ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

    ลำดับตอนที่ #15 : RP | วิชาศิลปะการเอาตัวรอด

    • อัปเดตล่าสุด 7 ส.ค. 58


    ACADEMY CRIMINAL

    สถาบันนักล่า(ฆ่า)อาชญากร

    วิชาศิลปะการเอาตัวรอด


    Japan
    Professor’s Art of survive

    Japan’s talk : สวัสดี Criminors ทุกคนในสถาบันด้วยนะครับ (ตาปรือ) ขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการนะครับ กระผม นายเจแปน จะมาทำหน้าที่อาจารย์สอนวิชาศิลปะการเอาตัวรอดในคลาสเรียนนี้ เด็กเก่าจาก CDS และเด็กโดมบุกแหลกของผมคงรู้จักผมดี ผมไม่ใช่คนถือตัวอะไร เพราะฉะนั้น ..... (เริ่มสะอึกออกมาเป็นกลิ่นเหล้า) ขอโทษที เมื่อวานเจ้าแบล็คเบิร์ดชวนกินวอดก้า เลยดื่มหนักไปหน่อย เอิ๊กกก (เลอก่อนจะรีบปิดปากตัวเองเพราะเหมือนจะอาเจียน)

    รุจ : มองดูท่าทางของคนตรงหน้าอย่างไม่ค่อยใส่ใจเท่าไหร่ มันคงจะเป็นบุคลิกของเขานั่นแหละ

     

    วิชาศิลปะการเอาตัวรอด
    การส่งงานในห้องเรียน
     50 คะแนน
    สอบข้อเขียน
     50 คะแนน

    วันนี้เริ่มเรียนกันเลยแล้วกันนะ ... เอิ๊กกกกก (กดรีโมทฉายเนื้อหาก่อนจะหลับฟุบกับโต๊ะ)

     

     

    LESSON#4 : รถจมน้ำ/หนีตายในกองเพลิง

     

    ทำอย่างไรเมื่อรถยนต์ตกน้ำ 

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์นั้นถือเป็นปัจจัยที่ ๕ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน การเดินทางไปไหนมาไหนด้วยรถยนต์ถือเป็นการเดินทางที่แพร่หลาย
    ที่สุดในโลก และการเดินทางแต่ละครั้งก็จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นความไม่ประมาทใน
    ขณะขับขี่รถยนต์ จะทำให้เกิดความปลอดภัยในที่สุด

                การที่ตนเองไม่ประมาทก็ใช่ว่าจะปลอดภัยได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เสมอไป เพราะว่าบนถนนนั้น มีรถยนต์วิ่งไปมาเป็นจำนวนมากมาย ผู้คนที่ขับขี่รถยนต์ก็มีความ
    สามารถในการขับขี่ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งก็อาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน แต่ถ้ากรณีที่รถยนต์ประสบอุบัติเหตุตกน้ำ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุอย่างหนึ่งที่มีข่าวเกิดขึ้นบ่อย
    ครั้ง แต่ละครั้งผู้ขับขี่หรือผู้ที่โดยสารร่วมอยู่ด้วย มีโอกาสน้อยมากที่จะรอดชีวิตอย่างน่าเสียดาย เป็นเพราะเพียงคิดง่ายๆ ว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องไกลตัว  ไม่น่าจะเกิด
    กับตัวเรา



    เมื่อรถยนต์ตกน้ำ

                ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า เรายังมีเวลาพอที่จะทำอะไร หรือแก้ไขอะไรได้ เพราะขณะที่รถยนต์ตกน้ำ (รถยนต์ส่วนบุคคลสมัยนี้เกือบ ๑๐๐ % มักจะปิดกระจกใน
    ขณะขับขี่) ดังนั้น รถจะไม่จมลงในทันที แต่จะค่อย ๆ จมลงอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่องประมาณ ๑๗ - ๒๐ วินาที

    ขั้นตอนการเอาตัวรอดทำอย่างไร คัดจาก : หนังสือนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๓ เล่มที่ ๑๑ )

