บทสวดที่ควรสวดในชีวิตประจำวัน - บทสวดที่ควรสวดในชีวิตประจำวัน นิยาย บทสวดที่ควรสวดในชีวิตประจำวัน : Dek-D.com - Writer

    บทสวดที่ควรสวดในชีวิตประจำวัน

    วิธีสวดมนต์ที่ถูกต้อง และบทสวดที่ควรสวดเป็นประจำเพื่อความสุข ความเจริญ

    ผู้เข้าชมรวม

    316

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    316

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ต.ค. 56 / 21:33 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      บทสวดมนต์

      วิธีสวด

                      ให้เริ่มสวดตั้งแต่บทบูชาพระรัตนตรัย  กราบพระรัตนตรัย  นมัสการพระรัตนตรัย (นะโม ๓ จบ)  คำขอขมาพระรัตนตรัย  ไตรสรณคมน์  ถวายพรพระ (อิติปิ โสฯ) พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ) เพียง ๑ จบจากนั้นให้สวด  อิติปิ โส  เท่าอายุบวกด้วย ๑ เสร็จแล้วให้แผ่เมตตาแก่ตนเอง  แผ่เมตตา  ให้สรรพสัตว์  แผ่ส่วนกุศลเสร็จแล้วจึงอธิษฐานตามสิ่งที่ปรารถนา  จากนั้นจึงสวดพระคาถาและบทสวดอื่นๆ

      บูชาพระรัตนตรัย

      อิมินา  สักกาเรนะ พุทธัง  อะภิปูชะยามิ

      ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระพุทธเจ้า

      อิมินา  สักกาเรนะ ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ

      ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระธรรมเจ้า

      อิมินา  สักกาเรนะ สังฆัง  อะภิปูชะยามิ

      ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้ธูปเทียนแด่พระสังฆเจ้า

      กราบพระรัตนตรัย

      อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ (กราบ)

      พระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นพระอรหันต์  ดับเพลิงกิเลส  ดับเพลิงทุกข์ โดยสิ้นเชิง  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง  ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน

      สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิ (กราบ)

      พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว  ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม

      สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สังฆัง  นะมามิ (กราบ)

      พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว  ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์

      นมัสการพระรัตนตรัย

      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

      คำขอขมาพระรัตนตรัย

      วันทามิ  พุทธัง  สัพพะเมโทสัง  ขะมะ  ถะเม ภันเต

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า  เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง  ขอพระองค์จงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

      วันทามิ  ธัมมัง  สัพพะเมโทสัง  ขะมะ  ถะเม ภันเต

      ข้าแต่พระธรรมผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรม  เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง  ขอพระธรรมจงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

      วันทามิ  สังฆัง  สัพพะเมโทสัง  ขะมะ  ถะเม ภันเต

      ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์  เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง  ขอพระสงฆ์จงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

      ไตรสรณคมน์

      พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

      ทุติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก  เป็นครั้งที่สอง

      ตะติยัมปิ  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ

      ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก  เป็นครั้งที่สาม

      ถวายพรพระ (อิติปิ โสฯ)

      อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร 

      ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติฯ (พุทธคุณ)

      พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดย พระองค์เอง  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)  เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว  (คือไปที่ใด  ยังประโยชน์ให้ที่นั้น)  เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง  เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม  เป็นผู้มีความจำเริญ  จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

      สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติฯ (ออกเสียงว่า วิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)

      พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว  เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง  เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้  ไม่จำกัดกาล  เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่น  ว่าท่านจงมาดูเถิด  เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

      สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน 

      ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย 

      อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ  (สังฆคุณ)

      สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด  ปฏิบัติดีแล้ว  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด  ปฏิบัติตรงแล้ว  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว  ปฏิบัติสมควรแล้ว  ได้แก่  บุคคลเหล่านี้คือ  คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่  นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือพระอริยบุคคล ๘) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา  เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ  เป็นผู้ควรแก่ ทักษิณา  เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

      บทสวดมนต์ที่วิเศษที่สุดคือ  พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  แล้วก็แผ่เมตตา 

