ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    น่ารู้รอบตัว เรื่องคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : การแก้อสมการ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.82K
      4
      13 มิ.ย. 50

    จากที่เพื่อนๆเคยเรียนผ่านกันมาเกี่ยวกับเรื่องการแก้สมการตัวแปรเดียว หรือว่าหลายตัวแปรนั้น มีความเกี่ยวเนื่องบางประการสำหรับการที่จะนำความรู้ของเรื่องสมการนั้นเพื่อนำมาใช้ในบทนี้

    สำหรับหัวข้อนี้นั้น เราจะพูดถึงวิธีการแก้อสมการในรูปแบบต่างๆได้อย่างไร โดยที่คุณสัมบัติหลักที่ใช้มากในการแก้อสมการนั้น คือ คุณสมบัติการไม่เท่ากัน ได้แก่
    1. คุณสมบัติการบวกด้วยจำนวนเท่ากัน
    2. คุณสมบัติการลบด้วยจำนวนเท่ากัน
    3. คุณสมบัติการคูณด้วยจำนวนจริงบวก
    4. คุณสมบัติการคูณด้วยจำนวนจริงลบ

    โดยการที่เราจะทำการแก้อสมการนั้น เราจะแยกตามประเภทของอสมการในแต่ละประเภทดังนี้คือ

    การแก้อสมการกำลังหนึ่ง

    อสมการกำลังหนึ่งนั้น เป็นอสมการที่มีตัวแปรยกกำลังหนึ่งเท่านั้น และสามารถที่จะจัดอสมการในรูปของ

    ax \le b
    ax < b
    ax \ge b
    ax > b

    โดยที่เราจะกำหนดให้ x เป็นตัวแปร และ a,b เป็นค่าคงที่ และจากคุณสมบัติดังกล่าวนี้นั้น เราสามารถที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาอสมการประเภทนี้ โดยที่คุณสมบัติข้อ 1 และข้อ 2 นั้นจะถือว่าเป็น คุณสมบัติที่ช่วยในการจัดอสมการกำลังหนึ่งให้อยู่ในรูปที่แสดงดังอสมการข้างต้น และพวกเราสามารถที่นำความรู้นี้มาใช้ในการแก้ปัญหาจากโจทย์แบบฝึกหัดได้คะ

    แบบฝึกหัด 6

    1. x -  \le  5x-1
    2. x-8  \le 7-3x และ 7-3x < 1
    3. 3 \le 2x+4 < 7
    4. 3-x \le 2x+4 < 7
    5. 3x < 4x+2 \le x+11


    การแก้อสมการกำลังสอง

    หัวข้อที่แล้วเรากล่าวถึงสมการยกกำลังหนึ่ง ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยง่าย เพราะจะยังไม่มีความซับซ้อนมากเท่าไหร่นัก ซึ่งจากแบบฝึกหัดที่พวกเราได้ทำกันไปแล้วนั้น จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจ รับรู้ถึงเทคนิคหรือวิธีบางอย่างในการคำนวณได้ดีมากขึ้น

    สำหรับในหัวข้อนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการแก้อสมการ แต่จะเพิ่มระดับความยุ่งยากขึ้นมามากกว่าเล็กน้อย นั่นคือ การแก้โจทย์ปัญหาอสมการกำลังสอง โดยที่การแก้อสมการประเภทนี้นั้น เราสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การแยกตัวประกอบ หรือ การแก้โจทย์โดยที่ใช้วิธีกำลังสองสมบูรณ์

    การแก้อสมการกำลังสองนั้น มีนิยามที่แสดงได้อย่างง่ายๆคือ อสมการกำลังสอง ใน x หมายถึง อสมการที่อยู่ในรูปของ
    Ax+bx+c  <  0
    Ax+bx+c  \le  0
    Ax+bx+c  >  0
    Ax+bx+c   \ge   0
    โดยกำหนดให้ x เป็นตัวแปร และ a,b,c เป็นค่าคงที่ ที่ a\neq 0

    ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วนั้นว่า วิธีการแก้อสมการกำลังสองนั้นมีวิธีได้หลายวิธี เรามาดูวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละประเภทกันดีกว่านะคะ

    1. การแก้สมการสมการกำลังสองโดยการแยกตัวประกอบ

    และสิ่งที่จะเอ่ยดังต่อไปนี้ จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอสมการอย่างง่ายๆ โดยที่เราจะสรุปเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้นนะคะ โดยขั้นตอนในการแก้ปัญหานั้นมีขั้นตอนดังนี้

    การแก้อสมการกำลัง 2

    อ้างโดยนิยามที่กล่าวไปดังก่อนหน้านี้ เราสามารถที่จะแสดงวิธีในการแก้อสมการได้ดังนี้
    1. จัดอสมการเปรียบเทียบกับ 0
    2. แยกตัวประกอบ
    3. พิจารณาเครื่องหมาย +,-
    4. หาคำตอบจากสมการกำลัง 1 จากทั้ง 2 กรณีแล้วนำมายูเนี่ยนกัน
    ซึ่งพวกเราสามารถที่จะนำขั้นตอนดังกล่าวมาใช้ได้โดยที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

    ตัวอย่างที่ 1 จงหาเซตคำตอบของสมการ 3x^2+10x \ge 8
    วิธีทำ 3x^2+10x \ge 8
    3x^2+10x-8 \ge 0 : จัดสมการเปรียบเทียบกับ 0
     (x+4)(3x-2) \ge 0 : แยกตัวประกอบ

