หนึ่งในหฤทัย - นิยาย หนึ่งในหฤทัย : Dek-D.com - Writer
×

    หนึ่งในหฤทัย

    เธอจะเลือกอะไร... การเป็นคนรักของเจ้าชายหนุ่ม หรือว่าที่นายกรัฐมนตรีในอนาคต ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่รัฐประหารเฉลี่ย 3 ปีต่อ 1 ครั้ง!

    ผู้เข้าชมรวม

    252

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    12

    ผู้เข้าชมรวม


    252

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  2 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  8 ต.ค. 61 / 12:49 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย


    นิมมาน อ่านว่า นิม - มาน (เพศชาย) แปลว่า นฤมิต

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=11&sex=1&birthday=6&btext=3


    อนัญญา อ่านว่า อะ - นัน - ยา (เพศหญิง) แปลว่า เป็นหนึ่ง ไม่มีสอง

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=20&sex=2&birthday=6&btext=3


    ภาณุพงศ์ อ่านว่า พา - นุ - พง (เพศชาย) แปลว่า เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=15&sex=1&birthday=6&btext=3


    โชษิตา อ่านว่า โช - ส - ตา (เพศหญิง) แปลว่า ความสุข ความบันเทิง สตรี

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=5&sex=2&birthday=6&btext=3


    กันติทัต อ่านว่า กัน - ติ - ทัด (เพศชาย) แปลว่า ผู้ให้ความรัก ผู้ให้ความพอใจ

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=2&sex=1&birthday=6&btext=3


    กิตติทัต อ่านว่า กิด - ติ - ทัด (เพศชาย) แปลว่า ผู้ให้เกียรติ ผู้ให้ชื่อเสียง

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=3&sex=1&birthday=6&btext=3


    โอบกิจ อ่านว่า โอบ - กิด (เพศชาย) แปลว่า เอากิจธุระ เอาใจใส่ในหน้าที่

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=21&sex=1&birthday=6&btext=3


    ปรมัตถ์ อ่านว่า ปะ - ระ - มัด นามมงคลสำหรับเพศชาย แปลว่า ประโยชน์สูงสุด ความเจริญสูงสุด

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=25&sex=1&birthday=1&btext=3


    นิชนันท์ อ่านว่า นิด - ชะ - นัน (เพศชาย) แปลว่า ผู้มีความสุข ความเพลิดเพลิน เป็นของตน

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=22&sex=1&birthday=1&btext=3


    บูรณ์พิภพ อ่านว่า บูน - พิ - พบ นามมงคลสำหรับเพศชาย แปลว่า มีสมบัติมาก เต็มไปด้วยสมบัติ

    อ้างอิง : http://www.thaibabyname.com/good_name_result.asp?page=24&sex=1&birthday=1&btext=3


    ภานุรุจ อ่านว่า พา-นุ-รุด แปลว่า รุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์

    อ้างอิง : https://astro.meemodel.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%88


    คาเฟ่ ผับ คลับ บาร์ บิสโตร...อะไรเป็นอะไรในวัฒนธรรมการกินดื่ม

    โดย GQ Thailand

     2 ธันวาคม 2558

    เรื่อง: ชัชรพล เพ็ญโฉม


          ถ้าพูดถึงเรื่องการกินดื่ม บอกเลยเมืองไทยไม่แพ้ใครในโลก เห็นได้จากไม่ว่าใครจะบ่นเศรษฐกิจไม่ดีแค่ไหนก็ตาม ร้านอาหารสารพัดชาติกลับผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วทุกมุมเมืองไม่เว้นแต่ละวัน แต่เคยไหมที่เห็นโฆษณา หรือรีวิวของร้านต่างๆ แล้วแอบงงว่าเขาขายอาหารอะไรกันแน่ (แต่ไม่กล้าบอกใคร กลัวเชย) หรือบางทีไปต่างประเทศ ทำไมทั้งร้านอาหาร ทั้งผับ บาร์แบบเดียวกันในบ้านเขาไม่เห็นเหมือนกับของบ้านเราเลย ลองมาทำความรู้จักกับความหมายจริงๆ ของร้านอาหารและสถานที่กินดื่มแต่ละประเภท ณ บัดนาว