      ถ้าตั้งใจสวดอย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน  ไม่ต้องไปสวดคาถาบทอื่นก็ได้

       

      พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

                      คาถาแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์มงคลคาถาที่ใช้สวด  เพื่อป้องกันภัยและเอาชนะอุปัทวันตราย

      ๑.  พาหุงสะหัส  สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง  ครีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง  ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน  ถืออาวุธครบมือ  ขี่คชสารชื่อครีเมขละ  พร้อมด้วยเสนามาร  โห่ร้องกึกก้อง  ด้วยธรรมวิธีคือ  ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการที่ทรงบำเพ็ญแล้ว  มีทานบารมี  เป็นต้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      แม่พระธรณีบีบน้ำที่พระพุทธองค์กรวดลงพื้นสู่ดิน  ทุกครั้งที่บำเพ็ญบารมีมาแต่ปางก่อน  น้ำจากมวยผมหลั่งไหลออกมาไม่จบสิ้น  เหล่าพญามารถูกกระแสน้ำพัดพ่ายแพ้ไปหมดสิ้น

      ๒.  มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง  โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง  ขันตีสุทันตะวิธินา       ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง  ดุร้าย  เหี้ยมโหด  มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามารผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง  ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี (ความอดทน  อดกลั้น) ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      อาฬวกยักษ์  อสูรร้ายที่ล่าฆ่ากัดกินผู้คนเป็นอาหาร  เป็นที่น่าหวาดกลัวยังต้องสยบพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้า

      ๓.  นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง  ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง  เมตตัมพุเสกะวิธีนา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างชื่อนาฬาคิรี  เป็นช้างเมามันยิ่งนัก  ดุร้ายประดุจไฟป่าและร้ายแรงดังจักราวุธ  และสายฟ้า (ขององค์อินทร์)  ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือพระเมตตา  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      พระเทวทัต  ปล่อยช้างที่กำลังตกมันชื่อ  นาฬาคิรี  ให้วิ่งตรงมาทำร้าย  ทิ่มแทงพระพุทธเจ้า  แต่พระองค์ทรงแผ่พระเมตตาจนช้างนาฬาคิรี  กลับเปลี่ยนท่าทีที่ดุร้ายกลับกลายเป็นแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์

      ๔.  อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง  ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง  อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยมชนะโจร  ชื่อองคุลีมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์)  แสนร้ายกาจมีฝีมือ  ถือดาบวิ่งไล่  พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่ง  พระพุทธชัยมงคลนั้น

                      จอมโจรองคุลีมาล  ที่เหี้ยมโหดน่าเกรงขาม  ประหารผู้คนมากมาย  เพื่อตัดนิ้วมาทำพวงมาลัยคล้องคอ  วิ่งไล่ฟันพระพุทธเจ้าหวังจะได้นิ้วให้ครบพัน  แต่ก็ไม่สามารถติดตามได้ทัน  พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนาสั่งสอน  จนองคุลีมาลสำนึกบาป  ตามเสด็จออกบวชจนได้บรรลุพระอรหันต์ในที่สุด

      ๕.  กัตตะวานะ  กัฏฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา  จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ  สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกาผู้ทำ  อาการประหนึ่งว่ามีครรภ์  เพราะทำไม้มีสัณฐานกลมผูกติดไว้  ให้เป็นประดุจมีท้อง  ด้วยวิธีสมาธิอันงาม  คือ  ความสงบระงับพระหฤทัย  ในท่ามกลางหมู่ชน  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      นางจิญจมาณวิกา  รับจ้างเหล่านักบวชเดียรถีย์ทำไม้มากลึง  ผูกติดซ่อนไว้กับท้องและกล่าวร้ายว่ามีครรภ์กับพระพุทธเจ้า  แต่ไม่สำเร็จจึงวิ่งหนีออกมานอกวัดพระเวฬุวัน  ทันทีที่ก้าวพ้นวัด  ธรณีก็แยกสูบนาง ลงไปยังขุมนรกด้วยผลแห่งกรรมนั้น

