ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องต่างๆ ของชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #3 : ฝุ่น(Particulate Matter; PM)

    • อัปเดตล่าสุด 10 ก.ย. 49


    ฝุ่น (Particulate Matter; PM) เป็นทั้งอนุภาคของแข็งและของเหลว ซึ่งไม่ใช่สารที่มีโมเลกุลเดียว ขนาดของอนุภาคทำให้อัตราการคงอยู่ในอากาศเป็นไปได้ตั้งแต่ 2-3 วินาที ไปจนถึงหลาย ๆ เดือน ฝุ่นที่มีขนาดระหว่าง 0.1-1 ไมครอน จะมีความเร็วในการตกลงสู่พื้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับความเร็วลม สำหรับฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 20 ไมครอน จะเริ่มมีความเร็วการตกสู่พื้นเพียงพอที่จะตกสู่พื้นโดยน้ำหนักและแรงเฉื่อย ฝุ่นมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ฝุ่นที่เกิดจากธรรมชาติ มักเป็นฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ เช่น ดิน ทราย หิน ฝุ่นเกลือจากทะเล เป็นต้น และฝุ่นที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ จากการคมนาคมขนส่ง การจราจร การก่อสร้าง อุตสาหกรรม เป็นต้น ฝุ่นจากกระบวนการอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากฝุ่นที่มีขนาดใหญ่จะติดอยู่กับระบบบำบัด

    ในปัจจุบันมีการจำแนกฝุ่นเป็น 2 ประเภท ตามขนาดของฝุ่น คือ

    1.ฝุ่นทั้งหมด (Total Suspended Particulate) คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กว่า 100 ไมครอน ทั้งหมด

    2.ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM – 10)

    ในอนาคตอันไม่นานนี้ จะมีการจำแนกฝุ่นออกเป็นอีก 1 ขนาด คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM – 2.5) ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน จะมีความสำคัญมาก เพราะมีการศึกษาแล้วพบว่ามีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนลึกสุดได้

    ฝุ่นมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ 3 ทางด้วยกัน คือ

    1.ฝุ่นเป็นพิษเนื่องจากองค์ประกอบทางเคมี หรือลักษณะทางกายภาพ

    2.ฝุ่นเข้าไปรบกวนระบบหายใจ

    3.ฝุ่นเป็นตัวพาหรือดูดซับสารมลพิษและพาเข้าสู่ร่างกาย

    การพิจารณาผลของฝุ่นทำได้ยาก จะต้องพิจารณาขนาดของฝุ่น รูปร่างของฝุ่น (รูปร่างที่แหลม เล็กจะมีอันตราย) องค์ประกอบของฝุ่น การเสริมพิษกันของฝุ่นและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ปัจจุบันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เท่านั้นที่เข้าสู่ร่างกาย และมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

    การควบคุมฝุ่นในกระบวนการผลิต ทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ดักเก็บฝุ่นก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เช่น ห้องตกสู่พื้น (Settling chamber) ไซโคลน (Cyclone) เครื่องพ่นจับ (Scrubber) เครื่องกรองแบบถุงผ้า (Frabic filter) และเครื่องดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic precipitator) เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×