คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : มาณวกฉันท์
มาณวกฉันท์(มา -นะ-วะ-กะ-ฉัน )
ผังภูมิคำประพันธ์
ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ
ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ
ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ
ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ
****************************************
ลักษณะบังคับของมาณวกฉันท์
การบังคับจำนวนคำ
๑. ๑ บท มี ๒ บาท
๒. ๑ บาท มี ๒ วรรค
๓. ๑ วรรค มี ๔ คำ
การบังคับสัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ ๑ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
๔. มาณวกฉันท์มักนิยมแต่ง ๒ บทคู่กันเป็นตอนหนึ่ง เมื่อขึ้นตอนต่อไปต้องย่อหน้าทุกครั้ง
และให้คำสุดท้ายของบทที่ ๒ ในตอนต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของบทที่ ๑ ในตอนต่อไป
การบังคับครุ ลหุ
แต่ละวรรคมีคำครุ ลหุ ที่เหมือนกัน คือ ครุ ๑ คำ ลหุ ๒ คำ และ คำครุ ๑ คำ
**********************************
ตัวอย่าง มาณวกฉันท์
พงพนไพร ไศลลำเนา
ดุ่มบทเดิน เพลินจิตเรา
แบ่งทุขเบา เชาวนไว
คือ จง จะ ระ เที่ยว เทียว บะ ทะ ไป
เมื่ออ่านเป็นทำนองเสนาะ มาณวกฉันท์ จะเพราะมาก
ความคิดเห็น