สร้างคน สร้างชาติ สร้างที่นี่ - สร้างคน สร้างชาติ สร้างที่นี่ นิยาย สร้างคน สร้างชาติ สร้างที่นี่ : Dek-D.com - Writer

    สร้างคน สร้างชาติ สร้างที่นี่

    โดย ruk21us

    “ต้นไม้ต้นนี้มีราก” และรากนั้นหยั่งลึกลงสู่ดิน ตัวเราคือกิ่งก้านสาขา ที่ต้องเพียรพยายามแตกหน่อออกผล เพื่อให้ไม้งามนี้ยั่งยืนคงอยู่ต่อไปเนิ่นนาน ให้รากไม้นี้เหยียดลงลึกถึงเปลือกโลกต่อไป

    ผู้เข้าชมรวม

    1,031

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    11

    ผู้เข้าชมรวม


    1.03K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ก.ค. 52 / 06:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ต้นฉบับนี้ลงที่เด็กดี  และที่ http://ruk21us.exteen.com  ด้วยเจ้าค่ะ
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      สร้างคน สร้างชาติ สร้างที่นี่

      การจะสร้างอะไรสักอย่างนั้นมีนัยและวิธีการของมันอยู่เสมอ   ประเทศหนึ่งจะเจริญเติบโตได้  ก็ต้องสร้างอะไรมากมายหลายอย่าง  จากประเทศที่ไม่ใครรู้จักจะสร้างความเกรียงไกร และวางรากฐานให้กับอนาคตของประชาชนได้  เป็นผู้มีอิทธิพลต่อนานาประเทศได้  ไม่ใช่เพียงเพราะว่า “ปัจจุบัน”  แต่มันเป็นผลที่เกิดมาจาก “อดีต” ต่างหากเล่า  ปัจจุบันคือความฝันของเมื่อวันวานไม่ใช่หรืออย่างไร?


      กรุง โรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว   สหราชอาณาจักรกว่าจะเป็นดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินก็ต้องผ่านยุคสงคราม กลางเมืองและการถูกต่างชาติกดขี่ข่มเหงมาแล้ว   ญี่ปุ่นกว่าจะเป็นประเทศชั้นนำทางอุตสาหกรรมก็เคยประสบยุคข้าวยากหมากแพง มา   จีนกว่าจะลืมตาอ้าปากอีกครั้งก็ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเมือง ตั้งเท่าไหร่  หรือต่อให้สหรัฐอเมริกาเองก็เคยผ่านการนองเลือดจากสงครามเลิกทาสและการ ประกาศอิสรภาพมาแล้ว   ยังมีตัวอย่างของฝรั่งเศส   อิตาลี   เยอรมัน  แคนาดา  สิงคโปร์  ไตหวัน หรือกระทั่งเกาหลีใต้ มากมายหลายประเทศนัก  


      ถ้า เราจะสรุปว่า “ไม่มีประเทศไหนที่ไม่เคยเจอมรสุมวิกฤต”  ก็ต้องถือว่าถูกต้อง    หลายครั้งที่ล้มๆลุกๆ  แต่ก็ต้องตั้งตัวให้ได้โดยไม่พ่ายพังลงไป   


      ประเทศไทยของเราก็ เช่นกัน  เราผ่านยุคสมัยที่ต้องประกาศอิสรภาพจากขอม  ยุคสร้างอาณาจักรที่เกิดจากความเสียสละของวีรบุรุษในเงามืดอย่างพ่อขุนผา เมือง        ยุคของการสร้างความเป็นปึกแผ่นของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ยุคของการศาสนาของพญาลิไทย  ข้ามไปถึงยุคบุกเบิกอย่างพระเจ้าอู่ทอง  พระบรมไตรโลกนาถ  พระนเรศวรมหาราช  พระนารายณ์มหาราช  พระเจ้าตากสินมหาราช  เรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์  ตั้งแต่รัชกาลที่หนึ่งเรื่อยมาบ้านเมืองนี้ก็ต้องรบราฆ่าฟันกับมรสุมจากภาย ในภายนอกแทบไม่เคยหยุดพัก


      หากจะเปรียบเทียบที่อายุ  นับจากกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประเทศไทยของเราอาจจะไม่ได้สูงวัยเช่นจีน หรือญี่ปุ่น  แต่หากเทียบที่ประสบการณ์  เราเองก็เป็นตัวละครในเวทีโลกที่เจนศึกไม่แพ้ใคร    ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น  ไม่ว่าใครหรืออะไรจะเข้ามาก็สามารถข้ามฝ่าฟันไปจนได้    


