ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ raaf's warehouse ] ห้องเก็บของ

    ลำดับตอนที่ #2 : ระบบนิเวศน้ำเค็ม

    • อัปเดตล่าสุด 18 มิ.ย. 52



    ระบบนิเวศ

          ระบบนิเวศ (Ecosystem) อาจใช้เรียกหน่วยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตและปัจจัยแวดล้อมในพื้นที่กว้างๆแบบใดแบบหนึ่งโดยเน้นที่ความผูกพันกันของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

          โครงสร้างของระบบนิเวศ

          1.ส่วนที่เป็นส่วนที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ต่างๆ ไปจนถึงสัตว์ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้      2.ส่วนที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ พลังงาน สสาร สภาพพื้นที่ และสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งพลังงานในระบบนิเวศมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น พลังงานความร้อน ที่สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและก่อปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ อันได้แก่ พลังงานแสง พลังงานไฟฟ้า พลังงานปรมาณู เป็นต้น



    ระบบนิเวศในน้ำเค็ม

          แหล่งน้ำเค็มได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร จัดเป็นแหล่งน้ำไหลเนื่องจากมีกระแสคลื่นเกิดขึ้นตลอดเวลา ระบบนิเวศทางบทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นประมาณ 3 ใน 4 ส่วน ของผิวโลก สามารถแบ่งเขตออกเป็น 2 บริเวณ คือ

          - บริเวณชายฝั่งทะเล (coastal  zone) เป็นบริเวณที่อยู่ติดกับพื้นดินที่มีความลาดชันน้อยและค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำขึ้นน้ำลง และได้รับธาตุอาหารจากการชะล้างผิวหน้าดินลงสู่แหล่งน้ำ

           - บริเวณทะเลเปิด (open sea) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างออกจากชายฝั่ง พื้นที่มีความลาดชันเพิ่มขึ้นตามความลึกของน้ำ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ได้ 3 เขต คือ เขตที่แสงส่องถึง เขตที่มีแสงน้อย และเขตที่ไม่มีแสง



    นอกจากนี้แล้วระบบนิเวศแหล่งน้ำเค็มอาจแบ่งตามลักษณะพื้นผิวทางกายภาพได้เป็น

          - ระบบนิเวศหาดหิน (rocky shore) ประกอบด้วยชายฝั่งทะเล ซึ่งมีทั้งหาดทรายและหาดหิน     เป็นบริเวณที่จะถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา ฉะนั้นสัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ต้องคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ได้แก่ แมลงสาบทะเล (ligio) หอยนางรม ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก (limpets) เพรียงหิน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล สาหร่ายสีแดง

           - นิเวศหาดทราย (sandy beach) สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนี้ต้องมีการปรับตัวมาก เพราะคลื่นซัดทรายในสภาพที่รุนแรง เช่น ปูลม เคลื่อนที่ได้รวดเร็วและมีเหงือกใหญ่ชุ่มชื้นอยู่เสมอทนความแห้งแล้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีพวกหอยเสียบ หอยทับทิม ชอบฝังตัวหรือขุดรูอยู่ในทราย

          - ระบบนิเวศหาดโคลน หาดโคลนมีคลื่นลมและกระแสน้ำอ่อน ๆองค์ประกอบของพื้นที่เป็นโคลนเป็นบริเวณ ที่มีขนาดตะกอน  เล็กมาก มักจะพบหาดโคลนบริเวณปากแม่น้ำ อ่าวที่มีกำบังลม อ่าวปิด ทะเลสาบ

           - ระบบนิเวศแนวปะการัง (coral reef) หรืออุทยานใต้ทะเล ปะการังสืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเชื่อมติดกันมีสารหินปูนห่อหุ้มลำตัว กลุ่มก้อนปะการังที่สวยงามมาก ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด ปะการังต้นไม้ ฯลฯ พบที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา จ. กระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และที่อื่นๆ อีกมาก ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นแหล่งที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำแต่ละชนิด เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและให้ผลผลิตสูงมากในทะเล

          - ระบบนิเวศทะเลลึก เป็นบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับแสงส่องถึง มีปัจจัยต่างๆ ทีมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ องค์ ประกอบของดินตะกอน ความเต็ม ออกซิเจน อาหาร อุณหภูมิ ความดัน และแสง สิ่งมีชีวิตจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและ สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานได้

          - ระบบนิเวศหญ้าทะเล ตามชายฝั่งทะเลที่มีคลื่นลมค่อนข้างสงบหรือตามอ่าวที่มีลักษณะกึ่งปิด เราจะพบระบบนิเวศ แบบหนึ่ง ที่มีคุณค่ามหาศาล นั้นคือ " ระบบนิเวศน์หญ้าทะเล" ที่มีวิวัฒนาการจากพืชบกที่ค่อยๆ ปรับตัวลงสู่ทะเล  โดยมีการปรับตัวที่ทำให้ หญ้าทะเลสามารถดำรงชีวิตอยู่ใต้น้ำได้อย่างสมบูรณ์
          นักวิชาการกล่าวกันว่าแหล่งหญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางทะเลที่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จักและ เห็นความสำคัญในวงวิชาการในระยะเวลาไม่เกินสิบปีที่ผ่านมานี้เอง เป็นแหล่งพรรณพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าสกุล potomogetomaceae และ hydrocharitaceae ขึ้นงอกงามบริเวณตั้งแต่แนวน้ำลงปานกลาง ไปจนถึงความลึกประมาณ 3-8 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความใสของน้ำ โดยทั่วไปแล้วจะพบแนวหญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งที่กำบังคลื่นลมและไม่ ได้รับอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลมาจากฝั่ง ความสำคัญของแนวหญ้าทะเลนี้พบว่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด โดยเฉพาะตัวอ่อนของสัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีคุณค่าสำคัญที่มักถูก มองข้ามเสมอคือ คุณค่าในทางอาหารและรายได้ของชาวประมงขนาดเล็ก หรือชาวประมงชายฝั่งผู้ด้อยฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น กุ้ง ปลาเก๋า และเป็นแหล่งอาหารของเต่าทะเลที่มีคุณค่านี้ เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่งอย่างรวดเร็ว ตะกอนอันเกิดจากกิจกรรมบนฝั่งหรือในน้ำ และการประมงโดยอวนรุน เป็นต้น


    ปัจจัยกำหนดลักษณะของระบบนิเวศ

          1.อุณหภูมิ อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในน้ำ การเปลี่ยนแปลงรูปพรรณและสรีระของสิ่งมีชีวิต การอพยพของสัตว์ การแพร่กระจายของพืชและสัตว์
          2.แสงสว่าง ส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เพราะทำให้เกิดการถ่ายเทวัตถุธาตุต่าง ๆ
    ช่วงแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืชหลายชนิด และความเข้มแสงมีผลต่อการสังเคราะห์แสง
          3.มลภาวะ การเกิดมลภาวะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศไปในทางเลวร้าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
          4.การแย่งชิง เป็นการแย่งชิงกันระหว่างสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีความต้องการเหมือนกัน แต่มีไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่เป็นปกติได้
          5.การกินซึ่งกันและกัน เป็นการที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นอาหาร ทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศแต่ระบบนิเวศที่ขาดการกินซึ่งกันและกัน ก็จะมีผลทำให้ระบบนิเวศนั้นเสียสมดุลทางธรรมชาติได้
          6.มลภาวะ การเกิดมลภาวะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศไปในทางเลวร้าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์


    www4.msu.ac.th
    www.student.chula.ac.th
    www.tungsong.com
    www.masterorg.wu.ac.th
    http://61.19.127.107/bionew/bio6new/unit21/u21-2/u21210.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×