>Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น - นิยาย >Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น< : Dek-D.com - Writer
×

    >Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น<

    นายจะบ้าเรอะ! มาหาว่าฉันเป็นเมียน้อยพ่อนายได้ยังไง! ฉันไม่ใช่นะ บอกว่าไม่ใช่ยังจะตามหาเรื่องกันอยู่ได้ ดื้อจริงๆ ...แต่ทำไมฉันถึงหวั่นไหวกับผู้ชายหัวดื้ออย่างงันได้ล่ะ หรือว่าฉันจะตกหลุมรักนายหัวดื้อ?

    ผู้เข้าชมรวม

    4,485

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    75

    ผู้เข้าชมรวม


    4.48K

    ความคิดเห็น


    99

    คนติดตาม


    17
    จำนวนตอน :  16 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  16 ต.ค. 54 / 21:16 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    the smile


    WELCOME :']

    "ABOUT ME"
    สวัสดีตัวโตๆ กับคุณผู้อ่านที่รักยิ่ง :] 
    อันดิฉันมีนามว่า "โรส" อายุสิบสี่ปิ้งสิบห้า 
    บ้าๆ บอๆ ไปวันๆ ไม่ค่อยจะทำอะไร
    อาศัยซุกหัวนอนอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ภายใต้แผ่นดินสยามที่รัก
    อาศัยศึกษาอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอันทรงเกีรยติ
    เวลาว่างมักเปิดคอมและเล่นเกม ไม่ก็แต่งนิยาย มันคือความสุข
    เล็กๆ ของอีนังโรสคนนี้ :']
    เกลียดภาษาวิบัติยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด 
    ก็โรสไม่มีอะไรจะแนะนำแล้วค่ะ โรสคือโรส ถังแก๊สอิสอะถังแก๊ส
    อยากรู้จักคลิกมายด์ไอดี! แล้วเรามาจอยกัน =..=

    มาพูดถึงนิยายเรื่องนี้กันบ้าง :]

    นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแรก! ถ้ามันออกมาไม่ดีก็ขอโทษด้วยนะคะ ^^
    โรสตั้งใจกับนิยายเรื่องนี้ค่อนข้างมาก และนี่คือการเขียนเพียวๆ ยังไม่
    ได้รีไรท์ ติชมกันเต็มที่ วิจารณ์ด้วยจะยิ่งรัก =^^=
    ขอบคุณทุกคอมเม้นท์มันคือกำลังใจที่ทำให้อีโรสมีแรงฟิตลุกขึ้นมาเขียน
    ฮะฮ่า!


    แบนเนอร์จ้ะ :]



     โปรดเตรียมใจ นิยายเรื่องนี้ พระเอกกวน










    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ >Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น"

    (แจ้งลบ)

    Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น ของ ถังแก๊สสีชมพู (ราศีบุษ) เป็นนิยายแนวหวานแหววที่ไม่ต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆในแนวเดียวกันนี้ เพราะเป็นเรื่องราวความรักระหว่างมะเกี๋ยง นักศึกษาสาวปี 1 ที่ฝันอยากเป็นดาวคณะ กับ บิ๊กบอม นักศึกษาชายรุ่นพี่ปี 3 อดีตเดือนของคณะเดียวกัน ที่เริ่มต้นจากความเข้าใจผิด และค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด นอกจาก ... อ่านเพิ่มเติม

    Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น ของ ถังแก๊สสีชมพู (ราศีบุษ) เป็นนิยายแนวหวานแหววที่ไม่ต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆในแนวเดียวกันนี้ เพราะเป็นเรื่องราวความรักระหว่างมะเกี๋ยง นักศึกษาสาวปี 1 ที่ฝันอยากเป็นดาวคณะ กับ บิ๊กบอม นักศึกษาชายรุ่นพี่ปี 3 อดีตเดือนของคณะเดียวกัน ที่เริ่มต้นจากความเข้าใจผิด และค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด นอกจากแก่นเรื่อง (theme) ความรักที่เริ่มจากความเกลียดก่อนที่จะผันแปรเป็นความรัก อันเป็นแก่นเรื่องยอดฮิตของนิยายแนวนี้แล้ว นิยายเรื่องนี้ยังดำเนินตามความนิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของนิยายแนวนี้ในหลายประเด็น เริ่มตั้งแต่การสร้างตัวละครตามกระแสความนิยม โดยเฉพาะตัวละครเอกที่ต้องสวย หรือหล่อและรวย เช่น มะเกี๋ยง (นางเอก) เป็นสาวสวย ผิวขาว ปากเล็ก จมูกสวย บอบบาง สูง 167 และเปิ่นๆ ส่วนบิ๊กบอม (พระเอก) เป็นชายรูปหล่อ ผิวขาวใส สูง ดูเซอร์ และรวย นอกจากนี้ ตัวละครส่วนใหญ่ก็ตรงกับความนิยมเช่นนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กแบง น้องชายฝาแฝดของพระเอก ยิ้มแฉ่ง เพื่อนสนิทชายของนางเอก เคลติก ชายหนุ่มรุ่นพี่ของมะเกี๋ยงและเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของยิ้มแฉ่ง และ เหม่ยจิน หญิงสาวคนรักของพระเอก ประเด็นที่สองคือ การใช้อิโมติคอน และ sound effect อย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทสนทนา พบว่าแทบจะทุกประโยคจะต้องมีอีโมติคอน หรือ sound effect แทรกอยู่เสมอ และบางครั้งมีทั้งสองอย่างอยู่ในประโยคสนทนาสั้นๆเพียงประโยคเดียว เช่น “กรี้ดดดด~!! TOT” หรือ อ๋อ... หะ หา เฮ้ย+ =O=” หรือ “เย้ย! นายจะบ้าเรอะ ฉันจะไปขโมยยังไงเล่า=O=” ทั้งยังมีประโยคจำนวนไม่น้อยที่มีแต่อีโมติคอนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ( ==;)+++(-- ) หรือ ^0^+++-- หรือ TOT+++-- ประโยคดังกล่าวอาจจะสื่อภาพอากัปกิริยาของตัวละครได้บ้าง และบางครั้งก็ไม่สามารถสื่อความใดๆ ได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้อ่านที่ไม่ทราบความหมายของอีโมติคอนเหล่านี้ จึงเห็นว่าถ้าผู้แต่งใช้บทบรรยายแทนก็จะสื่อความได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะพบว่าผู้แต่งใช้อีโมติคอนเป็นเสมือนคำขึ้นต้นและคำลงท้ายประโยคอยู่เสมอ ซึ่งอีโมติคอนในตำแหน่งนี้ส่วนใหญ่สามารถตัดออกได้ทั้งหมด เพราะไม่ส่งผลต่อเนื้อความใดๆในประโยคเลย และยังช่วยลดความฟุ่มเฟือยของสัญลักษณ์ประเภทนี้ลงได้ ประเด็นที่สาม คือ สัดส่วนที่ไม่สมดุลระหว่างบทบรรยายกับบทสนทนา เนื่องจากปริมาณบทสนทนามีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเรื่อง ซึ่งถือเป็นข้อด้อยประการสำคัญในการแต่งนิยาย กล่าวคือ นิยายจำเป็นต้องมีจำนวนบทบรรยายมากกว่าบทสนทนา และเมื่อใดที่มีบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย นิยายเรื่องนั้นก็อาจจะกลายเป็นบทละคร อีกทั้งบทบรรยายส่วนใหญ่อาจถือว่าเป็นข้อด้อยของผู้แต่ง เพราะบทบรรยายที่ปรากฏมักไม่ต่างจากบทสนทนานัก เนื่องจากผู้แต่งยังคงเขียนด้วยภาษาพูด มีอีโมติคอน และ sound effect ประกอบเป็นระยะๆ ซึ่งต่างจากบทสนทนาก็เพียงช้รูปประโยคยาวขึ้น และไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด (“.....”) ที่บทบรรยายเท่านั้นเอง เช่น ยิ้มแฉ่งชี้นิ้วโป้งเข้าไปในร้านก่อนจะเปลี่ยนเป็นส่งนิ้วกลางให้ หยาบคายจริงๆ ทำไมไม่รู้จักทำตัวให้มันน่ารักสมชื่อกับเขาบ้างน้า... == ฉันเลิกสนใจนิ้วของเพื่อนต๊องๆ แล้วมองตามไปจนพบกับ...เทพบุตรในฝันของฉันนี่นา >_< อ๊ากกก~! เคลติกของฉัน (เขาเป็นของเธอตั้งแต่เมื่อไรยะ ==) เขาเป็นผู้ชายที่หล่อกระชากใจสาวๆ สุดๆไปเลย >_< เคลติกอยู่ในเสื้อยืดคอปกลายทางสีเขียว แล้วก็กางเกงเดฟสีแดงสดซึ่งปกติมันดูเดิ่งมากถ้าคนอื่นใส่ แต่เคลติกใส่แล้วมันช่างดูดีที่สุด >O< อ้ายยย~ …. นอกจากนี้ยังพบว่าผู้แต่งไม่สามารถบรรยายตัวละครให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการตามได้ เพราะบรรยายไว้อย่างคร่าวๆ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้แต่งโพสต์ภาพตัวละครหลักๆไว้อย่างชัดเจนแล้ว จึงละความสนใจในประเด็นนี้ไป เช่น บรรยายภาพบิ๊กบอมเพียงว่า ผู้ชายตรงหน้าฉันอายุไม่เกินยี่สิบสาม หน้าใสกิ๊งอย่างกับพรีเซ็นเตอร์ครีมทาหน้าขาว ตาดำหม่นๆ ใต้คิ้วที่เฉียงที่กำลังย่นนิดๆ ...