ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมๆความรู้หลายอย่าง

    ลำดับตอนที่ #2 : นิกายในศาสนาคริสต์(แบบยาว)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 70
      0
      20 ก.ค. 53

    ศาสนาคริสต์ แบ่งออกเป็น 3 นิกายสำคัญคือ

    นิกายโรมันคาทอลิค
                  นิกายโรมันคาทอลิคมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่เปโตรได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร เราอาจกล่าว ได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังอย่างเดียว ในฐานะที่เป็น “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของ พระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะ นักบวชเท่านั้นแต่เป็นประมุข สูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิคจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่น ให้สัตบุรุษมีศรัทธาและปฏิบัติตาม พระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์กรที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุ เป้าหมายตามภาระกิจที่พระเจ้าได้มอบไว้ มนุษย์จะรอดพ้นจากทุกข์ และบาปกำเนิด (original sin) ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้นั้น ต้องอาศัยคำสอนของพระเจ้าซึ่งปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล และอีกหนทางหนึ่งก็คือ การปฏิบัติตามศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) อันเป็นสื่อสัมพันธ์โดยองค์พระบุตรของพระเจ้า ได้มอบจิตของพระองค์ดำรงอยู่กับศาสนจักรนี้ โดยให้พระศาสน จักรเป็นเครื่องหมายและเครื่องมอสำหรับความรอดต่อไป และเป็นเครื่องหมายของอาณาจักรพระเจ้าซึ่งจะมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน วาระสุดท้าย ศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งปรากฏออกมา ในรูปของพิธีกรรมจึงเป็นเครื่องเตือนสติ และเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้า สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง การรับศีลศักดิ์สิทธิ์และการศึกษาพระคัมภีร์จึงมีความเท่าเทียมกัน และเป็นคู่กันในชีวิตคริสต์ คาทอลิค ชาวคริสต์คาทอลิค จำเป็นต้องอ่านพระคัมภีร์ให้มาก และรับศีล ศักดิ์สิทธิ์ให้มากครั้งตามโอกาสอันควร ทั้งนี้เพื่อการปฏิรูปชีวิตให้ดีขึ้น

    นิกายโปรเตสแตนท์
               นิกายนี้มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและคริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า“โปรเตสแตนต์” (Protestant) ซึ่งแปลว่า “ประท้วง” อาจารย์เสรี พงศ์พิศ (2531 : 71-74) ได้กล่าวถึงนิกายนี้ว่า เป็นกุล่มที่แยกตัว ออกมาจากพระศาสนจักร คาทอลิคประมาณศตวรรษที่ 14-15 โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็น ตัวเคลื่อนไหวนี้มี 3 กลุ่ม คือ นิกายลูเธอร์รัน (Lutheran) กลุ่มคริสตรจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity) และ นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)

    เหตุแห่งความแตกแยกของคริสต์ศาสนา

          สาเหตุที่ทำให้เกิดแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ และแยกตัวออกจากศาสนาจักรโรมันคาทอลิคนั้นสรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ

    1.สืบเนื่องมาจากการประพฤติของนักบวชในสมัยนั้นที่ไม่เป็นไปตามคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลและนิยมที่จะตีความหลักคำสอนไปตามใจชอบโดยไม่มีเหตุผล เป็นเหตุให้เกิดศาสนาพาณิชย์ ค้าขายใบบุญ ไถ่บาป เก็บภาษีไร่นา ตลอดจนเรี่ยไรเงินเข้าวัด นักบวชมีชีวิตอย่าง หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ถือสันโดษ ศาสนจักรมีนโยบายผูกขาดความรู้ทางศาสนา และการสอนศาสนานั้นมีไว้ให้เฉพาะพวกนักบวชเท่านั้น.

