ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานพื้นบ้านFolk legends. 

    ลำดับตอนที่ #14 : มุจลินทร์

    • อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 54


    มุจลินทร์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    มุจลินทร์เป็นพญานาคซึ่งปรากฏในพุทธประวัติและปรากฏในพระพุทธรูป ปางนาคปรก โดยพญานาคมุจลินทร์เป็นผู้แผ่พังพานป้องพระสมณโคดมเมื่อเกิดพายุฝนเป็นเวลาเจ็ดวันขณะทรงบำเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพายุฝนผ่านไปแล้ว พญานาคมุจลินทร์จึงเนรมิตกายเป็นมนุษย์และถวายความเคารพต่อพระสมณโคดม ก่อนจะกลับไปยังที่พำนักของตนเอง

    ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน

    ระหว่างที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตัดสินใจพระทัยว่าจะทรงแสดงธรรมโปรดใครเพื่อประกาศพระ

    ศาสนา    นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมานี้    ได้เสด็จแปรสถานที่ประทับแห่งละ    วัน    ที่เห็นอยู่ตามภาพนี้เป็น

    สัปดาห์ที่สาม  และสถานที่ประทับก็เป็นแห่งที่สาม  คือ ใต้ต้นมุจลินทร์  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ

    ต้นพระศรีมหาโพธิ์

           มุจลินทร์เป็นต้นไม้ที่เกิดอยู่ในที่ทั่วไปในประเทศอินเดีย  มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดี  ทั้งประ

    เภทชาดก   และอย่างอื่นมากหลาย    ในเวสสันดรชาดกก็กล่าวถึงสระมุจลินทร์ที่เวสสันดรไปประทับอยู่เมื่อ

    คราวเสด็จไปอยู่ป่า

           ไทยเราแปลต้นมุจลินทร์กันว่าต้นจิก  เข้าใจว่าจะใช่  เพราะดูลักษณะที่เกิดคล้ายกัน  คือ  ชอบ

    เกิดตามที่ชุ่มชื้น  เช่น  ตามห้วย  หนอง  คลอง  บึง  เป็นไม้เนื้อเหนียว  ดอกระย้า  มีทั้งสีขาวและสีแดง   ใบ

    ประมาณเท่าใบชมพู่สาแหรก  ปกติใบดกหนา  เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาดี

           เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่นี่  ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย  ท่าน

    ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า     พญานาคชื่อมุจลินทร์ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้

    เข้าไปวงขนด ๗ รอบ  แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระ

    วรกาย  ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง  พญานาคจึงคลาดขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้า

    ทางเบื้องพระพักตร์

           พระพุทธรูปนาคปรกที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้น    ก็เป็นนิมิตหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดกับพระ

    พุทธเจ้าในปางหรือในตอนนี้   เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา  เพราะเป็นรูปหรือภาพที่

    สอนคนโดยทางอ้อมให้เห็นอานิสงส์หรือผลดีของเมตตา  เพราะแม้แต่พญางูใหญ่ในสระน้ำก็ยังขึ้นจากสระ

    เข้าไปถวายความอารักขาแก่พระพุทธเจ้า  ทั้งนี้พลานุภาพแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธองค์

    งานที่อ้างถึง

    สมุดภาพพระพุทธประวัติ
    ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

    ……………………………………………………………………….

     

     

    สระมุจลินทร์จำลอง



    ต้นมุจลินทร์ สถานที่ประทับเสวยวิมุตติสุขแห่งนี้ อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ประมาณ 2 ก.ม. ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณครึ่งกิโลเมตร อยู่ใกล้กับหมู่บ้านมุจลินทร์ ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จมาเสวยวิมุตติสุขประทับที่โคนไม้มุจลินทร์เป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 6 หลังจากตรัสรู้แล้ว ในช่วงนั้นพายุพัดเมฆฝนมา มีฝนตกพรำตลอด 7 วัน พระยามุจลินทนาคราช ได้เข้าถวายอารักขาด้วยการแผ่พังพานพร้อมด้วยขนด 7 รอบ เพื่อป้องกันความหนาว ลม ฝน แดด เหลือบ ยุง มิให้เบียดเบียนพระพุทธองค์ เมื่อฝนหยุดตกแล้ว มุจลินทนาคราช จึงคลายขนด แล้วจำแลงรูปของตนเป็นมาณพหนุ่ม ถวายนมันการ ณ เบื้องพระพักตร์ พระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก

    งานที่อ้างถึง

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=prommayanee&month=18-03-2009&group=5&gblog=21

    …………………………………………………………………………………………………….

    ต้นจิกบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก
    มีอ่างรูปสี่เหลี่ยมสลักด้วยศิลาจีนปลูกบัวใส่ปลาและเต่าในอ่าง
    ต้นจิกนี้สมมุติเป็น ต้นมุจลินทพฤษ์
    ตามพุทธประวัติกล่าวว่า ในสัปดาห์ที่ ๖
    พระพุทธองค์เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์
    ประทับนั่งใต้ควงไม้จิก เพื่อเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน
    ตลอดสัปดาห์มีฝนตกตลอด พญานาคมุจลินทร์จึงแผ่พังพาน
    ปกพระเกษกันฝนและลมมิให้ต้องพระวรกาย
    ครั้นฝนหายแล้ว ก็คลายขนาดจำแลงเพศเป็นมานพ
    ยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์


    อ่างรูปสี่เหลี่ยมสลักด้วยศิลาจีนปลูกบัว ใต้ต้นจิก-ต้นมุจลินทพฤษ์

     

    งานที่อ้างถึง

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67350&sid=e9824d718fc543700d4b389476d79df7


    ……………………………………………………………………………………………………..