ผมสีดำที่ซอยระต้นคอของเขาถูกรวบไว้ครึ่งศีรษะ ดูเซอร์นิดๆ แต่ก็หล่อกระชากใจสาวๆ สุดๆ ฉันจ้องเขาอยู่สักพักก่อนที่ริมฝีปากที่น่าจุ๊บของเขาจะขยับพูดขึ้น การบรรยายเพียงเท่านี้ ถ้าเทียบกับภาพวาดก็เป็นเพียงภาพร่างหยาบๆ ที่ขาดรายละเอียด ด้วยเหตุนี้ ผู้แต่งควรเน้นการบรรยายตัวละครให้ละเอียดมากขึ้น เพราะนิยายต้องสื่อความได้ด้วยตัวบท โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกอื่นๆ มาช่วยเสริม เช่น ภาพประกอบ ประเด็นที่สี่ วิธีการให้ตัวละคร ”แซว” “จิก กัด” หรือ “ชม” ตัวเอง ผู้แต่งเรื่องนี้ก็นิยมใช้วิธีการดังกล่าวมาเป็นแนวเขียนหลักเช่นกัน เพราะพบประโยคลักษณะนี้ปรากฏโดยตลอดเรื่อง เช่น ...โฮๆๆ เหมือนจะมีแววว่า ฉันกำลังจะได้ไดเอ็ตโดยไม่ต้องการอีกแล้ว (ไม่มีจะกินนั่นเอง T^T) หรือ ... ฉันลุกขึ้นยืนพร้อมกับเขย่งตะโกนใส่หน้าไอ้บ้านั่น (ไม่ใช่ว่าฉันเตี้ยนะ ไอ้บ้านั่นสูงเองต่างหาก ฉันสูงตั้งร้อยหกสิบเจ็ดเชียวนะนะ --+) บางครั้งก็ใช้วิธีเขียนคำอธิบายในวงเล็บเพื่อแย้งหรือแสดงความรู้เท่าทันข้อความที่เขียนนำไว้ในประโยคข้างต้น เช่น ... อย่าบอกนะว่าเธอไม่รู้ว่าพ่อผมมีครอบครัวแล้วเลยตกใจขนาดนี้ (เข้าใจผิดไปใหญ่แล้วค่ะคุณชาย = =) หรือ ตอนนี้ฉันในเสื้อไหมพรมสีดำสนิทและกางเกงยีนส์ขาเดฟกำลังย่องดอดอยุ่กับคุณสมบูรณ์สหายคู่ใจในการปฏิบัติการ (เอามันมาเป็นเพื่อนเนื่องจากฉันกลัวผีขึ้นสมอง ลงมือคนเดียวมันน่ากลัว T^T)... ผู้วิจารณ์สังเกตว่าสไตล์การเขียนลักษณะนี้พบมากขึ้นในนิยายแนวหวานแหวว ประเด็นที่ห้า คือ เน้นการสร้างความขบขัน โดยใช้ความเปิ่นของนางเอก ผู้แต่งต้องการส่งความเด่นของนางเอกด้วยบท “สาวสวย ใส แต่เปิ่น” แต่ผู้แต่งจงใจสร้างเหตุการณ์ที่แสดงความเปิ่นของนางเอกบ่อยครั้งและต่อเนื่องเกินไป จนทำให้นางเอกกลายเป็น “สาวสวย ใส แต่ไร้สมอง” ไปแล้ว ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากมุกตลกที่ขาดความสมเหตุสมผล เช่น ฉากที่พระเอกพบนางเอกเป็นครั้งแรกนั้น ร่างกายท่อนบนของนางเอกมีแต่เสื้อชั้นในเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าขณะที่วิ่งตามหาสุนัข เสื้อไหมพรมที่ใส่มาไปเกี่ยวกับพุ่มไม้ จนทำให้ไหมพรมลุ่ยออกจนหมด ในความเป็นจริง คงจะไม่มีใครไม่รู้ตัวหรอกว่าขณะที่วิ่งไปเสื้อของตัวเองหดสั้นลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือไหมพรมสักเส้นเดียวติดกาย หรือ ฉากนางเอกเดินตามและตะโกนเรียกชื่อสุนัขของตนรอบหมู่บ้านไฮโซกว่าสองชั่วโมง ทั้งๆ ที่เวลาในขณะนั้นก็ดึกมากเกือบจะเที่ยงคืนแล้ว จะไม่มียามรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านมาพบเลยหรือ นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่นางเอกเข้าใจผิดคิดว่าพบสุนัขของตนที่นอนหลบอยู่ใต้พุ่มไม้แล้ว แต่ก็อุ้มสุนัขผิดตัว แทนที่จะอุ้ม “สมบูรณ์” สุนัขพันธุ์ปั๊กของตนกลับอุ้ม “กูฟฟี่” สุนัขพุดเดิ้ลของพระเอกแทน ทั้งๆที่สุนัขทั้งสองพันธุ์มีลักษณะขนต่างกันมาก แม้ไม่เห็นเพียงแค่สัมผัสก็สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เนื่องจากปั๊กขนสั้นเกรียน แต่พุดเดิ้ลขนหยิกยาว ประเด็นสุดท้าย คือ การเขียนกำกับไว้ในแต่ละช่วงว่าขณะนี้ตัวละครใดกำลังพูด เช่น (Bigbom Talk) นั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเขียนเช่นนี้ก็ได้ เพราะผู้อ่านสามารถทราบขณะที่อ่านอยู่แล้วว่าเป็นบทสทนาของตัวละครใด การเขียนเช่นนี้แสดงลักษณะของบทละครหรือบทการแสดงอย่างชัดเจน ไม่ใช่ลักษณะของนวนิยาย อาจเป็นเพราะว่า ผู้เขียนไม่ทราบว่าควรจะเขียนอย่างไร เพื่อจะให้ผู้อ่านทราบว่าตัวละครตัวไหนกำลังพูดว่าอะไร (เช่น บิ๊กบอมบ่นกับตัวเองว่า เคลติกหันมาพูดกับเพื่อน มะเกี๋ยงตอบเคลติกว่า เธอโต้กลับอย่างโมโห ) ผู้วิจารณ์เห็นว่าขณะนี้เรื่องเพิ่งจะดำเนินไปเพียงช่วงต้นและผู้แต่งเพิ่งจะเขียนไปแค่ 12 ตอน จึงสามารถที่จะปรับแก้และลดทอนความฟุ่มเฟือยต่างๆที่กล่าวถึงข้างต้นได้ไม่ยากนัก ซึ่งน่าจะช่วยให้เรื่องกระชับและน่าสนใจมากขึ้น เมื่อพิจารณาเรื่องโดยรวมพบว่า นิยายเรื่องนี้อ่านสนุก เดินเรื่องกระชับ และเริ่มจะเข้าสู่แก่นเรื่องหลักที่น่าจะมีมิติทางอารมณ์ที่หลากหลายกว่าเน้นความเปิ่นของนางเอกเพียงอย่างเดียว ทั้งยังเริ่มมีบทบาทตัวละครอื่นที่จะขัดขวางเส้นทางความรักระหว่างพระเอกกับนางเอก ทั้งบิ๊กแบงและเหม่ยจิน ก็น่าจะช่วยเพิ่มสีสันและความเข้มข้นของเรื่องได้ ------------------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 15 มี.ค. 53

