คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : กวีโวหารและภาพพจน์(นำมาประยุกต์ได้นะ)
พูดคุย
ไม่ได้อัพเสียนาน เชื่อว่าคงดองจนเค็มเต็มที่ วันนี้ มีเรื่องกวีโวหารและภาพพจน์มาฝาก
เรื่องนี้ เกี่ยวกับการสร้างภาพภจน์ในงานร้อยกรอง แต่ว่า ก็สามารถนำมาประยุกตร์ใช้ในงานอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายของตอนนี้คือ
1.ในผลงานที่เราเขียน ที่เราอยากบรรยายอะไรต่อมิอะไรนั้น บางครั้งอาจเกิดปัญหา ตีบตันทางความคิด อาจเลวร้ายถึงขั้น สั้นๆคำเดียวจบ รึไม่ก็ -*- (อะไรแบบนี้) หรือ อาจถูๆไถๆ ใช้คำว่า เสมือน กับราว แต่ถ้ามีราวมากๆ ผ้าก็จะแห้งเร็ว(เฮ้ย)
ทั้งนี้ แม้จะขัดกับเป้าหมายหลักของชมรมรักษ์ไทยฯที่ข้าน้อยก่อตั้งขึ้นก็ตามแต่ ทว่า
“I rule this world.” เขียนอย่างนี้หรือเปล่าน้า?
เสียเวลามามาก อย่างไรก็ไปสู่เนื้อหากันดีกว่า...
กวีโวหารมีภาพพจน์ดังนี้
1.อุปมา คือ เปรียบเหมือน
มีการใช้คำแสดงการเปรียบเหมือน
(เปรียบดั่ง เปรียบเหมือน เสมือน...ฯลฯ)
เช่น “เสมือนแสงสว่างกลางความมืดมิด เธอได้ชี้ทางให้ผมหลุดพ้นจากความท มึนดำ”
(*ตัวอย่างอันนี้ข้าน้อยคิดเอง จึงไม่ใช่ร้อยกรอง แต่เป็นร้อยแก้ว)
ดุจ [ดุด, ดุดจะ] ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ, บางทีในกลอน ใช้ว่า ดวจ ก็มี.
ประดุจ ว. เช่น, คล้าย, เหมือน, ดัง.
2.อุปลักษณ์ คือ เปรียบเป็น
เป็นการเปรียบที่ไม่ใช้คำที่มีความหมายว่าเปรียบให้เห็น อาจใช้กริยา คือ หรือ เป็น ในเชิงเปรียบเทียบ หรือไม่ก็ได้ (อันหลังนี่ อ่านเองงเอง ตำรานี่ เขียนเข้าใจยากหนอ)
เช่น พระองค์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ปวงประชา (ชัดเจนมาก คงไม่มีใครเข้าใจ ว่า พระองค์ที่กล่าวถึง กินยาแปลงพันธุกรรมก่อเกิดเป็นเอ็กซเม็นต์มนุษย์ ไทรขึ้นไปยืนโบกมือคล้ายมิสไทยแลนด์อยู่บนหอไอเฟลหรอกน้า)
****3.อธิพจน์
4.สัญลักษณ์
Coming soon!
แล้วเจอกัน หวังว่าท่านคงหายมึน
ความคิดเห็น