      ณ จุดที่พวกเรายืนอยู่นี้ก็คือ “ผล” จากอดีต  ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์มา  แน่นอนว่าในบรรดาบรรพบุรุษของพวกเรา  ในทุกช่วงเวลานั้นมีความขัดแย้ง  มีความไม่ลงรอย  แต่ทุกท่าน ก็ได้พยายาม “เลือก” สิ่งที่ดีที่สุดในกับสยามประเทศของพวกเรา  ไม่ว่าจะเป็นการตีฝ่าวงล้อมพม่าของพระเจ้าตากสินมหาราช , การย้ายเมืองหลวงของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ,  การทำสนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, เงินถุงแดง,    ปริศนาศิลาจารึกหลักที่หนึ่งของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,  การทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ,  การเปิดประเทศและจำยอมรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต,  การสูญเสียดินแดนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส ,  การปฏิรูปประเทศ , การจัดตั้งกองเสือป่า,  การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ,  การปฏิรูปของคณะราษฎร์,  การพระราชทานรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ,   การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง  หรือกระทั่งคำพิพากษาประวัติศาสตร์คดีอาชญากรสงครามที่ลือลั่น   ฯลฯ  ทุกสิ่งเหล่านั้นก็คือ “ประสบการณ์” และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ   


      ดัง นั้นจึงเท่ากับว่า  “วันนี้”  ณ เวลาที่พวกเราทุกคนกำลังมีลมหายใจและกำลังทำอะไรบางอย่างอยู่ในทุกวันของ ชีวิต  พวกเราเองก็กำลังสร้างประวัติศาสตร์  “บางอย่าง” ขึ้นเช่นกัน    พวกเรา กำลังเป็น “น็อต”  หรือ ไม่ก็ “ฟันเฟือง” ชิ้นเล็กๆที่กำลังหมุนประวัติศาสตร์ของประเทศชาติ  


      หากคิดจะสร้างชาติ    ก็ต้องสร้างคน   เนื่องเพราะคน  คือผู้สร้างชาติ   



      ปัญหาคือเราควรจะสร้างคนกันอย่างไรดีนะ????



      จะสร้างก็ต้อง “สอน” บางอย่างให้


      แน่ นอนว่าเจ้าของบล็อกนั้นไม่อาจจะสอน หรือบอกกับใครเต็มปากด้วยเพราะไม่ถึงทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ  แต่อาจเสนอความเห็นตัวเองว่า  แต่ไหนแต่ไร  ประเทศสยามเรานั้นยึดมั่นในกุศโลบายอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ  “เปิดประตูและคัดกรอง”   


      ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม  บรรพบุรุษของเรานั้นจะยอมรับและเข้าใจความเป็นไปของโลกเสมอ  ตัวอย่างเช่นที่คนสยามในอดีตนั้นรับเอาความรู้ และศิลปวิทยามากมายมาจากคนต่างชาติ  ไม่ว่าจะเป็นฮอลันดา  โปรตุเกส  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  จีน อินเดีย อาหรับ ฯลฯ   แต่ทั้งที่รับมามากมายเช่นนั้น  เปิดประตูบ้านโล่งถึงเพียงนั้น  แต่เราก็ไม่เคยได้ชื่อว่าตกเป็นเมืองขึ้นของใคร  


      นั่นก็เพราะเรารู้จักที่จะ  “ปรับ”  และ “เลือก” อยู่เสมอมิใช่หรอกหรือ     


      พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สามนั้น  ทรงตรัสเตือนไว้จับใจความได้ว่า  “ ในการข้างหน้านั้นศึกข้างพม่า ข้างญวนนั้นคงจะเบาบาง  แต่ตะวันตกนั้นจะเข้ามาแทนที่  ขอให้เรียนรู้จากเขา  แต่ใช่ว่าจะรับเอามาเสียทั้งหมด   ขอให้เลือกรับมาเฉพาะสิ่งดีเท่านั้น ”   ( เขียนจากความทรงจำค่ะ จับใจความตามนี้ )



      ดังนั้นแล้วเราจึงกล่าวได้ว่า   ทรง “เตือน” คนสยามไว้ล่วงหน้านานนักหนา  


      แต่ทว่า.......ดูเหมือนคำเตือนนั้นคงจะตกทอดมาไม่ถึงปัจจุบันกระมัง   


      เพราะ ในทุกวันนี้    เรามักจะเห็นผู้คน “เป็นไปในอีกทางหนึ่ง”  เสมอๆ  ไม่สมพระทัยพระองค์ท่านอย่างที่พึงเป็น  เพราะเป็นเช่นนี้กระมัง  จึงได้รู้สึกอยู่เสมอว่า    บางสิ่งนั้น “สูญหาย” ไป   