    1. อันดับแรกสำคัญมากที่สุด คือต้องตั้งสติให้มั่น (นับหนึ่งถึงสิบไม่ได้เพราะเวลาจะหมดไปโดยเปล่าประโยชย์) ให้คิดง่าย ๆ ว่า 'มันไม่ยากเกินไปที่จะแก้ไข
      เมื่อมีสติ'
    2. ขณะที่รถยนต์กำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่จะตกน้ำ อย่าปลดเข็มขัดนิรภัยออกจนกว่ารถจะหมดแรงกระแทก หลายคนเมื่อเห็นว่ารถกำลังเคลื่อนที่จะลงน้ำ
      ก็จะปลดเข็มขัดนิรภัยออกในทันที ซึ่งกรณีนี้อาจทำให้ศีรษะไปกระแทกจากแรงประทะของผิวน้ำได้
    3. ทันทีเมื่อรถยนต์นิ่งสงบอยู่ในน้ำ ไม่ควรเปิดประตูรถเพราะแรงดันน้ำจากภายนอกจะทำให้ไม่สามารถเปิดประตูได้ (จนท.ตำรวจสหรัฐ พิสูจน์ความจริงข้อนี้
      แล้วว่า จากการนำรถยกห้อยรถในน้ำไว้ครึ่งคัน แล้วให้ตำรวจทั้งที่อยู่ในและนอกรถลองพยายามเปิดประตูรถ แต่ก็ไม่สามารถกระทำได้)
    4. ขณะที่น้ำเข้ารถให้ออกทางหน้าต่างเท่านั้น โดยลดกระจกลง แบบมือหมุน (MANUAL) มีเวลาพอ แต่สำหรับกระจกไฟฟ้าจากสถานการณ์จำลองพบว่า แม้
      รถจะจมอยู่ในน้ำระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้ดีอีกประมาณ ๑๐ นาที ถึงแม้เครื่องยนต์จะดับ ไม่ต้องกลัวไฟช็อต เพราะในรถยนต์จะใช้ไฟกระแส
      ตรง (D.C.) ไม่เหมือนไฟบ้านที่เป็นกระสลับ (A.C.) ซึ่งเมื่อโดนน้ำแล้วช็อตเลย ฉะนั้นในรถยนต์จะไม่มีการช็อต การทำงานของกระจกไฟฟ้าไม่กี่วินาทียังพอ
      มีเวลาที่จะทำงานได้
    5. สูดลมหายใจให้เต็มที่และค่อยๆ เอาตัวออกที่ช่องหน้าต่าง ถึงแม้ช่วงที่เอากระจกลงจะมีน้ำไหลเข้ามาในรถก็ตาม ตัวเราก็สามารถว่ายน้ำออกทางหน้าต่าง
      ได้ ไม่ต้องห่วงข้าวของมีค่า ถ้ามีผู้โดยสารมาด้วยก็บอกให้กระทำเช่นเดียวกัน หากมีเด็กให้หนีบเด็กนั้นออกมากับตัวท่านได้อีกหนึ่งคน ดังนั้น แม้เวลาเสี้ยว
      วินาที ก็ต้องรีบกระทำดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
    6. กรณีไม่สามารถออกทางหน้าต่างได้ (เปิดหน้าต่างไม่ได้) ไม่ว่าสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ข้อควรปฏิบัติต่อไป คือ ให้ปลดล็อกประตูที่เป็นทางออก (MANUAL)
      ถ้าเป็นประตูไฟฟ้าก็ต้องกดปลดล็อก (เหตุผลเดียวกับข้อ 4) เมื่อน้ำเข้ามาในรถมากพอเกือบถึงหลังคา หลังความดันภายนอกและภายในรถใกล้เคียงกันแล้ว
