ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานพื้นบ้านFolk legends. 

    ลำดับตอนที่ #21 : ยอดเขาเอเวอเรสต์

    • อัปเดตล่าสุด 4 เม.ย. 54


    ยอดเขาเอเวอเรสต์

     

    ยอดเขาเอเวอเรสต์ (อังกฤษ: Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย

    ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต

    โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า)

    ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: 珠穆朗 [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)

     

    ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า

    (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์)

    ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)

     

    คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก

    แต่สำหรับชาวเชอร์ปา(Sherpa) และนักปีนเขา(climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย

    การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว

     

    ยอดเขาเอเวอเรสต์

     

     
    ยอดเขาเอเวอเรสต์เมื่อมองจากยอดเขากาฬปัตตาร์(Kala Pattar)

    ความสูงจากระดับน้ำทะเล:8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต)
    อันดับ 1 ในบรรดายอดเขาแปดพันเมตร(Eight-thousander)

    พิกัดภูมิศาสตร์: 27°59′17″N, 86°55′31″Eพิกัดภูมิศาสตร์: 27°59′17″N, 86°55′31″E[1]

    ที่ตั้ง:พรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต

    เทือกเขา:หิมาลัย

    การไต่ขึ้นสู่ยอดเขาครั้งแรก(first ascent) :โดย เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี (Edmund Hillary) และ เตนจิง นอร์เก (Tenzing Norgay)
    ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953

    เส้นทางปีนเขา(climbing route) ที่ง่ายที่สุด:จากเซาท์โคล(South Col) ประเทศเนปาล

     

    เนื้อหา

    1 ที่สุดของความสูง

    2 การพิชิตยอดเขา

    2.1 ความพยายามพิชิตยอดเขาโดยคนไทย

    3 ความเชื่อ

    4 อ้างอิง

    5 ดูเพิ่ม

    ที่สุดของความสูง

     

    เมื่อปี ค.ศ. 1952 รัฐนาถ สิกดาร์(Radhanath Sikdar) นักคณิตศาสตร์และนักสำรวจจากเบงกอล(Bengal) เป็นคนแรกที่ประกาศว่าเอเวอเรสต์คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จากการคำนวณทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยข้อมูลที่วัดด้วยกล้องส่องแนว(theodolite) ในที่ที่ไกลจากยอดเขาไป 150 ไมล์ ณ ประเทศอินเดีย

     

    ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางสำรวจไปที่ยอดเขา เพื่อคำนวณความสูงของยอดเขา

     

    ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานสำรวจและทำแผนที่แห่งชาติจีน ได้ทำการวัดครั้งล่าสุด พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) และอาจมีการคลาดเคลื่อนจากการวัดเล็กน้อย

     

    ในปี ค.ศ. 1956 ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล

     

    อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอส (Global Positioning System) แล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร

    ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาใหม่ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปี จึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร

     

    เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลก(Tectonic plate) ยังคงชนกันอยู่

     

    ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเมื่อวัดจากระดับน้ำทะเล แต่ก็ยังกล่าวได้ไม่เต็มปากเต็มคำนักว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก

     

    เนื่องจากมีอีกสองยอดเขาที่ดูจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อใช้เกณฑ์การวัดที่ต่างกัน

    ยอดเขาแรกคือ ยอดเขาเมานาโลอา(Mauna Loa) ในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งถ้าวัดความสูงจากฐานที่จมอยู่ในทะเลแล้วจะพบว่ายอดเขานี้สูงกว่า 9 กิโลเมตร เลยทีเดียว แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาเมานาโลอาจะสูงเพียง 13,680 ฟุต หรือ 4,170 เมตรเท่านั้น

     

    อีกยอดเขาหนึ่งคือ ยอดเขาชิมโบราโซ(Mount Chimborazo) ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ถ้าวัดจากจุดศูนย์กลางโลกแล้วจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ 2,150 เมตร

