•การกินยากับน้ำอัดลม หรือน้ำที่ผสมแก๊ส เพราะเชื่อว่ายาจะได้แตกตัวเร็วขึ้น หายจากโรคหรืออาการที่เป็นอยู่เร็วขึ้น
• ผสมยากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้เหมือนกับการทำยาดองเหล้าคือ น่าจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น แรงขึ้น
• กินยาพร้อมอาหาร บางคนกลืนยายากเลยใช้วิธีกินยาพร้อมอาหาร โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนแล้วเอาเม็ดยาวางลงไปแล้วกลืนไปพร้อมอาหารคำนั้นๆ
• บดยา หรือเคี้ยวยา วิธีนี้พบได้บ่อยมาก เพราะส่วนใหญ่ทำไปเพราะให้ยาแตกตัวและดูดซึมได้เร็วขึ้น บางรายก็ทำไปเพื่อให้กินยาได้ง่ายขึ้น
• หักยา พบได้บ้างกรณีที่ยายาเม็ดใหญ่มากๆ โดยมักจะบอกว่าถ้าไม่หักก็กินลำบาก
• ละลายยาแล้วกิน เหตุผลคล้ายกับวิธีอื่นๆ คือต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น หรือให้กลืนได้ง่าย
• ถอดปลอกแคปซูลยาออก ก่อนกิน บางคนกลืนแคปซูลแล้วติดคอ บางคนก็กลัวว่าถ้าแคปซูลไม่ละลายแล้วยาจะออกมาได้อย่างไร ก็เลยถอดปลอกแคปซูลออกผสมน้ำดื่ม บ้างก็คิดไปเองว่ายาจะออกฤทธิ์ช้าเลยจัดการถอดปลอกออกก่อนแล้วกินผงยาแทน
• เจาะเปลือกแคปซูลแล้วบีบยาที่เป็นน้ำภายในออกมากิน อันนี้พบได้บ้าง ส่วนใหญ่คือต้องการให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น
• ใช้ฟันกัดเม็ดยา เพราะต้องการความรวดเร็ว จึงใช้ฟันกัด
วิธีกินยาต่างๆ ที่เล่าไปข้างต้นนั้นก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดเสมอไปหรอกนะคะ เนื่องจากยาบางตัวก็สามารถบดเคี้ยวได้ แต่ยาบางตัวห้ามเลย ดังนั้นบทความสั้นๆ นี้ก็เพียงแต่จะย้ำให้คุณทั้งหลายได้ทราบว่ายาแผนปัจจุบันที่มีในท้องตลาดที่แพทย์สั่งจ่ายให้นั้น หรือที่คุณไปหาซื้อตามร้านขายยา การผลิตยาของบริษัทยานั้นได้มีการวิจัย ปรับปรุง และพัฒนาอย่างมากมายก่อนถึงมือคุณ เพื่อให้การออกฤทธิ์ดีที่สุดตามเป้าหมายการรักษาแต่ละโรค ดังนั้นการที่คุณพยายามไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำส่งยาก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยาได้
กรณียาแคปซูล ยาเม็ดเคลือบฟิล์ม หรือยาเม็ดเคลือบน้ำตาล ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มีการกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่ดีเอาไว้ หากไปบดหรือทำให้แตกหัก ก็แค่ทำให้คุณต้องทนกับรสหรือกลิ่นแย่ๆ ที่ซ่อนอยู่ ยิ่งทำให้ไม่อยากกินยา แต่สำหรับกรณียาที่ถูกออกแบบให้มีการออกฤทธิ์ปลดปล่อยตัวยาอย่างช้าๆ สม่ำเสมอตลอดทั้งวัน เช่นยาที่รับประทานวันละครั้ง นั่นหมายถึง คุณสามารถกินครั้งเดียวแต่มีผลการรักษาตลอดทั้งวัน หากนำยาไปกินแบบพิสดารมาก เช่น บด หรือหัก ก็อาจทำให้ได้รับพิษจากยา เพราะการทำให้เม็ดยาแตกจะทำให้ยาถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว ภายในช่วงเวลาสั้นๆ