    Null

    Restaurant

    คือภัตตาคารหรือร้านอาหารทั่วไป กินความหมายกว้างๆ มีหลายระดับตั้งแต่ราคาประหยัดไปจนถึงหรูระยับ ถ้าเป็นอาหารฝรั่งเศสจะเสิร์ฟเป็นคอร์สเต็มรูปแบบ เมนูและราคาต่างกันไปตามความหรูหรา ที่มีชื่อคือร้านติดดาวมิเชอลิน (Michelin) ซึ่งมีตั้งแต่ 1-3 ดาว โดยอาจเสิร์ฟอาหารถึง 7 คอร์สที่ต้องใช้เวลารับประทานราว 4 ชั่วโมงและต้องมีการจองล่วงหน้า



    Null

    Bistro

    กำลังอินเทรนด์สุดๆ ในเมืองไทย มีต้นกำเนิดอยู่ที่ฝรั่งเศส บิสโตรจะเล็กและมีพิธีรีตรองน้อยกว่าเรสต์เตอรองต์ มักขายอาหารที่ปรุงสำเร็จไว้แล้วจำพวกสตูว์ ขาหมูตุ๋น ว่ากันว่าบิสโตรเกิดจากทหารรัสเซียไปสั่งอาหารแถวย่านมงมาร์ตในกรุงปารีส พอนั่งรอนานจึงตะโกนว่า “บิสโตร” ที่แปลว่า “เร็วๆ” ตั้งแต่นั้นมาเจ้าของร้านจึงเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้าและกลายเป็นต้นแบบของฟาสต์ฟู้ด เอกลักษณ์ของบิสโตรคือ เมนูที่เขียนด้วยชอล์กบนกระดานดำ (จะว่าไปฟังดูคล้ายกับร้านข้าวขาหมูหรือร้านข้าวแกงบ้านเรา!)



    Null

    Café

    คาเฟ่จริงๆ ไม่ได้ขายเฉพาะกาแฟ แต่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไวน์ เบียร์ และมีอาหารเบาๆ อย่างสลัด แซนด์วิช ซุป ออมเล็ต ฯลฯ ด้วย ในฝรั่งเศสสัญลักษณ์ของคาเฟ่คืออาหารจานด่วน “คร็อก-เมอซิเออร์” (croque-monsieur) ซึ่งเป็นขนมปังปิ้งราดชีสกรุยแยร์ (gruyere) ประกบแฮมคนฝรั่งเศสนิยมกินเป็นอาหารเช้า (ไม่ใช่ครัวซองส์อย่างที่ใครๆ คิด) เทียบได้กับปาท่องโก๋บ้านเรา



    Null

    Tearoom

    อีกเทรนด์ที่มาแรงในบ้านเราได้สักพักใหญ่ ร้านน้ำชาทั้งแบบอังกฤษและฝรั่งเศสมักรวมเอาชาหลากรสหลายกลิ่นจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมขนมอบนานาชนิด มีอาหารว่างจำพวกแซนด์วิชเสิร์ฟรองท้อง ทั้งยังมี Afternoon Tea Set ชาที่มาพร้อมขนมหลากหลายเรียงมาเป็นชั้นๆ



    Null

    Bar

    สถานที่ดื่ม แฮงเอ้าท์ พบปะเพื่อนฝูง ไปมองและไปโดนมอง เน้นเครื่องดื่มแอลกอฮล์ ไม่มีอาหารขาย แต่มีสแน็กนิดๆ หน่อยๆ พอไม่ให้ท้องว่าง มักโดดเด่นที่คอนเซปท์การตกแต่งและเครื่องดื่มค็อกเทลสูตรเฉพาะที่ต่างกันไปในแต่ละบาร์