    ทั้งนี้เพราะโลกมีลักษณะป่องตรงกลาง แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาชิมโบราโซมีความสูง 6,272 เมตร

     

    เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร มีความลึกมากกว่าความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์

    โดยร่องลึกแชลเลนเจอร์(Challenger Deep) ในร่องลึกบาดาลมาเรียนา(Mariana Trench) นั้นลึกมากเสียจนถ้าวางยอดเขาเอเวอเรสต์ลงไป ยอดเขาเอเวอเรสต์จะยังคงจมอยู่ในน้ำเป็นระยะทางเกือบไมล์

     

    การพิชิตยอดเขา

     

    ภาพภูเขาเอเวอเรสต์ในมุมกว้าง

     

    ประวัติการเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

    ในปี ค.ศ. 1921 คณะเดินทาง(expedition) จากอังกฤษคณะแรกได้เดินทางมาเพื่อสำรวจหาเส้นทางการข้ามธารน้ำแข็งรงบุก(Rongbuk Glacier) โดยเดินทางขึ้นเขาจากจีนทิเบตทางทิศเหนือ เนื่องจากในขณะนั้น เนปาล ทางทิศใต้ยังคงปิดประเทศอยู่

     

    ในปี ค.ศ. 1922 นักปีนเขาชาวเชอร์ปาเจ็ดคนเสียชีวิตจากหิมะถล่ม(avalanche) นับเป็นครั้งแรกของการเสียชีวิตบนยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ถูกบันทึกไว้ ในปีเดียวกันนี้ คณะเดินทางจากอังกฤษคณะที่สองได้ไต่ขึ้นสู่ระดับความสูง 8321 เมตร

     

    ในปี ค.ศ. 1924 คณะเดินทางจากอังกฤษคณะที่สามเดินทางเข้าใกล้ยอดเขาเอเวอเรสต์ จอร์จ มัลลอรี(George Mallory) และ แอนดรู เออร์ไวน์(Andrew Irvine) ตัดสินใจเดินทางขึ้นสู่ยอดเขา การเดินทางของเขาทั้งสองในครั้งนี้เป็นการเดินทางที่ไม่มีวันหวนกลับ วันที่ 8 มิถุนายน เวลา 12.50 น. นักเดินทางคนอื่น ๆ เห็นทั้งสองอยู่ไม่ไกลจากยอดเขา จากนั้นมีเมฆลอยมาปกคลุม และไม่มีใครเห็นทั้งสองคนนี้อีกเลย

     

    ในปี ค.ศ. 1979 หวังฮงเป่า(Wang Hongbao) นักปีนเขาชาวจีนบอกกับเพื่อนร่วมทางว่าเขาพบศพศพหนึ่งในปี ค.ศ. 1975 และนั่นน่าจะเป็นศพของเออร์ไวน์ แต่โชคไม่ดีที่หวังฮงเป่าตกเขาเสียชีวิตไปก่อนที่จะได้บอกอะไรเพิ่มเติม

     

    ในปี ค.ศ. 1999 คณะเดินทางวิจัยมัลลอรี-เออร์ไวน์(Mallory and Irvine Research Expedition) ได้พบศพของมัลลอรีใกล้แคมป์จีนเก่า ส่วนศพของเออร์ไวน์นั้น แม้จะมีการค้นหาอย่างหนักหน่วงในปี ค.ศ. 2004 แต่ก็ยังไม่พบ

     

    เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปีนเขาว่ามัลลอรีและเออร์ไวน์ได้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์แล้วหรือไม่

    นักปีนเขาส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามัลลอรีและเออร์ไวน์ได้ไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์

     

    เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าทั้งคู่ได้ไปถึงหินขั้นที่สอง (การไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์จากทางด้านเหนือต้องผ่านหินสามขั้น)

     

    แต่นักปีนเขาทั้งหลายเชื่อว่าถ้าทั้งคู่ผ่านตรงนี้ไปได้ การไปถึงยอดเขาก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก เพราะไม่มีอุปสรรคใหญ่ใดๆ อีกแล้ว