    • 12

    • 1

    "รักใสใสของยัยดาว.."

    (แจ้งลบ)

    สวัสดีค่าา เป็นเกียรติมากๆๆ นี่วิจารณ์เป็นที่แรกเลยนะเนี่ยย การวางพลอตเรื่องน่าสนใจดี การบรรยายพรรณนาต่างๆก็ไหลลื่นดี คำพูดอะไรต่างๆก็ดูเหมาะสมดี และการจัดรูปแบบต่างๆก็ดูอ่านง่าย พอเข้าใจได้ เนื้อเรื่องตอนแรกก็มาให้ลุ้นกับชีวิตของนางเอกซะแล้วว ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไง พระเอกยังไม่มีออกมาในตอนนี้ เนื้อเรื่องต่อไปก็ต้องรอลุ้น ไม่ว่ายังไงก็ส ... อ่านเพิ่มเติม

    สวัสดีค่าา เป็นเกียรติมากๆๆ นี่วิจารณ์เป็นที่แรกเลยนะเนี่ยย การวางพลอตเรื่องน่าสนใจดี การบรรยายพรรณนาต่างๆก็ไหลลื่นดี คำพูดอะไรต่างๆก็ดูเหมาะสมดี และการจัดรูปแบบต่างๆก็ดูอ่านง่าย พอเข้าใจได้ เนื้อเรื่องตอนแรกก็มาให้ลุ้นกับชีวิตของนางเอกซะแล้วว ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไง พระเอกยังไม่มีออกมาในตอนนี้ เนื้อเรื่องต่อไปก็ต้องรอลุ้น ไม่ว่ายังไงก็สู้ต่อๆไปนะ จะเป็นกำลังใจให้จนจบเรื่องเลยย >o   อ่านน้อยลง

    ท้องฟ้าไร้สี | 30 มี.ค. 53

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ >Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น"

    (แจ้งลบ)

    Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น ของ ถังแก๊สสีชมพู (ราศีบุษ) เป็นนิยายแนวหวานแหววที่ไม่ต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆในแนวเดียวกันนี้ เพราะเป็นเรื่องราวความรักระหว่างมะเกี๋ยง นักศึกษาสาวปี 1 ที่ฝันอยากเป็นดาวคณะ กับ บิ๊กบอม นักศึกษาชายรุ่นพี่ปี 3 อดีตเดือนของคณะเดียวกัน ที่เริ่มต้นจากความเข้าใจผิด และค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด นอกจาก ... อ่านเพิ่มเติม