    Null

    Pub

    ใช้ต่างความหมายกันโดยสิ้นเชิงสำหรับคนไทยและคนอังกฤษ สำหรับคนอังกฤษ pub ซึ่งย่อมาจาก public house คือร้านอาหารไว้สำหรับดื่มหลังเลิกงาน นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ดูบอลและกีฬาต่างๆ พบปะเพื่อนฝูง หรือพาครอบครัวมากินซันเดย์โรสต์ (อาหารกลางวันแบบอังกฤษและไอริช มีเนื้อย่าง มันบด มันฝรั่งย่าง ยอร์กเชียร์พุดดิ้ง เสิร์ฟเฉพาะวันอาทิตย์) แต่สำหรับคนไทย ผับยังหมายความไกลไปถึงที่แด๊นซ์สุดมันส์ซึ่งตรงกับคำว่า club ในภาษาอังกฤษ  



    Null

    Club

    หมายถึงที่เต้นตื๊ดๆ ที่มีดีเจมิกซ์เพลงและเปิดแผ่น ถ้าเพื่อนชาวต่างชาติชวนคุณ go clubbing ก็หมายถึงเขาชวนเราไปเต้นท่ามกลางระบบ light and sound system สุดอลังการ นอกจากนี้ คลับยังหมายถึงคลับเฉพาะแนวก็ได้เช่น Jazz club ที่เล่นเพลงแจ๊ซโดยเฉพาะ


    ต่อไปนี้ ไม่ว่าคุณจะชวนเพื่อนหรือเพื่อนจะชวนคุณไปสังสรรค์ ปาร์ตี้ หรือท่องราตรี โดยเฉพาะเพื่อนชาวต่างชาติ ลองนึกให้ดีว่าคุณกำลังจะไปไหนผับ บาร์ หรือคลับ

    Credit : https://www.gqthailand.com/life/article/drink-culture


    เจรจาพาที อ่านว่า เจน-ระ-จา-พา-ที แยกคำเป็น เจรจา + พาที

    กันยายน 26, 2017

    0 Comments

    881 Views

    เจรจาพาที  อ่านว่า เจน-ระ-จา-พา-ที  แยกคำเป็น เจรจา + พาที

    ทองย้อย แสงสินชัย

    เจรจาพาที

    อ่านว่า เจน-ระ-จา-พา-ที

    แยกคำเป็น เจรจา + พาที

    (๑) “เจรจา”

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    “เจรจา : (คำกริยา) พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. (ส. จรฺจา).”

    พจนานุกรมฯ บอกว่า คำนี้สันสกฤตเป็น “จรฺจา”

    สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “จรฺจา” และ “จรฺจิกา” บอกไว้ดังนี้ –

    (สะกดตามต้นฉบับ)

    “จรฺจา, จรฺจิกา : (คำนาม) วิจาร, วิจารณา, อโลจนา, การใช้วิจารหรือหัวคิด; การชำระกายด้วยสุรภิวิเลป; การไต่ถามหรือสืบสวน; พระทุรคา; reflection, contemplation, consideration, the exercise of judgment or deliberation; cleaning the body with fragrant unguents; inquiry or investigation; Duragā.”

    ในภาษาไทย เราคงออกเสียง “จรฺจา” ว่า จัน-จา มีคำว่า “จรรจา” (จัน-จา) เป็นพยานอยู่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    “จรรจา : (คำที่ใช้ในบทกลอน) (คำกริยา) พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).”

    และยังมีคำว่า “จำนรรจ์” (จำ-นัน) และ “จำนรรจา” (จำ-นัน-จา) ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าแผลงมาจาก จรฺจา คือ “จัน” (จรฺ-) แผลงเป็น “จำนัน” (จำนรรจ์, จำนรรจา)

