ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมความรู้ ที่น่ารู้

    ลำดับตอนที่ #14 : อากาศเย็นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

    • อัปเดตล่าสุด 5 ธ.ค. 51



    จากการรายงานล่าสุด ของ European Society of Cardiology ะบุว่า สิ่งที่ค้นพบนั้น ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะอากาศเย็น ก็ทำให้เส้นเลือดหดตัวอยู่แล้ว และเมื่อเส้นเลือดหดตัว ก็ทำให้เลือดไหลผ่านได้ยากขึ้น แต่การค้นพบครั้งนี้ นับเป็นเอกสารชิ้นแรก ที่รายงานออกมาว่าอากาศที่มีความผันผวน มีความเกี่ยวพันกับโรคหัวใจ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้เวลา 2 ปี

    โดยนักวิทยาศาสตร์ จาก University of Burgundy ในฝรั่งเศส ได้ทำการทดลองกับคนไข้ 784 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่น ด้วยอาการของโรคหัวใจ และนักวิจัยพบว่า ในสภาพอากาศเย็น จะมีการรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลมาก และเป็นเช่นนี้ ทุก ๆ ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
                  
    ในการศึกษา ยังพบอีกว่า 50% ของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ เข้ารับการรักษาอาการความดันโลหิตสูงมาก่อน หรือบางครั้งก็มีอาการเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงปรากฏออกมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคหัวใจ จะพบบ่อย เมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า 39.2 F 
                  

    โรคหัวใจ (Heart Attack)
    มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเมื่ออุณภูมิลดต่ำลงไปมากกว่า 9 องศา ในวันเดียวกัน ผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะมีอาการของโรคหัวใจความดันโลหิตนั้น จะเพิ่มขึ้น เมื่ออากาศเย็นลง เพราะเส้นเลือดหดตัวแคบลง ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจ  Dr.David Faxon หัวหน้างาน Cardiology ของ University of Chicago และอดีตประธานของ American Heart Association กล่าวว่า งานวิจัยนี้ มีความสำคัญ และทำให้มีการตระหนักในเรื่องของอากาศเย็น และความดันโลหิตมากขึ้น

    พร้อมกล่าวอีกว่า ความกดอากาศ ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเกี่ยวพันกับโรคหัวใจที่อาจจะเกิดกับผู้ที่ความดันโลหิตสูงเช่นกัน แต่การศึกษาในครั้งนี้ ไม่ได้มีการระบุถึงกรณีของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตปกติ 

    อย่างไรก็ตาม อากาศ กับความเกี่ยวพันธ์กับโรคหัวใจนั้น ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ยังต้องการการศึกษา และเปรียบเทียบทฤษฎีอีกหลายทฤษฎีที่มีอยู่
    ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×