    2.ความเจริญในทางวิชาการมีมากขึ้น ประกอบกับมีการสร้างเครื่องพิมพ์และตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมากมาย ทำให้มีการเผยแพร่ตำราต่างๆอย่างกว้างขวาง การสื่อสารต่างๆ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็วพระคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกแปลถ่ายทอด เป็นภาษาพื้นเมืองต่างๆ แม้แต่ชาวบ้านก็สามารถอ่านได้ ทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางศาสนา ซึ่งแต่ก่อนมานั้นนักบวชทำหน้าที่ เป็นสื่อระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ทำให้มีความสำคัญมากต่อเมื่อมีคนสามารถอ่านคัมภีร์ได้แล้ว ความสำคัญของนักบวชลดน้อยลง ความรู้ความเข้าใจในศาสนาของประชาชนกลับมีมากขึ้น จนนักบวชไม่สามารถปิดบังความรู้นั้นไดต่อไปอีกทั้งคนทั่วไปยังสามารถ วิพากษ์วิจารณ์ตีความสำสอนในคัมภีร์ไบเบิลได้

    3.ความรู้สึกเป็นชาตินิยม (nationalism) มีมากขึ้นในสมัยนี้ แต่ละแคว้นต่างรวมตัวคนในชาติเดียวกัน ปลุกใจให้เกิดความ
    .รักชาติรักเผ่าพันธุ์ และพยายามแยกตัวออกเป็นอิสระจากศาสนจักร

     ...........ด้วยเหตุที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงเกิดเป็นกลุ่มฟื้นฟูศาสนากลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ

    1. นิกายลูเธอรีน (Lutherin) ผู้นำคนสำคัญ คือ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1483-1546 เกิดที่แซกซอนนี (Saxony) ประเทศเยอรมัน ได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอกและได้ศึกษาเทวศาสตร์ จากสถาบันต่างๆ จากนั้นได้เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญทีกรุงโรม ทำให้เห็นสภาพต่างๆ ในศาสนจักร ต่อมาท่านได้ตีความพระคัมภีร์ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง 
              ความคิดเลยต่อเนื่องมา วิจารณ์พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายในบุญกันมาก ความคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุน พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก ความคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากมหาชน เยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลายออกไปทั่วยุโรป ทำให้พระสันตะปาปาไม่พอพระทัย มาร์ติน ลูเธอร์รับหมายขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร (excommunication) ในปีค.ศ.1521 ตรงจุดน้ำได้นำไปสู่การแตกแยกของนิกายใหม่ในเวลาต่อมา ชีวิตของลูเธอร์ในระยะนี้ต้องหลบลี้ตลอดเวลา

               แต่ก็ทำให้ท่านมีเวลาแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม รวมทั้งศีลสิทธิ์เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ชาวบ้านและคนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักคำสอนและพิธีกรรมซึ่งแต่เดิมเขียนเป็นภาษาละติน จึงยากแก่การสื่อความหมายให้เข้าถึงได้ จึงได้รู้เฉพาะปัญญาชน นักบวช และนักศาสนาเท่านั้น

             ผลงานของลูเธอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินให้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องให้บุคคลสามารถรับผิดชอบใรความเชื่อของตนโดยไม่ต้องอาศับบุคคลที่ 3 เช่นพระหรือนักบวช กฎเกณฑ์ต่างๆในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเข้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่มำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคล ภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนด์จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมกที่ตกแต่งดังเช่นโบสถ์คาทอลิก บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดใหม่สามารถเข้าถึงพระเจ้า

               การปกครองทางศาสนาของนิกายน้ำได้แบ่งออกเป็นหมู่ (congregation) ซึ่งประกอบไปด้วยคริสตชนกลุ่มหนึ่ง+ผู้อภิบาล (Pastor) หลายๆหมู่ -> Synode หลายๆSynode -> Genaral Synode มี Bishop เป็นผู้นำ นิกายนี้สมาชิกผู้นำส่วนมากอยู่ในประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสแกนดิเวเนีย  

    2.กลุ่มคริสตจักรฟิ้นฟู (Reformed Christianly)
                
    ผู้นำคนสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมากได้แก่ สวิงลี และ คาลวิน

    2.1 อูลริส สวิงลี (Ulrich Zwingli) เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1848-1531 ได้รับแนวความคิดจากลูเธอร์ และปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) อูลริชไม่เห็นด้วยกับ ความคิดที่ว่าพิธีล้างบาป และพิธีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นเพียงคงามเชื่อภายนอกเท่านั้น หาใช่ความเชื่อในพระเจ้าอย่างแท้จริง