     

    ในระยะแรก การเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาใช้เส้นทางด้านเหนือจากดินแดนจีนทิเบต แต่เส้นทางนี้ได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1950 หลังจากประเทศจีนเข้ายึดครองทิเบต ในขณะที่ประเทศเนปาล ได้เริ่มเปิดประเทศให้คนภายนอกเดินทางเข้าประเทศได้ในปี ค.ศ. 1949

     

    ในปี ค.ศ. 1951 คณะเดินทางจากอังกฤษเดินทางเข้าสู่ประเทศเนปาลเพื่อสำรวจเส้นทางปีนเขาเส้นใหม่ที่อยู่ด้านใต้ของเทือกเขา

     

    ในปี ค.ศ. 1952 คณะเดินทางจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พยายามขึ้นสู่ยอดเขาจากทางด้านใต้ โดยอาศัยข้อมูลของคณะเดินทางจากอังกฤษ ซึ่งทีมของ เรย์มอนด์ แลมเบิร์ต(Raymond Lambert) และ เตนจิง นอร์เก เกือบจะขึ้นสู่ยอดเขาได้ แต่ต้องถอยกลับเสียก่อนขณะที่เหลือระยะทางอีก 200 เมตรเท่านั้น

     

    ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน คณะเดินทางจากสวิสได้พยายามอีกครั้ง แต่ก็ไต่ได้ในระดับที่ต่ำกว่าเดิม

    ในปี ค.ศ. 1953 คณะเดินทางจากอังกฤษนำทีมโดย จอห์น ฮันต์(John Hunt) ได้กลับมาที่ประเทศเนปาล และพยายามขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์อีกครั้ง เมื่อคณะเดินทางไต่ขึ้นใกล้ยอดเขา จอห์น ฮันต์ ได้เลือกนักปีนเขาหนึ่งคู่ให้ไต่ขึ้นไปสู่ยอดเขา แต่นักปีนเขาคู่นี้อ่อนแรงเสียก่อน และไม่สามารถขึ้นไปสู่ยอดเขาได้

     

    ในวันถัดมา จอห์น ฮันต์ เลือกนักปีนเขาอีกคู่หนึ่งคือ เอดมันด์ ฮิลลารี ชาวนิวซีแลนด์ และ เทียนซิง นอร์เก ชาวเชอร์ปาร์ นักปีนเขาคู่นี้เองที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ลงได้เป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ที่ยอดเขาทั้งสองได้หยุดพักถ่ายรูป รวมทั้งฝังลูกอมและไม้กางเขนเล็ก ๆ ไว้ในหิมะก่อนจะเดินทางกลับ

     

    ข่าวความสำเร็จของคณะเดินทางไปถึงลอนดอน ในเช้าวันที่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่สองขึ้นครองราชย์ และหลังจากที่ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี และ จอห์น ฮันต์ กลับมายังกาฐมัณฑุ ทั้งสองก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวิน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความพยายามและความสำเร็จในครั้งนี้

     

    แม้ยอดเขาเอเวอเรสต์จะถูกพิชิตลงได้อย่างเป็นทางการ แต่มนต์ขลังของยอดเขาแห่งนี้ก็ใช่ว่าจะหมดไป นักปีนเขาทั้งหลายทั่วทุกสารทิศจากทุกมุมโลกต่างก็อยากพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ให้ได้ซักครั้งในชีวิต

     

    นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 เป็นต้นมา ความพยายามในการขึ้นไปสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งสำคัญๆ มีดังนี้

     

    ในปี ค.ศ. 1960 วันที่ 25 พฤษภาคม นักปีนเขาชาวจีนสามารถขึ้นถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ได้โดยใช้เส้นทางด้านเหนือ

     

    ในปี ค.ศ. 1963 วันที่ 22 พฤษภาคม ทอม ฮอร์นเบียน และวิลลี อันโซลด์ ชาวอเมริกัน ขึ้นถึงยอดเขาโดยใช้เส้นทางด้านทิศตะวันตก ค้างคืนที่ระดับความสูง 8,400 เมตร และเดินทางกลับตามเส้นทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

