ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูก

    ลำดับตอนที่ #8 : บรรยายโวหาร ฉบับ Rosetta_lovely

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ค. 50


    บรรยายโวหาร

    ฉบับ Rosetta_lovely

     

    บรรยายโวหาร หรืออธิบายโวหาร

    บรรยายโวหารเป็นโวหารที่ใช้เขียนเพื่อบอกกล่าวเล่าเรื่อง หรืออธิบาย

    เรื่องราวต่าง ตามลำดับเหตุการณ์ งานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ งานเขียนประเภทให้ความรู้ เช่น บทความ  ตำรา เขียนรายงาน เล่าเรื่อง ตำนาน บันทึก เป็นต้น   บรรยายโวหาร  ผะอบ โปษะกฤษณะ ( ๒๕๒๒:  ๕๒)  เรียกว่า  อธิบายโวหาร

                  การเขียนบรรยายโวหารที่ดีนั้น  ตรีศิลป์ บุญขจร (๒๕๓๕ : ๗๖๒-) ให้หลักไว้สรุปได้ ดังนี้

                  .  เรื่องที่เขียนเป็นความจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี

                    . เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญไม่เน้นรายละเอียดและเขียนตรงไป   ตรงมา

                    .  ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย อาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยเพื่อให้ได้ความชัดเจนได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนเกินไป

                   .  เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

     

     

                    โวหารที่เป็นหลักสำคัญซึ่งจำเป็นในทุกงานเขียนซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป โวหารชนิดนี้เน้นอธิบาย เรื่องราวรายละเอียด ซึ่งไม่มีการอ้อมค้อมเปรียบเปรย หรือสร้างภาพจินตนาการ เป็นการสื่อออกมาโดยตรง(ทื่อๆ)

     

    จากนี้จะเป็นตัวอย่าง

    ตัวอย่าง บรรยายโวหาร

    ทศกัณฐ์คั่งแค้นมากเมื่อสูญเสียอินทรชิต จึงตัดสินใจออกรบเอง

    ลูกทศกัณฐ์ทั้งสิบร่วมออกรบด้วย ถือว่าเป็นศึกใหญ่ การรบดำเนินไปอย่าง

    ยืดเยื้อ มีบรรดาญาติวงศ์และสัมพันธมิตรของทศกัณฐ์เข้ามาร่วมรบอีกหลายราย

    อาทิ สหัสเดชะ มูลพลำ แสงอาทิตย์ สัตลุง สัทธาสูร วิรุณจำบัง แต่ละตนมี

    ฤทธิ์มาก ๆ ทั้งสิ้น ในที่สุด พระรามได้อาศัยความหยั่งรู้ของพิเภกเข้าช่วย

    ประกอบกับมีเหล่าขุนกระบี่และกองทัพที่เกรียงไกร จึงสามารถปราบยักษ์เหล่านี้

    ได้หมดสิ้น

    เรื่องย่อรามเกียรติ์ จากหนังสือทักษะสัมพันธ์

    ตัวอย่าง บรรยายโวหาร

    มนุษย์มีความเชื่อออยู่อย่างหนึ่งซึ่งสืบมาแต่โบราณนมนานไกล ว่าคงที่เกิดมาทั้งเด็ก

    และผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ย่อมมีอะไรอยู่อย่างหนึ่งสิงอยู่ภายในร่างกายมาแต่

    กำเนิดสิ่งที่ว่านี้ถ้าอยู่กับเนื้อกับตัวของผู้ใดผู้นั้นก็จะมีความสุขความสบาย ไม่ป่วยไข้ได้ทุกข์

    ถ้าสิ่งนั้นหนีหายไปจากตัวก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นไข้ได้ทุกข์ และอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าสิงนั้น

    ไม่กลับคืน มาอยู่ในร่างกาย สิ่งที่กล่าวนี้ภาษาไทยเรียกว่า ขวัญ อันเป็นคำมีความหมายใน

