เมื่อฉันข้ามมิติมาหาเธอ
'อะไรนี่! นั่งเรียนอยู่ดีๆ ทำไมถึงมาอยู่ท่ามกลางสงครามได้ฟะนี่ ตัวฉัน!' เรื่องเล่าของสาวน้อย มัธยมปี4 ที่นั่งเรียนอยู่ดีๆ รู้ตัวอีกทีกลายเป็นว่าตัวเองนั่งงงง่วงอยู่กลางสงครามซะได้
ผู้เข้าชมรวม
141
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทเรียนที่หนึ่ง นิยามและความหมายของโลกคู่ขนาน
วิชาฟิสิกส์และควอนตัม
โลกคู่ขนาน โลกอีกด้านที่ดำเนินควบคู่ไปกับโลกของเราในทิศทางที่ตรงกันข้าม เราสามารถไปอยู่หรือมองเห็นมันได้หรือไม่ วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้หรือไม่ หรือมันเป็นแค่เรื่องเหนือจินตนาการและความรู้ของมนุษย์เรา
โลกคู่ขนาน คือแนวคิดตามสมมติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา (รวมถึงเอกภพของเราเป็นหนึ่งในนั้น) ซึ่งประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริงทางกายภาพ เช่น กาล อวกาศ รูปแบบทุกชนิดของสสาร พลังงาน โมเมนตัม และกฎทางฟิสิกส์รวมถึงค่าคงที่ต่างๆ ยืนอยู่บนทฤษฏีทางฟิสิกส์ 3 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี String Theory, ทฤษฎีเอกภพขยายตัว และทฤษฎีสสารมืด (Dark matters)
มิติในทางฟิสิกส์ไม่ได้หมายถึงมิติลี้ลับ แต่หมายถึง Dimension ในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมายทางคณิตศาสตร์ อย่างเช่น จุด มีมิติเป็นศูนย์ เส้นตรงก็มี 1 มิติ ส่วนพื้นที่เป็น 2 มิติ และปริมาตร 3 มิติก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมีกว้าง ยาว สูง อวกาศหรือที่ว่างที่เราเห็นนั้นเป็น 3 มิติ การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นนอกจากขึ้นกับพื้นที่แล้วยังขึ้นอยู่กับเวลาด้วยซึ่งในทางคณิตศาสตร์นับเป็นอีกมิติหนึ่งได้กลายเป็น 4 มิติที่เรียกว่า “สเปซ-ไทม์” (space time) หรือ กาล-อวกาศ ค.ศ.1921 ธีโอดอร์ คาลูซา (Theodor Kaluza) สันนิษฐานว่ากาล-อวกาศมี 5 มิติ ซึ่งมิติที่เกินมานั้นเรียกว่ามิติพิเศษ (extra-dimension) ซึ่งคาลูซาต้องตอบให้ได้ว่ามิติดังกล่าวหายไปไหน และเขาก็มีกลวิธีในการอธิบายว่ามิติดังกล่าวขดตัวอยู่ (Compactify) กลายเป็นมิติที่เล็กมากจนมองไม่เห็น เปรียบเทียบการขดดังกล่าวเหมือนการขดกระดาษเป็นทรงกระบอก หากรัศมีของการขดสั้นกว่าความยาวคลื่นของแสงจะไม่สามารถสะท้อนเป็นภาพออกมาให้มองเห็นได้ ซึ่งนักฟิสิกส์ก็พยายามจะพิสูจน์ว่ามิติดังกล่าวมีจริงหรือไม่ มีการทดลองยิงอนุภาคด้วยเครื่องเร่งอนุภาค “แอลเอชซี” (LHC: Large-Hadron Collinder) ของห้องปฏิบัติการเซิร์น (CERN) อันเป็นองค์กรการวิจัยด้านนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยตามหลักกลศาสตร์ควอนตัมต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้อนุภาคที่สามารถเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาคนั้นมีความยาวคลื่นสั้นลง จนเล็กพอที่จะเห็นมิติที่ขดซ่อนอยู่ได้
โลกคู่ขนานแบบควอนตัม (quantum parallel universe) ซึ่งพัฒนามาเมื่อประมาณ ค.ศ.1957 โดยนักฟิสิกส์ชื่อ ดร.ฮิวจ์ เอเวอร์เรต (Dr.Hugh Everett) เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคในทฤษฎีควอนตัมด้วยการสมมติว่ามีโลกคู่ขนานอยู่ การวัดสำหรับควอนตัมเป็นเรื่องของโอกาสและความเป็นไปได้ของความจริงต่าง ๆ มากมายนับไม่ถ้วน โดยทุก ๆ เหตุการณ์ใดที่มีทางเลือกมากกว่าหนึ่ง จะเกิดเหตุการณ์ในทิศทางตรงการข้ามขึ้นมาเสมอและแตกตัวออกไปไม่รู้จบ เช่น เมื่อถึงทางแยกซ้ายและขวา แล้วคุณจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เมื่อในโลกของคุณ คุณเลือกที่จะไปทางซ้าย ในอีกโลกคู่ขนานจะเลือกในทิศทางตรงกันข้ามโดยเป็นความจริงที่เกิดขึ้นทั้งสองโลก แล้วถ้าหากเป็นแบบนั้น จะทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า หากเราย้อนกลับไปในอดีตเพื่อแก้ไขบางสิ่งบางอย่างที่เคยทำผิดพลาด อนาคตของเราจะเปลี่ยนไปหรือไม่ คำตอบคือไม่เปลี่ยน เพราะถึงเราจะย้อนกลับไปเพื่อบอกให้ตัวเองเลือกอีกอย่างหนึ่ง อนาคตของเราก็จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะทุก ๆ เหตุการณ์ จะเกิดเหตุการณ์ในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ คือ หากคุณย้อนกลับไปบอกตัวคุณในอดีต ให้เลือกอีกทาง คนที่เลือกในทิศทางตรงกันข้ามในวันนั้นไม่ใช่ตัวคุณในวันนี้ในมิติปัจจุบันที่คุณอยู่ หากแต่เป็นตัวคุณที่จะเลือกในทิศตรงกันข้ามอยู่แล้วในเหตุการณ์วันนั้นซึ่งเกิดผ่านมาแล้ว ฉะนั้นอนาคตของคุณก็จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นโลกคู่ขนานกับที่คุณอยู่นั้นเอง
แล้วคุณล่ะเชื่อและเข้าใจในโลกคู่ขนานดีพอแล้วหรือยังล่ะ
ผลงานอื่นๆ ของ โจเกอร์ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ โจเกอร์
ความคิดเห็น