ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาเรียนภาษาเยอรมันกันเถอะ! - ภาคไวยากรณ์

    ลำดับตอนที่ #6 : บทที่ 2 - การผันกริยารูปปัจจุบัน, ชนิดประโยคและตำแหน่งกริยารูปถูกกำหนด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 23.04K
      62
      21 ก.พ. 52


    เอาล่ะ... เข้าสู่การผันกริยาในภาษาเยอรมันอย่างจริงๆ จังๆ เลยนะเจ้าคะ

    (แล้วอย่าลืมกดฟัง MP3 ด้วยล่ะ)

     

    1. การผันของกริยารูปปัจจุบัน

    กริยานั้นจะมีการผันตามบุคคลและจำนวน (เอกพจน์หรือพหูพจน์) ของประธาน สำหรับรูปที่เป็นรากสำหรับใช้ผันนั้นจะเรียกว่า รูป Infinitiv [ผู้เขียนขอเรียกง่ายๆ ว่ารูปไม่กำหนด] สำหรับรูปนี้จะแบ่งเป็นสองส่วนคือแกนและหาง แล้วส่วนหางจะลงท้ายด้วย ­–en (หรือ –n) เจ้าค่ะ

     

    lernen: lern + en

    learn

    เรียน

    arbeiten: arbeit + en

    work

    ทำงาน

    heißen: heiß + en

    be called

    ถูกเรียกว่า (มีชื่อว่า)

    tun: tu + n

    do

    ทำ

     

    ก่อนอื่นเรามาดูสรรพนามแทนบุคคลต่างๆ กันก่อนนะเจ้าคะ (รูปประธาน)

     

    เอกพจน์

    พหูพจน์

    บุรุษที่ 1

    (ผู้พูด)

    ich

    wir

    บุรุษที่ 2

    (ผู้ฟัง)

    du (รูปสนิทสนม)

    Sie (รูปสุภาพ)

    ihr (รูปสนิทสนม)

    Sie (รูปสุภาพ)

    บุรุษที่ 3

    (คำแทนคำนาม)

    er

    sie

    es

    sie

     

    ข้อสังเกต

    ·       ต่างจาก I ในภาษาอังกฤษ คำว่า “ฉัน” ในภาษาเยอรมัน ich นั้นจะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะกรณีขึ้นต้นประโยคเท่านั้นเจ้าค่ะ

    ·       สรรพนามบุรุษที่ 2 มีอย่างละ 2 รูปสำหรับทั้งกรณีเอกพจน์และพหูพจน์ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยโดยคร่าวๆ du = เธอ นาย ihr = พวกเธอ พวกนาย ส่วน Sie = คุณ (เอกพจน์) หรือ พวกคุณ (พหูพจน์)

    ·       สรรพนามรูปสุภาพ Sie นั้นขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอ

    ·       สรรพนามรูปสุภาพ Sie นั้นมีที่มาจากรูปบุรุษที่ 3 พหูพจน์ เพราะฉะนั้นการผันรูปต่างๆ (ที่จะแนะนำหลังจากนี้) ของทั้งสองกรณีนั้นจะเหมือนกันทั้งหมด ต่างกันเพียงอักษรขึ้นต้นเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้นเจ้าค่ะ

     

    เมื่ลองดูดีๆ จะสังเกตว่าคำว่า sie (หรือ Sie) นั้นมีถึงสามความหมาย ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า “แล้วจะแยกความหมายออกจากกันได้ยังไงล่ะ?” ใช่มั้ยเจ้าคะ สำหรับคำตอบนั้นอยู่ที่การผันท้ายคำกริยาตามแต่ละบุรุษเจ้าค่ะ ข้างล่างนี้เป็นวิธีการผันท้ายคำกริยาที่ว่านั้นเจ้าค่ะ

     

     

    ประธาน

    ท้ายคำกริยา

    lernen

    sagen

    เอกพจน์

    ich

    -e

    lerne

    sage

    du

    -st

    lernst

    sagst

    er*

    -t

    lernt

    sagt

    พหูพจน์

    wir

    -en

    lernen

    sagen

    ihr

    -t

    lernt

    sagt

    sie

    -en

    lernen

    sagen

     

    Sie**

    -en

    lernen

    sagen

    * จากนี้ไป บุคคลที่สามเอกพจน์จะเขียนแทนด้วย er

    ** บุรุษที่ 2 รูปสุภาพนั้นผันเหมือนกับบุรุษที่ 3 พหูพจน์เสมอ

     

    (ตอบคำถามเมื่อครู่จากผู้เขียน – ไม่อยู่ในไฟล์เสียง) สมมติว่ามีสามประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Sie มาแบบต่อไปนี้ (Deutsch = ภาษาเยอรมัน)

    (1)  Sie lernt Deutsch.

