ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของของอ.ศิลปะ~

    ลำดับตอนที่ #5 : จิตรกรรม

    • อัปเดตล่าสุด 27 มี.ค. 53


    1.  จิตรกรรม  (Painting)

    จิตรกรรม  หมายถึง  การเขียนภาพและระบายสี  เป็นการถ่ายทอดความงาม  และความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบที่เป็น  2  มิติ  แต่สามารถใช้สี  เส้น  แสงเงา  ฯลฯ  สร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา  มีความลึกตื้นและดูเป็น  3  มิติได้  เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมว่า  จิตรกร

    จิตรกรรมจำแนกได้  2  ลักษณะดังนี้

                    1.1  ภาพวาด  (Drawing)  หมายถึงการวาดภาพ  แบบเป็น 2 มิติ คือมีเพียงความกว้างและความยาว  โดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น  ดินสอดำ  สีชอล์ก  สีเทียน  สีไม้  เกรยอง เป็นต้น   ฯลฯ 

                    1.2  ภาพเขียน  (Painting) เป็นการสร้างงาน  2  มิติ  บนพื้นระนาบด้วยสีหลายสี  การเรียกชื่อลักษณะของภาพเขียนจะเรียกตามสื่อวัสดุที่ใช้เป็นสำคัญ  เช่น  การเขียนภาพด้วยสีน้ำ  การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน  เป็นต้น  ( สุชาติ  เถาทอง,สังคม  ทองมี,ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศฤทธิ์,รอง ทองดาดาษ พิมพ์ครั้งที่  3  : หน้า 5-6 )

    รูปแบบของงานจิตรกรรม

    งานจิตรกรรมแบ่งออกเป็น  8  ประเภทได้แก่

    1.    ภาพหุ่นนิ่ง  (Still  life)

    2.             ภาพสัตว์  (Animal)

    3.             ภาพคนและคนเหมือน  (Human  Figure  and  Portrait)

    4.             ภาพทิวทัศน์บก  (Landscape)  ทะเล (Seascape)  และทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Building  scape)

    5.             ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  (Genre)

    6.             ภาพเกี่ยวกับศาสนา (Religious)

    7.             ภาพจินตนาการ  (Imagination)

    8.       ภาพนามธรรม (Abstract)

    องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ

     1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร

    2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ

    3. ี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน

    งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียกว่า จิตรกร(Painter)

    คุณค่าของงานจิตรกรรม

                      ศิลปกรรมเป็นการแสดงออกถึงจิตใจของชาติ  ฉะนั้นผู้ที่เป็นศิลปินไม่ว่าประเภทใด  จึงควรได้พยายามศึกษาหาความรู้ให้กว้างขวางเพื่อที่จะแสดงจิตใจนั้นได้ดี

                    1.  คุณค่าทางด้านจิตใจ

    -ถ่ายทอดอารมณ์จิตใจ เเละความรู้สึกภายในสู่ภายนอก
    -ยกระดับจิตใจให้ประณีตละเอียดอ่อน
    -ผ่อนคลายอารมณ์ เคร่งเครียดเเละเศร้ามอง
    จรรโลงศาสนารักษาคุณธรรม

    2.  คุณค่าทางความคิดเเละสติปัญญา

    -เป็นสื่อการถ่ายทอดความคิดเเละสติปัญญา
    -พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    -เป็นสื่อในการศึกษาค้นคว้าทางศิลปะกรรม

    3.  คุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย

    -เป็นพื้นฐานของงานออกเเบบ
    -เป็นส่วนประกอบของงานประยุกต์ศิลป์
    -เป็นศิลปะภายใน

    -เป็นอาชีพที่มั่นคง

    ....................................................................

    เรื่องการบ้าน อันนี้เป็นรีเควสผอ...วาดรูปรองผอ.ครับ~

    http://school.obec.go.th/huyhinpit/Student/Art3/Bo6.html
    -L S-

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×