ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาเรียนภาษาเยอรมันกันเถอะ! - ภาคไวยากรณ์

    ลำดับตอนที่ #10 : บทที่ 3 - เพศของคำนาม, คำนำหน้า และ การก (case)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 19.94K
      42
      27 ก.พ. 52

    คราวนี้ เราลองมาดูกันว่าคำนามในภาษาเยอรมันมีการผันอย่างไรบ้างนะเจ้าคะ ก่อนอื่นก็ต้องพูดถึงสมบัติหรือ “สถานะ” ต่างๆ ที่คำนามจะมีได้ก่อน (ถ้าพูดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์สักหน่อยก็คือ properties ของคำนามนั่นเองเจ้าค่ะ)

     

    1. เพศทางไวยากรณ์ (Grammatical gender) และจำนวนของคำนาม

    เหมือนกับภาษาในตระกูล Indo-European อีกหลายๆ ภาษา คำนามในภาษาเยอรมันจะแบ่งออกเป็น 3 เพศคือ

    ·       เพศชาย maskulin (m.)

    ·       เพศหญิง feminin (f.)

    ·       เพศกลาง (หรือไม่มีเพศ) neutral (n.)

    นอกจากนี้คำนามยังมีสองรูปคือรูปเอกพจน์ และ พหูพจน์ด้วยเจ้าค่ะ (แต่หลายครั้งที่ทั้งสองรูปนี้จะเขียนเหมือนกัน) ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องรูปพหูพจน์ในบทต่อๆ ไป บทนี้เรามาดูรูปเอกพจน์ซึ่งมีสามเพศนี้ก่อนนะเจ้าคะ

     

    เพศชาย (m.)

    เพศหญิง (f.)

    เพศกลาง (n.)

    der Vater

    พ่อ

    father

    die Mutter

    แม่

    mother

    das Kind

    เด็ก

    child

    der Hund

    สุนัข

    dog

    die Katze

    แมว

    cat

    das Pferd

    ม้า

    horse

    der Tisch

    โต๊ะ

    table

    die Tür

    ประตู

    door

    das Buch

    หนังสือ

    book

    der Mond

    พระจันทร์

    moon

    die Sonne

    พระอาทิตย์

    sun

    das Meer

    ทะเล

    sea

    der Beruf

    อาชีพ

    occupation

    die Freiheit

    อิสรภาพ

    freedom

    das Recht

    สิทธิ

    right

     

    ก่อนที่จะไปไหนไกล สังเกตก่อนว่าคำขึ้นต้นหรือ article ของสามเพศนั้นต่างกันเจ้าค่ะ ในที่นี้

    ·       der (แดร์) นำหน้าคำนามเพศชาย

    ·       die (ดิ) นำหน้าคำนามเพศหญิง

    ·       das (ดาส) นำหน้าคำนามเพศกลาง

    ส่วนความหมายนั้น ทั้งสามคำต่างก็แปลว่า the ทั้งหมดเจ้าค่ะ

     

    ข้อสังเกตต่อไปก็คือ เพศของคำนามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความหมายแต่อย่างใด เพราะว่าเพศตรงนี้เป็นเพศทางไวยากรณ์ คำถามก็จะเกิดขึ้นว่า แล้วจะรู้เพศของคำนามได้อย่างไร? กฎเกี่ยวกับเรื่องเพศนั้นก็มีอยู่บ้าง แต่เพราะว่าใช้ได้ไม่ครอบคลุม วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเรียนรู้และจดจำเจ้าค่ะ โดยในพจนานุกรมจะมีเขียนเอาไว้ว่า m, f หรือ n

     

    การที่คำนามมีเพศนั้นมีความสำคัญอีกอย่างคือ เมื่อใช้สรรพนามแทนคำนามที่กล่าวถึงไปแล้ว จะเลือกใช้สรรพนามตามเพศของคำนามนั้น แม้ว่าจะไม่ใช่คนก็ตาม อย่างเช่น

     

    Da kommt der Bus. Er ist voll.

    There comes the bus. It is full.

