ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดโลกวิทยศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : ชะตากรรมแห่งหายนะของโลก

    • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 50



    มติชน

    สภาพอากาศของโลกกำลังตกอยู่ในสภาวะป่วย การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอาจเปลี่ยนโลกเราได้ และถ้าเรามองเข้าไปในอนาคต สภาพอากาศอาจเปลี่ยนไป รูปแบบชีวิตของเราก็จะเปลี่ยนไปด้วย แต่มันจะไปทางไหน ภัยแล้งที่น่าสะพรึงกลัวหรืออนาคตที่ถูกแช่แข็งอยู่ในความหนาวเย็น

    ตอนนี้โลกของเราต้องรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวนที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยหรือฝนตกใหญ่ ไปจนถึงความร้อนระอุและภัยแล้ง เราไม่อาจจะหนีจากความกราดเกรี้ยวของธรรมชาตินี้ได้ นับแต่เริ่มอารยธรรม สภาพอากาศของเราคงที่มาตลอด แต่บัดนี้มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มันกำลังเปลี่ยนไป เราจำเป็นต้องรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า ภาวะโลกร้อน พายุ เฮอร์ริเคน ยุคน้ำแข็ง ความเปลี่ยนแปลงใดครองโลก การค้นหาคำตอบจึงเริ่มขึ้นในสถานที่ๆ ห่างไกลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก บนยอดเขา เมาน่า โลอา(Mauna Loa) ฮาวาย อากาศที่นั่นสะอาดและบริสุทธิ์ ไกลห่างจากมลภาวะอุตสาหกรรม ที่นี่คือที่เหมาะที่จะตรวจวัดอากาศ



    เมื่อ 20 ปีก่อน เราได้ตระหนักถึงภัยจากภาวะโลกร้อนเป็นครั้งแรก ทุกๆ ปี รัฐบาลต่างๆ ในโลกใช้เงินกว่า 4 พันล้านเหรียญเพื่อทำนายสภาพอากาศ ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม มันสามารถบอกถึงอุณหภูมิในทะเลและชายหาดทุกแห่งในโลก แต่ทว่า อุปกรณ์ต่างๆ มากมายกลับพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้เพียงไม่กี่วัน ภาวะของโลกภายในระยะ 100 ปีข้างหน้าหรือเพียงแค่ 20 ปี จึงยังคงเป็นปริศนา

    สภาพอากาศนั้นมีตัวแปรอันหลากหลาย ซับซ้อนเกินกว่าจะพยากรณ์ได้แม่นยำ แต่วิทยาศาสตร์กำลังพยายาม ด้วยการทำแบบจำลองของสภาพอากาศอันซับซ้อน และผลสรุปคือ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาในอีก 100 ปีข้างหน้าอย่างชัดเจน มันอาจฟังดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่อันที่จริง นี่คือสูตรสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงในทางเลวร้าย การเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนว่าจะเริ่มขึ้นแล้ว



    แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่บันทึกสภาพอากาศเอาไว้ทุกปีมานานนับพันปีแล้ว สิ่งที่แข็งแกร่งและวางใจได้ ซึ่งธรรมชาติได้บันทึกสภาพอากาศเอาไว้ ภายใต้เปลือกของต้นไม้โบราณ คือบันทึกของสภาพอากาศในอดีตที่แม่นยำ ข้อมูลในวงปีของต้นไม้ช่วยให้เราเปิดหน้าต่างไปสู่ปริศนาในอดีตเมื่อ 8 พันปีก่อน ในวงปีหลายๆ ขนาดได้ สิ่งที่พวกเขามองหาคือ วงปีที่แคบ ซึ่งวงปีที่แคบแสดงให้เห็นว่าเป็นปีที่แห้งแล้ง ยิ่งวงปีแคบเท่าไหร่ ภัยแล้งยิ่งรุนแรงขึ้น การทำนายสภาพอากาศด้วยวงปีนั้นค่อนข้างจะแน่นอน

