ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมความรู้ ที่น่ารู้

    ลำดับตอนที่ #12 : แพทย์พบวิธีจับ"ยีน KRAS" ตัวการมะเร็งลำไส้ใหญ่ลาม

    • อัปเดตล่าสุด 5 ธ.ค. 51


    รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา หน่วยมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า "โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่คนไทยเริ่มเป็นกันมากขึ้นและได้คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 3 จากโรคมะเร็งทั้งหมด หรือในแต่ละปีพบว่ามีผู้ป่วยใหม่เป็นโรคนี้กว่า 10,000 ราย อันเป็นผลมาจากลักษณะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไทยในเรื่องอาหารการกิน ความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโดยมากมักพบว่าผู้ป่วยมักเป็นโรคนี้ในระยะสุดท้ายหรือระยะลุกลามแล้วตั้งแต่แรกวินิจฉัย ที่ผ่านมาการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด และการรักษาแนวใหม่แบบการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเป้าหมายที่เซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) ซึ่งการจะเลือกวิธีรักษาแบบใดนั้น แพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนเลือกรูปแบบการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

    รศ.นพ.นรินทร์กล่าวว่า จากวิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวโมเลกุล (Advanced Molecular Biology) และการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่ผ่านมา ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ไม่มีการตาย และสามารถสร้างหลอดเลือดมาเลี้ยงตนเอง ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากต้นกำเนิดได้ ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นและพัฒนายารักษาโรคมะเร็งแนวใหม่โดยใช้ความรู้พื้นฐานด้านชีวโมเลกุลมาใช้

    ล่าสุดจากข้อมูลงานประชุมประจำปี 2008 ของ American Society of Clinical Oncology (ASCO) เปิดเผยถึงข้อมูลเกี่ยวกับชีวโมเลกุล หรือตัวชี้วัดทางชีวภาพของเซลล์มะเร็งตัวใหม่คือ พบว่ายีน KRAS (Kirsten Rat Sarcoma, เค-ราส) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพตัวแรกที่สามารถคาดการณ์ถึงผลการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะลุกลาม ยีนนี้มีหน้าที่กระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ในภาวะปกติจะทำงานภายใต้การควบคุมของกลไกร่างกาย แต่หากเกิดผิดปกติคือ เกิดการกลายพันธุ์ KRAS จะทำงานต่างจากเดิมขาดการควบคุม เช่น กระตุ้นการสร้างโปรตีนมากขึ้น, นานขึ้น ผลที่ตามมาคือ จะทำให้เซลล์แบ่งตัวเร็วขึ้น ทนทานและแพร่กระจายง่ายขึ้น


    ที่มา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×