ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องต่างๆ ของชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #4 : ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

    • อัปเดตล่าสุด 10 ก.ย. 49


    ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็น ก๊าซพิษที่ไม่มีสี ไม่มีรส และไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศเล็กน้อย มีความคงตัวสูงมาก มีช่วงชีวิตประมาณ 2-3 เดือน ในบรรยากาศ ดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่น 467 ไมครอน ซึ่งอยู่ในช่วงคลื่นแสงอินฟาเรด (IR)

    แหล่งที่มาหรือแหล่งเกิดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จำแนกได้ 2 แหล่ง คือ

    1.แหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ปฏิกิริยาออกซิเดชันของมีเธน หรือโฟโตเคมีคัลออกซิเดชันของสารอินทรีย์บนผิวทะเล

    2.จากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน หรือถ่านไม้ ซึ่งมีส่วนผสมของคาร์บอน (C) เป็นต้น คาร์บอนมอนอกไซด์ จะเกิดเมื่อคาร์บอนในเชื้อเพลิงเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่แพร่กระจายถูกปล่อยสู่บรรยากาศร้อยละ 60 มาจากยานพาหนะ สำหรับในเขตเมืองคาร์บอนมอนนอกไซด์ถูกปล่อยจากยานพาหนะเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลให้ในพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัดมีปริมาณของคาร์บอนมอนนอกไซด์สูง นอกจากนี้กระบวนการอุตสาหกรรมและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากแหล่งกำเนิดประเภทเตาเผาหรือหม้อต้มน้ำก็เป็นแหล่งที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์ ได้เช่นกัน

    ผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

    ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีผลต่อมนุษย์ ไม่ปรากฏว่ามีผลต่อผิวของวัตถุ ไม่มีผลต่อพืช แม้จะมีความเข้มข้นสูงๆ ก็ตาม ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีอันตรายต่อมนุษย์โดยตรงเพราะเมื่อร่างกายหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปจะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เนื่องจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความสามารถในการรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าก๊าซออกซิเจนถึง 200-250 เท่า ลดปริมาณการนำส่งออกซิเจนสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย จะมีผลเสียอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ สำหรับคนทั่วไปก็ได้รับผลกระทบด้วยจะทำให้เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หายใจอึดอัด คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดสติ ถ้าร่างกายรับเข้าไปในปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้ แม้ว่าคาร์บอนมอนนอกไซด์จะไม่ได้ปล่อยออกมาในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของระดับคาร์บอนมอนนอกไซด์จะเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของการมองเห็น ระดับความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เฉื่อยชา ความสามารถในการเรียนรู้ต่ำลง และความสามรถในการทำงานที่ซับซ้อนลดลง

    เมื่อหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะไปแย่งออกซิเจนโดยไปรวมกับเฮโมโกลบิน (Haemoglobin) ซึ่งเรียกย่อว่า Hb เป็นสารหนึ่งที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมลโกลบิน (Carboxy haemoglobin; COHb) ปกติร่างกายของคนเราต้องการออกซิเจนจะไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินกลายเป็น ออกซีโมโกลบิน (Oxyhaemoglobin) เขียนย่อ ๆ ว่า HbO2 ในเลือดที่มี HbO2 นี้จะถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายในแหล่งที่มี HbO2 ในเนื้อเยื่อจะได้รับออกซิเจน แต่ถ้าหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบิน ได้เร็วกว่าออกซิเจน การที่จะเกิด COHb ในเลือดมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่หายใจเข้าไป นั้นคือ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาที่หายใจเข้าไปนั้นเอง

    การควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จากการจราจรได้มีการกำหนดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสีย การติดตั้งอุปกรณ์ catalytic converter นอกจากนี้สามารถควบคุมโดยการปรับปรุงกระบวนการเผาไหม้ให้ความความสมบูรณ์ มีออกซิเจนที่เพียงพอในการสันดาป

    ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์

    ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซประเภทเดียวกับก๊าซที่มีปฏิกิริยาสูงที่เรียกว่า ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ก๊าซเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้มีอุณหภูมิสูง วราวุธ เสือดี (2541) นำเสนอรายละเอียดของออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งมีทั้งหมด 7 รูป ได้แก่ N2O, NO, NO2, N2O5, N2O3, N2O4 และ NO3 แต่มีเพียง NO และ NO2 ที่เป็นสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ N2O เป็นก๊าซเรือนกระจก