      ก็ให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุด แล้วนำตัวออกจากห้องโดยสารของรถได้ ท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติ หรือ จะว่ายขึ้นมาก็ได้
      ในกรณีหากน้ำลึกมาก ๆ อาจจะมองไม่เห็นว่าทิศใดเหนือหรือใต้น้ำ เพราะว่ามืดไปหมด ไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำ เพราะอาจว่ายน้ำไปทางทิศที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ 
      ในกรณีนี้ควรปล่อยให้ตัวลอยขึ้นตามธรรมชาติ หรือลองเป่าอากาศดูฟองว่าลอยขึ้นทางทิศใด ก็ให้ว่ายไปทางทิศของฟองอากาศลอยไป เช่นนี้แล้วจะไม่มี
      อาการหลงน้ำ
    7. เมื่อไม่สามารถเปิดประตูหรือลดกระจกลงได้เนื่องจากเกิดแรงกระแทกและชน (เกิดอุบัติเหตุ) ก่อนรถจะตกน้ำ ขั้นตอนต่อไปควรหาของแข็งมาทุบกระจก
      เครื่องมือประจำรถที่เหมาะสมที่สุด คือ เหล็กขันน็อตที่มีอยู่ในถุงอะไหล่ รถกระบะทุกชนิดไม่ว่าสี่ประตู หรือ CAB จะเก็บถุงเครื่องมือไว้ใต้เบาะหลัง หรือ
      ส่วนที่อยู่ในเก๋งด้านหลัง ส่วนรถเก๋งต้องหาวัสดุที่เป็นเหล็กหรือของแข็งพอที่จะทุบให้กระจกแตกได้ กระจกที่เลือกทุบ
      มีหลักอยู่ว่ากระจกหน้าหลังจะเป็น
      กระจกนิรภัยออกแบบให้แตกยาก ควรทุบกระจกด้านข้างเมื่อสู้แรงดันน้ำได้ หรือ ให้แรงดันน้ำในและนอกใกล้เคียงกันแล้วให้นำตัวออก  มีความเป็นไปได้
      กรณีไม่สามารถทุบกระจกข้างให้แตกได้ เพราะแรงดันน้ำภายนอก วิธีต่อไปให้เลือกทุบกระจกหลังเพราะเป็นส่วนที่จมน้ำหลังสุด (เพราะส่วนหัวจะจมก่อน)
    8. อย่าตามอากาศอย่างเด็ดขาด การเสียชีวิตเนื่องจากติดอยู่ในรถก็เพราะผู้เสียชีวิตพยายามตามอากาศที่ไหลไปรวมกันอยู่หลังรถ เพราะหน้ารถพุ่งลงน้ำ
      (เครื่องยนต์อยู่ด้านหน้า) หัวรถจะจมน้ำก่อนแล้วท้ายรถก็จะโด่งขึ้นอากาศจึงไหลไปรวมกันที่นั่งหลัง อากาศที่อยู่หลังรถดูเหมือนจะมีให้หายใจได้ แต่เมื่อ
      จมลงไปเรื่อย ๆ ตัวรถจะเริ่มตั้งฉากอากาศจะถูกบีบออกทางกระโปรงหลังภายในไม่กี่นาที
    9. การตัดสินใจปฏิบัติตามขั้นตอน ควรทำอย่างรวดเร็วเพราะไม่สามารถทายได้ว่าก้นน้ำจะมีความลึกมากแค่ไหน ภูมิประเทศใต้น้ำอย่างไร ถ้าเป็นโคลนโอกาส
      รอดก็จะมีน้อยทีเดียว