    Bigbom! ระเบิดรักละลายใจยัยจอมเปิ่น ของ ถังแก๊สสีชมพู (ราศีบุษ) เป็นนิยายแนวหวานแหววที่ไม่ต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆในแนวเดียวกันนี้ เพราะเป็นเรื่องราวความรักระหว่างมะเกี๋ยง นักศึกษาสาวปี 1 ที่ฝันอยากเป็นดาวคณะ กับ บิ๊กบอม นักศึกษาชายรุ่นพี่ปี 3 อดีตเดือนของคณะเดียวกัน ที่เริ่มต้นจากความเข้าใจผิด และค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด นอกจากแก่นเรื่อง (theme) ความรักที่เริ่มจากความเกลียดก่อนที่จะผันแปรเป็นความรัก อันเป็นแก่นเรื่องยอดฮิตของนิยายแนวนี้แล้ว นิยายเรื่องนี้ยังดำเนินตามความนิยมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของนิยายแนวนี้ในหลายประเด็น เริ่มตั้งแต่การสร้างตัวละครตามกระแสความนิยม โดยเฉพาะตัวละครเอกที่ต้องสวย หรือหล่อและรวย เช่น มะเกี๋ยง (นางเอก) เป็นสาวสวย ผิวขาว ปากเล็ก จมูกสวย บอบบาง สูง 167 และเปิ่นๆ ส่วนบิ๊กบอม (พระเอก) เป็นชายรูปหล่อ ผิวขาวใส สูง ดูเซอร์ และรวย นอกจากนี้ ตัวละครส่วนใหญ่ก็ตรงกับความนิยมเช่นนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กแบง น้องชายฝาแฝดของพระเอก ยิ้มแฉ่ง เพื่อนสนิทชายของนางเอก เคลติก ชายหนุ่มรุ่นพี่ของมะเกี๋ยงและเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของยิ้มแฉ่ง และ เหม่ยจิน หญิงสาวคนรักของพระเอก ประเด็นที่สองคือ การใช้อิโมติคอน และ sound effect อย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทสนทนา พบว่าแทบจะทุกประโยคจะต้องมีอีโมติคอน หรือ sound effect แทรกอยู่เสมอ และบางครั้งมีทั้งสองอย่างอยู่ในประโยคสนทนาสั้นๆเพียงประโยคเดียว เช่น “กรี้ดดดด~!! TOT” หรือ อ๋อ... หะ หา เฮ้ย+ =O=” หรือ “เย้ย! นายจะบ้าเรอะ ฉันจะไปขโมยยังไงเล่า=O=” ทั้งยังมีประโยคจำนวนไม่น้อยที่มีแต่อีโมติคอนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ( ==;)+++(-- ) หรือ ^0^+++-- หรือ TOT+++-- ประโยคดังกล่าวอาจจะสื่อภาพอากัปกิริยาของตัวละครได้บ้าง และบางครั้งก็ไม่สามารถสื่อความใดๆ ได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้อ่านที่ไม่ทราบความหมายของอีโมติคอนเหล่านี้ จึงเห็นว่าถ้าผู้แต่งใช้บทบรรยายแทนก็จะสื่อความได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะพบว่าผู้แต่งใช้อีโมติคอนเป็นเสมือนคำขึ้นต้นและคำลงท้ายประโยคอยู่เสมอ ซึ่งอีโมติคอนในตำแหน่งนี้ส่วนใหญ่สามารถตัดออกได้ทั้งหมด เพราะไม่ส่งผลต่อเนื้อความใดๆในประโยคเลย และยังช่วยลดความฟุ่มเฟือยของสัญลักษณ์ประเภทนี้ลงได้ ประเด็นที่สาม คือ สัดส่วนที่ไม่สมดุลระหว่างบทบรรยายกับบทสนทนา เนื่องจากปริมาณบทสนทนามีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเรื่อง ซึ่งถือเป็นข้อด้อยประการสำคัญในการแต่งนิยาย กล่าวคือ นิยายจำเป็นต้องมีจำนวนบทบรรยายมากกว่าบทสนทนา และเมื่อใดที่มีบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย นิยายเรื่องนั้นก็อาจจะกลายเป็นบทละคร