ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานพื้นบ้านFolk legends. 

    ลำดับตอนที่ #18 : Animal in the wild Himaphan สัตว์หิมพานต์

    • อัปเดตล่าสุด 4 เม.ย. 54


    สัตว์หิมพานต์

    .::Animal in the wild Himaphan::.

     

            สัตว์หิมพานต์นั้นเป็นสัตว์ในจินตนาการที่กวี จิตรกร ประติมากร หรือช่าง พรรณนาถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว เช่น การนำรูปคนมาปนรูปสิงห์ หรือการนำรูปยักษ์มาปนกับมังกรและลิง

    ป่าหิมพานต์

            และเมื่อพูดถึง สัตว์หิมพานต์ ก็ย่อมต้องนึกถึงที่อยู่ของสัตว์เหล่านี้ด้วย นั่นก็คือ ป่าหิมพานต์ ซึ่งมีตำนานกล่าวไว้ว่าป่าหิมพานต์นั้นตั้งอยู่บน เขาหิมพานต์ หรือ หิมาลายา (หิมาลัย) โดยคำว่า หิมาลายา เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า สถานที่ซึ่งถูกปกคลุมด้วยหิมะ

            ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีป มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ มีทั้งหมด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระ คือ

    • สระอโนดาต
    • สระกัณณมุณฑะ
    • สระรถการะ
    • สระฉัททันตะ
    • สระกุณาละ
    • สระมัณฑากิณี
    • สระสีหัปปาตะ

            ในบรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ โดยยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาว 50 โยชน์ ซึ่งในป่าหิมพานต์นี้จะเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดที่ล้วนแต่แปลกประหลาด และต่างจากสัตว์ที่เรารู้จัก บ้างก็ว่าสัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรที่ได้สร้างสรรค์ภาพต่างๆ จากเอกสารเก่า

    ประเภทของสัตว์หิมพานต์

            นายช่วง สเลลานนท์ ผู้ประพันธ์หนังสือ "ศิลปไทย" ในปี พ.ศ. 2494 จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และปลา โดยเป็นการจำแนกตามความคล้ายคลึงทางสรีรภาพของสัตว์

          กิเลน

            เป็นสัตว์หิมพานต์ที่ได้รับมาจากประเทศจีน เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดในจีน กิเลนตัวผู้กับตัวเมียมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีชื่อเรียกว่า "กิ" ส่วนตัวเมียเรียกว่า "เลน"

            ซึ่งตำนานเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้มีอยู่ในประเทศอื่นด้วย เช่น ประ เทศญี่ปุ่นและเกาหลี ในญี่ปุ่นเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่าคิริน ในไทยเองก็มีรูปกิเลนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และมีรูปลักษณ์ต่างออกไป มี 3 แบบ

    • กิเลนจีน
    • กิเลนไทย
    • กิเลนปีก

        กวาง

            สัตว์ประหลาดที่มีเค้าจากกวางในตำนานหิมพานต์ ได้แก่

    • มารีศ
    • พานรมฤค
    • อัปสรสีหะ   

                                       

        สิงห์

            สัตว์ในป่าหิมพานต์ส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดสิงห์ สิงห์ในตำนานหิมพานต์จำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ


        ม้า

    • ดุรงค์ไกรสร
    • ดุรงค์ปักษิณ
    • เหมราอัสดร
    • ม้า
    • ม้าปีก
    • งายไส
    • สินธพกุญชร
    • สินธพนที
    • โตเทพอัสดร
    • อัสดรเหรา
    • อัสดรวิหค


         
    แรด

            หรือเรียกอีกอย่างว่า ระมาด เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่แรดเป็นสัตว์ป่าหายาก ระมาดที่ปรากฏในศิลปะไทยจึงดูคล้ายตัวสมเสร็จ มีจมูกเป็นงวงสั้นๆ 

         ช้าง

            ตำนานของช้างที่เกี่ยวกับป่าหิมพานต์มีเหตุมาจากความเชื่อของศาสนาฮินดู อันได้แก่

    • เอราวัณ
    • กรินทร์ปักษา
    • วารีกุญชร
    • ช้างเผือก

        วัวควาย

            ไทยและอินเดียเป็นประเทศกสิกรรม สัตว์ประเภทวัวควายจึงมีส่วนสำคัญในการดำรงชีพ ตำนานบางเรื่องจึงมีวัวควายเป็นตัวละคร ได้แก่

    • มังกรวิหค
    • ทรพี
    • ทรพา



       
    ลิง

    • กบิลปักษา
    • มัจฉาน



        
    สุนัข

            ในภาพเขียนเก่าจะเป็นภาพสุนัขมีขนคอหนาและหางเป็นพุ่ม


        
    นก

            เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในป่าหิมพานต์ มีจำนวนมากถึง 28 ชนิด แตกต่างตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่นกที่ได้รับการเคารพสูงสุดสำหรับฮินดู คือครุฑ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของเทพปักษีและเทพกินนร สัตว์หิมพานต์ ประเภทนก ได้แก่

    • อสูรปักษา
    • อสุรวายุพักตร์
    • ไก่
    • นกการเวก
    • ครุฑ
    • หงส์
    • หงส์จีน
    • คชปักษา
    • มยุระคนธรรพ์
    • มยุระเวนไตย
    • มังกรสกุณี
    • นาคปักษี
    • นาคปักษิณ
    • นกหัสดี
    • นกอินทรี
    • นกเทศ
    • พยัคฆ์เวนไตย
    • นกสดายุ
    • เสือปีก
    • สกุณเหรา
    • สินธุปักษี
    • สีหสุบรรณ
    • สุบรรณเหรา
    • นกสัมพาที
    • เทพกินนร
    • เทพกินรี
    • เทพปักษี
    • นกทัณฑิมา

        ปลา

    • เหมวาริน
    • กุญชรวารี
    • มัจฉนาคา
    • มัจฉวาฬ
    • นางเงือก
    • ปลาควาย
    • ปลาเสือ
    • ศฤงคมัสยา

       จระเข้

    • กุมภีนิมิตร
    • เหรา

        ปู

            รูปลักษณะไม่เปลี่ยนจากรูปแบบทางกายภาพจริง แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ 

        นาค

            เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามคติในศาสนาพุทธ และพบได้บ่อยในสถาปัตยกรรมภาษาไทย 

       มนุษย์

    • คนธรรพ์
    • มักกะลีผล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×