                จากสาระเล็กๆ น้อยๆ นี้เชื่อว่าน่าที่จะเป็นประโยชย์ได้บ้าง เมื่อผู้ประสบภัยรถตกน้ำและพอที่จะจำขั้นตอนการปฏิบัติได้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะนำไปปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ หรือถ่ายทอดกับผู้อื่น และมีผู้ปฏิบัติรอดชีวิตสักเพียงหนึ่งคนก็จะเป็นอานิสงส์อย่างยิ่ง / นว.สส. เรียบเรียง

     

    เมื่ออยู่ในกองเพลิง

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยได้ให้ข้อแนะนำว่า การออกไปอยู่ในอาคารปิดทึบ ไม่ว่าจะเป็นผับ บาร์ หรือห้างสรรพสินค้า สิ่งที่พึงกระทำเป็นอันดับต้น ๆ คือการมองหาทางหนีไว้อย่างน้อย 2 ทาง เช่น สังเกตตำแหน่งบันไดหลักและบันไดหนีไฟ ประตู หน้าต่าง เส้นทางหนีไฟ และทางออกจากตัวอาคาร และจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ทางออกนั้นไม่ได้ปิดล็อกหรือมีสิ่งกีดขวาง สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยจริง

              นอกจากนี้ ต้องสังเกตอุปกรณ์ช่วยชีวิตและอุปกรณ์เตือนภัยว่ามีอยู่หรือไม่ เป็นแบบใด อยู่ที่ไหน จำนวนและใช้อย่างไร ได้แก่ เครื่องดักจับควัน (Smoke Detectors) เครื่องดักจับความร้อน (Heat Detectors) อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ (Sprinkler) อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน (Fire/Emergency Alarm) และเครื่องดับเพลิง (Fire Extinguisher)


     


    วิธีการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้

              1. ต้องควบคุมสติให้ได้ อย่าตื่นกลัวจนทำอะไรไม่ถูก แล้วเปิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้(ถ้ามี) และหากได้ยินสัญญาณเตือนไฟไหม้ ให้รีบออกจากตัวอาคารทันที อย่าเสียเวลาตรวจสอบว่าเพลิงไหม้ที่ใด 

              2. หากเพลิงมีขนาดเล็ก พอที่จะดับเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิง เพื่อดับไฟ หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่สามารถดับเพลิงเองได้ ให้รีบแจ้งตำรวจดับเพลิง โทร. 199 จากนั้นรีบออกจากตัวอาคารทันที และปิดประตู-หน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุดทันที (ถ้าทำได้) เพื่อให้เกิดภาวะอับอากาศ วิธีนี้จะช่วยให้เพลิงไหม้ช้าลง ทำให้ง่ายต่อการดับเพลิง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างใน แล้วรีบวิ่งหนีออกมา

              3. หากอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้ ก่อนจะเปิดประตูต้องแตะลูกบิดก่อน โดยนั่งชันเข่าให้มั่นคงหลังประตู แล้วใช้หลังมือแตะที่ลูกบิดประตู ถ้ามีความร้อนสูงแสดงว่ามีเพลิงไหม้อยู่ในห้อง หรือบริเวณใกล้ ๆ ดังนั้น อย่าเปิดประตูโดยเด็ดขาด แต่หากลูกบิดไม่ร้อน ให้ค่อย ๆ บิดออกช้า ๆ โดยใช้ไหล่คอยหนุนประตูไว้ หากทำได้ควรหาผ้าชุบน้ำปิดจมูก หรือผ้าห่มชุบน้ำชุ่ม ๆ ไว้ด้วย

              4. หากต้องเผชิญกับควันไฟที่ปกคลุม ให้ใช้วิธีคลานต่ำ ๆ และหนีไปยังทางออกฉุกเฉิน เพราะอากาศที่พอหายใจได้จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นห้องไม่เกิน 1 ฟุต เนื่องจากผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุเพลิงไหม้ประมาณร้อยละ 90 เป็นผลมาจากสำลักควันไฟ เพราะมีทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไอร้อน ทำให้ขาดออกซิเจน ควรเตรียมหน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน (Emergency smoke mask) ไว้จะปลอดภัยกว่า หรืออาจใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ตักอากาศ แล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควันออกมา เพราะการคลานต่ำจะไม่สามารถทำได้จากชั้นบนลงชั้นล่างที่มีควัน

              5. อย่าใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนขณะเกิดเพลิงไหม้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะหยุดการทำงานเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า ให้ใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น

