ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    {[]-รวม-[]}->เทคนิคการเรียน<-

    ลำดับตอนที่ #8 : [เทคนิคการเรียนรู้]::นิสัยการเรียนรู้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 156
      0
      24 ก.ย. 50

    นิสัยการเรียนรู้

         มีนิสัยหมั่นดูหนังสือสม่ำเสมอ หรือมีนิสัยประเภททำงานในวันสุดท้าย
       
     หลายคนคงรู้ดีแก่ใจตนเองว่า การดูหนังสือหรือการทำงานในวินาทีสุดท้ายนั้น มี

    โอกาสเสี่ยงต่อความผิดพลาดมาก แต่ถึงกระนั้นหลายคนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่  การ

    ทำตัวเช่นนี้จะอันตรายมาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พลาดสอบตกในวิชาที่ไม่ควรจะตก 

    เพราะนักศึกษาคิดอยู่เสมอว่าคงมีเวลาพอ แต่เมื่อถึงตอนสอบกลับมีเวลาไม่พอ อ่าน

    ไม่ทัน และในที่สุดจะมานั่งเสียใจภายหลังว่า ถ้ามีเวลาอ่านอีกสักนิด คงไม่สอบตก

    วิชานี้แน่นอน 


    ดูหนังสือกับเพื่อน หรือดูหนังสือคนเดียว

    บางคนชอบอ่านหนังสือเป็นกลุ่ม กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน การดูหนังสือแบบนี้ดีหรือไม่

    นั้น ขึ้นอยู่กับเพื่อนในกลุ่มว่ามีความมุ่งมั่นในการดูหนังสือเพียงใดถ้าเพื่อนเป็นคน

    เอาใจใส่การเรียนช่วยกันทบทวน ตอบข้อสงสัย นักศึกษาก็จะได้ผลประโยชน์จาก

    ตรงนี้ แต่ถ้าเพื่อนในกลุ่มเกเรไม่สนใจเรียนเราก็จะพลอยเสียไปด้วย
         
    บางคนชอบที่จะดูหนังสือคนเดียว จะกำหนดช่วงเวลาด้วยตนเอง บางคนชอบมุม

    สงบเงียบเป็นที่อ่านหนังสือ
         
    ไม่ว่าเป็นการดูหนังสือแบบใด ให้นักศึกษาทบทวนดูว่าตัวเรา เหมาะกับวิธีใด
         

    สภาพแวดล้อมในการอ่านหนังสือเหมาะหรือไม่
         
    บางครั้งบริเวณที่นักศึกษานั่งดูหนังสือมีส่วนทำให้ดูหนังสือแล้วจำได้ง่ายขึ้น การมี

    อุปกรณ์การเรียน ดินสอ ปากกาพร้อมหนังสือพจนานุกรมอยู่ใกล้เอื้อมประกอบกับ

    สภาพแวดล้อมที่ดี มีส่วนช่วยในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพอ่านหนังสือใน

    สภาพที่มีเสียงดัง หรือท่ามกลางสิ่งรบกวน หรือที่ๆ สงบเงียบ
        
    บางคนดูหนังสือ ท่องจำได้ดี โดยวิทยุเสียบหูฟังเพลง บางคนเชื่อว่าดนตรีคลาสสิก

    มีผลทำให้จิตใจของคนเราตื่นตัวและร่างกายพร้อมจะรับข้อมูลต่างๆ ได้ดี ในทาง

    ตรงกันข้าม บางคนไม่ชอบให้มีเสียงดังมารบกวนสมาธิ ดังนั้นรสนิยมดนตรีของแต่

    ละบุคคลจะต่างกัน ไม่มีประโยชน์ที่จะมาเถียงกันว่าฟังวิทยุขณะดูหนังสือดีหรือไม่ 

    แต่โดยทั่วไปแล้ว ที่สงบเงียบจะช่วยให้เรามีสมาธิกับงานได้มากขึ้น

    อ่านหนังสือแล้วจำได้ดีในตอนเช้า หรือตอนกลางคืน
         
    บางคนชอบอ่านหนังสือ หรือทำงานในตอนกลางวัน แต่บางคนชอบทำตัวเป็นนกฮูก

    คือ ชอบตื่นและดูหนังสือได้ดีในตอนกลางคืน จากนั้นจึงจะนอนและตื่นนอนตอน

    เที่ยงวัน การดูหนังสือไม่ว่าช่วงเวลาไหนของวัน สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการทำให้สอด

    คล้องกับระบบการทำงานของร่างกาย เก็บงานสำคัญที่สลับซับซ้อน (งานใช้

    พลังงาน) เอาไว้ท่องหรือเอาไว้ทำในช่วงที่ร่างกายตื่นตัวที่สุด เก็บงานที่ใช้พลังงาน 

    (เช่นการพิมพ์ การใช้คอมพิวเตอร์) ในช่วงที่จะทำนักศึกษาง่วงนอนหรืออ่อนล้า
     
    ---------------------------------------E-N-D----------------------------------------------------

    CrediT-> http://das.wu.ac.th/tdu_students/Tip/article1.html


     
       

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×