำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ ต้องลุกยืนตรงด้วยความสำรวมเรียบร้อย
    แลหันหน้าไปทางผู้ใหญ่
    ๕. ผู้มีมารยาทดีจะยืนตรงห้อยแขนและขาตามธรรมชาติเพื่อเคารพผู้ใหญ่ แต่ถ้าประสานมือไว้ข้างหน้าด้วยเป็นการแสดงความเคารพทวียิ่งขึ้น

    ๘. การเดิน

    การเดินคืออยู่ในท่ายืน ก้าวขาตรงออกทีละข้างสลับกัน งอเข่าแล้ววางเท้าให้ตรงประดุจดังเดินบนกระดานแผ่นเดียว ควรเดินให้เรียบร้อย ไม่หัวเราะดังหรือสัพยอกกันเอะอะ ไม่ส่ายตัว ตั้งศรีษะตรง แขนแกว่งพองามไม่สูงจนน่าเกลียด ถ้าเดินเป็นหมู่ควรจะเหลียวดูรอเพื่อนที่ตามมาข้างหลัง ไม่เดินเร็วหรือช้าจนเกินไป

    ๙. การนอน

    การนอนเป็นกิริยาทีวางร่างกายทุกส่วนทอดราบลงบนเตียงหรือบนพื้นที่ใช้นอนสุภาพชนควรนอนเฉพาะที่และ
    เหมาะแก่กาละไม่ใช่ทั่วไป

    ๑๐. มารยาทแบบสากลทางกาย
    การจับมือแบบฝรั่งเป็นเครื่องหมายแสดงความยินดีในการต้อนรับแสดงความเคารพ เป็นมิตรไมตรีไว้เนื้อเชื่อใจกัน อาการกิริยาที่ใช้แสดงการยื่นมือขวาเปล่า ๆ ออกมา ย่อมแสดงให้ทั้งสองฝ่ายเห็นความบริสุทธิ์ซึ่งกันและกัน เปิดเผยซึ่งกันและกันว่าไม่มีอะไรซุกซ่อนในมือก่อนที่จะจับมือกัน เช่นเดียวกับการแสดงความเคารพของประเพณีไทย ด้วยการยกมือทั้งสองข้างมาพนมแล้วก้มศรีษะลงแสดงความเคารพ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×