ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    น่ารู้รอบตัว เรื่องคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #27 : ลำดับเลขฟีโบนักชี (Fibonacci numbers)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.84K
      2
      12 ส.ค. 50

    สุดยอดความลับของนาโนเทคโนโลยีที่แฝงตัวอยู่ใน The Da Vinci Code กำลังจะถูกเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ ลำดับเลขฟีโบนักชี  ฟี (?) อัตราส่วนทองคำ เพนทาเคิล รหัสลิขิต เลโอนาร์โด ดาวินชี  สมาคมลับเดอะไพรเออรี่ออฟไซออน โฮลี่เกรล นาโนไดรฟ์ ฯลฯ



    จุดประสงค์ที่ผู้เขียน จัดทำบทความนี้ขึ้นมา ก็เพื่ออยากให้คนไทย สนใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้าน นาโนศาสตร์ (nanoscience) และ นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) ได้อย่างสนุกสนาน โดยไม่รู้สึกว่าวิทยาศาสตร์นั้นเข้าใจยาก หรือมีเนื้อหาที่น่าเบื่อหน่าย โดยการสอดแทรกเกร็ดความรู้ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี เข้าไปในประเด็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเนื้อหาของนวนิยายอาชญากรรมซ่อนเงื่อน ที่โด่งดังติดอันดับหนังสือขายดีที่สุดของโลก นั่นก็คือ "รหัสลับดาวินชี” (The Da Vinci Code) ผลงานการประพันธ์ของ แดน บราวน์ ซึ่งกลายเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ให้คนทั่วโลกได้ชมกันในขณะนี้ ซึ่งให้ชื่อภาษาไทยว่า “รหัสลับระทึกโลก”โดยประเด็นต่างๆ ที่เลือกมานำเสนอมีดังต่อไปนี้



    Fibonacci number spirals in a sunflower seed pod





    เลขฟีโบนักชี

    ลำดับเลข ฟีโบนักชี (Fibonacci numbers) เป็นลำดับเลขที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแบบหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียนชื่อ เลโอนาร์โด ฟีโบนักชี (Leonardo Fibonacci) แห่งเมื่องปิซา เมื่อศตวรรษที่สิบสาม เลขฟีโบนักชีสามารถเขียนเป็นอนุกรมได้ดังนี้คือ




    1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, x, y, x+y,  …



    (ตัวเลขตำแหน่งที่ n เท่ากับ ตัวเลขตำแหน่งที่ n-1 บวกกับตัวเลขตำแหน่งที่ n-2, หรือ Xn = Xn-1 + Xn-2)





    Fibonacci number spirals in a sunflower seed pod

    เมล็ดของดอกทานตะวัน ในวงที่มีเกลียวการหมุนตามเข็มนาฬิกา มีจำนวนทั้งสิ้น 55 เมล็ด (เครื่องหมายสีแดง) ในขณะที่วงที่มีเกลียว การหมุนทวนเข็มนาฬิกา มีจำนวนทั้งสิ้น 89 เมล็ด (เครื่องหมายสีเขียว) (โดยที่ทั้ง 55 และ 89 ต่างก็สอดคล้องกับลำดับเลขฟีโบนักชี)







    ต้นตะบองเพชรที่มีลักษณะการจัดเรียงตัวของปุ่มหนามสอดคล้องกับเลขฟีโบนักชี

    โดยมีวงเกลียวของปุ่มหนามที่หมุนตามเข็มนาฬิกา  3 วง (เส้นสีแดง)

    และมีวงเกลียวที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 5 วง (เส้นสีเหลือง) โดยที่ 3 และ 5 ก็คือลำดับเลขฟีโบนักชี

    (ภาพประกอบจาก http://www-gap.dcs.st-and.ac.uk/~history/PictDisplay/Fibonacci.html)





    Bones!

    ความยาวของกระดูกนิ้วมือแต่ละข้อจะมีอัตราส่วนเรียงตามลำดับเลขฟีโบนักชี







    เกลียวการหมุนของยอดปุ่มของกะหล่ำดอกพันธุ์โรมาเนตโก (Romanesco) มีความสอดคล้องกับเลขฟีโบนักชีเช่นเดียวกัน

    (ภาพประกอบจาก http://wwpub.naz.edu:9000/~dghidiu7/phi.htm)



    จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ลำดับเลขฟีโบนักชี ได้เข้ามาสู่โลกของนาโนเทคโนโลยีแล้ว เมื่อนักวิทยาศาตร์จาก Lawrence Berkeley National Laboratory ในแคลิฟอร์เนีย ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จาก Ames Laboratory แห่ง Iowa State University ในการใช้อุปกรณ์ ทางด้านนาโนเทคโนโลยี มาทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแรงเสียดทาน ที่เกิดขึ้นในระดับของอะตอม โดยการใช้กล้องสแกนนิ่งทัลเนลลิ่งเอสทีเอ็ม (Scanning tunneling microscope, STM) ถ่ายภาพลักษณะการจัดเรียงตัว ของอะตอมบนผิวหน้าของผลึกสังเคราะห์ และใช้กล้อง อะตอมิกฟอร์ซไมโครสโคปหรือเอเอฟเอ็ม (Atomic force microscope, AFM) ในการวัดแรงเสียดทาน ที่เกิดขึ้นระหว่างหัวเข็มของกล้อง AFM กับอะตอมบนผิวหน้าผลึก ที่มีการจัดเรียงอะตอมแตกต่างกัน