    Da kommt die Bahn. Sie ist leer.

    There comes the train. It is empty.

    Da kommt das Schiff. Es ist riesengroß.

    There comes the ship. It is enormous.

    Da kommen Autos. Sie fahren sehr schnell.

    There come the cars. They are going very fast.

     

    ·       เพศชาย เช่น Bus (m) แทนด้วย er

    ·       เพศหญิง เช่น Bahn (f) แทนด้วย sie

    ·       เพศกลาง เช่น Schiff (n) แทนด้วย es

    ·       พหูพจน์ เช่น Autos (pl) แทนด้วย sie

     

    2. การผันคำขึ้นต้นและคำนามตามการก

    เห็นหัวข้อนี้แล้วคงจะสงสัยเป็นอย่างแรกว่า “การก” คืออะไรสินะเจ้าคะ? แปลอย่างง่ายที่สุด การก ก็คือ case หรือ “กรณี” ต่างๆ ของคำนามนั่นเอง แล้วถ้าถามว่ากรณีของคำนามคืออะไร? คำตอบก็คือหน้าที่ของคำนามนั้นๆ ในประโยคเจ้าค่ะ

     

    ภาษาเยอรมันแบ่งการใช้งานออกเป็น 4 กรณี [หรือที่ส่วนตัวผู้เขียนมักจะเรียกว่า ขั้น] ได้แก่

    ·       ขั้นที่ 1 ประธาน (nominative case, nom)

    ·       ขั้นที่ 2 เจ้าของ (genitive case, gen)

    ·       ขั้นที่ 3 กรรมรอง (dative case, dat)

    ·       ขั้นที่ 4 กรรมตรง (accusative case, acc)

    สำหรับเลขขั้นนั้นไม่เป็นสากลแต่อย่างใด แต่ผู้เขียนคิดว่าทำให้สะดวกในการเรียนภาษาเยอรมันมากในระดับหนึ่งเลยทีเดียวเจ้าค่ะ ส่วนความหมายของแต่ละขั้นที่ให้ไว้นั้นเป็นความหมายเพียงคร่าวๆ วิธีใช้แต่ละขั้นอย่างละเอียดจะกล่าวหลังจากนี้นะเจ้าคะ สำหรับตอนนี้ลองมาดูวิธีการผันคำนามแต่ละเพศตามขั้นก่อนนะเจ้าคะ (อีกอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้จะใช้สัญลักษณ์ ขั้นตามด้วยเพศ เพื่ออ้างอิงนะเจ้าคะ อย่างเช่น 1m ก็คือ ขั้น 1 เพศชาย หรือ 3f ก็คือ ขั้น 3 เพศหญิง เป็นต้น)

     

     

    เพศชาย (m)

    เพศหญิง (f)

    เพศกลาง (n)

    1 ประธาน

    der

    ein*

    Vater

    Vater

    die

    eine

    Mutter

    Mutter

    das

    ein*

    Kind

    Kind

    2 เจ้าของ

    des

    eines

    Vaters

    Vaters

    der

    einer

    Mutter

    Mutter

    des

    eines

    Kind[e]s

    Kind[e]s

    3 กรรมรอง

    dem

    einem

    Vater

    Vater

    der

    einer

    Mutter

    Mutter

    dem

    einem

    Kind

    Kind

    4 กรรมตรง

    den

    einen

    Vater

    Vater

    die

    eine

    Mutter

    Mutter

    das

    ein*

    Kind

    Kind

     

    ·       คำนำหน้ามีสองแบบคือ ที่ขึ้นต้นด้วย d (เฉพาะเจาะจง = the) และขึ้นต้นด้วย ein (ไม่เฉพาะเจาะจง = a, an)

    ·       ส่วนที่มาต่อกับ d และ ein นั้นมีรูปแบบเกือบจะเหมือนกัน ยกเว้น 1m 1n และ 4n ที่ใช้ ein ดังนั้นจำแค่รูปแบบ d แล้วอย่าลืมข้อยกเว้นนี้ก็พอ