ก่อนที่ยาจะถึงมือเรานั้นได้ย่อมผ่านการวิจัยและพัฒนามาอย่างมาก ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการรักษาโรค การพัฒนาสูตรตำรับยาเพื่อให้มีการแตกตัว การละลาย การดูดซึมที่ดี และมีลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สี กลิ่น รส ที่น่าใช้ ดังนั้นคุณมิต้องกังวลเกี่ยวกับการแตกตัวของยา เอาง่ายๆ หากนำยาธรรมดามาสักเม็ดแล้วโยนลงไปในน้ำแก้วธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น เพียงไม่กี่นาทีแล้วใช้ช้อนคนน้ำสักหน่อย คุณก็จะพบว่ายาส่วนใหญ่จะละลายหรือแตกตัวหมดแล้ว ยกเว้นยาบางประเภทเท่านั้นที่ได้กล่าวไปข้างต้นซึ่งออกแบบเป็นพิเศษให้ยามีการปลดปล่อยยาเนิ่นนาน คุณอาจพบว่ายาไม่ละลายเลย เพราะยาอยู่ภายในเปลือกเม็ดยาที่เห็นพอโดนน้ำ ยาภายในเม็ดจะค่อยๆ ถูกดันผ่านรูเล็กๆ ที่เปลือกนอกซึ่งยาบางตัวก็มองด้วยตาเปล่าเห็น บางทีรูเล็กมากก็มองไม่เห็น แต่การออกแบบเช่นนี้จะทำให้คุณได้ยาอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าเม็ดยาด้านนอกจะไม่ละลายก็ตาม ตัวอย่างยาประเภทนี้ ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคหัวใจบางตัว นอกจากนี้ยาในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการเคลือบต่างๆ ให้ยาไม่ละลายในกระเพาะแต่ไปเริ่มละลายที่ลำไส้เล็ก เช่น ยาเม็ดแอสไพริน เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร การนำยาไปบดหรือละลายยา ก็เท่ากับทำลายสมบัติพิเศษที่ผู้วิจัยอุตส่าห์พัฒนาขึ้นมา แทนที่คุณจะได้รับผลที่ดีที่สุดก็กลายเป็นได้รับผลเสียจากยานั้นแทน
การบดยา นอกจากจะทำให้ยาเสียคุณสมบัติพิเศษไป ยังทำให้กินยาก ได้รับรู้รสชาติที่ไม่ดีของตัวยาแล้วอาจจะได้ยาไม่ครบปริมาณที่แพทย์ต้องการก็ได้ถ้ากินผงยาไม่ครบทั้งหมด
ส่วน การกินยากับน้ำอุ่น จัดอาจจะทำให้ยาละลายเร็วขึ้นอีกนิดนึง แต่ก็มีปัญหาว่ายาพวกแคปซูลอาจจะละลายแล้วไปติดที่หลอดอาหารกลืนไม่ลงได้
การแช่หรือละลายยาในน้ำร้อนก่อนกิน อันนี้ก็มีปัญหาแน่กับตัวยาที่ไม่ทนต่ออุณหภูมิสูงๆ และอาจเสื่อมสภาพได้ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ ไม่ได้ผลการรักษา การกินยาละลายน้ำร้อนจึงเท่ากับไม่ได้กินยาเลยมีค่าไม่ต่างกับการกินแป้ง
ส่วน การถอดปลอกยาออก ยาส่วนใหญ่ที่ใส่แคปซูลเวลาละลายเป็นผงแล้วจะมีกลิ่นรสชาติที่แย่มากจึงต้องกลบรสและกลิ่นด้วยการนำผงยาบรรจุในแคปซูล อันนี้มีตัวอย่างว่าบางคนกลับมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลื่นไส้อาเจียนมากหลังกินยา จนคิดว่าแพ้ยาที่ให้ไป แต่ปรากฎว่าเมื่อสอบถามก็ได้ความว่าได้ทำการแกะปลอกแคปซูลออกก่อนกิน แล้วเทผงยาเข้าปาก ทำให้ได้รับรู้กลิ่นและรสที่ไม่ดีของตัวยาจึงอาเจียนออกมาหมด พอแนะนำให้กินยาทั้งแคปซูลก็ไม่มีอาการอีกเลย
และสำหรับ การกัดเม็ดยาด้วยฟัน อันนี้แปลกแต่จริงค่ะ มีบางคนขี้เกียจใช้มีดตัดยา บ้างก็บ่นว่ายาแข็ง เลยใช้ฟันกัดครึ่งซะเลย ซึ่งอันที่จริงแล้วถ้าตัวยาทนความชื้น (จากน้ำลาย) ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ายานั้นไม่ทนกับความชื้นพอใช้ฟันกัดไปยาก็ถูกน้ำลาย อีกครึ่งเม็ดที่เหลืออาจติดน้ำลายไปด้วย พอใส่กลับไปในขวดหรือซองยาทั้งๆ ที่ชื้นจากน้ำลายก็พาลทำให้ยาส่วนนั้นเสื่อมสภาพได้ ประสิทธิภาพในการรักษาโรคก็ลดลงไปด้วย
หากคุณสงสัยอะไรที่นอกเหนือจากที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ข้อความที่ระบุบนฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาแล้ว คุณควรปรึกษาเภสัชกรให้แน่ใจก่อนว่ากระทำได้หรือไม่นะคะ เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้ยาสูงสุด
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น