อีกทั้งบทบรรยายส่วนใหญ่อาจถือว่าเป็นข้อด้อยของผู้แต่ง เพราะบทบรรยายที่ปรากฏมักไม่ต่างจากบทสนทนานัก เนื่องจากผู้แต่งยังคงเขียนด้วยภาษาพูด มีอีโมติคอน และ sound effect ประกอบเป็นระยะๆ ซึ่งต่างจากบทสนทนาก็เพียงช้รูปประโยคยาวขึ้น และไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด (“.....”) ที่บทบรรยายเท่านั้นเอง เช่น ยิ้มแฉ่งชี้นิ้วโป้งเข้าไปในร้านก่อนจะเปลี่ยนเป็นส่งนิ้วกลางให้ หยาบคายจริงๆ ทำไมไม่รู้จักทำตัวให้มันน่ารักสมชื่อกับเขาบ้างน้า... == ฉันเลิกสนใจนิ้วของเพื่อนต๊องๆ แล้วมองตามไปจนพบกับ...เทพบุตรในฝันของฉันนี่นา >_< อ๊ากกก~! เคลติกของฉัน (เขาเป็นของเธอตั้งแต่เมื่อไรยะ ==) เขาเป็นผู้ชายที่หล่อกระชากใจสาวๆ สุดๆไปเลย >_< เคลติกอยู่ในเสื้อยืดคอปกลายทางสีเขียว แล้วก็กางเกงเดฟสีแดงสดซึ่งปกติมันดูเดิ่งมากถ้าคนอื่นใส่ แต่เคลติกใส่แล้วมันช่างดูดีที่สุด >O< อ้ายยย~ …. นอกจากนี้ยังพบว่าผู้แต่งไม่สามารถบรรยายตัวละครให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการตามได้ เพราะบรรยายไว้อย่างคร่าวๆ ขาดรายละเอียดที่ชัดเจน ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้แต่งโพสต์ภาพตัวละครหลักๆไว้อย่างชัดเจนแล้ว จึงละความสนใจในประเด็นนี้ไป เช่น บรรยายภาพบิ๊กบอมเพียงว่า ผู้ชายตรงหน้าฉันอายุไม่เกินยี่สิบสาม หน้าใสกิ๊งอย่างกับพรีเซ็นเตอร์ครีมทาหน้าขาว ตาดำหม่นๆ ใต้คิ้วที่เฉียงที่กำลังย่นนิดๆ ...ผมสีดำที่ซอยระต้นคอของเขาถูกรวบไว้ครึ่งศีรษะ ดูเซอร์นิดๆ แต่ก็หล่อกระชากใจสาวๆ สุดๆ ฉันจ้องเขาอยู่สักพักก่อนที่ริมฝีปากที่น่าจุ๊บของเขาจะขยับพูดขึ้น การบรรยายเพียงเท่านี้ ถ้าเทียบกับภาพวาดก็เป็นเพียงภาพร่างหยาบๆ ที่ขาดรายละเอียด ด้วยเหตุนี้ ผู้แต่งควรเน้นการบรรยายตัวละครให้ละเอียดมากขึ้น เพราะนิยายต้องสื่อความได้ด้วยตัวบท โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกอื่นๆ มาช่วยเสริม เช่น ภาพประกอบ ประเด็นที่สี่ วิธีการให้ตัวละคร ”แซว” “จิก กัด” หรือ “ชม” ตัวเอง ผู้แต่งเรื่องนี้ก็นิยมใช้วิธีการดังกล่าวมาเป็นแนวเขียนหลักเช่นกัน เพราะพบประโยคลักษณะนี้ปรากฏโดยตลอดเรื่อง เช่น ...โฮๆๆ เหมือนจะมีแววว่า ฉันกำลังจะได้ไดเอ็ตโดยไม่ต้องการอีกแล้ว (ไม่มีจะกินนั่นเอง T^T) หรือ ... ฉันลุกขึ้นยืนพร้อมกับเขย่งตะโกนใส่หน้าไอ้บ้านั่น (ไม่ใช่ว่าฉันเตี้ยนะ ไอ้บ้านั่นสูงเองต่างหาก ฉันสูงตั้งร้อยหกสิบเจ็ดเชียวนะนะ --+) บางครั้งก็ใช้วิธีเขียนคำอธิบายในวงเล็บเพื่อแย้งหรือแสดงความรู้เท่าทันข้อความที่เขียนนำไว้ในประโยคข้างต้น เช่น ... อย่าบอกนะว่าเธอไม่รู้ว่าพ่อผมมีครอบครัวแล้วเลยตกใจขนาดนี้ (เข้าใจผิดไปใหญ่แล้วค่ะคุณชาย = =) หรือ ตอนนี้ฉันในเสื้อไหมพรมสีดำสนิทและกางเกงยีนส์ขาเดฟกำลังย่องดอดอยุ่กับคุณสมบูรณ์สหายคู่ใจในการปฏิบัติการ (เอามันมาเป็นเพื่อนเนื่องจากฉันกลัวผีขึ้นสมอง ลงมือคนเดียวมันน่ากลัว T^T)... ผู้วิจารณ์สังเกตว่าสไตล์การเขียนลักษณะนี้พบมากขึ้นในนิยายแนวหวานแหวว ประเด็นที่ห้า คือ เน้นการสร้างความขบขัน โดยใช้ความเปิ่นของนางเอก ผู้แต่งต้องการส่งความเด่นของนางเอกด้วยบท “สาวสวย ใส แต่เปิ่น” แต่ผู้แต่งจงใจสร้างเหตุการณ์ที่แสดงความเปิ่นของนางเอกบ่อยครั้งและต่อเนื่องเกินไป จนทำให้นางเอกกลายเป็น “สาวสวย ใส แต่ไร้สมอง” ไปแล้ว ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากมุกตลกที่ขาดความสมเหตุสมผล เช่น ฉากที่พระเอกพบนางเอกเป็นครั้งแรกนั้น ร่างกายท่อนบนของนางเอกมีแต่เสื้อชั้นในเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าขณะที่วิ่งตามหาสุนัข เสื้อไหมพรมที่ใส่มาไปเกี่ยวกับพุ่มไม้ จนทำให้ไหมพรมลุ่ยออกจนหมด ในความเป็นจริง คงจะไม่มีใครไม่รู้ตัวหรอกว่าขณะที่วิ่งไปเสื้อของตัวเองหดสั้นลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือไหมพรมสักเส้นเดียวติดกาย หรือ ฉากนางเอกเดินตามและตะโกนเรียกชื่อสุนัขของตนรอบหมู่บ้านไฮโซกว่าสองชั่วโมง ทั้งๆ ที่เวลาในขณะนั้นก็ดึกมากเกือบจะเที่ยงคืนแล้ว จะไม่มียามรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านมาพบเลยหรือ นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่นางเอกเข้าใจผิดคิดว่าพบสุนัขของตนที่นอนหลบอยู่ใต้พุ่มไม้แล้ว แต่ก็อุ้มสุนัขผิดตัว แทนที่จะอุ้ม “สมบูรณ์” สุนัขพันธุ์ปั๊กของตนกลับอุ้ม “กูฟฟี่” สุนัขพุดเดิ้ลของพระเอกแทน ทั้งๆที่สุนัขทั้งสองพันธุ์มีลักษณะขนต่างกันมาก แม้ไม่เห็นเพียงแค่สัมผัสก็สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เนื่องจากปั๊กขนสั้นเกรียน แต่พุดเดิ้ลขนหยิกยาว ประเด็นสุดท้าย คือ การเขียนกำกับไว้ในแต่ละช่วงว่าขณะนี้ตัวละครใดกำลังพูด เช่น (Bigbom Talk) นั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเขียนเช่นนี้ก็ได้ เพราะผู้อ่านสามารถทราบขณะที่อ่านอยู่แล้วว่าเป็นบทสทนาของตัวละครใด การเขียนเช่นนี้แสดงลักษณะของบทละครหรือบทการแสดงอย่างชัดเจน ไม่ใช่ลักษณะของนวนิยาย อาจเป็นเพราะว่า ผู้เขียนไม่ทราบว่าควรจะเขียนอย่างไร เพื่อจะให้ผู้อ่านทราบว่าตัวละครตัวไหนกำลังพูดว่าอะไร (เช่น บิ๊กบอมบ่นกับตัวเองว่า เคลติกหันมาพูดกับเพื่อน มะเกี๋ยงตอบเคลติกว่า เธอโต้กลับอย่างโมโห ) ผู้วิจารณ์เห็นว่าขณะนี้เรื่องเพิ่งจะดำเนินไปเพียงช่วงต้นและผู้แต่งเพิ่งจะเขียนไปแค่ 12 ตอน จึงสามารถที่จะปรับแก้และลดทอนความฟุ่มเฟือยต่างๆที่กล่าวถึงข้างต้นได้ไม่ยากนัก ซึ่งน่าจะช่วยให้เรื่องกระชับและน่าสนใจมากขึ้น เมื่อพิจารณาเรื่องโดยรวมพบว่า นิยายเรื่องนี้อ่านสนุก เดินเรื่องกระชับ และเริ่มจะเข้าสู่แก่นเรื่องหลักที่น่าจะมีมิติทางอารมณ์ที่หลากหลายกว่าเน้นความเปิ่นของนางเอกเพียงอย่างเดียว ทั้งยังเริ่มมีบทบาทตัวละครอื่นที่จะขัดขวางเส้นทางความรักระหว่างพระเอกกับนางเอก ทั้งบิ๊กแบงและเหม่ยจิน ก็น่าจะช่วยเพิ่มสีสันและความเข้มข้นของเรื่องได้ ------------------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 15 มี.ค. 53

