ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของของอ.ศิลปะ~

    ลำดับตอนที่ #3 : ศิลปะ หมายถึง

    • อัปเดตล่าสุด 15 เม.ย. 53


    ความหมายของศิลปะ

                    ศิลปะ (Art) เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมพฤติกรรมการแสดงออก และการสร้างสรรค์ทุกๆ ด้านของมนุษย์ ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ : ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 ได้ให้ความหมายศิลปะ (สินลปะ)  .. การประดับ การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การช่างทั่วไปการฝีมือคำนิยามทั่วไปของศิลปะ (Art)

                    ศิลปินนักปราชญ์ราชบัณทิตและนักการศึกษาทั้งหลายได้พยายามกำหนดความหมายของศิลปะไว้มากมาย ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น

                    ศิลปะ     หมายถึง  การเลียนแบบธรรมชาติ

                    ศิลปะ     หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความงามและประโยชน์ใช้สอย

                    ศิลปะ     หมายถึง  การถ่ายทอดความรู้สึกเป็นรูปทรง

                    ศิลปะ     หมายถึง  การแสดงออกทางความเชื่อและความงาม

                    ศิลปะ     หมายถึง  การแสดงออกทางบุคลิกภาพเด่นๆ ของศิลปิน

                    ศิลปะ     หมายถึง  งานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์   ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยความคิดเห็นและมือ

                    ศิลปะ     หมายถึง  ความชำนาญในการลำดับประสบการณ์และการถ่ายทอดตามจินตนาการให้เป็นวัตถุที่มีสุนทรียภาพ ฯลฯ

                    เมื่อพิจารณาจากความหมายดังกล่าว  สรุปได้ว่า

                    ศิลปะ     เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ จากภูมิปัญญาของมนุษย์ที่ถ่ายทอดออกมา โดยผ่านสื่อวัสดุ เทคนิควิธีการต่างๆ มีคุณค่า ทั้งเนื้อหา เรื่องราวและความหมาย เมื่อได้พบเห็นหรือสัมผัสแล้วก่อให้เกิดความพึงพอใจ ประทับใจมีความสุข เพลิดเพลินและปิติยินดี

    การสร้างงานศิลปะของมนุษย์แบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ คือ

    1. วิจิตรศิลป์  (Fine  Art) หมายถึงศิลปะที่แสดงความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ  โดยถือเอาความรู้สึกจากงานนั้นเป็นคุณค่า

    2.              ศิลปประยุกต์  (Applied  Art)  หมายถึ งศิลปะที่สนองความต้องการทางด้านร่างกาย  เศรษฐกิจ 

    และชีวิตประจำวัน  โดยถือเอาคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรกและคุณค่าทางความงามเป็นอันดับรอง

                    ทัศนศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์  เนื่องจากเป็นศิลปะที่มีความงาม  และสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ

                    ทัศนศิลป์  (Visual  Art)  หมายถึงศิลปะที่มองเห็น  หรือศิลปะที่สามารถสัมผัสรับรู้  และชื่นชมด้วยการมองเห็นเป็นศิลปะที่สัมผัสจับต้องได้  และกินที่ว่างในอากาศ

    (ปัญญา  เศรษฐศิริ  ศุภกร  และคณะ  พิมพ์ครั้งที่ 1  ..  2540 : หน้า  4-6)

                    ทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น  3  ประเภทได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม

    จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น

    พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับซึ่งจำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุ

    วิจิตรศิลป์  (Fine  Art)  แบ่งออกเป็น  5  แขนง

    1.  จิตรกรรม  (Painting)
    2.  ประติมากรรม  (Sculpture)
    3.  สถาปัตยกรรม (Architecture) 
    4. วรรณกรรม (Literature)
    5.  ดนตรี และนาฏศิลป์ Music & Dramatic Art

    """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
    จบบทเรียนวันนี้ครับ เรื่องการบ้านนั้น

    วาดรูปผมละกันครับ~

    -L S-

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×