     

    ในปี ค.ศ. 1965 วันที่ 20 พฤษภาคม นาวาง กมบุ (Nawang Gombu) ชาวเชอร์ปา เป็นคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สองครั้ง

     

    ในปี ค.ศ. 1975 วันที่ 16 พฤษภาคม จุนโกะ ตาเบอิ (Nawang Gombu) ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้สัมผัสยอดเขาเอเวอเรสต์

     

    ในปี ค.ศ. 1978 ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ (Reinhold Messner)(Reinhold Messner) ชาวอิตาลี และ ปีเตอร์ ฮาเบเลอร์ (Peter Habeler)(Peter Habeler) ชาวออสเตรีย เป็นสองคนแรกที่ขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ได้โดยไม่ใช้ถังออกซิเจน(oxygen tank)

     

    ในปี ค.ศ. 1980 ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ (Reinhold Messner) เป็นมนุษย์คนแรกที่ขึ้นสู่ยอดเอเวอเรสต์เพียงลำพัง โดยไม่ใช้ถังออกซิเจนสำรอง

    ในฤดูกาลปีนเขาปี ค.ศ. 1996 มีผู้เสียชีวิตจากการปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ทั้งหมด 15 คน นับว่าเป็นปีที่มีผู้เสียชีวิตจากการปีนเขามากที่สุด โดยในวันที่ 10 พฤษภาคม ได้เกิดพายุขึ้นและคร่าชีวิตนักปีนเขาไปทั้งหมด 8 คน ในจำนวนนี้รวมถึง ร็อบ ฮอลล์(Rob Hall) และ สก็อต ฟิชเชอร์(Scott Fischer) สองนักปีนเขาผู้มากประสบการณ์ผู้ถูกจ้างให้นำทางคณะสำรวจ อย่างไรก็ตาม สองผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คือ จอน คราเคอร์(Jon Krakauer) และ เบค เวเธอร์ส(Beck Weathers) ได้กลับมาเขียนหนังสือเล่าประสบการณ์เฉียดตายในครั้งนั้น โดย จอน คราเคอร์ เขียนหนังสือ Into Thin Air และกลายเป็นหนังสือขายดี(bestseller) ในเวลาต่อมา ส่วน เบค เวเธอร์ส ออกหนังสือชื่อ Left for dead

     

    ในปีเดียวกันนั้นเองที่ เดวิด เบรเชียร์ส นักปีนเขาและนักถ่ายทำภาพยนตร์(filmmaker) ได้ถ่ายทำภาพยนตร์ไอแมกซ์ที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยคณะถ่ายทำของเบรเชียร์สอยู่ที่นั่นหลายสัปดาห์และมีโอกาสพบผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ 10 พฤษภา นอกจากนี้ คณะของเบรเชียร์สยังมี จัมลิง เตนจิง นอร์เกย์(Jamling Tenzing Norgay) ซึ่งเป็นลูกชายของ เตนจิง นอร์เกย์ และสามารถพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้พร้อมคณะของเบรเชียร์ส เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อ

     

     

    ในปี ค.ศ. 2001 วันที่ 25 พฤษภาคม เอริก ไวเฮนเมเยอร์ ชาวสหรัฐ เป็นคนตาบอดคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้

     

    เมื่อจบฤดูกาลปีนเขาปี ค.ศ. 2001 มีผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้แล้วทั้งหมด 1491 คน และมีผู้เสียชีวิตจากการปีนเขาทั้งหมด 172 คน

     

    กล่าวได้ว่าที่ยอดเขาเอเวอเรสต์แห่งนี้เป็นที่ที่มีทั้งชีวิตและความตาย ความสำเร็จและความล้มเหลว อย่างไรก็ตาม ยอดเขาเอเวอเรสต์ก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ท้าทายนักปีนเขาต่อไป

     

    ความพยายามพิชิตยอดเขาโดยคนไทย

     

     

    สัญลักษณ์ของโครงการ TITV The Everest: The Unlimited Spirit of Thailand 2007 โดยสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพเรือไทย เมื่อ พ.ศ. 2550

     

     

     

    วิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8:00 น.

