ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การพัฒนาคลังข้อมูล

    ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 50


    คลังข้อมูลคือการนำข้อมูลที่เราสนใจจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ txt file (Non-Table) หรือ Database (Table) มาเก็บไว้ในที่เดียวกัน ทีนี้คำว่าข้อมูลที่เราสนใจจะรู้ได้ว่ามีอะไรบ้างนั่นก็คือ ต้องสอบถามจากผู้ใช้งานว่าเค้าต้องการดูข้อมูลอะไร เมื่อรู้ว่าเค้าอยากดูข้อมูลอะไร เราก็จะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาเก็บที่คลังข้อมูล การดึงข้อมูลเข้าไปเก็บเนี่ยจะต้องมีหลักการในการเก็บด้วย โดยทั่วไป การออกแบบคลังข้อมูลเราจะใช้ Concept ของ Star Schema 


    จะเห็นว่าข้อมูลที่ถูกดึงเข้าไปยังคลังข้อมูลจึงเป็นข้อมูลจากหลายแหล่งและมีขนาดใหญ่ คุณลักษณะนี้ทำให้เราสามารถนำข้อมูลจากคลังข้อมูลไปใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารได้ (Decision Making) สมมุติว่าในองค์กรของเราประกอบด้วยฐานข้อมูลเพียงฐานข้อมูล (OLTP) เดียว มาลองมองดูว่าการพัฒนาคลังข้อมูลจะช่วยอะไรเราได้บ้าง ...

    สมมุติว่าข้อมูล Order OLTP System ของเราเก็บตามรูปข้างบนนี้ 

    โจทย์ก็คือถ้าต้องการดูข้อมูลขอ'งใบสั่งซื้อจากตาราง Order_Header และ Order_Line แยกตาม Customer_Type , Customer, Product_type ,Product_Line , Sales_Area ,Sales Rep

    นั่นคือ เราต้องทำการ join ตารางทั้งหมด 9 ตาราง เพื่อดูข้อมูลดังกล่าว จินตนาการนะค๊ะว่าถ้าข้อมูลการขายในองค์กรมีขนาดใหญ่จะต้องดึงข้อมูลขนาดไหนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ ที่สำคัญอย่าลืมว่า ในทางปฏิบัติระบบ Operational System มัน Run ทั้งวัน OLTP ต้องเก็บ - update ข้อมูล  แล้วเรายังไปดึงข้อมูลอีก Performance จะเป็นยังไง นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งค่ะ ว่าทำไมต้องพัฒนาคลังข้อมูล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×