ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : Harry Potter
แฮร์รี่ พอตเตอร์
แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดมืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้มีเป้าหมายเพื่อพิชิตประชากรไม่มีอำนวจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมด และทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์
หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนับแต่นั้น หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม การยกย่องอย่างสำคัญและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ชุดนวนิยายดังกล่าวก็มีข้อวิจารณ์บ้าง รวมถึงความกังวลถึงโทนเรื่องที่มืดมนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ชุดหนังสือทำยอดขายประมาณ 450 ล้านเล่มทั่วโลก และมีการแปลไปเป็นภาษาต่าง ๆ 67 ภาษา หนังสือเล่มสุดท้ายของชุดยังเป็นสถิติหนังสือที่จำหน่ายออกหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สามารถจัดเป็นวรรณกรรมได้หลายประเภท (genre) รวมทั้งแฟนตาซีและการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) โดยมีองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทลึกลับ ตื่นเต้นสยองขวัญ ผจญภัย และโรแมนซ์ และมีความหายและการสื่อถึงวัฒนธรรมหลายอย่าง ตามข้อมูลของโรว์ลิง ธีมหลักของเรื่อง คือ ความตาย แม้โดยพื้นฐานแล้วงานนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานวรรณกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังมีธีมอื่นอีกมากมายในชุด เช่น ความรักและอคติ
หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส จำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบกันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 หนังสือดังกล่าวจะเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน "พอตเตอร์มอร์"
จักรวาลของเรื่อง
โลกในนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้น เป็นโลกของพวกพ่อมดและแม่มดที่อยู่ร่วมกันกับโลกของมนุษย์เรานี้ในลักษณะคู่ขนาน ในเรื่องจะเรียกพวกมนุษย์ทั่วไปว่า มักเกิ้ล หรือมนุษย์ผู้ไร้เวทมนตร์ โลกพ่อมดจะมีอาณาเขตที่เชื่อมต่อกับโลกของมักเกิ้ลโดยมีสิ่งต่างๆ เช่นกำแพง เป็นสิ่งที่กั้นขอบเขตระหว่างทั้งสองโลก พ่อมดสามารถไปมาหาสู่กันได้โดยการผ่านกำแพงกั้นระหว่างโลกมักเกิ้ลกับโลกพ่อมด เช่นการผ่านแผงกั้นชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ พวกมักเกิ้ลจะไม่สามารถเห็นแผงกั้นระหว่างทั้งสองโลกได้ หรืออาจจะเห็นแต่ก็จะเห็นเป็นกำแพงหรือสิ่งของธรรมดาเท่านั้น มักเกิ้ลไม่มีทางเข้าสู่โลกพ่อมดได้แม้ว่าวิธีใด ๆ ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นกับมักเกิ้ลบางคนที่มีพลังเวทมนตร์ เช่น เฮอร์ไมโอนี่ เป็นต้น แต่สถานที่บางแห่งก็ไม่มีเขตกั้นระหว่างทั้งสองโลก พวกมักเกิ้ลสามารถเดินเข้าไปในโลกของพ่อมดได้ ทำให้บ่อยครั้งที่มีผู้พบเห็นพวกสัตว์วิเศษที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ที่ไม่มีเขตกั้น
พวกพ่อมดแม่มดนอกจากจะมีโลกที่เป็นของตัวเองแล้ว ยังมีสถานที่ที่แอบซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ ของโลกมักเกิ้ลอีกด้วย มีทั้งซ่อนไว้ใต้ดิน แต่ละที่มีเพียงพ่อมดแม่มดเท่านั้นที่จะมองเห็นและเข้าไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ แต่กระทรวงเวทมนตร์เป็นข้อยกเว้นเนื่องจากมักเกิ้ลมักพบเห็นพ่อมดเสกเวทมนตร์คาถาอยู่บ่อย ๆ จึงต้องพาตัวมักเกิ้ลมาที่กระทรวงเพื่อลบความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องโลกเวทมนตร์เพื่อไม่ให้ความลับเรื่องโลกเวทมนตร์ถูกเปิดเผย