    • 12

    • 1

    "รักใสใสของยัยดาว.."

    (แจ้งลบ)

    สวัสดีค่าา เป็นเกียรติมากๆๆ นี่วิจารณ์เป็นที่แรกเลยนะเนี่ยย การวางพลอตเรื่องน่าสนใจดี การบรรยายพรรณนาต่างๆก็ไหลลื่นดี คำพูดอะไรต่างๆก็ดูเหมาะสมดี และการจัดรูปแบบต่างๆก็ดูอ่านง่าย พอเข้าใจได้ เนื้อเรื่องตอนแรกก็มาให้ลุ้นกับชีวิตของนางเอกซะแล้วว ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไง พระเอกยังไม่มีออกมาในตอนนี้ เนื้อเรื่องต่อไปก็ต้องรอลุ้น ไม่ว่ายังไงก็ส ... อ่านเพิ่มเติม

    สวัสดีค่าา เป็นเกียรติมากๆๆ นี่วิจารณ์เป็นที่แรกเลยนะเนี่ยย การวางพลอตเรื่องน่าสนใจดี การบรรยายพรรณนาต่างๆก็ไหลลื่นดี คำพูดอะไรต่างๆก็ดูเหมาะสมดี และการจัดรูปแบบต่างๆก็ดูอ่านง่าย พอเข้าใจได้ เนื้อเรื่องตอนแรกก็มาให้ลุ้นกับชีวิตของนางเอกซะแล้วว ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไง พระเอกยังไม่มีออกมาในตอนนี้ เนื้อเรื่องต่อไปก็ต้องรอลุ้น ไม่ว่ายังไงก็สู้ต่อๆไปนะ จะเป็นกำลังใจให้จนจบเรื่องเลยย >o   อ่านน้อยลง

    ท้องฟ้าไร้สี | 30 มี.ค. 53

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น