              6. หากติดอยู่ในวงล้อมของไฟ ให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิงว่าท่านอยู่ที่ตำแหน่งใดของเพลิงไหม้ แล้วหาทางช่วยเหลือตัวเองโดยปิดประตูให้สนิท หาผ้าหนา ๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันเข้าได้ เช่น ใต้ประตูหรือช่องลมต่าง ๆ ปิดพัดลมและเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่างส่งสัญญาณด้วยการใช้ไฟฉายหรือผ้าโบก และตะโกนขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่อให้คนนอกอาคารรู้ตำแหน่งที่แน่นอน

              7. หากมีไฟลามติดตัว อย่าเพิ่งวิ่ง เพราะยิ่งวิ่ง... ไฟจะยิ่งลุกลาม ให้หยุดนิ่ง และล้มตัวลงนอนกับพื้นทันที หลังจากนั้นให้ใช้มือปิดหน้า กลิ้งตัวทับเสื้อผ้าที่ติดไฟจนดับ

              8.ถ้าหนีออกมาได้แล้ว ไม่ควรกลับเข้าไปในอาคารอีก หากยังมีคนอื่นติดอยู่ภายในอาคาร ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทราบ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่

     


    การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

               1. ใช้น้ำสะอาด ราด รด หรือแช่ผู้บาดเจ็บจากไฟลวก เพื่อลดความเจ็บปวดของบาดแผล หยุดการทำลายจากความร้อน

               2. หากผู้บาดเจ็บสวมแหวน นาฬิกา กำไล ให้รีบถอดออก เพราะไม่นานบริเวณที่ถูกความร้อนจะเกิดอาการบวม

              3. ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนพันบาดแผลไว้ และรีบนำส่งโรงพยาบาล

    สิ่งที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า

              1. บันไดหนีไฟ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะช่วยให้เราออกจากสถานที่เกิดเหตุได้ พวกอาคารสูงๆ นั้นก็ต้องมีบันไดหนีไฟไว้ด้วย แต่ถ้ามีบันไดแล้วใช้ไม่เป็นก็ไม่ดีแน่ค่ะ นี่คือข้อแนะนำในการใช้บันไดหนีไฟ

              - ควรมีการตรวจสอบสภาพของบันไดหนีไฟให้พร้อมใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา

              - ควรซักซ้อมความเข้าใจในการใช้บันไดหนีไฟ

              - หากมีลูกกรงเหล็กดัด ต้องทำกลอนประตูที่เปิดออกได้ง่าย ไม่ควรคล้องกุญแจเด็ดขาด

              2. อุปกรณ์ดับเพลิง ควรมีไว้ประจำบ้าน ประจำชั้นต่าง ๆ ของตึก และต้องเรียนรู้การใช้เครื่องดับเพลิงด้วย

              3. วัตถุไวไฟ ควรเก็บให้มิดชิด หากไม่จำเป็นจริง ๆ ควรเก็บไว้นอกที่พักจะดีกว่า 

              4. อุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดี ควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอ หากพบว่าชำรุดต้องรีบแก้ไข ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันทีเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว ซึ่งเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้

              5. อย่าใช้ลิฟต์ขณะเกิดเพลิงไหม้ เพราะลิฟต์จะเป็นช่องทางให้ควัน ความร้อนและเปลวไฟผ่าน และยิ่งถ้ากระแสไฟถูกตัดขาด รับรองว่าติดอยู่ในลิฟต์ตายแน่นอน

              6. อย่าหวงข้าวของต่าง ๆ อย่าคิดว่ามีเวลาเหลือพอที่จะกอบโกยข้าวของออกมา ควรรีบหนีไฟออกมาก่อนดีกว่า เงินทองของนอกกาย ไม่ตายก็หาเอาใหม่ได้ 

              หวังว่าข้อแนะนำต่าง ๆ เหล่านี้ คงเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญคือการมีสติเท่านั้นที่จะช่วยให้เรารอดชีวิตได้