    ซึ่งเราจะต้องแบ่งเครื่องหมายในการพิจารณา โดยมีกรณีดังนี้
    1. (+)(+) หรือ
    2. (-)(-) หรือ

    อีกกรณีหนึ่งที่มีเครื่องหมายต่างกัน เราสามารถที่จะแบ่งได้เป็นสองกรณีเช่นกัน แล้วสุดท้ายจะนำคำตอบที่ได้มายูเนี่ยนกัน

    1. x+4 \ge 0 และ 3x-2 \ge 0
    x \ge -4 และ x \ge \frac{2}{3}

    9866

    2.  x+4 \le 0 และ 3x-2 \le 0
     x \le -4 และ x \le \frac{2}{3}

    9867

    เมื่อเรานำค่าที่แยกตัวประกอบนำมาแบ่งเป็นสองกรณีแล้วนั้น ให้นำคำตอบจากสมการกำลัง 1 จากทั้งสองกรณีแล้วนำมายูเนี่ยนกันเพื่อหาคำตอบสุดท้ายออกมาได้ดังนี้

    9868

    ดังนั้น คำตอบสุดท้ายที่ได้ออกมาก็คือ (-\infty,4]\bigcup [\frac{2}{3}, \infty)

    วิธีการดังที่กล่าวมาคือสำหรับอสมการกำลังสอง โดยใช้วิธีการแยกตัวประกอบเป็นหลัก หากแต่เพื่อนๆจะทำอย่างไร หากว่า เพื่อนๆ ไม่สามารถแยกตัวประกอบได้


    การแก้อสมการกำลังสองโดยการทำให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์

    ในสำหรับกรณีที่เพื่อนๆแก้อสมการกำลังสอง โดยที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบได้ หรือ อาจสามารถทำได้แต่ยากและใช้เวลานาน การแก้อสมการกำลังสองนี้อาจใช้วิธีการทำให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้คะ ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้คะ

    ขั้นตอนที่ 1 ทำให้อสมการกำลังสองใน x มีสัมประสิทธิ์ของพจน์ x^2 เท่ากับ 1

    ax^2+bx+c \ge  0
    ax^2+bx+c >  0
    ax^2+bx+c  \le  0
    ax^2+bx+c  <  0

    ขั้นตอนที่ 2 ทำให้อยู่ในรูปของ
    \displaystyle{[x^2+bx+(\frac{b}{2})^2]+c-(\frac{b}{2})^2  \ge  0}
    \displaystyle{[x^2+bx+(\frac{b}{2})^2]+c-(\frac{b}{2})^2  >  0}
    \displaystyle{[x^2+bx+(\frac{b}{2})^2]+c-(\frac{b}{2})^2  \le  0}
    \displaystyle{[x^2+bx+(\frac{b}{2})^2]+c-(\frac{b}{2})^2  <  0}
    ขั้นตอนที่ 3 แทนค่าให้อยู่ในรูปของ
    \displaystyle{(x+\frac{b}{2})^2+c-(\frac{b}{2})^2  \ge  0}
    \displaystyle{(x+\frac{b}{2})^2+c-(\frac{b}{2})^2  >  0}
    \displaystyle{(x+\frac{b}{2})^2+c-(\frac{b}{2})^2  \le 0}
    \displaystyle{(x+\frac{b}{2})^2+c-(\frac{b}{2})^2  <  0}

    เพื่อนๆสามารถทำตามขั้นตอนที่กำหนดให้ดังข้างต้น เรียงลงมาได้เลยนะคะ โดยที่เซตคำตอบของอสมการนั้นจะอยู่ที่ขั้นตอนที่ 3

    เรามาดูตัวอย่างง่ายๆกันก่อนที่จะเริ่มทำแบบฝึกหัดกันดีกว่านะคะ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้เห็นแนวทางในการตอบคำถามได้ถูกต้องตรงกันคะ

    ตัวอย่างที่ 1 จงแก้อสมการ 3x^2-6x-4 \le 0
    วิธีทำ นำ \frac{1}{3} คูณอสมการที่กำหนดให้
    \displaystyle{x^2-2x-\frac{4}{3} \le  0}
    \displaystyle{(x^2-2x+1) -\frac{4}{3} - 1  \le  0}
    \displaystyle{(x-1)^2-\frac{7}{3} \le  0}
    ดังนั้น \displaystyle{ - \frac{7}{3} \le x-1 \le \frac{7}{3}}
    \displaystyle{1-\frac{7}{3} \le x \le 1 +\frac{7}{3}}
    เพราะฉะนั้น เซตคำตอบของอสมการที่ได้จะเท่ากับ\displaystyle{(1-\frac{7}{3}, 1+\frac{7}{3})}


    9329 ในกรณีที่สัมประสิทธิ์ด้านหน้าของ x^2ไม่เท่ากับ 1 ให้ทำให้เป็น 1 เสียก่อน


    แบบฝึกหัด 7

    จงแก้อสมการดังต่อไปนี้

    1. x^2-10x+25 \ge 0
    2. x^2-18x+81 \ge 0
    3. x^2-4x-5 \ge 0
    4. x^2-14x+49 \ge 0
    5.  (2x+1) \ge 9
    6. x^2+x-42 \ge 0
    7. x^2+4x+4 \ge 0
    8. x^2+6x+7 \ge 0
    9. 2x^2+5x+1 \ge 0
    10. 2x^2+4x-1 \ge 0
    11. 3x^2+5x+9 \ge 0
    12. 3x^2+6x-5 \ge 0






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×