ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูก

    ลำดับตอนที่ #14 : ประกาศฉบับที่ 1 จากประธานชมรมรักษ์ภาไทยใช้ให้ถูก

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ย. 51


    ประกาศฉบับที่ 1 จากประธานชมรมรักษ์ภาไทยใช้ให้ถูก

    รหัส 001-111151-02

    จุดประสงค์

    ประการที่หนึ่ง
    เนื่องจากภาษานั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ในแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่นก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ภายใต้เวิ้งฟ้ากว้างใหญ่แห่งนี้  ปัจจุบันกลับแคบเพียงหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น ด้วยระบบการสื่อสารสมัยใหม่ เชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน  ภาษาซึ่งเป็นสื่อที่ใช้ส่งสารรับสารนั้น ย่อมเกิดการแลกเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจผิดเพี้ยนไปจากเดิม หรืออาจเกิดสิ่งใหม่ขึ้น

    ประการที่สอง
     เพื่อประกาศจุดยืนของชมรม

    ความว่า

                    ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงความเป็นไปของภาษานั้น จะขอแบ่งเป็น 2 ประเภท

    1.ภาษาตาย

                    ภาษาที่ตายนั้น คือภาษาที่หยุดนิ่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ   หรือไม่มีการใช้ในชีวิตประจำวันอีก อาจถึงขั้นสูญหาย

    2.ภาษาเป็น          

                    ภาษาที่ยังมีการใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ที่เปลี่ยนแปลงง่ายที่สุดคือ เสียง เนื่องจากการที่คำใดคำหนึ่งมีการเปล่งเสียงออกไปหลายๆ ครั้งจะเกิดการเพี้ยนของเสียงได้ เช่น เพราะฉะนั้น  เป็นเพราะงั้น

                    ภาษาไทยเองก็เช่นกัน เมื่อยังคงธำรงอยู่นั่นหมายถึง ยังคงมีการใช้ และคงมีการเปลี่ยนแปลงไป ถ้าลองนึกย้อนไป สมัยพ่อขุนรามคำแหง คำว่า มึง กู นั้นถูกใช้โดยทั่วไปไม่เว้นแม้แต่เจ้าบ้านเจ้าเมือง ทว่าในปัจจุบัน กลับกลายเป็นคำหยาบคาย  นี่จึงเป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบันว่า ภาษาไทยได้วิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน และยังคงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

    ทางชมรมจึงมีมติที่จะประกาศจุดยืนว่า

    1.ชมรมรักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูกนี้ มิได้ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความแตกแยกในสังคมแต่อย่างใด

     หากผู้ใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ซึ่งอาจสวนทางกับเรา ทางชมรมฯก็เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นตามหลักการประชาธิปไตย อนึ่ง ขณะเดียวกันก็พร้อมยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคน ส่วนการตัดสินใจปฏิบัติตามหรือไม่นั้น เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของทางชมรมที่จะกระทำการใดก็ตาม ที่เห็นว่าเหมาะสม

    2.ชมรมรักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูกนี้ ตั้งขึ้นเพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับภาษา

    3.ชมรมรักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูกนี้ มีการจำกัดความคำว่า ภาษาวิบัติ ส่วนตัว ซึ่งระบุใน “ประกาศว่าด้วยเรื่อง ภาษาวิบัติ” ซึ่งไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของประกาศฯ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×