ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องต่างๆ ของชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #7 : ปรากฎการณ์เรือนกระจก(Green house Effect)

    • อัปเดตล่าสุด 10 ก.ย. 49


    ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house Effect) หรือภาวะที่โลกร้อนขึ้น เป็นภาวะร้อนอบอ้าวของอากาศ อันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือ เป็นภาวะที่อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นล่างสูงขึ้น เนื่องจากความร้อนที่แผ่กระจายจากผิวโลกขึ้นไปในบรรยากาศ ถูกก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศดูดซับเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเธน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซีเอฟซี ก๊าซเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกระจกที่เป็นหลังคาเรือนเพาะชำหรือทำหน้าที่เป็นหลังคาโลก ห้อหุ้มโลกไว้ เมือมีปริมาณมากขึ้น ๆ ภาวะร้อนอบอ้าวก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โลกร้อนขึ้น

    การศึกษาเรื่องปรากฏการณ์เรือนกระจก เป็นการศึกษาการเพิ่มของอุณหภูมิในรอบ 1 ปี พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียล ภายในปี พ.ศ. 2643 หรือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระดับปานกลางโดยอยู่ในช่วงระหว่าง 1.5 - 3.5 องศาเซลเซียล การเปลี่ยนอุณหภูมิในระดับภูมิภาคอาจจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยของโลกมาก แต่ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างแน่นอนว่าแตกต่างอย่างไร การที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น โดยคาดหมายว่าจะสูงขึ้นประมาณ 15 - 95 เซนติเมตร มีค่าประมาณปานกลางที่ 50 เซนติเมตร และภายในปี พ.ศ. 2643 ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าภูมิอากาศและอุณหภูมิโลก จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกก็ตาม นอกจากนั้นยังมีผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกและปริมาณน้ำฝน คือคาดว่าป่าไม้บางส่วน (ประมาณ 1 ใน 3 ถึง 1ใน 7 ของโลก) จะมีการเปลี่ยนแปลงของพรรณไม้ที่สำคัญ ประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากมีข้อกำจัดในการปรับสภาพให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้

    ปรากฏการณ์เรือนกระจก

    ก๊าซเรือนกระจก

    ก๊าซเรือนกระจก เป็นก๊าซที่สกัดกั้นคลื่นความร้อนที่สะท้อนจากผิวโลกขึ้นสู่บรรยากาศ มีก๊าซหลัก ๆ ประกอบด้วย

    1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นตัวการที่สำคัญที่สุด เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน

    2.ก๊าซมีเธน (CH4) เกิดจากธรรมชาติ การบำบัดน้ำเสีย การย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน

    3.ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

    4.คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) เกิดจากการสังเคราะห์ใช้ในอุตสาหกรรม

    เรือนกระจกที่ประเทศไทยในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวนิยมใช้เพื่อการควบคุมอุณหภูมิในการปลูกต้นไม้ โดยหลักการก็คือ แสงอาทิตย์ที่ตกลงมาถึงพื้นโลกซึ่งส่วนใหญ่เป็นแสงที่มองเห็น (Visible light) ที่ความยาวคลื่น 400 - 700 นาโนเมตร จะสามารถส่องผ่านหลังคาเรื่อนกระจกซึ่งทำด้วยสารโปร่งแสง เช่น กระจก หรือพลาสติกใส เมื่อแสงดังกล่าวตกกระทบกับพื้นผิว ก็จะกลายเป็นแสงคลื่นยาว หรือคลื่นความร้อน วัสดุโปร่งแสง เช่น กระจก และพลาสติกใสดังกล่าว มีคุณสมบัติที่ยอมให้แสงที่มองเห็นผ่านได้ แตะไม่ยอมให้ความร้อนผ่านออกไปได้โดยง่าย ทำให้อากาศภายในเรือนกระจกอุ่นกว่าภายนอก ก๊าซเรือนกระจกก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกับหลังคากระจกหรือพลาสติกใส ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

    ปรากฏการณ์เรือนกระจก

    อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีการลงนามเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์ ในการลดปริมาณการสะสมของก๊าซเรือนกระจก ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และระบบภูมิอากาศโลก ก๊าซที่อยู่ในข้อตกลง (กำหนดให้ภายในปี 2543 มีใการปล่อยเท่ากับในปี 2533) ประกอบด้วย CO2 CH4 N2O NO2 CO และ สารระเหยอินทรีย์ไม่รวมมีเธน

    ประเทศไทยเข้าร่วมในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538

    เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก

    เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจกทำได้โดย

    1.การอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งในส่วนของภาคพลังงาน มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 1

    2.การใช้แหล่งพลังงานในรูปแบบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น

    3.พัฒนาพลังงานนิวงเคลียร์

    4.กำหนดกฎหมาย ควบคุม การปล่อยก๊าซ.เรือนกระจก และนำปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    5.ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การลดภาษีอุปกรณ์ในการลดก๊าซเรือนกระจก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×