              เพราะพิธีล้างบาปก็คือการปฏิญาณตน และพิธีศีลมหาสนิท หรือมิสซาก็คือการระลึกถึงวันเลี้ยงมื้อสุดท้าย ของพระเยซูเท่านั้น พิธีเหล่านี้ ไม่ใช่พิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ในตัวของตัวเองดังที่เชื่อกันในสมัยนั้น จนทำให้คนส่วนมากละเลยที่จะศึกษาพระวจนะจากพระคัมภีร์และยึดติดที่ตัวพิะกรรมมากกว่าจะ ปฏิบัติเข้าถึงทาง แห่งความรอดด้วยตนเอง เขาได้ปรับพิธีกรรมให้เรียบง่าย และเน้นที่แก่นแท้ของคำสอน เช่น งานเลี้ยงมื้อสุดท้าย แทนที่จะเน้นว่าขนมปังและเลือดคือพระกายและพระโลหิตแต่จะเน้นที่คำสอนของพระเยซูที่ว่า “จงทำสิ่งนี้ เพื่อระลึกถึงฉัน” งานเลี้ยงอาหารค่ำจึงสำคัญในประเด็นที่เป็นพิธีเพื่อระลึกถึงพระเยซู และความตายที่พระเยซูได้ยอมให้เกิดขึ้นเพื่อการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติ ถ้ามองกันตามรูปแบบของพุทธศาสนาก็คือ ความตายองพระเยซูเป็นการสอนให้มนุษย์ได้รู้จักความหมายของการให้ที่แท้จริง อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการถอนความยึดถือในตัวตน

                  แนวคิดของสวิงสีแพร่หลายในสวิสเซอร์แลนด์และได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น ทำให้แคว้นต่างๆในภูมิภาคแถบนี้สามารถรวมตัวกันเป็นสหพันธ์โดยมีนิกายเป็นตัวเชื่อม

    2.2 นิกายคาลวิน (Calvinism) ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน (John Calvin) หรือคาลแวง เป็นชาวฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาไดสนใจแนวคิดทางศาสนาของลูเธอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง และเริ่มสอนที่ฝรั่งเศลและสวิสคำสอนเของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรียน(Presbyterian) คาลวินมีอิทธิพลมากในกรุงเจนีวา เขาถูกเชิญไปที่นั่นหลายครั้งจะกระทั่งได้อาศัยอยู่ที่เจนีวาจนสิ้นใจในปีค.ศ. 1564 ผลงานที่สำคัญคือหนังสือศาสนาที่ต่อมาได้กลายเป็น หลักเทวศาสตร์ของโปรแตสเตนด์ชื่อ "สถาบันทางศาสนาคริสต์ (The Instiutes of the Christian Religion)" แต่เดิมเขียนเป็นภาษาละตินแต่ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในเวลาต่อมา และถึงพิมพ์ถึง 4 ครั้ง

               ในช่วงที่คาลวินมีชีวิตอยู่ หนังือเล่มนี้ช่วยให้เราสามารถเข้าใจศรัทธาของชาวคริสต์ คำสอนของนักบุญออกัสติน (St. Augustin) อีกทั้งทำให้เราเข้าใจอำนาจของพระเจ้า เช้าใจในเรื่องบาปกำเนิด และชะตาที่ถูกลิขิตโดยพระเจ้า นอกจากนี้คาลวินได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเจนีวา และทำให้กรุงเจนีวาเป็นศูนย์นัดพบของชาวโปรเตสแตนด์ทั่วยุโรป เราอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดของคาลวินมีอิทธิพลต่อกลุ่มฟื้นฟูคริสตศาสนามาก เช่น Church of England หรือ Angalism พวก presbyterian พวกBaptist และโปรเตสแตนด์กลุ่มอื่นๆ เป็นต้น

    3.นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แองกลิคัน " (Anglicanism) มีกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ต้องการให้พระสันตะปาปา จึงไม่พอพระทัยประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่า Church of England ไม่ขึ้นต่อกรุงโรมและทรงแต่งตั้งโธมัส แคลนเมอร์ (Thomas Cronmer)

