ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของ " การสอน "

    ลำดับตอนที่ #18 : มารยาทในการเข้าสังคม

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 52


    มารยาทไทย - มารยาทในการเข้าสังคม

    การยอมรับของสังคม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มนุษย์ต้องการ   เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นอาทิ เช่น การยอมรับในสังคมที่ทำงาน ในสังคมโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการที่จะทำให้สังคมยอมรับจำเป็นต้องมีแนวทางฏิบัติเพื่ออยู่ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับในสังคม  ดังนี้
     

    • ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เอาแต่ใจหรือถือความคิดของตนเป็นสำคัญ
    • เสียสละทรัพย์สินหรือแรงงานร่วมกับบุคคลอื่น เป็นการเสียสละทรัพย์สินและแรงกาย เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม หากกลุ่มต้องการและบุคคลอื่น ๆ ได้แสดงน้ำใจเช่นนั้น
    • เคารพกฎเกณฑ์ ยอมรับกฎเกณฑ์ข้อตกลงในการทำกิจกรรมร่วมกัน   เช่น  ข้อตกลงของกลุ่มมีว่าช่วยกันพัฒนาโรงเรียนในวันเฉลิมพระชนมพรรษา  เราก็ควรจะมีมารยาทไปร่วมด้วย
    • มีความสามัคคี มีความกลมเกลียวในการทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่น เป็นการร่วมแรงร่วมใจแสดงความพร้อมเพรียงกัน
    • สุภาพเรียบร้อยนุ่มนวลกับทุกคน ไม่แสดงท่าอวดดี อวดรู้หรือพูดจาระรานผู้อื่น หรือพูดมากจนน่ารำคาญ
    • มีน้ำใจนักกีฬา ไม่คิดมากหรือคิดเล็กคิดน้อยว่าตนทำมากกว่าคนอื่น ควรนึกแต่เพียงว่า ถ้าช่วยกันทำให้ดีที่สุด หรือถ้าทำผิดพลาดไปก็รู้จักขอโทษ
    • ประพฤติตัวให้เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ รู้จักวางตนให้เหมาะแก่กิจกรรมที่ร่วมด้วย เช่น งานรื่นเริงก็ควรแต่งกายอย่างสวยงาม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส หรืองานเศร้าโศก (งานศพ)ก็ควรแต่งกายด้วยชุดไว้ทุกข์มีกิริยาท่าทางสำรวม
    • ไม่ติเตียนหรือซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นทำผิด เมื่อเห็นใครทำผิดพลาดไปก็ไม่ควร แสดงท่าทาง หรือกิริยาที่เป็นการถากถางหรือดูหมิ่น แต่ควรจะช่วยให้กำลังใจแก่เขาที่จะแก้ตัวทำให้ดีใหม่ต่อไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×