    ภาษาที่เข้าใจกันอย่างเล่า ๆ แล้วก็ยุ่งด้วย ที่ว่ายุ่งเพราะเป็นสิ่งมองไม่เห็นตัวว่ามีรูปร่างเป็น

    อย่างไร

    ขวัญและประเพณีทำขวัญ ของ เสฐียรโกเศศ

    ตัวอย่างบรรยายโวหาร

         ผู้ใหญ่ฉายนั่งซุ่มรอคอยการมาของมัน  อยู่หลังพุ่มชำมะเลียงใบหนาอย่างมั่นอกมั่นใจว่า ในเวลาอีกไม่ช้านัก "มัน" ไม่ว่าอีกาหรือตะกวดจะต้องปรากฏตัวออกมาให้ได้เห็นอย่างแน่นอน

            แต่ไม่ว่ามันเป็นตะกวดหรืออีกา ถ้าหากตัวใดตัวหนึ่งโผล่ออกมา หรือมาพร้อมกันหลายตัวก็ตามที ความต้องการของผู้ใหญ่ฉายในยามนี้ก็คือ สังหารมันด้วยปืนลูกซองตามที่แกถนัด และตามที่แกประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี จนผู้คนทั้งหลายในหมู่บ้านนี้ต่างล้วนมีความเห็นตรงกันว่า แม้ผู้ใหญ่ฉายจะมีทีท่า          วางเฉยกับหมาปล่อยทุกตัว   แต่กับอีกาและตะกวดแล้ว ผู้ใหญ่ฉายคือผู้ที่ยืนหยัดประกาศตนเป็นศัตรูแบบตามล้างตามล่าอย่างมั่นคงเหนือกว่าใคร ซึ่งสุดท้ายก็ส่งผลทำให้ผู้ใหญ่ฉายให้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาด้วยคะแนนเสียงอันท่วมท้น

                     (อำนาจ เย็นสบาย   ๒๕๓๔ :  ๒๓ - ๒๔)

     

                   

     

    ทดสอบความเข้าใจ

     

    เพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้อ่าน หลังจากศึกษาตัวอย่างแล้วลองเขียนดูนะคะ แล้วลองแยกแยะดูว่า ข้อความต่อไปนี้ หมายเลขใด ที่เป็นบรรยายโวหารที่ดี

     

     

    หัวข้อคือ กินข้าว

     

    หมายเลข 1

     

                    ใช่แล้ว มัน มันก็เสร็จ ใช่ จะได้กินแล้ว ตัวกรอบๆ ที่เพิ่งทอดสดๆร้อนๆ ปลาทูแสนอร่อย ช่างน่ากินเลหือเกิน ว่าแล้วฉันก็ไม่รอช้าเริ่มตักมันเข้าปากด้วยความหิว....

     

    หมายเลข 2

                    เธฮค่อยบรรจงใช้ช้อนยาวกวาดข้าวรวมกันเข้าจากขอบจานรวมกันตรงกลาง แล้วใช้ส้อมกวาดข้าวใส่ช้อนจึงยกเข้าปากอย่างระวังด้วยความเรียบร้อย เพื่อแสดงให้เห็นถึงมารยาทดีที่แสนจะกดดัน แล้วพวกคุณยายทั้งหลายก็อึ้งไปตามๆกัน

     

    หมายเลข 3

                   

                    เขาเริ่มตักข้าวกินเมื่อแม่ยกแกงมาวางไว้ จุกเอาๆด้วยเร่งรีบจนหมดแล้วก็รีบไปดูทีวีต่อ

     

     

     

    *เฉลย หมายเลข 3

    หมายเหตุ บททดสอบนี้อาจยังไม่ถูกต้องนัก ท่านผู้อ่านผู้ใดต้องการทักท้วงหรือเห็นควรว่าต้องแก้ สามารถโพสต์บอกได้เลยค่ะ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×