                นอกจากนี้หลักคำสอนของลุเธอร์และคาลวิน ได้รับความนิยมอย่างมากในอังกฤษ และต้องการตัดส่วนเปลือกของศาสนาออกไปให้เหลือแต่แก่นแท้ของศาสนาล้วนๆ เช่น การตัดพิธีกรรมบางอย่างที่เกิดจำเป็น การอนุญาติให้ทุกคนอ่างพระคัมภีร์ได้ 
                 อย่างไรก็ตามแม้ว่าคริสตจักรอังกฤาได้แยกตัวออกจากกรุงโรมอย่างเด็ดขาดแล้ว แต่พิธีกรรมความเชื่อการบริหารงานต่างๆ ยังคงคล้ายกับคาทอลิคกรุงโรม

    นิกายต่างๆ ในโปรเตสแตนต์ กลุ่มฟื้นฟูศาสนาตามที่กล่าวมาในตอนต้นนี้ทั้ง 3 กลุ่ม ได้ทำให้เกิดนิกายเล็กๆ ต่อมาอีกมากมายซึ่งล้วนแต่รับโครงสร้างของ โปรเตสแตนต์ในที่นี้จะกล่าวถึงบางกลุ่มและบางนิกายเท่านั้น คือ

    1.นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) เป็นกลุ่มที่ต้องการจัดระบบการปกครองของพระเจ้าให้เป็นระเบียบแบบแผน และให้คงที่ตามหลักของลูเธอร์โดยมีบิชอปเป็นประธาน ความเชื่อขิงนิกายนี้มุ่งเน้นศรัทธา เพราะถือว่าพระของพระเจ้าสามารถ ปลดเปลื้องทุกข์ของมนุษย์ได้ ไม่ใช่พระ พระเป็นเพียงผู้ทำพิธีกรรมเท่านั้น นิกายนี้มีผู้นับถือทั่วโลก คนไทยส่วนมากรู้จักนิกายนี้ดีโดยเฉพาะ ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้สอนศาสนาของนิกายนี้ได้ตั้งโบสถ์และโรงเรียนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และมี ส่วนเป็นอย่างมากในการตั้งโรงพิมพ์ ศาสนาทูต บางท่านได้รับหน้าที่ถวายความรู้ทางภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    2.นิกายเมธอดิสต์ (methodism) เกิดขึ้นโดยจอห์น เวสลีย์ (John Wesley : ค.ศ. 1703-1791) เป็นชาวอังกฤษที่มี จุดประสงค์ต้องการให้ผู้นับถือพระเจ้ามีอิสระภาพมากขึ้น สามารถปฏิบัติศาสนาไปตามหลักของเหตุผลให้เหมาะแก่ชีวิตของตน และเหตุผลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องการรวมพวกโปรเตสแตนต์ที่แตกแยกไปเป็นนิกายต่างๆ ให้อยู่ในแบบเดียวกัน สมาชิกของนิกาย นี้มีทั่วโลกแต่ส่วนมากอยู่ในยุโรปและอเมริกา

    3.นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (Seven Day Adventists) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของกลุ่มแอดแวนติสต์ นิกายนี้เน้นวันสุดท้ายของโลก และการเสด็จมาของพระคริสต์ในวันพิพากษาโลกเพื่อทำลายล้างคนชั่วและทำให้โลกนี้บริสุทธิ์อีกครั้ง สมาชิกผู้นับถือมีทั่วโลกโดยฉพาะในประเทศไทยนั้นนิกายน้ได้ส่งศาสนฑูตเข้ามาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 ศาสนทูตหลายท่าน มีส่วนสร้างความเจริญให้แก่ประเทศไทย เช่น ตั้งโรงเรียน ตั้งสุขศาลา และโรงพยาบาล โรงพยาบาลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือโรงพยาบาลมิชชันที่สะพานขาว เมื่อเงินพยาบาลเจริญก้าวหน้ามากถึงต้องขยายโรงพยาบาลและเปิดโรงเรียนพยาบาล เพื่อให้ความรู้ทางด้านผดุงครรภ์แก่ นักเรียพยาบาลเจริญรุดหน้าตราบเท่าทุกวันนี้

