ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังข้อมูล ชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #1 : การเจริญเติบโต (แรก)

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 53


    **

     

     

     

    การเจริญเติบโต 

    (Growth and Development)

     

    +

     

    http://www.ohdeedoh.com/ohdeedoh/flickr-finds/flickr-finds-diy-growth-chart-040628

     


    ก่อนอื่นเลยเรามารู้จักความหมายของการเจริญเติบโตกันก่อนเลยนะจ๊ะ ^^

     

    การเจริญเติบโต หรือ Growth and development หมายถึง กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์


           เป็นผลมาจากการทำงาน ของระบบต่างๆ ที่เป็นไปตามปกติถ้าหากระบบใดหรืออวัยวะใดที่ทำงานผิดปกติไป ก็จะมีผลกระทบกระเทือนไปถึงการทำงานของระบบอื่นๆ ได้ด้วย

     

    การเจริญเติบโต เริ่มมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว แล้วแบ่งตัวและให้กำเนิดอวัยวะต่างๆ และเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นเป็นแบบแผนตายตัว สำหรับพืชหรือสัตว์แต่ละชนิด

     

    การเติบโต (GROWTH)

              การเติบโตเป็นการเพิ่มปริมาณของโพรโทพลาซึม ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ อันเป็นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในร่างกายพร้อมกันนั้นก็เพิ่มขนาดของเซลล์อีก ด้วย

    การเจริญเติบโต (DEVELOPMENT)

              การเจริญเติบโตเป็นการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งในรูป ร่างลักษณะ ทางสรีรวิทยา และทางชีวเคมี ดังนั้นจะเห็นได้ว่า DEVELOPMENT นี้กินความถึงคำว่า GROWTH อีกด้วย

     

     

     

     

    การเจริญเติบ โตของสิ่งมีชีวิต มี 2 แบบ คือ NORMAL DEVELOPMENT และ ABNORMAL DEVELOPMENT

     

              1.NORMAL DEVELOPMENT เป็นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่เป็นไปตามปกติ มีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นหลายอย่างต่อกันตามลำดับคือ

     

     

     

    1.1   GROWTH เป็นการเพิ่มปริมาณ เพิ่มจำนวนเซลล์และเพิ่มขนาดของเซลล์

     

    การ เพิ่ม จำนวนเซลล์ (cell mutiplication)


    เกิดจากการแบ่งเซลล์ทั้งแบบ
    ไมโทซิส (mitosis) และแบบไมโอซิส (meiosis)


    การขยายขนาดเซลล์ (cell expansion)

    เป็นกระบวนการ
    สะสมและสังเคราะห์สารอินทรีย์ภายโมเลกุลของเซลล์

    ทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีการรวมกันระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุล

    เป็นผลให้เซลล์ต้องขยายขนาดตามไปด้วย จึงเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต 

     

     

     

     

              1.2 DIFFERENTIATION เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และหน้าที่ไปจากเดิม ขั้นแรกเกิด PHYSIOGENESIS ก่อน ซึ่ง PHYSIOGENESIS นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและสรีรวิทยา เกิดขึ้นภายในเซลล์ตลอดเวลา แต่เรามองไม่เห็น

     

    การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์ (cell differentiation)

    เพื่อ ไปทำหน้าที่ต่างๆ กัน และเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ เพื่อความเหมาะสม

    โดย อาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างของเซลล์ และโครงสร้างภายใน

     

     

     

    เสร็จแล้วจากนั้นก็เกิด MORPHOGENESIS ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของเซลล์ การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างลักษณะของตัวอ่อนตั้งแต่ชั้น BLASTULA เป็น GASTRULA เป็นต้น


     การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเซลล์ไปเป็นอวัยวะ (Organogenesis หรือ morphogenesis)

    สิ่งมีชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอดเวลา ตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นตัวเต็มวัย

    เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์หรือเพิ่มจำนวนเซลล์

    รูปร่างตอนโตอาจจะแตกต่างจากตอนแรกเกิดมากหรือไม่เหมือนกันเลย

     

     

     

     

     

              1.3 MAINTAINANCE เป็นการรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตไปจนชั่วชีวิต

     

    เช่น เมื่อคนเราอายุ 19-20 ปี GROWTH และ DIFFERENTIATION ถึงแม้จะหยุดไปแล้ว แต่คงยังมี MAINTAINANCE อยู่

     

    ซึ่งหมายถึงว่าทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า เซลล์และส่วนต่างๆของร่างกายจะอยู่นิ่งเฉยเท่านั้น ร่างกายยังคงมีการเจริญเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต แต่ทว่าได้ผลลัพธ์ออกมาคงที่

     

     --+

    http://203.172.222.170/math/project51/614/doc001.htm

     

              2. ABNORMAL DEVELOPMENT การเจริญเติบโตที่ผิดปกติไปนั้นอาจเกิดขึ้นเสมอ และไม่จำเป็นต้องเจ็บป่วยแต่อย่างใด คือ

              2.1 เกิดจากหน่วยกรรมพันธุ์ (GENE) ที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ และแม่ เป็นต้น

              2.2 เกิดจากตัวอ่อน เช่น ตัวอ่อนขณะมีการแบ่งเซลล์ จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์แล้วปรากฏว่าเซลล์ทั้ง 2 นั้นขาดจากกันโดยเด็ดขาด โดยที่ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์ก็จะทำให้เซลล์แต่ละเซลล์นั้นเจริญเติบ โตไปเป็นตัวอ่อน 2 ตัว หรือกลายเป็นฝาแฝดไป

              2.3 เกิดในผู้ใหญ่ ขณะที่มีการเจริญเติบโตถึงขั้น MAINTAINANCE เช่นถ้ามีการกระตุ้นให้การแบ่งเซลล์ ซึ่งตามปกติในชั้นนี้ส่วนใหญ่ จะไม่มีการแบ่งเซลล์ของร่างกายเกิดขึ้นแล้ว ครั้นมีอะไรไปกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ก็จะทำให้มีการแบ่งเซลล์กันอย่างมาก มายจนกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งไป


    ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

    1.                    ปัจจัยภายในร่างกาย

    การที่สิ่งมีชีวิตจะมีการเติบโตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นกับพันธุกรรมเป็นอันดับแรก

    เพราะการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจะมีขั้นตอนเหมือนพ่อแม่

    แต่อัตราการเติบโตจะแตกต่างกันได้   ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตในขณะ นั้น

    นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากลูกอัณฑะ , รังไข่ อีกด้วย

    2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
    2.1 ปัจจัยทางชีวภาพ

    การเติบโตที่ผิดปกติอาจเป็นผลมาจากสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน

    เช่น     ถ้าร่างกายมีปรสิต    เช่น    พยาธิ    แบคทีเรีย    เกาะทำลายเนื้อเยื่อ    หรือดูดสารอาหาร     จะทำให้การเติบโตช้าผิดปกติหรือตายได้

    2.2 ปัจจัยทางกายภาพ


    2.2.1 ปัจจัยเกี่ยวกับพลังงาน ได้แก่ ความร้อน แสง เสียง เป็นต้น
    2.2.2 ปัจจัยเกี่ยวกับสารเคมี

    สารเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือ  ฮอร์โมน

    เนื่องจาก ฮอร์โมน  และ  สารที่เกี่ยวข้อง  จะควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ

     

     

    ที่มา http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4031101/lesson6/lesson6.1.html

    http://www.seal2thai.org/sara/sara016.htm

    http://www.ipecp.ac.th/cgi-binn/BP1/Program/chapter6/p3_3.html#Kl1

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×