เทรนด์แอ๊บแบ๊ว น่ารักหรือดัดจริตจนเกินงาม? - เทรนด์แอ๊บแบ๊ว น่ารักหรือดัดจริตจนเกินงาม? นิยาย เทรนด์แอ๊บแบ๊ว น่ารักหรือดัดจริตจนเกินงาม? : Dek-D.com - Writer

    เทรนด์แอ๊บแบ๊ว น่ารักหรือดัดจริตจนเกินงาม?

    "แอ๊บแบ๊ว" น่ารัก หรือดัดจริตจนเกินงาม? เด็กไทยรุ่นใหม่ติดพฤติกรรมนี้ ต้องทำหน้าตาบ้องแบ๊ว พูดจาบีบเสียง ไม่ชัดถ้อยชัดคำ กลุ่มเฝ้าระวังชี้เป็นพฤติกรรมซึมซับ

    ผู้เข้าชมรวม

    288

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    288

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 ส.ค. 50 / 19:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เนื่องจากสังคมไทยยุคนี้ตาบอดสี แนะผู้ใหญ่ต้องไม่โทษกันและต้องเปิดใจกว้าง เข้าไปอยู่ในโลกของเด็กบ้าง เพื่อสร้างความเข้าใจและหาทางแก้ไข



      กระแสคิกขุอาโนเนะเกิดขึ้นมานานแล้วในประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ซึ่งจะทำตัวเรียบร้อย น่ารัก ชอบของอะไรที่น่ารัก เป็นเทรนด์ที่เลียนแบบมาจากวัยรุ่นญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันกระแสนี้กลับเปลี่ยนไป โดยหลายคนอาจจะเคยได้ยินคือ "แอ๊บแบ๊ว" แต่พฤติกรรมหลายๆ อย่างจะเปลี่ยนไปจากเดิม


      "แอ๊บแบ๊ว" เป็นเหมือนอาการชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนิยมกันในกลุ่มหญิงช่วงแรกสาว ไปจนถึงกลุ่มผู้ชายบางกลุ่ม หรือกลุ่มเพศที่สาม
      โดยสังเกตได้จาก
      1.ดวงตา จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ กลมบ้องแบ๊ว น่ารัก ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของแอ๊บแบ๊ว

      2.จะมีอุปกรณ์เสริมความบ้องแบ๊ว คือเครื่องสำอางเกี่ยวกับดวงตา อาทิ ที่ดัดขนตา มาสคารา หรือคอนแทคเลนส์ตาโต

      3.ชอบทำแก้มป่อง และที่สำคัญคือเสียงและแนวการพูด จะต้องดัดเสียงเล็กๆ อู้อี้นิดๆ แล้วก็พูดไม่ค่อยชัด ทำอย่างไรก็ได้ให้ผิดอักขระมากที่สุด เช่น จริงเหรอ เป็น จิ๊ง-ง๋ออออ, ใช่ไหม เป็น ชิเมะ หรือ ชิป่ะ, คือว่า เป็น คิบับ หรือ คิ่แบ๊บ
      ส่วนในรูปประโยคก็มีการดัดเพิ่มขึ้นไปอีก เช่นประโยค "อ้าว สวัสดีแก ไม่ได้เจอกันนานมาก คิดถึงสุดๆ ไปกินข้าวที่สยามกันมั้ย เดี๋ยวพี่ชายเราไปส่งล่ะ" ก็จะพูดเป็น "ฮั้ย สัสดีแกร มะได้เจอกึนนานม้ากกก คิถือซูดซู้ดดด ไปกินค้าวที่ซิหยามกึนเมะ เด๋วพี่ชายเราปะส่งแหระ"

      ความแอ๊บแบ๊วแบบนี้ ปัจจุบันพบเห็นกันได้มากในสังคม โดยเฉพาะตามสถานที่รวมวัยรุ่น ในโรงเรียน หรือเมื่อวัยรุ่นอยู่กันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ นางลัดดา ตั้งสุภาชัย หัวหน้ากลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ชี้แจงว่า อาการนี้เป็น "จริต" อย่างหนึ่งของผู้หญิง แต่เป็นแบบที่เกินงาม

      "ที่พูดกันถึงแอ๊บแบ๊ว ก็ได้ยินมาเหมือนกัน อาการพวกนี้เป็นเหมือนจริตอย่างหนึ่ง และเป็นแฟชั่นด้วย พูดได้ว่าเป็นกระแสของยุคนี้ เมื่อก่อนอาจจะมีอีกอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้เป็นแอ๊บแบ๊ว ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอย่างนี้ คือเด็กไม่รู้ในความถูกต้อง ไม่มีสำนึกในสิ่งที่ควรจะเป็น ทั้งเรื่องคำพูด และการกระทำตัว เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม ซึมซับไปกับสังคม"

      นางลัดดากล่าวต่อว่า พฤติกรรม "แอ๊บแบ๊ว" ถ้าพูดกันตรงๆ ยังถือว่าไม่แรงมาก เพราะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในทางที่ผิดของสังคมเท่านั้น สังคมสมัยนี้เป็นสังคมตาบอดสี เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด ทางแก้คือสังคมต้องตระหนักว่า จะทำอย่างไรให้เด็กซึมซับกระแสต่างๆ ที่เข้ามาอย่างมีสำนึก ซึมซับอย่างมีความรู้ เลือกซึมซับแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง ซึมซับแต่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และจะต้องไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง โรงเรียน หรือสังคม แต่ทุกส่วนต้องช่วยกัน ผู้ใหญ่ต้องใส่ใจเด็กให้มากขึ้น โดยเฉพาะโลกของเด็กๆ ความคิดของเด็ก ต้องเปิดกว้าง เข้าถึงความคิดและจิตใจของเด็ก เพื่อที่จะสอนและให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อไป

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×