    ·       วิธีท่องที่ง่ายที่สุด: แบ่งเป็น 3 ชุดคือ der-des-dem-den กับ die-der-der-die กับ das-des-dem-das

    ·       กฎอีกเล็กน้อย: คำนามไม่เปลี่ยนรูป ยกเว้น 2m และ 2n ซึ่งจะเติม s หรือ es ส่วน [e]s นั้นแปลว่าจะใส่หรือไม่ใส่ e ก็ได้ (ทั้งหมดนี้มีในพจนานุกรม วิธีดูขอให้ดูในบท “รวมคำศัพท์”)

     

    3. วิธีการใช้แต่ละขั้น (การก)

    ก่อนอื่น หน้าที่หลักๆ ก็คือตามที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้เจ้าค่ะ เราลองมาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

    ขั้นที่ 1 (ประธาน)

    Der Professor ist sehr freundlich.

    The professor is very friendly.

    ขั้นที่ 2 (เจ้าของ)

    Das ist der Computer des Professors.

    This is the computer of the professor. (= This is the professor’s computer.)

    ขั้นที่ 3 (กรรมรอง)

    Der Student schreibt dem Professor einen Brief.

    The student writes the professor a letter.

    ขั้นที่ 4 (กรรมตรง)

    Der Student besucht den Professor.

    The student visits the professor.

     

    จะเห็นว่าก่อนอื่น ถึงจะเป็นคำว่า ศาสตราจารย์ (Professor) เดียวกันก็ตาม แต่ว่าเมื่อทำหน้าที่ต่างกันในประโยค article ที่นำหน้าก็จะแตกต่างกันไป และในกรณีขั้นที่ 2 ตัวคำว่า Professor เองยังมีการเติม s เพิ่มเติมลงไปด้วย

     

    อีกข้อสังเกตคือรูปประโยคเจ้าค่ะ ถ้าจะกล่าว “A ของ B ในภาษาเยอรมันจะใช้วลีในรูป

    A B2

    หมายความว่าขั้นของ A เป็นไปตามหน้าที่ในประโยค (จึงไม่ได้ระบุไว้) ส่วนขั้นของ B นั้นเป็นขั้นที่ 2 เสมอ (จึงเขียนว่า B2) เจ้าค่ะ และด้วยเหตุนี้จึงได้เรียกขั้นที่ 2 ว่า “เจ้าของ” ยังไงล่ะเจ้าคะ

    อย่างในตัวอย่างที่ว่า Das ist der Computer des Professors. นั้นถ้าแยกส่วนของประโยคจะได้ว่า

    Das ist der Computer[1m] des Professors[2m].

    ความหมายก็คือ der Computer เป็น 1m (ประธาน) ส่วน des Professors เป็นส่วนขยายว่าคอมพิวเตอร์นั้น “เป็นของศาสตราจารย์” จะวางเอาไว้ด้านหลังและต้องผันเป็นขั้นที่ 2 จึงได้ว่าวลีที่ว่า “คอมพิวเตอร์ของศาสตราจารย์” อยู่ในรูป A B2 เจ้าค่ะ

     

    คราวนี้เราลองมาดูกรณีของขั้นที่ 3 และ 4 กันบ้างเจ้าค่ะ กริยาในภาษาเยอรมันจะมีการกำหนดเอาไว้ว่าวัตถุที่เป็นกรรมจะเป็นขั้นที่ 3 หรือ 4 (สำหรับกริยาใช้กรรมขั้นที่ 2 มารองรับก็มีเจ้าค่ะ แต่ว่ามีน้อยมาก) และจากตรงนี้เองที่จะให้ความหมายของอกรรมกริยากับสกรรมกริยาได้เจ้าค่ะ ตรงนี้ขอให้ตั้งใจอ่านสักเล็กน้อย เพราะว่านิยามนี้ไม่เหมือนกับในภาษาอังกฤษเจ้าค่ะ

     

    สกรรมกริยา หมายถึงกริยาที่รองรับด้วยกรรมขั้นที่ ­4

    อกรรมกริยา หมายถึงกริยาที่ไม่ใช่สกรรมกริยา (นั่นคือไม่มีกรรมมารองรับ หรือมีกรรมขั้นที่ 3 หรือในกรณีที่พบได้น้อย กรรมขั้นที่ 2 มารองรับ)

     

    ในพจนานุกรมมักจะเขียนแทนสกรรมกริยาด้วย t และอกรรมกริยาด้วย i เจ้าค่ะ

    ลองมาดูตัวอย่างประโยคกันนะเจ้าคะ

    Das Kind singt gut.

