คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : ก๊าซโอโซน (O3)
ก๊าซโอโซน (O3) บริสุทธิ์จะมีสีน้ำเงินแก่ มีกลิ่นคล้ายคลอรีน ละลายน้ำได้มากกว่าออกซิเจน มีจุดเดือดที่ 111.5 องศาเซลเซียส และมีจุดหลอมเหลวที่ 251 องศาเซลเซียส โอโซนที่ระดับพื้น เป็นสารมลพิษทุติยภูมิ (secondary pollutant) เกิดจากปฏิกิริยาเคมี Photochemical Oxidation ระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอน และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดได้ง่ายในถนน เพราะแหล่งกำเนิดคือรถดีเซล มักใช้เวลาในการเกิด 3 ชั่วโมง ในเวลากลางวัน ก๊าซโอโซนทำให้ระคายตา และระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ลดความสามารถในการทำงานของปอดลง เหนื่อยเร็ว โอโซนมีผลกระทบต่อวัสดุ เช่น ยาง พลาสติก เป็นต้น ทำให้วัสดุเหล่านั้นเสื่อมคุณภาพได้เร็ว
สารตะกั่ว
ตะกั่ว (Lead, Pb) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 207.19 มีสีเทาหรือขาวแกมน้ำเงิน ถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศในรูปของธาตุตะกั่ว (Pb) ออกไซด์ของตะกั่ว (PbO, PbO2, PbxO3) ตะกั่วซัลเฟต (PbSO4) และตะกั่วซัลไฟต์ (PbS) ตะกั่วอัลคิล (Pb(CH3)4, Pb(C2H5)4) และตะกั่วเฮไลด์ สารตะกั่วเมื่อถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศในรูปต่างๆ แล้วเกาะอยู่กับฝุ่น สารประกอบของตะกั่ว (Tetraethyl Lead) มีสูตรเคมีคือ Pb(C2H5)4
แหล่งกำเนิดของสารตะกั่ว
1.แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ สารตะกั่วในธรรมชาติมาจากฝุ่นซิลิเกตของการผุสลายของดิน และการปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ
2.แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ แหล่งในการปล่อยสารตะกั่วที่สำคัญจากการกระทำของมนุษย์ เกิดจากการสันดาปของน้ำมันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว การเผาไหม้ของของเสียต่างๆ ยาฆ่าแมลง และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น สารตะกั่วเป็นสารที่เติมในน้ำมันเบนซิน ทำหน้าที่คล้ายคะตะไลต์เท่านั้น สารตะกั่วที่ระบายออกมาจากไอเสียจะมีขนาดเล็กประมาณ 0.5 ไมครอน หรือเล็กกว่านั้น
การใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว โดยการเติมสารประกอบของตะกั่ว ที่เรียกว่า “เตตร้าเอทิลเลต (Tetraethyl Lead)” ซึ่งเป็นของเหลวใส่ลงไปในน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง (ที่ใช้กับเครื่องยนต์) เพื่อให้มีออกเทนสูง (octane bumber) สูง รถวิ่งเร็ว ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดการชักกระตุก (Antiknock Additive Substance) แต่เนื่องจากการเผาไหม้ในคอมบิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ไม่สมบรูณ์จะมีสารประกอบของตะกั่วหลุดออกมาในรูปของตะกั่วออกไซด์หรือตะกั่วเฮไลด์ พวกตะกั่วเหล่านี้จะทำให้อากาศสกปรก โดยกระจายไปในอากาศทั่วบริเวณนั้น ๆ ส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ของสารตะกั่วที่ใส่ลงไปในน้ำมันเบนซิน จะถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียสู่บรรยากาศ และประมาณร้อยละ 25-50 เป็นผงฝุ่นตะกั่วในอากาศเตาหลอม และโรงงานประเภทแบตเตอรี่ คือ แหล่งกำเนิดตะกั่วที่สำคัญในอากาศ บริเวณที่พบว่ามีความเข้มข้นของตะกั่วมากคือ บริเวณรอบๆโรงงาน และเตาหลอม
ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
การแพร่กระจายของตะกั่วโดยส่วนใหญ่พบในอากาศที่หายใจเข้าไป ในอาหาร, พืช, น้ำ,ดิน และฝุ่น เนื่องจากเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วยากแก่การขับออกมาตะกั่วจึงสะสมในร่างกาย ในเลือด กระดูก และเนื้อเยื่ออ่อน ตะกั่วสามารถมีผลกระทบต่อ ไต ตับ ระบบประสาทและอวัยวะ อื่น ๆ การปล่อยตะกั่วมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในเม็ดเลือด โรคไต ระบบสืบพันธุ์ และทำให้ระบบประสาทผิดปกติ เช่น อาการชักกระตุก การผิดปรกติทางจิต และมีพฤติกรรมผิดปรกติ แม้ตะกั่วจะถูกปล่อยออกมาในระดับต่ำ แต่ก็มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบเอ็มไซม์ การส่งผ่านพลังงาน และขบวนการอื่น ๆ ในร่างกาย สำหรับทารกและเด็กจะง่ายต่อการได้รับผลกระทบจากตะกั่วเป็นพิเศษ ซึ่งตะกั่วในระดับต่ำจะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้เกิดการเจริญเติบโตช้าในทารกและเด็ก อันตรายของตะกั่ว ที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง ไหลลงทะเล สัตว์น้ำ เช่นปู ปลา กุ้ง หอย ก็รับเอาสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนกินสัตว์น้ำพวกนี้เข้าไปก็ได้รับอันตรายจากพิษของตะกั่วเข้าไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีตะกั่วสะสมอยู่มาก คือ ปลา และหอยนางรม
ความคิดเห็น