    สมบัติสารออกไซด์ของไนโตรเจนบางชนิด

    1.ก๊าซไนตริคออกไซด์ (NO) เป็นก๊าซไม่มีสี และกลิ่น จะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนเปลี่ยนเป็น ไนโตรเจนไดออกไซด์

    2.ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซสีน้ำตาลแกมแดงที่มีกลิ่นฉุน คล้ายคลอรีน ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ละลายน้ำได้ดี และอยู่ในอากาศได้เพียง 3 วันเท่านั้น การที่สามารถละลายน้ำได้ดีทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดฝนกรด โดยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับละอองน้ำในบรรยากาศ ได้เป็นกรดไนตริก (HNO3) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดฝนกรด

    แหล่งกำเนิด

    ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน จะถูกปล่อยจากยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตเครื่องใช้ อิเล็กทรอนิค และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์จะมีสีน้ำตาลและทำให้สำลัก ซึ่งก๊าซนี้จะทำปฏิกริยากับโอโซนในอากาศได้ง่าย และกลายเป็นกรดไนตริกที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นเดียวกับไนเตรดที่เป็นสารพิษ นอกจากนี้ไนโตรเจนออกไซด์ยังมีบทบาทสำคัญในการเกิดปฏิกริยาในชั้นบรรยากาศ ซึ่งผล ปฏิกริยานี้จะเกิดโอโซน (หรือหมอกควัน)

    ผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

    ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ทำให้เกิดการระคายเคืองในปอด และภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ก๊าซชนิดนี้เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเกิดเป็นกรดไนตริคเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต ถ้าร่างกายรับเอาก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูง จะทำอันตรายต่อปอดโดยตรง เช่น ทำให้ปอดอักเสบ เนื้องอกในปอด และทำให้หลอดลมตีบตัน และยังเป็นผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัดใหญ่ ผลกระทบจากการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ในระยะสั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดและสำหรับการปล่อยอย่างต่อเนื่องหรือถี่มาก ๆ ในลักษณะนี้ไนโตรเจนไดออกไซด์จะมีความเข้มข้นสูงกว่าที่พบในอากาศโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอย่างรุนแรงในเด็ก

    ไนโตรเจนไดออกไซด์มีช่วยทำให้เกิดโอโซน และสามารถส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทั้งบนพื้นดินและแหล่งน้ำ ไนโตรเจนไดออกไซด์ในอากาศยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนกรด และปรากฏการณ์ Eutrophication

    โดยทั่วไปแล้ว NO ในอากาศจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็น NO2 แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันว่าระดับของ NO ที่พบในอากาศโดยทั่วไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สำหรับ NO2 เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดความระคายเคืองในถุงลม ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคหลอดลมตีบตัน โดยเฉพาะในบุคคลที่เป็นโรคหืดอยู่แล้ว

    ทั้ง NO และ NO2 ไม่มีผลโดยตรงต่อวัตถุ อย่างไรก็ตาม NO2 จะทำปฏิกิริยากับความชื้นเกิดเป็นกรดไนตริกซึ่งจะทำให้เกิดการกัดกร่อนโลหะ NO2 มีสมบัติในการดูดซับแสง ทำให้เป็นตัวการหนึ่งของการลดทัศนวิสัยเมื่อความเข้มข้นในอากาศมีค่ามากกว่า 0.25 พีพีเอ็ม. ในด้านผลต่อสุขภาพนั้นพบว่าถ้าระดับความเข้มข้นของ NO2 สูงถึงระดับ 300-500 พีพีเอ็ม. จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือสลบเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน ความเข้มข้นระดับ 0.7-20 พีพีเอ็ม. ในเวลา 10 นาที จะทำให้หายใจไม่ออก และที่ระดับ 0.11-0.22 พีพีเอ็ม. จะเริ่มได้กลิ่น สารประกอบชนิดแรกของการเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนส่วนใหญ่คือ NO ซึ่งต่อมาก็จะทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจนหรือโอโซนเกิดเป็น NO2 นอกจากนี้ในบรรยากาศจะมีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่ด้วยทำให้เกิดปฏิกิริยาอื่นเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของออกซิเจน โอโซน และ NO โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดเป็นกลุ่มสารมลพิษทางอากาศที่เรียกว่า ออกซิแดนท์เคมีแสง (Photochemical Oxidants) ดังนั้นผลจากการทำนายความเข้มข้นของการแพร่กระจาย NO2 จึงให้ผลเกินจริงราว 1-10 เท่า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×