    (2)  Sie lernen Deutsch.

    ดูจากท้ายคำกริยาแล้วอย่างน้อยก็รู้ว่า (1) นั้น Sie หมายถึง “เธอ” (บุรุษที่ 3 เอกพจน์) ส่วน (2) นั้น Sie อาจจะเป็น บุรุษที่ 3 พหูพจน์หรือบุรุษที่ 2 รูปสุภาพก็ได้เจ้าคะ ต้องดูจากบริบทอีกที แต่อย่างน้อยก็สามารถแยกสองกรณีนี้ออกจากกันได้ล่ะเจ้าค่ะ

     

    ต่อไปเป็นกฎเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเจ้าค่ะ

    ·       กริยาที่ส่วนแกนลงท้ายด้วย t หรือ d อย่างเช่น arbeiten หรือ finden (ค้นหา) นั้นเพื่อให้ออกเสียงสะดวกจึงมีการเติมตัว e ลงไปด้านหน้าการผัน -st หรือ -t ของ du, er (sie, es) กับ ihr
    du arbeitest, er arbeitet, ihr arbeitet

    ·       กริยาที่ส่วนแกนลงท้ายด้วย ß, s, tz หรือ z อย่างเช่น heißen, reisen (ท่องเที่ยว), sitzen (กำลังนั่งอยู่) นั้นเพื่อให้ออกเสียงสะดวก กรณีของ du นั้นจึงเปลี่ยนจากการผัน -st เป็น -t
    du heißt, du reist, du sitzt

     

    (โจทยฝึกซ้อม) จงผันรูปกริยาต่อไปนี้ตามแต่ละบุรุษ

    1.     lieben (รัก)

    2.     spielen (เล่น)

    3.   bleiben (พักแรม)

    4.   reisen (ท่องเที่ยว)

    5.     finden (ค้นหา)

    6.     warten (รอ)

    7.   sitzen (กำลังนั่งอยู่)

     

     

    2. จากกริยารูปไม่กำหนดสู่ประโยค

    วลีที่ประกอบด้วยกริยารูปไม่กำหนด กรรม และคำขยายต่างๆ มาประกอบกันนั้นจะเรียกว่าวลีรูปไม่กำหนด ซึ่งโดยมากแล้ววลีเหล่านี้จะวางกริยาไว้ที่ตำแหน่งท้ายสุด รูปนี้จะเป็นรูปที่เปิดเจอในพจนานุกรมเจ้าค่ะ ตัวอย่างเช่น

    Deutsch lernen

    เรียนภาษาเยอรมัน

    learn German

    fleißig Deutsch lernen

    เรียนภาษาเยอรมันอย่างขยันขันแข็ง

    learn German diligently

    immer fleißig Deutsch lernen

    เรียนภาษาเยอรมันอย่างขมันขันแข็งอยู่ตลอด

    always learn German diligently

     

    แล้วเมื่อระบุประธานลงไป วลีรูปไม่กำหนดก็จะกลายเป็นประโยคดังนี้

    Deutsch lernern

    Ich lerne Deutsch.

    fleißig Deutsch lernen

    Er lernt fleißig Deutsch.

    immer fleißig Deutsch lernen

    Sie lernt immer fleißig Deutsch.

     

    3. ชนิดของประโยคกับตำแหน่งของกริยารูปถูกกำหนด

    เราเรียกกริยาที่ผันหางคำตามประธานแล้วว่ากริยารูปถูกกำหนด แล้วตำแหน่งของเจ้ากริยารูปถูกกำหนดที่ว่านี่ก็จะแตกต่างไปตามชนิดของประโยคเจ้าค่ะ

     

    ประโยคบอกเล่า

    ในประโยคบอกเล่านั้น กริยารูปถูกกำหนดจะเป็นองค์ประกอบของประโยค (คำหรือกลุ่มคำ) ที่วางเอา ณ ตำแหน่งที่สอง ของประโยค แต่ต้นประโยค (องค์ประกอบแรกสุด) นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นประธานก็ได้

     

    Wolfgang wohnt jetzt in Berlin.