    That child sings well.

    Ein Schüler antwortet dem Lehrer[3m].

    The student answers to the teacher.

    Der Computer gehört dem Professor[3m].

    This computer belongs to the teacher.

     

    ประโยคแรก กริยา singen (ร้องเพลง) ไม่มีกรรมมารองรับ ในที่นี้จึงถือเป็นอกรรมกริยาเจ้าค่ะ

    ประโยคที่สอง กริยา antworten (ตอบ) มีกรรมรองขั้นที่ 3 มารองรับ (เพราะว่าอาจารย์ไม่ใช่สิ่งที่ถูกตอบ แต่เป็นคนที่คำตอบพุ่งไปหา) ในที่นี้จึงถือเป็นอกรรมกริยาเจ้าค่ะ

    ประโยคสุดท้าย กริยา gehören (เป็นของ = belong to) กำหนดให้เจ้าของเป็นกรรมรอง (ขั้นที่ 3) เจ้าค่ะ เพราะว่าภาษาเยอรมันมองว่าเจ้าของเป็นผลของกริยา (คือ “ความเป็นเจ้าของ” นั้นพุ่งไปหาตัวเจ้าของ) ดังนั้นแม้มีกรรม แต่เพราะเป็นขั้นที่ 3 จึงเรียกว่าเป็นอกรรมกริยาเจ้าค่ะ

     

    4. วิธีการใช้คำขึ้นต้น (article)

    คำนำหน้าแบบเฉพาะเจาะจง (der, die, das) นั้นจะใช้กับสิ่งที่ได้รู้ไปแล้วหรือไม่ก็ใช้เมื่อพูดถึงบุคคล สิ่งของ เรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง ส่วนคำนำหน้าแบบไม่เฉพาะเจาะจง (ein, eine, ein) มักจะใช้กับสิ่งที่ผู้พูดยังไม่รู้หรือบุคคล สิ่งของ เรื่องราวทั่วๆ ไป เจ้าค่ะ ลองมาดูตัวอย่างกันนะเจ้าคะ

     

    Ich habe eine Freundin in Deutschland.

    I have a (girl)friend in Germany.

    ฉันมีเพื่อน(ผู้หญิง)คนนึงอยู่ที่ประเทศเยอรมัน

    Die Freundin heißt Sabine.

    This (=The) friend is called Sabine.

    เพื่อนคนนี้ชื่อว่า Sabine

    Sie hat einen Hund.

    She has a dog.

    เธอมีหมาตัวนึง

    Der Hund ist groß.

    The dog is big.

    หมาตัวนั้นตัวใหญ่

     

    5. เพศของคำนามประสม

    ภาษาเยอรมันสามารถเอาคำนามมาวางต่อกันโดยตรงเพื่อสร้างเป็นคำนามใหม่ได้เจ้าค่ะ อย่างเช่นคำว่า “ภาคเรียนฤดูร้อน” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะยังเขียนแยกกันเป็น summer semester แต่ว่าในภาษาเยอรมันจะใช้เป็น Sommersemester ไปเลยเจ้าค่ะ ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะระบุเพศของคำนามประสมเหล่านี้ได้อย่างไร คำตอบคือเพศของคำนามประสมเหมือนกับเพศของคำนามคำสุดท้ายเจ้าค่ะ อย่างในกรณีนี้

     das Sommersemester < der Sommer + das Semester

    ภาคเรียนฤดูร้อน < ฤดูร้อน + ภาคเรียน

    (เครื่องหมาย < หมายถึง “มาจาก” เจ้าค่ะ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×