    ส่วนปัจจัยที่ผลักดันให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือ มลภาวะ เกสรดอกไม้ ละอองน้ำจากทะเล ละอองภูเขาไฟ และควันไอเสีย ทุกอย่างจะขึ้นไปอยู่บนชั้นบรรยากาศจะไปติดอยู่ในหิมะที่ตกบริเวณขั้วโลก มันจะกลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาทับถมซ้อนกันไปทุกปี ชั้นน้ำแข็งต่างๆ จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่พิเศษ ฝุ่นและสารเคมีต่างๆ ในน้ำแข็ง เผยว่า โลกเราตกอยู่ภายใต้น้ำแข็งอายุหลายพันปี น้ำแข็งแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาแช่แข็งครั้งใหญ่ตามด้วยช่วงเวลาอบอุ่นเพียงระยะสั้นๆ ถ้าเรากลั่นเส้นเวลาเส้นแรก แล้วพิจารณาย้อนกลับไปโดยใช้ข้อมูลแกนน้ำแข็ง เราจะพบเห็นการแช่แข็งครั้งร้ายแรง และยังเห็นช่วงเวลาอบอุ่นระยะสั้นๆ



    และพรมแดนสุดท้ายของโลก ที่ซึ่งตารางเวลานับพันล้านปีของสภาพอากาศถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ตะกอนที่ก้นมหาสมุทร ประกอบด้วยซากแพลงตอนขนาดจิ๋วที่เรียกว่า โฟแรม(forams) เหล่านี้คือปรอทวัดอุณหภูมิที่มีชีวิต แต่ละสายพันธุ์ชอบอุณหภูมิต่างกัน ดังนั้น ด้วยการนับชนิดในตะกอนแต่ละชั้น เราสามารถระบุสภาพอากาศย้อนกลับไปในกาลเวลานับล้านปีได้ ก้นทะเลเป็นที่ที่ดีที่สุดในโลกที่จะรวบรวมเบาะแสเกี่ยวกับอดีตอันไกลโพ้น โดยใช้หลักฐานจากโฟแรมสิ่งที่เราเห็นก็คือ ยุคน้ำแข็งเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อ 3 ล้านปีก่อน



    โลกของเรา เริ่มต้นเมื่อทวีปแยกจากกัน และเกิดเป็นเทือกเขา อีกทั้งมหาสมุทรใหม่อันกว้างใหญ่ นับจากนั้นมา ยุคน้ำแข็งก็เริ่มเกิดและหายไปอยู่เนืองๆ ยามที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงโคจรของเราทำให้มหาสมุทรเกิดน้ำขึ้นและน้ำลง มันเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาสมุทรทุกแห่งในโลกล้วนเชื่อมต่อกันด้วยกระแสน้ำหลักหนึ่งกระแส กระแสนี้นำเอาน้ำเค็มอบอุ่นไปยังขั้วโลก ซึ่งเมื่อมันหนาแน่นขึ้น ก็จะจมลง น้ำเค็มที่จมลงนี้คือปั๊มที่ผลักดันทั้งระบบ ทำให้น้ำไหลเวียนจากแอตแลนติกไปจนถึงแปซิฟิกและกลับมาอีกครั้ง ตราบใดที่กระแสน้ำยังไหลเวียน สภาพอากาศก็ยังคงอบอุ่น ถ้ามันหยุด ยุคน้ำแข็งจะเริ่มอีกครั้งจากรูปแบบหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป สัญญาณต่างๆ จากแกนน้ำแข็ง จากต้นไม้ จากฟอสซิลในก้นทะเล แสดงว่าเรากำลังจะค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง และการเย็นลงของโลกจะเกิดขึ้นภายในอีก 3 พันปีข้างหน้า



    หลักฐานใหม่แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่านั้น อากาศกำลังวิกฤตทั่วโลก ผู้คนเฝ้ามองอย่างสิ้นหวังยามที่ชีวิตของพวกเขาถูกทำลายด้วยสภาพอากาศที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ขณะที่บนทวีปหนึ่ง มีภัยที่เกิดจากพายุ แต่บนทวีปอีกแห่งเกิดภัยแล้ง สภาพอากาศในโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยาเรือนกระจกจากฝีมือมนุษย์และการทำลายป่า มันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงสมดุลของสภาพอากาศด้วยมือของตัวเอง

    การที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำหยุดชะงัก โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้น้ำเค็มที่ไหลมาถึงขั้วโลกเหนือเจือจาง การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร หยุดทำงานลงเมื่อปราศจากน้ำอุ่นไหลเวียนไปทั่วโลก ขั้วน้ำแข็งจึงขยายตัว หลักฐานแสดงว่าโลกที่ร้อนขึ้น และจะถูกแช่แข็งอย่างกะทันหัน

    วันนี้ โลกของเราเกิดภาวะโลกร้อน และอาจนำไปสู่ภาวะโลกแช่แข็งอีกครั้ง แต่ถ้าประวัติศาสตร์กลับมาซ้ำรอยเดิม โลกของวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรภายใต้น้ำแข็ง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×