    Wolfgang อาศัยอยู่ตอนนี้ที่เบอร์ลิน

    Wolfgang lives now in Berlin.

    Jetzt wohnt Wolfgang in Berlin.

    ตอนนี้ Wolfgang อาศัยอยู่ในเบอร์ลิน

    Now Wolfgang lives in Berlin.

     

    ประโยคคำถามแบบถูก/ผิด

    ประโยคคำถามแบบถูก/ผิด (Yes-no question) คือประโยคคำถามที่ไม่ใช้คำตั้งคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) กริยารูปถูกกำหนดจะวางไว้ ณ หัวประโยค (องค์ประกอบแรก) และคำตอบจะเป็น ja “ถูก” หรือ nein “ผิด” เท่านั้น

     

    Wohnt Wolfgang in Berlin?

    Wolfgang อาศัยอยู่ในเบอร์ลินใช่มั้ย?

    Does Wolfgang live in Berlin?

    - Ja, er wohnt in Berlin.

    ใช่ เขาอาศัยอยู่ในเบอร์ลิน

    Yes, he lives in Berlin.

    - Nein, er wohnt nicht in Berlin.

    ไม่ใช่ เขาไม่ได้อาศัยอยู่ในเบอร์ลิน

    No, he doesn’t live (=lives not) in Berlin.

    คำว่า nicht แปลว่า “ไม่” จะวางเอาไว้หน้าสิ่งที่จะปฏิเสธ

     

    ในกรณีที่ถามคำถามเป็นเชิงปฏิเสธตั้งแต่ต้น ประโยคตอบรับว่าสิ่งนั้นเป็นจริง (คือที่ถามมานั้นผิด) จะใช้คำว่า doch แทน ja (เป็นการหักล้างคู่สนทนาอย่างสุภาพ)

    Wohnt Wolfgang nicht in Berlin?

    Wolfgang ไม่ได้อาศัยอยู่ในเบอร์ลินใช่มั้ย?

    Doesn’t Wolfgang live in Berlin?

    - Doch, er wohnt in Berlin.

    เปล่านะ เขาอาศัยอยู่ในเบอร์ลิน

    Yes, he lives in Berlin.

    - Nein, er wohnt nicht in Berlin.

    ไม่ เขาไม่ได้อาศัยอยู่ในเบอร์ลิน

    No, he doesn’t live (=lives not) in Berlin.

     

    ประโยคคำถามแบบไม่เจาะจง

    ประโยคคำถามแบบไม่เจาะจง (Wh- question) คือประโยคคำถามที่ใช้คำตั้งคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) แล้วต้องการคำตอบเป็นชื่อ สถานที่ ลักษณะ เวลา ฯลฯ กริยารูปถูกกำหนดนั้นจะวางไว้ ณ ตำแหน่งที่สอง

     

    Was lernt Wolfgang?

    Wolfgang เรียนอะไรอยู่

    What is Wolfgang learning?

    - Er lernt Japanisch.

    Wolfgang กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น

    Wolfgang is learning Japanese.

     

    4. การผันกริยาไม่ตรงตามกฎ sein, haben และ werden ตามแต่ละบุรุษ

    กริยา sein, haben และ werden นั้นเป็นกริยาช่วยที่มีความสำคัญซึ่งมีรูปแบบการผันไม่เป็นไปตามรูปแบบ ตรงนี้ขอให้จำด้วยเจ้าค่ะ

     

    sein (be)

    haben (have)

    werden (become*)

    ich

    bin

    habe

    werde

    du

    bist

    hast

    wirst

    er

    ist

    hat

    wird

    wir

    sind

    haben

    werden

    ihr

    seid

    habt

    werdet

    sie

    sind

    haben

    werden

    Sie

    sind

    haben

    werden

    ส่วนที่พิมพ์ตัวหนาคือจุดที่ไม่เป็นไปตามกฎเจ้าค่ะ

    * werden นั้นจริงแล้วมีหลายความหมาย หากเป็นกริยาหลักจะหมายถึง “กลายเป็น” ส่วนความหมายอื่นๆ นั้นจะแนะนำหลังจากนี้ เพียงแต่ว่าไม่ว่าจะความหมายไหนก็ผันรูปเดียวกันเจ้าค่ะ

     

    Was bist du von Beruf*?

    เธอทำอาชีพอะไรเหรอ?

    What do you do?

    - Ich bin Student / Studentin**.

