ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ความเป็นมาและโครงเรื่องของโฮลมส์
โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮลมส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล[2] นายแพทย์อาวุโสสามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งมาก นายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย[3]
เมื่อโคนัน ดอยล์ เรียนจบและออกไปประกอบอาชีพ เขาเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสาร เนื่องจากการงานอาชีพแพทย์ไม่ค่อยสร้างรายได้ดีนัก เขาใช้เวลาว่างระหว่างรอคนไข้เริ่มเขียนนวนิยาย โดยใช้นายแพทย์เบลล์ อาจารย์ของเขาเองเป็นต้นแบบในการสร้างตัวละครเอก คือ เชอร์ล็อก โฮลมส์ แล้วสร้างตัวละครรองเป็นนายแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกันกับวิชาชีพของเขา นวนิยายสืบสวนเรื่องแรกที่โคนัน ดอยล์ เขียนคือ แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ได้พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ Beeton's Christmas Annual 1887 ปี ค.ศ. 1887 หลังจากที่ถูกปฏิเสธอยู่หลายครั้งหลายหน หลังจากนั้น โคนัน ดอยล์ จึงทยอยเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับนักสืบโฮลมส์และเพื่อนนายแพทย์ของเขา ผลตอบรับจากการเขียนนวนิยายนักสืบชุดนี้ดีจนคาดไม่ถึง และโคนัน ดอยล์ ต้องแต่งเรื่องส่งให้สำนักพิมพ์อยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดได้
โครงเรื่อง
เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตอนแรกที่ลงตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual คือตอน แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) โดยบทแรกเล่าถึงการพบกันครั้งแรกระหว่างโฮลมส์กับวัตสัน ทั้งสองมาเช่าห้องพักร่วมกันที่บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1881 แต่เนื้อเรื่องใน แรงพยาบาท เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884[4]
เวลานั้นโฮลมส์เป็นนักสืบเชลยศักดิ์อยู่แล้ว ส่วนหมอวัตสันเพียงต้องการพักผ่อนหลังจากเกษียนตัวเองจากสงครามอัฟกานิสถาน ในช่วงแรกหมอวัตสันรู้สึกว่าโฮลมส์ช่างเป็นคนแปลกประหลาด แต่ต่อมาเมื่อคุ้นเคยขึ้น วัตสันจึงเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของสิ่งที่โฮลมส์ทำ นับแต่นั้นหมอวัตสันได้ร่วมในการสืบสวนคดีของโฮลมส์หลายต่อหลายครั้ง และเขียนเป็นบันทึกส่วนตัวเก็บไว้อ่าน เนื้อเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่โคนัน ดอยล์ ประพันธ์นั้น สมมุติขึ้นว่าเป็นการเล่าเรื่องจากสมุดบันทึกของหมอวัตสัน ซึ่งเขาส่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์บ้างบางตอน เพราะต้องการเผยแพร่กิตติคุณความสามารถของโฮลมส์ให้โลกรู้
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1888 ระหว่างการสืบสวนคดี จัตวาลักษณ์ (The Sign of Four) หมอวัตสันได้รู้จักกับ มิสแมรี มอร์สตัน ซึ่งเป็นเจ้าทุกข์ หลังเสร็จสิ้นคดี ทั้งสองได้แต่งงานกัน และหมอวัตสันย้ายออกจากห้องเช่า 221 บี ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา เมื่อภริยาเสียชีวิต หมอวัตสันจึงได้ย้ายกลับมาอยู่กับโฮลมส์อีกครั้ง[4]
โฮลมส์และหมอวัตสันได้ร่วมสืบคดีด้วยกันเป็นเพื่อนคู่หู รวมคดีที่โฮลมส์สะสางทั้งสิ้นมากกว่าหนึ่งพันคดี[5] บางปีโฮลมส์มีคดีมากมายจนทำไม่ทัน บางปีก็ว่างจนโฮลมส์ต้องหันไปพึ่งฝิ่นThe Bruce-Partington Plan) ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 โฮลมส์มีโอกาสได้รับยศอัศวินแต่เขาปฏิเสธ[5]และโคเคน ซึ่งเป็นนิสัยเพียงอย่างเดียวของโฮลมส์ที่หมอวัตสันรังเกียจที่สุด ช่วงปีที่โฮลมส์มีงานยุ่งที่สุดคือ ปี ค.ศ. 1894 - 1901 โฮลมส์มีโอกาสได้ถวายการรับใช้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1895 เหตุการณ์นี้ปรากฏในตอน แผนผังเรือดำน้ำ (
อย่างไรก็ดี หมอวัตสันก็ยังคงเป็นเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ และอยู่ร่วมในคดีสุดท้ายของโฮลมส์ในปี ค.ศ. 1914 ดังปรากฏในบันทึกตอน ลาโรง (His Last Bow) หลังจากคดีนี้แล้วก็ไม่มีบันทึกของหมอวัตสันปรากฏให้เห็นอีก จึงไม่มีใครรู้เลยว่า ชีวิตของคนทั้งสองหลังจากปี ค.ศ. 1914 ได้ดำเนินไปเช่นไร
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น