     

    ในปี พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพเรือไทย ได้ร่วมมือจัดโครงการส่งนักปีนเขาชาวไทยขึ้นไปพิขิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ในนามโครงการ TITV The Everest: The Unlimited Spirit of Thailand 2007 โดยมีกำหนดที่จะพิชิตยอดเขาให้ได้ในฤดูใบไม้ร่วง (ราวเดือนตุลาคม) ของปี พ.ศ. 2550 เพื่อให้ทันกับงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในปีนั้น แต่ความพยายามครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเลวร้าย

     

    ทีมนักปีนเขาของไทยต้องยอมกลับลงมาหลังจากปีนขึ้นไปถึงระดับความสูงประมาณ 8,500 เมตร[2]

     

    ถือได้ว่าเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ปีนเอเวอเรสต์ขึ้นไปได้สูงเกิน 8,000 เมตร

    (ก่อนหน้านี้มีคนไทยที่สามารถปีนเขาเอเวอร์เรสต์ขึ้นไปถึงระดับ 7,000 เมตร เมื่อปี พ.ศ. 2540 คือ กิ่งแก้ว บัวตูม)

     

    ทีมนักปีนชาวไทยในชุดนี้มีทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย นักปีนเขาและนักเขียนสารคดี 1 คน (อนุกูล สอนเอก) ทหารเรือ 3 คน (เรือตรีไพรัตน์ พลายงาม พันจ่าเอกเทพบุตร กิมจันทร์ และเรือโทภิญโญ รุ่งเรือง) และเจ้าหน้าที่และนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีอีก 5 คน (ดิลก ตามใจเพื่อน, กิตติ จันทร์เจริญ, พิทักษ์ จุลาภา, สุธน ยิ้มดี และวันเพ็ญ สินธุวงษ์)[3]

     

    คนไทยที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จเป็นคนแรกคือ นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช ซึ่งสามารถพิชิตยอดเขาได้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเนปาล ร่วมกับนักปีนเขาชาวเวียดนาม 3 คนจากรายการเรียลลิตี้โชว์ "Conquering Mount Everest 2008" ของสถานีโทรทัศน์วีทีวี ประเทศเวียดนาม (ได้แก่ Phan Thanh Nhien, Bui Van Neogi, Nguyen Mau Linh)[4][5][6]

     

    ความเชื่อ

    ก่อนปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ชาวเนปาลจะเพื่อจัดพิธีบวงสรวงเทพยดาแห่งขุนเขา ซึ่งเป็นการขอขมาและบูชาเทพธิดา "สักการะมาถา" ซึ่งเป็นชื่อของยอดเขาเอเวอเรสต์ แปลว่า พระแม่ผู้เป็นเจ้า [7]

     

    อ้างอิง

    ^ The WGS84 coordinates given here were calculated using detailed topographic mapping and are in agreement with adventurestats. They are unlikely to be in error by more than 2". Coordinates showing Everest to be more than a minute further east that appeared on this page until recently, and still appear in Wikipedia in several other languages, are incorrect.

    ^ http://www.mounteverest.net/news.php?id=16741

    ^ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=28/Sep/2550&news_id=148800&cat_id=200100

    ^ Press Release_May 22, 2008, Ministry of Culture, Tourist and Civil Aviation of Nepal

    ^ http://www.mfa.go.th/web/2597.php?id=19995

    ^ http://www.mfa.go.th/web/2597.php?id=20004

    ^ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=28/Sep/2550&news_id=148800&cat_id=200100

     

    ดูเพิ่ม

    อุทยานแห่งชาติสครมาถา

    เทือกเขาหิมาลัย

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×