    (ผม, ดิฉัน) เป็นนักศึกษา

    I am a student.

    * von Beruf แปลว่า “เกี่ยวกับอาชีพ” เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วกำลังถามว่า “สิ่งที่เกี่ยวกับอาชีพของเธอคืออะไร?” = “เธอทำอาชีพอะไร?”

    ** Student คือนักศึกษาชาย ส่วน Studentin คือนักศึกษาหญิง คำว่า Student กับ Studentin ในภาษาเยอรมันนั้นต่างจากภาษาอังกฤษตรงที่เจาะจงไปที่นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

    *** ข้อสังเกตทางไวยกรณ์: ประโยคบอกว่าตนเองทำอาชีพอะไรนั้นในภาษาเยอรมันไม่จำเป็นต้องมี article นำหน้าเหมือนในภาษาอังกฤษ (Ich bin Student. กับ I am a student.)

    (หมายเหตุจากอาจารย์ของผู้เขียน) ในความเป็นจริงแล้วการแทนคู่สนทนาด้วย du แสดงว่าสนิทกันในระดับหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นย่อมต้องรู้อาชีพของอีกฝ่าย ดังนั้นจริงๆ แล้วคำถามนี้น่าจะแทนคู่สนทนาด้วย Sie ซะมากกว่า นั่นคือควรจะถามว่า Was sind Sie von Beruf?

     

    Hast du heute Zeit?

    วันนี้เธอมีเวลามั้ย?

    Do you have time today?

    - Ja, ich habe heute Zeit.

    ครับ ผมมีเวลา

    Yes, I have time today.

    heute = วันนี้ today, Zeit = เวลา time

     

    Irene wird bald gesund.

    อีกไม่นาน Irene ก็จะกลับมาสบายดีแล้ว

    Irene will get (=become) well soon.

    bald = อีกไม่นาน soon, gesund = สบายดี well, fine

     

    5. วิธีการใช้รูปปัจจุบัน (Präsens)

    ·       รูปปัจจุบัน (Präsens) นั้นสามารถแสดงความหมายในเชิงกำลังดำเนินต่อเนื่องในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบันได้ด้วย นั่นคือประโยค Present continuous tense หรือ Present perfect continuous tense จะเขียนเป็นภาษาเยอรมันด้วยรูปปัจจุบัน (Präsens)

    Ich lerne seit April Deutsch

    ฉันเรียนภาษาเยอรมันมาตั้งแต่เดือนเมษายน

    I have been learning German since April.

    Julia kocht gerade Kartoffeln.

    Julia กำลังต้มมันฝรั่งอยู่เลย

    Julia is just boiling the potatoes.

    siet = ตั้งแต่ since

    kochen = ต้ม ปรุง cook, boil

    gerade = พอดี just

    Kartoffeln = มันฝรั่ง (พหูพจน์) potatoes

    ·       มีความหมายถึงเรื่องราวในอนาคตหรือเรื่องที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปัจจุบันไปยังอนาคตก็ได้

    Morgen fliege ich nach Deutschland.

    พรุ่งนี้ฉันจะบินไปเยอรมัน

    Tomorrow I’ll fly to Germany.

    morgen = พรุ่งนี้ tomorrow

    fliegen = บิน fly

    nach = ไปสู่ to (somewhere)

    Deutschland = ประเทศเยอรมัน Germany

     

    ·       ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ใช้รูปปัจจุบัน

    Japan liegt in Asien.

    ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย

    Japan lies in Asia.

    Eins plus eins ist zwei.

    1 บวก1 ได้ 2

    1 plus 1 is 2.

    liegen = นอนลง ตั้งอยู่ lie, locate

    Asien = ทวีปเอเชีย Asia

     

    เฉลยโจทย์ฝึกซ้อม

     

    lieben

    spielen

    bleiben

    reisen

    finden

    warten

    sitzen

    ich

    liebe

    spiele

    bleibe

    reise

    finde

    warte

    sitze

    du

    liebst

    spielst

    bleibst

    reist

    findest

    wartest

    sitzt

    er

    liebt

    spielt

    bliebt

    reist

    findet

    wartet

    sitzt

    wir

    lieben

    spielen

    bleiben

    reisen

    finden

    warten

    sitzen

    ihr

    liebt

    spielt

    bliebt

    reist

    findet

    wartet

    sitzt

    sie

    lieben

    spielen

    bleiben

    reisen

    finden

    warten

    sitzen

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×