    4.นิกายเควกเกอร์ (Quaker) หรือสมาคมมิตรภาพ (Society of Friends) เป็นนิกายที่เกิดในอังกฤษโดย ยอร์ช ฟอกซ์ (George Fox : 1624-1691) แต่แพร่หลายในอเมริกาโดยวิลเลี่ยม เพน (William Penn : 1644-1718) โดยเฉพาะในรัฐ เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) เป็นดินแดนแห่งแรกที่เพนได้มาตั้งรกรากและทำการเผยแพร่ศาสนา นิกายนี้ต้องการรื้อฟื้น ศาสนาคริสต์แบบดั้งเดิม จึงเนประสบการณ์ตรงในการเข้าถึงพระเจ้าโดยใช้แสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใน (inner light) เพราะพระวจนะ ของพระเจ้ามีชีวิตไม่ใช่เพียงแค่ตัวอักษรที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ผู้เชื่อในพระเจ้าเท่านั้นที่จะได้รับการคัดเลือกจากพระองค์ให้ได้ รับพระวจนะจากพระองค์โดยตรง มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อกันเป็นอย่างดีควรให้บริการและช่วยเหลือมนุษย์และสังคมในทุกๆ ด้าน รวมทั้งต่อต้านสงครามทุกรูปแบบ ปฏิเสธการที่ทาสและทำทารุณกรรมแก่เพื่อนมนุษย์  นิกายนี้ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมหรือศีลศักดิ์ศิทธิ์ที่เน้นสัยลักษณ์ทางวัตถุ เพราะจะทำให้จิตใจของมนุษย์หันเหออกจากสมาธิตามธรรมชาติ การสวดมนต์อย่างเงียบๆ จะช่วยให้มนุษย์ได้รับแสงสว่างภายในได้ดี

    5.นิกายพยานพระยะโฮวา (Jehovah’s Witnesses) นิกายนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของพวกโปรเตสแตนต์ ที่ต้องการปฏิรูปคำสอนให้เป็นไปในแบบเดิม โดยเฉพาะแบบอบ่างในการนมัสการพระเจ้า คือ พระยะโฮวา ทั้งนี้เพราะพวกโปรแตสแตนต์ ส่วนมากได้แตกกลุ่มออกไปเป็นหลายพวกเพราะความสับสนในคำสอน และความไม่ชัดแจ้งของหลักคำสอน ชาร์ล รัสเซลล์ (Charles Russell) ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ได้ริเริ่มตั้งนิกายนี้ขึ้นมาโดยเริ่มแรกมีการรวมกลุ่มกันที่มลรัฐเพนซิลเวเนีย และขยายตัวออกไปทั่ว มีผู้สนใจกันมาโดยเฉพาะชนชั้นกรรมกรและคนชั้นกลาง ถึงกับมีการตั้งสมาคมเผยแผ่ลัทธิที่เรียกว่า “หอสังเกตการณ์” (Watch Tower) และมีการพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

    6.นิกายมอร์มอน (Mormonism) หรือศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้าย (The Church of Jesus Christ of Latter-Day Saints) ผู้ก่อตั้งคือ โจเซฟ สมิธ (Joseph Smith) ผู้เติบโตท่ามกลางบรรยากาศทางศาสนา แบบกลุ่มฟื้นฟูชีวิต (Revivalists) ในนิวยอร์ค (New York) หลักคำสอนของศาสนาเหมือนคำสอนทั่วๆ ไปของศาสนาคริสต์ เพียงแต่เพิ่มความเชื่อในคัมภีร์มอร์มอน (Book of Mornon) ซึ่งกันว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับมาจากมอร์มอน และเชื่อกันว่า คัมภีร์นี้เป็นพระวจนะของพระเจ้าเดิมจารึกในภาษาโบราณ แต่แปลความหมายโดยโจเซฟ สมิธ ออกพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1830 เนื้อหาบางส่วน ในคัมภีร์ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์อเมริกาที่มีผู้อพยพในยุคแรกๆ เป็นกลุ่มชนที่มาจากปาเลสไตน์ เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษ ของพวกอเมริกันอันเดียน ความเป็นเชื่อตรงจุดนี้อาจแตกต่างจากนักประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไป สมิธิได้รับการยกย่องจากพวกมอร์มอน ให้เป็นประกาศยุคใหม่ของนิกาย และสานุศิษย์ได้ช่วยกันสร้างวิหารขึ้นมาเป็นครั้งแรกในนิวยอร์ค 

