ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดโลกวิทยศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #11 : รีโมตคอนโทรล ควบคุมมนุษย์ ?

    • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 50



    Dailynews

    พูดถึงสวนสนุก เชื่อแน่ว่าคงเป็นที่ชื่นชอบของเด็กหลาย ๆ คน ก็เพราะบรรดาเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่อยู่ในสวนสนุกนั้น ทั้งน่าตื่นตาตื่นใจ รวมทั้งสร้างความสนุกปนหวาดเสียวได้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่กับผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ

     

    ไม่ว่าจะเป็นรถไฟเหาะตีลังกา เรือเหาะไวกิ้ง แต่เครื่องเล่นสุดคลาสสิกสองอย่างนี้ ก็ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ทั่วท้องแถมด้วยอาการคลื่นไส้ไม่รู้เท่าไหร่แล้ว


    อาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นนั้น คุณผู้อ่านทราบหรือ ไม่ว่าจริง ๆ แล้วเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับระบบควบคุมการทรงตัว (Vestibular System) ซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นในของคนเรา โดย ประกอบไปด้วยบรรดาอวัยวะที่มีชิ้นส่วนคล้ายท่อ (Semicircular Canals) และถุง (Vestibule) เล็ก ๆ ซึ่งมีของเหลว (Endolymph) บรรจุอยู่


    เมื่อเราเอียงศีรษะหรือตำแหน่งของศีรษะมีการเปลี่ยนไป ของเหลวก็จะมีการเคลื่อนที่ตามไปด้วย เมื่อไปกระทบกับเส้นขนเล็ก ๆ บริเวณผิวด้านในของท่อดังกล่าว ก็จะเกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมองเพื่อบ่งบอกให้รับรู้ถึงตำแหน่งของศีรษะที่เปลี่ยนไป จากนั้นสมองก็จะส่งสัญญาณไปยังอวัยวะส่วนอื่นอย่างเช่นตาหรือกล้ามเนื้อให้ตอบสนองเพื่อควบคุมการทรงตัว

    เมื่อทราบว่าระบบควบคุมการทรงตัวของหูชั้นในมีผลอย่างไรต่อการเคลื่อนไหว ไอเดียก็บังเกิดแก่นักวิจัยชาวญี่ปุ่นจาก NTT (Nippon Telegraph and Telephone) ซึ่งผลงานล่าสุด ที่เพิ่งออกมาจากห้องปฏิบัติการสด ๆ ร้อน ๆ ได้แก่ “รีโมตคอนโทรล สำหรับมนุษย์” หรือ มีชื่อเรียกอย่างเป็น ทางการว่า Galvanic Vestibular Stimu lation (GVS)


    อุปกรณ์ GVS จะส่งไฟฟ้ากระแสตรงอย่างอ่อน ๆ เข้าไปยังบริเวณขมับส่วนหลังใบหู ซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวทำให้ระบบควบคุมการทรงตัวของเราเสียสมดุลไป (แม้ว่าศีรษะของเราจะไม่ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปจริง ๆ) และสมองก็จะสั่งให้อวัยวะหรือกล้ามเนื้อส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ เพื่อพยายามทำให้เกิดความสมดุลขึ้นอีกครั้ง

    แปลย่อหน้าข้างบนง่าย ๆ อีกครั้งก็คือว่ากระแสไฟฟ้าสามารถหลอกระบบควบคุมการทรงตัวของคนเราได้ และร่างกายเราก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสมดุลที่เสียไปนั้น นั่นคือเราจะขยับเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ทางขวา ข้างหน้า ข้างหลัง เพื่อพยายามทำให้ร่างกายกลับมาอยู่ที่ตำแน่งสมดุลอีกครั้ง (โดนหลอก!)


    จากการทดลอง นักวิจัยใช้รีโมตคอนโทรลเพื่อควบคุมอุปกรณ์ GVS จากระยะไกล ทำให้ดูราวกับว่ามนุษย์คนหนึ่งกำลัง ถูกควบคุมโดยรีโมตคอนโทรลให้เคลื่อนที่ไปตามความต้องการของผู้ควบคุม

    นักวิจัยคาดว่าเทคโนโลยี GVS จะทำให้บรรดาคอเกมคอมพิวเตอร์ทั้งหลายรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในเกมได้ สมจริงยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเกมส์ประเภทรถแข่งหรือยานอวกาศ นอกจากนั้นแล้วระบบ Flight Simulator หรือเครื่องจำลองการบินยังอาจได้อานิสงส์จากเทคโนโลยีนี้อีกด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบไฮโดรลิกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์อันซับซ้อน เพียงแต่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหวแล้วทำให้นักบินรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งผ่านทาง GVS ต้นทุนต่อเครื่องของเครื่องจำลองการบินก็จะถูกลงมากทีเดียว


    ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุม การทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสาเหตุโดยตรง มาจากส่วน Vestibular System ในหูชั้นใน ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการรักษาได้อีกด้วย คอเกมท่านใดสนใจก็รอหน่อย ดูแค่ภาพก็เวียน หัวพออยู่แล้ว เอาให้อาเจียนกันไปข้างนึงเลยก็ แล้วกัน...


    สุวัฒน์ เจริญผล

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×