    ซึ่งจากการทดลองพบว่าแรงเสียดทาน ที่วัดได้จากการจัดเรียงตัว ของอะตอมแบบคาบซ้ำ
    (periodic) จะมีค่าสูงกว่า การจัดเรียงตัวของอะตอมแบบไม่เป็นคาบซ้ำ (aperiodic) ถึง 8 เท่า! โดยการศึกษา เกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ในระดับอะตอมนี้จะทำให้ นักวิทยาศาสตร์เข้าใจธรรมชาติ ของแรงเสียดทานและสมบัติทางด้านนาโนไทรโบโลยี (nanotribology) เช่น การสึกหรอ การเสียดสี หรือการหล่อลื่น ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของสสารต่างๆ ในระดับนาโนเมตรมากขึ้น  









    การจัดเรียงตัวของอะตอม บนผิวหน้าผลึกในทิศทางหนึ่ง จะมีอะตอมแต่ละอะตอมอยู่ห่างจากกัน เป็นระยะห่างประมาณ 4 อังสตรอม (?) เท่ากัน แต่ในอีกทิศทางหนึ่ง กลับพบว่าอะตอมแต่ละอะตอม อยู่ห่างจากกันเป็นระยะทาง ที่ไม่เท่ากัน โดยมีระยะห่างระหว่างอะตอม แต่ละตอมเรียงตามลำดับเลขฟีโบนักชี! โดยที่ L=13?, L1=8?, L2=5?, S=8?, S1=5?, S2=3? นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดเรียงตัวของอะตอม นผิวหน้าผลึก ที่เป็นแบบคาบซ้ำ จะมีแรงเสียดทานที่กระทำกับหัวเข็มของกล้อง AFM สูงกว่าอะตอม ที่มีการเรียงตัว เป็นแบบไม่เป็นคาบซ้ำ

    (ภาพจาก Science (2005) 309: 1354)



    นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยชาวจีนที่นำโดย Zexian Cao แห่ง Chinese Academy of Sciences ในกรุงปักกิ่ง ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแรงเครียด (stress) ของทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ไมโครเมตร ที่มีแกนกลางเป็นเงิน และมีเปลือกหุ้มเป็นซิลิกอนออกไซด์หนา 150 นาโนเมตร เมื่อให้ความเย็น จะพบว่าเปลือกหุ้มซิลิกา ที่อยู่ด้านนอกจะมีการหดตัว มากกว่าแกนกลางที่เป็นเงิน ซึ่งจะส่งผลทำให้ ซิลิกาหดตัวกลายเป็นเม็ดทรงกลมขนาดเล็ก จับอยู่บริเวณผิวหน้าของแกนกลาง โดยเม็ดซิลิกา จะมีลักษณะการจัดเรียงตัว เป็นวงเกลียวที่มีความสอดคล้องกับลำดับเลขฟีโบนักชี  ยกตัวอย่างเช่น ทรงกลมที่มีเปลือกหุ้มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.5 ไมโครเมตร จะมีเม็ดซิลิกาอยู่ที่ผิวจำนวน 92 เม็ด ที่มีการเรียงตัวเป็นวงเกลียว ตามเข็มนาฬิกา 8 เส้น และทวนเข็มนาฬิกา 5 เส้น (โดยที่ทั้ง 5 และ 8 ต่างก็สอดคล้องกับลำดับเลขฟีโบนักชี) หรือทรงกลม ที่มีเปลือกหุ้มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
    18 ไมโครเมตร จะมีเม็ดซิลิกาจำนวน 230 เม็ด เรียงตัวเป็นวงเกลียวตามเข็มนาฬิกา 21 เส้น และทวนเข็มนาฬิกา 13 เส้น (โดยที่ทั้ง 13 และ 21 สอดคล้องกับลำดับเลขฟีโบนักชี)





    Spherules formed on conically-shaped cores.

    รูปประกอบ A, B และ C แสดงให้เห็นถึงลักษณะการจัดเรียงตัว ของเม็ดทรงกลม ขนาดเล็กของซิลิกา ที่อยู่บนผิวหน้าของแกนกลางที่เป็นเงิน

    โดยรูป A แสดงให้เห็นการเรียงตัว ของเม็ดซิลิกา เป็นเส้นโค้งที่หมุนตามเข็มนาฬิกา จำนวน 8 เส้น

    รูป B แสดงให้เห็นการเรียงตัวเป็นเส้นโค้ง ที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 5 เส้น

    รูป C เป็นการสมมุติว่า จุดที่มีเครื่องหมายบอกตำแหน่ง เป็นจุดสิ้นสุดของวงเกลียว ซึ่งจะพบว่าเม็ดซิลิกา จะมีวงเกลียวทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 13 เส้น และมีวงเกลียวตามเข็มนาฬิกาจำนวน 21 เส้น ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมือน กับการเรียงตัวของเกสรดอกตะบองเพชร Mammillaria nejapensis ในรูป D (ภาพประกอบจาก http://www.physorg.com/news5895.html และวารสาร Science (309) 909)







    Pinecone!

    ปุ่มของลูกสนมีการจัดเรียงตัวเป็นเกลียวที่มีจำนวนปุ่มตรงกับเลขฟีโบนักชี







    เมล็ดดอกทานตะวัน มีการจัดเรียงตัวเป็นเกลียวที่หมุนตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา โดยที่จำนวนเมล็ดที่อยู่ในเกลียว แต่ละเกลียวจะตรงกับเลขฟีโบนักชี นอกจากนี้ จำนวนเมล็ดที่อยู่ในเกลียว ที่หมุนตามเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกา ยังมีอัตราส่วนเท่ากับอัตาส่วนทองคำ “phi”







    อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวเปลือกหอยนอติลุสที่มีความสอดคล้องกับลำดับเลขฟีโบนักชี


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×