                    นิกายมอร์มอนแพร่หลายมากในนิวยอร์คและรัฐอื่นๆ เช่น โอไฮโอ (Ohio) มิสซูรี (Missonuri) อิลลินอยส์ (Illinois) และยูทาห์ (Utah) นิกายนี้ส่งเสริมและเผยแพร่ทางด้านศาสนา และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทางด้านการศึกษาและสาธารณกุศล 

    7.นิกายออร์ธอด็อกซ์ ความเป็นมาของนิกายนี้ สืบย้อนต้นได้ถึงศตวรรษในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิฌรมันถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 อาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome) ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิกายเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป้นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสารทั่วไปอาณาจักรทั้งสองนี้มีการแข่งันกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และการเมืองแม้นว่าจะนับถือศาสนาคริสต์เหมือนกน แต่มุมมองในด้านความเชื่อต่างกัน เช่น ฝ่ายนิกายออร์ธอด็อกซ์ ไม่บังคับในเรื่องการถือโสดของนักบวช ไม่บังคับในเรื่องการอดอาหาร การไว้หนวดเครา ปฏิเสธการไถ่บาปของบาทหลวงคาทอลิคเพราะเห็นว่า ไม่จำเป็น การไม่ยอมรับในอำนาจของพระสันตะปาปาและการตีความเกี่ยวกับ พระตรีเอกภาพก็ต่างกัน พระสันตะปาปากรุงโรมจึงขับออกจากศาสนจักร กลุ่มออร์ธอด็อกซ์ได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงโรม แล้วแรียกกลุ่มของตนว่า “ออร์ธอด็อกซ์” (Orthodox) ซึ่งมีความหมายว่า “หลักธรรมที่เที่ยงตรง” หรือ “หลักธรรมที่ถูกต้อง” ทั้งนี้เพราะพวกออร์ธอด็อกซ์เชื่อว่า หลักคำสอนที่พวกตนปฏิบัติอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีเหตุผลไม่งมงาย พิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ล้วนได้อิทธิพลจากกรีก อันเป็นแหล่งที่มรของความเชื่อที่ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผล ศาสนจักรของโรมันตะวันออกเจริญรุ่งโรจน์อยู่นาน จนกระทั่งอาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายตกเป็นของพวกอนารยาชนในระยะเวลาหนึ่ง อาณาจักรโรมันตะวันออกก็สูญเสียให้แก่พวกเตอร์ก (Turk) ในปี ค.ศ. 1453 นับแต่นั้นมาศานาอิสลามได้เข้าไปมีบทบาทแทน

     ...........แม้นว่ากรุงคอนแสตนติโนเปิลโดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้ถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบ ยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อก์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญ รุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครอง แบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไป แต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย เพราะเหตุ ว่าศาสนจักรยังสามารถพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลเผยแพร่ได้และบางส่วนได้นำส่วนออกขายต่างประเทศ ประมาณกันว่าใน รัสเซียขณะนั้นมีผู้นับถือ ประมาณ 50 ล้านคน มีนักบวช 35,000 คน ข้อมูลนี้เป็นสถิติที่บันทึกไว้ในหนังสือ ศาสนาของโลก (The World’s Great Religions) ของนิตยสารไลฟ์ (Life) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1957 นับว่ามีจำนวนผู้นับถือศาสนานี้ไม่น้อยเลยสำหรับสมัยนั้น แต่สำหรับปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถทราบจำนวนผู้นับถือศาสนานี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเนื่องจากความแปรปรวนทางการเมืองปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค (Patriarch) เป็นประมุข แต่มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาทอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่างๆเป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกานออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี บูลาเรีย โปรแลนด์ ยูโกสลาเวีย และรัฐเซีย ฯลฯ

    ...........อย่างไรก็ตาม แม้นว่านิกายออร์ธอด็อกซ์โดยทั่วไป จะปฏิเสธระบบการปกครองและรูปแบบพิธีกรรมของศาสนจักรคาทอลิค แต่ก็ยังคงยอมรับในศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ข้อ เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งๆ ที่ระเบียบปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างกัน ในส่วนปลีกย่อย แต่ในด้านแก่นหรือเนื้อแท้ของพิธียังคงเป็นแบบเดียวกัน


    .....................................................................................................
    from writer...ขอบคุณอย่างยิ่ง
      http://jesus-god.exteen.com/page-4
    and http://rka-state.vox.com/library/post/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×