      ๖.  สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง  วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง  ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป  คือ  ปัญญาได้ชนะ  สัจจกนิครนถ์ (นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล)  ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง  เป็นผู้มืดมนยิ่งนักด้วย  เทศนาญาณวิธี  คือ  รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      เหล่าเดียรถีย์นักบวชผู้หลอกลวงท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า  พระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  ลอยไปประทับยังยอดต้นมะม่วง  ทรงปล่อยน้ำอุทกหลั่งไหลและเปล่งเปลวไฟออกจากพระวรกาย  ซึ่งมีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทำได้  เหล่าเดียรถีย์ได้เห็นประจักษ์พากันเลื่อมใสขอบวชเป็นสาวก

      ๗.  นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง  ปุตเตนะ  เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต  อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส  นิรมิตกายเป็นนาคราช  ไปทรมานพญานาคราชชื่อนันโทปนันทะ  ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มากด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      นันโทปนันทนาคราช  หลงผิดคิดว่าตนมีฤทธิ์มากกว่าพระพุทธเจ้า  เนรมิตกายเป็นใหญ่โตพันเขาพระสุเมรุแผ่พังพานบดบังแสงอาทิตย์  ปิดหนทางเสด็จจนมืดมิด  พระองค์จึงทรงให้พระโมคคัลลานะแปลงกายเป็นนาคราชใหญ่กว่าหลายพันเท่ากระหวัดรัดทรมานนันโทปนันทะจนยอมพ่ายแพ้ในที่สุด

      ๘.  ทุคคาหะ  ทิฏฐิภุชะเคนะ  สุทัฏฐะหัตถัง  พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง  ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ

                      พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหม  ผู้มีนามว่า พกาพรหม ผู้มีฤทธิ์สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้วด้วยวิธีวางยาอันพิเศษคือเทศนาญาณ  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

                      แม้แต่  พกาพรหม  ผู้ที่ถือตนว่าบริสุทธิ์กว่าผู้ใดในสามโลกยังต้องยอมลดตนลงมาเมื่อเทียบกับความมีศีลบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์

      เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา  โย  วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที  หิตวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ  โมกขัง  สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ

                      นรชนใดมีปัญญา  ไม่เกียจคร้าน  สวดก็ดี  ระลึกก็ดี  ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุกๆวัน  นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย  มีประการต่างๆ เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล

      มหาการุณิโก

                      มะหาการุณิโก  นาโถ  หิตายะ  สัพพะ  ปาณินัง  ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา  ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง  เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  โหตุ  เม  ชะยะมังคะลังฯ

                      ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย  ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา  ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม  เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย  ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้วด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

                      ชะยันโตโพธิยา  มูเล  สักยานัง  นันทิ  วัฑฒะโน  เอวัง  อะหัง  วิชะโย  โหมิ  ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล  อะปะราชิตะ  ปัลลังเก  สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร  อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง  อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ  สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง  สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง  สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ  สุยิฏฐัง  พรัหมะจาริสุ  ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง  วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง  ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง  ปะณิธีเต  ปะทักขิณา  ปะทักขิณานิ  กัตวานะ  ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ

                      ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะ  เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์  ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก  ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูงเป็นจอมมหาปฐพี  ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ  เวลาที่สัตว์ (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ประพฤติชอบชื่อว่า  ฤกษ์ดี  มงคลดี  สว่างดี  รุ่งดี  และขณะดี  ครู่ดี  บูชาดีแล้ว  ในพรหมจารี  บุคคลทั้งหลาย  กายกรรมเป็นประทักษิณ (การกระทำความดีอันเป็นมงคล)  วจีกรรมเป็นประทักษิณ  มโนกรรมเป็นประทักษิณ  ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ  สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นประทักษิณแล้ว  ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นประทักษิณ

      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง  รักขันตุ  สัพพะ  เทวะตา  สัพพะพุทธานุภาเวนะ  สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เม

      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง  รักขันตุ  สัพพะ  เทวะตา  สัพพะธัมมานุภาเวนะ  สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เม

      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง  รักขันตุ  สัพพะ  เทวะตา  สัพพะสังฆานุภาเวนะ  สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เม