    “จ” แผลงเป็น “จ-น” มีแนวเทียบในภาษาไทยหลายคำ เช่น –

    จง > จำนง

    จำ > จำนำ

    จ่าย > จำหน่าย

    เจียร > จำเนียร

    แจก > จำแนก

    จรฺจา > จรรจา > จำนรรจ์ > จำนรรจา > เจรจา

    ทุกคำล้วนมีความหมายว่า พูด, กล่าว

    บาลีมี “จจฺจ” (จัด-จะ) ธาตุ ไขความว่า “ปริภาสเน” พูดตามสำนวนไวยากรณ์บาลีว่า “เป็นไปในอรรถว่า ด่า, ต่อว่า” ซึ่งน่าจะตรงหรือใกล้เคียงกับ “จรฺจฺจ” ธาตุของสันสกฤตมากที่สุด

    (๒) “พาที”

    บาลีเป็น “วาที” รากศัพท์มาจาก วทฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ณี ปัจจัย, ลบ ณ (ณี > อี), ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ ว-(ท) เป็น อา (วทฺ > วาท)

    : วทฺ + ณี > อี = วที > วาที แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีถ้อยคำ” หมายถึง พูดถึง, กล่าว, สอน, พูดคุย; ถือทัศนะหรือลัทธิคำสอน; โต้แย้ง (speaking of, saying, asserting, talking; professing, holding a view or doctrine; arguing)

    “วาที” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

    “วาที : (คำนาม) ผู้พูด, ผู้กล่าว, ผู้ชี้แจง, ผู้โต้แย้ง; คนเล่นดนตรี. (ป., ส.).”

    “วาที” แผลง ว เป็น พ ตามหลักนิยมในภาษาไทย จึงเป็น “พาที”

    เจรจา + พาที = เจรจาพาที เป็นการเอาคำมาประสมกันแบบคำไทย มีความหมายว่า พูดจากัน, พูดคุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง, พูดจาตกลงกันเพื่อหาข้อยุติในปัญหาหรือเรื่องราวใดๆ ที่เกิดขึ้นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

    ในที่นี้ “พาที” มีลักษณะคล้ายคำสร้อย เพราะ “เจรจา” กับ “พาที” มีความหมายไปในทางเดียวกัน

    คำว่า “เจรจาพาที” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

    คำอื่นๆ ที่น่าจะลงท้ายว่า “-พาที” เช่น สนทนาพาที พูดจาพาที ก็ไม่มีในพจนานุกรมฯ

    และไม่เพียงแต่ “เจรจาพาที” แม้เฉพาะ “พาที” คำเดียวก็ยังไม่มีเก็บไว้

    …………..

    แถม :

    คุณสมบัติของผู้ที่ควรร่วมเจรจาพาทีกัน

    (1) โสตา = เมื่อฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี

    (2) สาเวตา = เมื่อพูด พูดจาน่าฟัง

    (3) อุคฺคเหตา = จับประเด็นในเรื่องที่พูดกันได้ดี

    (4) ธาเรตา = จำข้อมูลได้ ไม่เลอะเทอะ

    (5) วิญฺญาตา = เข้าใจเจตนาของคู่เจรจา

    (6) วิญฺญาเปตา แถลงคารมได้แจ่มแจ้ง

    (7) กุสโล สหิตาสหิตสฺส = รู้ว่าอะไรควรพูดอะไรไม่ควรพูด

    (8) โน กลหการโก = ควบคุมตัวเองได้ ไม่ชวนทะเลาะ

    ที่มา: พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 398

    ในที่นี้ถอดความโดยประสงค์

    …………..

    ดูก่อนภราดา!

    : สัตว์เดรัจฉาน ตัดสินปัญหาด้วยการกัดกัน

    : มนุษย์สามัญ ตัดสินด้วยกำลังกายกำลังอาวุธ

    : มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ ตัดสินด้วยการเจรจา

    : มนุษย์ที่มีปัญญา ตัดสินปัญหาด้วยคุณธรรม

    ————

    (ตามคำขอของพระคุณท่าน Sunant Phramaha)


    credit : http://dhamma.serichon.us/%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%B0/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B0/


    วิชชากร อ่านว่า วิด-ชา-กอน แปลว่า สร้างความรู้

    อ้างอิง : https://th.theasianparent.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5



    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น