คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : กริยารูป -MASU-
การผันกริยารูป ~MASU 「ます形の活用」
ทำไมต้องมี ~masu Form?
-คำตอบก็คือเพื่อ ความสุภาพ (มันก็แน่อยู่แล้วนี่เนอะ 555)
-นอกจากนั้น กริยาที่ผันเป็น ~masu Form แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับรูปอื่น ๆ ต่อได้อีกหลากหลายรูปแบบ หรือนำไปเชื่อมกับกริยาอีกตัว หรือนำไปผันต่อได้อีกหลาย ๆ ขั้นด้วย กล่าวได้ว่ากริยารูป ~masu Form เปรียบได้กับรากฐานของการผันกริยาเลยล่ะ
วิธีการผัน ~masu Form?
ก่อนอื่น ก็ต้องดูว่ากริยาที่เราจะผันนั้น อยู่ Group ไหน ใครไม่รู้ดูตอนที่ 6
เรามาดูหลักการผันในแต่ละ Group ที่แตกต่างกันตามตารางด้านล่างนี้เน้อ
-กริยากลุ่มที่ 1
- กริยากลุ่มที่ 1 นั้น ก็คือกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง "อุ", "คุ", "สึ", "ทซึ" ฯลฯ นั่นเอง ซึ่งหลักการผันก็คือ
- เปลี่ยนเสียง "う=อุ" ทั้งหลายแหล่ ให้กลายเป็นเสียง "い=อิ" จากนั้น เติม ~ます ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เช่น
Ex: 買う = kau = ซื้อ
- 買う > 買い (เปลี่ยนเป็นแถว "อุ" ให้เป็นเสียง "อิ") > 買います (เติม "มัส" ต่อท้าย)
Ex: 読む = yomu = อ่าน
- 読む > 読み (เปลี่ยนเป็นแถว "มึ" ให้เป็นเสียง "มิ") > 読みます (เติม "มัส" ต่อท้าย)
-กริยากลุ่มที่ 2
- กริยากลุ่มที่ 2 ลงท้ายด้วยแถวเสียง "~อิรึ" และ "~เอะรึ" ซึ่งหลักการผันก็คือ
- ตัด "~る=รึ" และ "~る=~รึ" ทิ้งไปซะ จากนั้นเติม ~ます ได้เลย เท่านี้ก็เรียบร้อย แบบง่าย ๆ ไม่วุ่นวาย เช่น
Ex: 見る = miru = มอง, ดู
- 見る (ตัด "รึ" ทิ้ง) > 見ます (เติม "มัส" ต่อท้าย เสร็จเรียบร้อย)
Ex: 支える = sasa'eru = สนับสนุน, ค้ำจุน
- 支える (ตัด "รึ" ทิ้ง) >支えます (เติม "มัส" ต่อท้าย นี่ก็เสร็จง่าย ๆ อีกแล้วครับท่าน)
-กริยากลุ่มที่ 3
- อย่างที่บอก กริยากลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มพิเศษที่มี "する=suru=ทำ" และ "来る=kuru=มา" เพียง 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งหลักการผันก็คือ
- สำหรับ する
- ให้เปลี่ยนเป็น "します=shi-masu" ได้เลยครับ
- สำหรับ 来る
- ให้เปลี่ยนเป็น "来ます=ki-masu" สั้น ๆ ได้ใจความเช่นเดียวกันงับ
Note: พึงระวังด้วยนะ คันจิตัว "来" ตัวนี้ ถ้าเป็น Plain Form (รูปดั้งเดิม) จะอ่านว่า 来る "คุรุ"
แต่ถ้าเป็น Masu Form ถึงแม้จะเขียนเหมือนกัน แต่ต้องอ่าน 来ます "คิมัส"
◆◆ตารางสรุป ます形◆◆
Ⅰグループ | |||
う = u | 飼う = kau = เลี้ยง (สัตว์) | ~u > ~i | 飼います = kai-masu |
す = su | 貸す = kasu= ให้ยืม | ~su > ~shi | 貸します = kashi-masu |
る = ru | 守る = mamoru = ปกป้อง, คุ้มครอง | ~ru > ~ri | 守ります = mamori-masu |
く = ku | 続く = tsuduku = ต่อไป, ต่อเนื่องกันไป, เรื่อยไป (※2) | ~ku > ~ki | 続きます = tsuduki-masu |
ぐ = gu | 仰ぐ = aogu = แหงนมอง, เคารพ, ขอ, ขึ้นอยู่กับ | ~gu > ~gi | 仰ぎます = aogi-masu |
つ = tsu | 保つ = tamotsi = รักษาไว้, อนุรักษ์, สงวน | ~tsu > ~chi | 保ちます = tamochi-masu |
ぬ = nu | 死ぬ = shinu = ตาย | ~nu > ~ni | 死にます = shini-masu |
ぶ = bu | 叫ぶ = sakebu = กู่ร้อง, ตะโกน | ~bu > ~bi | 叫びます = sakebi-masu |
む = mu | 微笑む = hohoemu = ยิ้ม | ~mu > ~mi | 微笑みます = hohoemi-masu |
Ⅱグループ | |||
~いる = ~iru | 生きる = ikiru = มีชีวิต, ดำรงอยู่ | ~i | 生きます = iki-masu |
~える = ~eru | 続ける = tsudukeru = ทำต่อ, ดำเนินต่อไป (※2) | ~e | 続けます = tsuduke-masu |
Ⅲグループ | |||
する = suru = ทำ | します = shi-masu | ||
来る = kuru = มา | 来ます = ki-masu |
Note1:
กริยายกเว้น ที่เข้าข่ายกลุ่มที่ 2 แต่ใช้หลักการผันเหมือนกลุ่มที่ 1
Note2:
続く เป็น "อกรรมกริยา" ส่วน 続ける เป็น "สกรรมกริยา"
-ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างรูปธรรมดา (Plain Form) กับรูปสุภาพ (masu Form)
A: どこに行くの?
- doko ni iku no?
- จะไปไหนอ่ะ?
B: 本屋に行く。
- hon'ya ni iku
- จะไปร้านหนังสือ
^บทสนทนาข้างต้นนี่ จะเป็นบทสนทนาที่ใช้พูดกับเพื่อน ๆ หรือบุคคลระดับเดียวกัน
A: どこに行きますか?
- doko ni iki-masu ka?
- จะไปไหนครับ?
B: 本屋に行きます。
- hon'ya ni iki-masu
- จะไปร้านหนังสือครับ
^ ส่วนอันนี้ จะเป็นบทสนทนาอย่างสุภาพ A กับ B ที่ยกตัวอย่างมา อาจเป็นบุคคลระดับเดียวกัน แต่ยังไม่ค่อยสนิทสนมกันมากเท่าไรนัก หรืออาจเป็นบุคคลคนละระดับก็ได้ (เช่น แม่กับลูก, อาจารย์กับนักเรียน ที่ไม่ได้ใช้ภาษาสุภาพเชิงยกย่องหรือถ่อมตัว ฯลฯ)
ความคิดเห็น