                      ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า  ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า  ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์  ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ เทอญ

      อิติปิ โส  เท่าอายุ

                      อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร 

      ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ

      ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ  เช่น  อายุ ๓๐ ปี  ต้องสวด ๓๑ จบ

      แผ่เมตตาแก่ตนเอง

      อะหัง  สุขิโต (ตา)  โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

      นิททุกโข (ขา)  โหมิ                      ปราศจากความทุกข์

      อะเวโร (รา) โหมิ                           ปราศจากเวร

      อัพยาปัชโฌ (ฌา) โหมิ                 ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

      อะนีโฆ (ฆา) โหมิ                          ปราศจากความทุกข์กาย  ทุกข์ใจ

      สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรามิ            มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

      บทแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์

      สัพเพ  สัตตา,                                สัตว์ทั้งหลาย, ที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

      อะเวรา  โหนตุ                              จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,

      อัพพะยาปัชฌา,                            จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

      อะนีฆา  โหนตุ                              จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

      สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ        จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

      บทอุทิศส่วนกุศล

      อิทัง  เม  มาตาปิตูนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  มาตาปิตุโร

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า  ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

      อิทัง  เม  ญาตีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

      อิทัง  เม  คุรูอุปฌาจริยานัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  คุรูอุปฌาจริยา

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า  ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

      อิทัง  สัพพะเทวะตานัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  สัพเพเทวา

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง  ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

      อิทัง  สัพพะเปตานัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  สัพเพเปตา

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง  ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

      อิทัง  สัพพะเวรีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  สัพเพเวรี

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง  ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

      อิทัง  สัพพะสัตตานัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ  สัตตา

      ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

      กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

                      ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า  ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ  ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม  ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้แล้วโปรดอโหสิกรรมและอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

      คำอธิษฐานอโหสิกรรม

                      ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม  กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใดในชาติใดๆก็ตาม  ขอให้เจ้ากรรมนายเวรจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า  อย่าได้จองเวรจองกรรม

                      แม้แต่กรรมที่ใครๆทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม  ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้นยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน  เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป

                      ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้  ขอให้ข้าพเจ้า  ครอบครัว  บุตรหลาน  ตลอดจนวงษาคณาญาติ  และผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้ามีความสุข  ความเจริญ  ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี  และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ

      คำอธิษฐานขอพร

                      ข้าพเจ้าขออาราธนา  พระบารมี ๓๐ ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จนิพพานไปแล้วมากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง๔

                      ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ  พระธัมมานุภาพ  พระสังฆานุภาพ  พระบารมีพระโพธิสัตว์  พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า  พระอรหันต์ทั้งหลาย  และพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู  ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้าจงดลบันดาล  ให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยทั้งหลาย และสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายข้าพเจ้าจงสูญไปสิ้นไปด้วยเถิด  และขอให้ข้าพเจ้าประสบความสุขความเจริญและประสบความสำเร็จตามที่ข้าพเจ้าปรารถนาทุกประการ

      พระคาถาชินบัญชร

      เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

                      เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น  ก่อนที่เจริญภาวนา  พระคาถาชินบัญชรให้ตั้งนะโม ๓ จบ  แล้วระลึกถึงและบูชา  เจ้าประคุณสมเด็จฯ ด้วยคำว่า

                      ปุตตะกาโม  ละเภ  ปุตตัง ธะนะกาโม  ละเภ  ธะนัง  อัตถิกาเย  กายะญายะ เทวานัง  ปิยะตัง  สุตตะวา  อิติปิโส  ภะคะวา  ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ  มะระณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

      ๑.  ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตะวามารัง สะวาหะนัง 
      จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

                      พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคืออริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ 

      ๒.  ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา 
      สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเก  เต  มุนิสสะรา.

                      ขอให้พระพุทธนราสภจอมมุนีนายกทั้ง ๒๘ พระองค์มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า ตัณหังกร  เป็นอาทิ  บรรดาที่ประทับนั่งเหนืออาสนะชัย  ทรงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ  ได้ดื่มรสจตุสัจธรรมอันประเสริฐ  จงมาประดิษฐานอยู่  ณ  เบื้องกระหม่อมของข้าพเจ้า

      ๓.  สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธธัมโม ทะวิโลจะเน 
      สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

                      ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง  พระสงฆ์ ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก 

      ๔.  หะทะเย  เม  อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
      โกณฑัญโญ  ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก. 