     

    ๗. เกิดวันเสาร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางนาคปรก
    ลักษณะพระพุทธรูป


    ๗. เกิดวันเสาร์
    พระปางนาคปรก


    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองแบวางซ้อนกัน บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร

    ประวัติและความสำคัญ
    ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

    คาถาสวดบูชา
    ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
    โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ

    งานที่อ้างถึง

    http://www.mahamodo.com/tamnai/pra_day8born.aspx

    …………………………………………………………………………………………………….

     

    วันเสาร์

     

    Edit TitleEdit Detail


    พระประจำวันเสาร์

    "ปางนาคปรก"

    พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พ ังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

    ประวัติย่อ...
    ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอ ยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

    บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์..
    ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

    สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาล นาน
    ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว

    งานที่อ้างถึง

    http://www.watnuamkhanon.com/index.php?mo=3&art=242461

    ……………………………………………………………………………………………………………………

    ภาพที่ ๓๐
    ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร
    เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า


     

    เสด็จประทับอยู่ภายใต้ต้นจิก หรือมุจลินท์ตลอด ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า "ราชายตนะ"อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราชายตนะแปลกันว่า ไม้เกด เป็นไม้ที่อยู่ในตระกูลพิกุล ผู้บรรยายเคยเห็นที่ชานพระทักษิณด้านนอกขององค์ปฐมเจดีย์ นครปฐม ที่ทางราชการนำมาปลูกไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นใหญ่แล้ว จำได้ว่าใบเหมือนประดู่

    ตอนพระพุทธเจ้าประอยู่ที่นี่ มีพ่อค้านายกองเกวียนสองคนเข้ามาเฝ้า และนำของมาถวายคนหนึ่งชื่อ "ตปุสส" อีกคนหนึ่งชื่อ "ภัลลิกะ" เดินทางด้วยขบวนเกวียนหลายร้อยเล่ม (ปฐมสมโพธิว่า ๕๐๐เล่ม) มาจากอุกกลชนบท ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้เกด ก็ให้นึกเลื่อมใสจึงนำข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย ข้าวสัตตุนี้ไทยเราเรียกข้าวตู พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า "ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผลเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว"

    พระพุทธเจ้าทรงรับอาหารนายกองเกวียนสองคนนั้นด้วยบาตรศิลาที่ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ นำมาถวาย เสวยเสร็จแล้ว นายกองเกวียนทั้งสองคนเกิดความเลื่อมใสได้แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ

    กล่าวอย่างนั้น ๆ ก็ว่า ทั้งสองประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน ทั้งสองจึงนับได้ว่าเป็นอุบาสก หรือพุทธศาสนิกชนคู่แรกก่อนใครในโลก นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นต้นมา ที่ทั้งสองนายประกาศตนนับถือพระรัตนะทั้งสองดังกล่าวแล้วนั้น เพราะตอนที่กล่าวนี้ สังฆรัตนะ คือ พระสงฆ์ยังไม่เกิดมี ด้วยพระพุทธเจ้ายังมิได้ตรัสเทศนาโปรดใครเลย

    ปฐมสมโพธิเล่าว่าเมื่อสองนายกองเกวียนประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว ก่อนที่จะถวายบังคมกราบทูลลาพระพุทธเจ้าไป ได้กราบทูลขอสิ่งของเป็นที่ระลึกจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบเบื้องพระเศียรและว่า "ลำดับนั้นพระเกศาธาตุ (ผม) ทั้ง ๘ เส้นมีสีดุจแก้วอินทนิล แลปีกแมลงภู่ก็หล่นลงประดิษฐานในฝ่าพระหัตถ์"

    แล้วทรงประทานเส้นพระเกศาทั้งแปดแก่นายกองเกวียนเพื่อนำไปบูชาเป็นที่ระลึก ทั้งสองเมื่อได้รับต่างโสมนัสยิ่งนัก แล้วถวายอภิวาทกราบทูลลากราบทูลลาพระพุทธเจ้าจากไป




    งานที่อ้างถึง

    จัดสร้างและพัฒนา โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
    ๑๓๘/๑๘ ซอยวุฒากาศ ๔๒ แยก ๒-๑ ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐

    ..................................................................................................


    บ่อพญามุจลินทร์พระธาตุพังพวน
    บ่อพญามุจลินทร์พระธาตุพังพวน

    งานที่อ้างถึง

    http://www.palungjit.com/

    ....................................................

     

    นาคมุจลินทร์ เป็นนาคที่มี 5 เศียร อาศัยอยู่บริเวณสระมุจลินทร์ มีลำตัวเป็นราวสะพาน

    งานที่อ้างถึง

    http://touronthai.com/gallery/placeview.php?place_id=49001008

    .....................................................................................................................................................................................................




    มุจลินทร์  หญิงสาวที่มีโลหิตนาคาไหลเวียนอยู่เพราะเขาผู้นั้น  เจ้าฟ้านลันทา  ผู้สืบทอดเชื้อสายพญานาคราชแห่งวังนาคราช  โชคชะตากำหนดมาให้เขาและเธอต้องมาพบกันพร้อมกับหายนะที่ก่อตัวขึ้น  สงครามระหว่างพรายสมิงและพญานาคที่มาจากการกลายร่างเป็นนาคาเผือกของเธอ  เธอจะทำเช่นไรเมื่อรู้ว่าตนเองไม่ใช่มนุษย์เหมือนเดิม   การเดินทางที่เปลี่ยนชะตาชีวิตของเธอนำไปสู่ความรักที่รอคอยการกลับมา  พร้อมจะไปกับเราหรือไม่......





    งานที่อ้างถึง

    http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=339926#ixzz1HtkCLtc5

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×