     

     

    ไสลด์ยังฉายต่อไปจนหมดแผ่นก่อนที่เสียงกริ่งจะดังขึ้น เจแปนสะดุ้งก่อนจะรีบเช็ดน้ำลายของตัวเอง เด็ก ๆ ในคลาสกำลังเก็บของกันเตรียมจะออกจากห้อง

     

    เฮ้อย่าลืมทำการบ้านบนไสลด์ด้วยนะ เดี๋ยวช่วงเย็น ๆ จะมีคนมารับพวกนายไปทำภารกิจ

     

    รุจ : ภารกิจบ้าอะไรกันที่จะต้องเสี่ยงตายขนาดนั้น ไม่มีเหตุผลเลย ชายหนุ่มได้แต่คิดในใจก่อนที่จะออกจากห้องไป ถ้าเขาตายขึ้นมาใครมันจะรับผิดชอบกัน

     

    การบ้านวิชาศิลปะการเอาตัวรอด

    คำสั่ง นักเรียนทุกโดมถูกวางยาสลบหลังจากที่ออกจากคลาสไปและพาตัวไปปฏิบัติภารกิจเสี่ยงตาย ทุกคนต้องอธิบายวิธีการหนีตายออกมาจากบริเวณที่กำหนดให้ได้

    Spinel Dormitory / = พวกหนู ๆ เป็นโดมที่ผมดูแลอยู่ เพราะฉะนั้นจะเป็นโดมพิเศษที่ได้ถูกส่งไปยังตึกที่เกิดเพลิงไหม้ หนีตายจากตึกที่กำลังเกิดเพลิงไหม้โดยที่นักเรียนอยู่คนละห้องกัน

    *คำอธิบายเพิ่มเติม ตึกนี้เป็นโรงแรมหรู ถูกแบ่งออกเป็น 5 ชั้น ชาวสปิเนลจะอยู่ชั้นสุดท้าย ประตูทางออกดาดฟ้าถล่ม แน่นอนว่าอีก 4 ชั้นไฟก็ลามไปบางส่วนแล้ว ชั้นสุดท้ายจะเป็นห้องนอนและห้องเต้นรำ {สามารถลงมาทางลิฟต์ได้ถ้ากล้าพอ/พังประตูหนีไฟได้ถ้าแข็งแรงพอ/จุดสิ้นสุดคือทางเข้า-ออกโรงแรมเท่านั้น}
    ขุนแผน ห้องนอน 407
    ยูริ ห้องเต้นรำ
    มุกดา 
    ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
    โย 
    ห้องนอน 405
    นักรบ 
    ห้องจ่ายไฟ
    อัง 
    ห้องเต้นรำ  

     

    Canalian Dormitory / Quartz Dormitory /  Topaz Dormitory = อยู่ในรถมือสองที่ใกล้จะจมน้ำเต็มที หาทางรอดออกมาจากรถให้ได้นะ ^^

    ขอย้ำขอย้ำนี่คือการปฏิบัติการจริงของนักล่าอาชญากรทุกท่าน เอาตัวรอดกลับมาส่งงานให้ได้นะ

    เงื่อนไข
    - อธิบายการทำภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
    - คะแนน 50 คะแนน

    กำหนดส่งวันที่ 3 -  8 สิงหาคม 2558 เวลา 00.00 น.
    - ส่งงานที่บาร์ของโดมสปิเนล

    ค่าตอบแทนเมื่อทำงานสำเร็จ
    Tact Skill +9
    - Body Skill + 12
    - Note Skill + 9
    - Decision Skill +7
    - Life +10
    คะแนนงานที่ได้ (ได้ไม่เท่ากัน)

    เมื่อทำงานไม่สำเร็จ!
    - Life-20
    โดนขึ้นป้ายรายงานที่หน้ากระดานคะแนน (เกิน 3 ครั้ง ตาย!)


    O W E N TM.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×