                      ขอให้พระอนุรุทธเถระ  จงมาประดิษฐานอยู่ที่ดวงหทัยแห่งข้าพเจ้า พระสารีบุตร จงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวา  พระโกณฑัญญะจงมาอยู่  ณ  เบื้องหลัง  และพระโมคคัลลานะจงมาอยู่  ณ  เบื้องซ้าย

      ๕.  ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะราหุลา
      กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

                      ขอให้พระอานนท์และพระราหุล  จงอยู่ ณ โสตเบื้องขวา  พระกัสสปะและพระมหานามะทั้งสององค์ จงอยู่  ณ โสตเบื้องซ้าย 

      ๖.  เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโยวะ ปะภังกะโร
      นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภีโต มุนิปุงคะโว

                      ขอให้พระโสภิตจอมมุนี  ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง 

      ๗.  กุมาระกัสสะโป เถโร       มะเหสี จิตตะวาทะโก
      โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิ  คุณากะโร.

                      ขอให้พระกุมารกัสสปเถระ  ผู้ มีวาทะอันไพจิตรเป็นบ่อเกิดแห่งคุณงามความดีอันยิ่งใหญ่จงมาประดิษฐานอยู่ที่ปาก (วทเน) แห่งข้าพเจ้าเป็นเนืองนิจ

      ๘.  ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ          อุปาลีนันทะสีวะลี
      เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา         นะลาเฏ ติละกา มะมะ.

                      ขอให้พระเถระ  คือ  พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสิวลี   พระเถระทั้ง ๕ องค์นี้ จงเกิดเป็นประดุจต่อมไฝ หรือ รอยเจิมที่นลาฏ (หน้าผาก) แห่งข้าพเจ้า 

      ๙.  เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
      เอตาสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต  ชิโนระสา
      ชะลันตา สีละเตเชนะ        อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

                      ขอให้พระอิสีติมหาเถระชินนะสาวกชิโนรส  ผู้พิชิตชนะมาร  รุ่งโรจน์อยู่ด้วยเดชแห่งศีล  นอกจากนั้นจงมาสถิตอยู่ที่อวัยวะน้อยใหญ่ (แห่งข้าพเจ้า)

      ๑๐.  ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
      ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

                      ขอพระรัตนตรัยสูตรจงอยู่ข้างหน้า  เมตตสูตรจงอยู่ข้างขวา  พระธชัคคสูตรจงอยู่ข้างหลัง   พระองคุลีมาลสูตรอยู่ข้างซ้าย

      ๑๑.  ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง 
      อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

                      ขอพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร จงเป็นเพดานกางกั้นในอากาศ

      ๑๒.  ชินาณาวะระสังยุตตา            สัตตัปปาการะลังกะตา
      วาตะปิตตาทิสัญชาตา          พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

                      ขอบรรดาพระสูตรอันประเสริฐต่างๆ ของพระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ  สัตตะปราการ  เป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

      ๑๓.  อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะเตชะสา
      วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

                      ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น   เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ 

      ๑๔.  ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง  มะฮีตะเล 
      สะทา ปาเลนตุ มัง                  สัพเพ  เต มะหาปุริสาสะภา.

                      ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น   จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร   ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกป้องรักษาภายในอันดีฉะนี้แล้ว 

      ๑๕.  อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโค
      สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
      สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ  ชินะปัญชะเรติ.

                      ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม   จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า  ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์  ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ 

      คาถาเรียกเงิน

                      สิทธิพุทธัง  กิจจัง  มะมะ  ผู้คนไหลมา  นะชาลีติ  สิทธิธัมมัง  กิจจัง  มะมะ  ข้าวของไหลมา

      นะชาลีติ  สิทธิสังฆัง  กิจจัง  มะมะ  เงินทองไหลมา  นะชาลีติ  สีวะลี  จะ  มะหาลาภัง  ภะวันตุ  เมฯ

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×