       ต้นไม้ ต้นหนึ่งจะเติบโตไพศาลแตกลูกแตกหน่อออกผลได้  ก็ย่อมต้องมีรากที่หยั่งลึกลงสู่ผืนพสุธา  ไม่ใช่เพียงการ “ผลิต” และไหวตามลมไปเรื่อยๆเท่านั้น    หากลองนึกถึงประเทศที่สร้างชาติได้เป็นที่รู้จักทุกวันนี้  มีสิ่งหนึ่งที่ทุกชาติจะมีคล้ายคลึงกันคือ  “วัฒนธรรมและความเป็นชาตินิยม”


      ก้าวเดินไปตามกระแสของโลก  แต่ไม่ได้ไหลไปตามน้ำ   สมัยนี้ที่ทุกคนรู้จัก โอดะ โนบุนางะ  , โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ  หรือ โตกุกาว่า  อิเอยาสึ   ของญี่ปุ่น  คนรู้จัก แดจังกึม  หรือจูมงแห่งเกาหลีใต้  รู้จักอับราฮัม  ลินคอล์น  แห่งสหรัฐอเมริกา  รู้จักพระเจ้าเฮนรี่ที่แปด  วินสตัน  เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ     กระทั่ง จักรพรรดิเฉินหลง  หรือซูสีไทเฮา ของจีน    นั่นก็ผลของการ “ขาย” วัฒนธรรม  ให้ “คนในชาติ ”  สำนึก    และ “คนต่างชาติ” ชื่นชม ในประเทศของเรา  ในความเป็นตัวเรา    


      สร้าง “วีรบุรุษ” ของชาติให้เกิดขึ้นในใจคนในชาติให้เอาเยี่ยงอย่าง    และสร้าง “ภาพฝัน” ให้ คนต่างชาติเข้าใจและมองเราในแง่ดี  แง่บวก   เท่ากับเป็นการโฆษณาประเทศของตนเอง    และเป็นการบอกนัยว่า  “เรายังมีราก”  คนทุกคนในสังคมยังคงดำรงคงอยู่กับ “รากเหง้า” ของตนเอง  เจริญขึ้น  รับความรู้เทคโนโลยี  แต่ไม่จำเป็นที่จะต้อง “ลืมตนเอง”   


      เรา ก็คือเรา  สยามก็คือสยาม  ประเทศไทยก็คือประเทศไทย   ไม่ต้องพยายามจะก้าวกระโดด  ไม่ต้องพยายามที่จะรับเอาทุกสิ่งที่เห็นเอาเองว่าศิวิไลซ์โก้หรูมาใส่ตัว  ไม่ต้องโอ้อวดวาดหวังร่ำรวยมั่งคั่งเป็นเศรษฐีโลก     ถ้าจะมีสิ่งไหนที่อยากบอกเหลือเกิน  อยากบอกคนเป็นพ่อแม่   คนเป็นครู   คนเป็นรัฐมนตรี  คนเป็นผู้บริหารประเทศ   ถ้าจะสอนอะไรให้กับเด็กๆ  ในวันนี้ล่ะก็  ถ้าจะ “สร้างคน” ในเวลานี้ล่ะก็


      ก็ได้โปรดสอนว่า  “เรานั้น....ก็คือเรา”    


      ไม่ ใช่สิ่งอื่น  หรืออยากเป็นสิ่งไหน  แต่เราก็คือเรา  เป็นประเทศเล็กๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย ( ส่วนจะสวยงามหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคนมอง  )  ผ่านร้อนผ่านหนาว  ผ่านเรื่องดีและไม่ดีมามากมาย  แต่ไม่ว่ามันจะดีหรือร้าย  ก็จะยืดอกขึ้น  และภูมิใจที่เราเป็นเราเสมอ


      สอนให้เขารับรู้ว่า “ต้นไม้ต้นนี้มีราก”  และรากนั้นหยั่งลึกลงสู่ดิน   ตัวเราคือกิ่งก้านสาขา  ที่ต้องเพียรพยายามแตกหน่อออกผล  เพื่อให้ไม้งามนี้ยั่งยืนคงอยู่ต่อไปเนิ่นนาน  ให้รากไม้นี้เหยียดลงลึกถึงเปลือกโลกต่อไป  


      ไม่ต้องเขียนหลักสูตรการศึกษาเลิศหรู   

      ไม่ต้องคาดหวังร้องเรียกว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า  แล้วได้แต่รอ

      ไม่ต้องรอการเลือกตั้งครั้งใหม่ให้มาถึง

      ไม่ต้องรอครูใหญ่  หรือเจ้ากระทรวงสั่งการ

      ไม่ต้องรอนายกฯ  หรือคนใหญ่โตออกความเห็น



      แค่เพียรบอก

      แค่ริเริ่ม

      แค่เชื่อมั่น



      แล้วก็ประกาศก้องออกไปว่า.........

      “เราคือสยาม” 
         




      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×