นอกจากนั้นพวกพ่อมดแม่มดยังใช้สถานที่ของมักเกิ้ลเป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาควิดดิชอีกด้วย กีฬาประเภทนี้มักจัดตามที่ราบต่าง ๆ หรือตามป่าที่ไม่มีมักเกิ้ลอาศัยอยู่ แต่ถึงกระนั้นพวกพ่อมดก็ไม่อาจวางใจได้ พวกเขาต้องตั้งแนวป้องกันด้วยคาถาต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมักเกิ้ลที่บังเอิญหลงทางมาพบเห็นเข้า นอกจากนั้นพวกพ่อมดยังมีคาถาที่ทำให้มักเกิ้ลที่เข้ามาใกล้เปลี่ยนใจเดินออกไปให้ไกลได้อีกด้วย
การป้องกันมักเกิ้ลถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อพวกพ่อมดแม่มด เพราะหากมีมักเกิ้ลพบเห็นว่าพวกเขาเสกเวทมนตร์ ความลับเรื่องเวทมนตร์ที่พวกเขาปกปิดก็อาจจะถูกเปิดเผย ฉะนั้นจึงต้องมีพ่อมดที่คอยป้องกันมักเกิ้ลไว้เสมอ นอกจากจะมีการป้องกันมักเกิ้ลไม่ให้พบพวกพ่อมดเสกเวทมนตร์แล้ว พวกพ่อมดยังต้องป้องกันไม่ให้มักเกิ้ลพบเห็นสัตว์วิเศษ เช่น มังกร ยูนิคอร์น เอลฟ์ โทรลล์ เพราะสัตว์บางพวกอาจทำร้ายมักเกิ้ลได้
ลำดับเวลา
เหตุการณ์ต่างๆ ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่มีการระบุถึงปีตามปฏิทินจริงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการอ้างอิงถึงปีจริงบางส่วนในเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถวางเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ตามปีปฏิทินจริงได้ ซึ่งต่อมาข้อมูลได้รับการยืนยันจากการยอมรับของผู้แต่ง ลำดับเวลาซึ่งนำเสนอในดีวีดีภาพยนตร์ และแผนผังตระกูลแบล็กซึ่งผู้แต่งได้นำออกประมูลการกุศล
ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปี พ.ศ. 2523 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2534 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ลำดับเวลาได้อยู่ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งแฮร์รี่ ได้เข้าร่วม"งานเลี้ยงวันตาย ปีที่ห้าร้อย" ของตัวละครนิกหัวเกือบขาด และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า "ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492" (พ.ศ. 2035) ซึ่งแปลว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535
โครงเรื่อง
นวนิยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ เด็กกำพร้าผู้พบว่าตนเองเป็นพ่อมดเมื่ออายุได้สิบเอ็ดปี อาศัยอยู่ในโลกแห่งผู้ไม่มีอำนาจวิเศษ หรือมักเกิล ซึ่งเป็นประชากรปกติ ความสามารถของเขานั้นมีมาโดยกำเนิดและเด็กเช่นนี้ได้รับเชิญให้เข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งสอนทักษะที่จำกัดเพื่อประสบความสำเร็จในโลกพ่อมด แฮร์รี่กลายมาเป็นนักเรียนที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และเรื่องราวส่วนใหญ่ในนวนิยายเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เอง เมื่อแฮร์รี่เติบโตขึ้นผ่านช่วงวัยรุ่น เขาเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เผชิญกับเขา ทั้งทางเวทมนตร์ สังคมและอารมณ์ รวมทั้งความท้าทายอย่างวัยรุ่นทั่วไป เช่น มิตรภาพและการสอบ ตลอดจนบททดสอบอันยิ่งใหญ่กว่าที่กำลังเตรียมพร้อมเขาสำหรับการเผชิญหน้าที่คอยอยู่เบื้องหน้า
หนังสือแต่ละเล่มบันทึกเหตุการณ์หนึ่งปีในชีวิตของแฮร์รี่ โดยเนื้อเรื่องหลักเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1991-98 หนังสือยังมีการเล่าย้อนไปในอดีตหลายครั้ง ซึ่งมักอธิบายโดยตัวละครมองความทรงจำในอุปกรณ์ที่เรียกว่า เพนซิฟ
ช่วงปีแรก
เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์เปิดฉากขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่ามีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกพ่อมด เหตุการณ์นั้นสำคัญเสียจนแม้แต่มักเกิลก็ยังสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่าง เบื้องหลังทั้งหมดของเรื่องและบุคลิกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตลอดทั้งเรื่อง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ แฮร์รี่ค้นพบว่า เมื่อครั้งเป็นเด็ก เขาเป็นพยานการฆาตกรรมบิดามารดาของตนโดยพ่อมดมืดผู้หลงใหลในอำนาจ ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ซึ่งขณะนั้นพยายามฆ่าเขาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เปิดเผยทันที คาถาซึ่งโวลเดอมอร์พยายามปลิดชีพแฮร์รี่สะท้อนกลับไปยังเขาเอง แฮร์รี่รอดชีวิตโดยหลงเหลือแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผากเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และโวลเดอมอร์หายตัวไป ด้วยเป็นผู้ช่วยให้รอดโดยไม่ได้ตั้งใจจากยุคสมัยแห่งความกลัวของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่กลายมาเป็นตำนานมีชีวิตในโลกพ่อมด อย่างไรก็ดี ด้วยคำสั่งของพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ กำพร้าแฮร์รี่ถูกทิ้งไว้ในบ้านของญาติมักเกิลผู้ไม่น่าพิสมัยของเขา ครอบครัวเดอร์สลีย์ พวกเดอร์สลีย์รักษาเขาให้ปลอดภัยแต่ปกปิดมรดกที่แท้จริงจากเขาด้วยหวังว่าเขาจะเติบโตขึ้น "อย่างปกติ"
เมื่อย่างใกล้วันเกิดครบรอบปีที่สิบเอ็ดของแฮร์รี่ ครึ่งยักษ์ รูเบียส แฮกริด เปิดเผยประวัติของแฮร์รี่และนำเขาเข้าสู่โลกเวทมนตร์ สภาพแวดล้อมที่เจ. เค. โรว์ลิ่งสร้างขึ้นนั้นแยกจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง แต่ยังเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ขณะที่ดินแดนแฟนตาซีแห่งนาร์เนียเป็นอีกเอกภพหนึ่ง และมัชฌิมโลกแห่งลอร์ดออฟเดอะริงส์เป็นตำนานโบราณ โลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกแห่งความจริง และจึงเป็นว่า โลกของพอตเตอร์มีแบบเวทมนตร์ที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวัน สถาบันและสถานที่หลายแห่งนั้นมีอยู่จริง เช่น กรุงลอนดอน แต่ประกอบด้วยการรวบรวมชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของถนนที่ถูกซ่อน ผับเก่าแก่ที่ถูกมองข้าม คฤหาสน์ชนบทที่โดดเดี่ยว และปราสาทที่ตัดขาดจากโลกภายนอกซึ่งประชากรมักเกิลไม่อาจมองเห็นได้
ด้วยความช่วยเหลือของแฮกริด แฮร์รี่เตรียมตัวและเข้าเรียนในปีแรกที่ฮอกวอตส์ เมื่อแฮร์รี่เริ่มต้นสำรวจโลกเวทมนตร์นั้น เรื่องราวได้ระบุสถานที่สำคัญหลายแห่งที่ใช้ตลอดเนื้อเรื่อง แฮร์รี่พบกับตัวละครหลักส่วนใหญ่ และมีเพื่อนรักที่สุดสองคน รอน วีสลีย์ สมาชิกรักสนุกแห่งครอบครัวพ่อมดที่ใหญ่ เก่าแก่ มีความสุข แต่ฝืดเคือง และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ แม่มดที่มีพรสวรรค์และเรียนหนักผู้เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีเวทมนตร์ แฮร์รี่ยังพบกับอาจารย์สอนวิชาปรุงยาของโรงเรียน เซเวอร์รัส สเนป ผู้แสดงความไม่ชอบอย่างลึกซึ้งมั่นคงแก่เขา โครงเรื่องสรุปเมื่อแฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ครั้งที่สอง ผู้ซึ่งกำลังตามหาความเป็นอมตะ ปรารถนาได้รับอำนาจแห่งศิลาอาถรรพ์
เรื่องราวดำเนินต่อด้วยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ซึ่งอธิบายปีที่สองของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ เขาและเพื่อนของเขาสืบสวนตำนานอายุ 50 ปีซึ่งกลายเป็นว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลางร้ายล่าสุดที่โรงเรียน น้องสาวของรอน จินนี่ วีสลีย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ปีหนึ่งที่ฮอกวอตส์ พบสมุดบันทึกซึ่งกลายเป็นบันทึกของโวลเดอมอร์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน จินนี่ถูกครอบงำโดยโวลเดอมอร์ผ่านบันทึก และเปิด "ห้องแห่งความลับ" และปลดปล่อยสัตว์ประหลาดโบราณซึ่งเริ่มโจมตีนักเรียนที่ฮอกวอตส์ ตอนนี้เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ฮอกวอตส์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับห้องนั้น เป็นครั้งแรกที่แฮร์รี่ตระหนักถึงอคติด้านชาติกำเนิดว่ามีอยู่ในโลกพ่อมด และเขาเรียนรู้ว่า ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์นั้นมักมุ่งไปยังพ่อมดผู้สืบเชื้อสายจากมักเกิล เขายังพบความสามารถของตนในการพูดภาษาพาร์เซล ซึ่งเป็นภาษาของงู พบได้ยากและมักเกี่ยวข้องกับศาสตร์มืด นิยายเล่มนี้จบลงหลังแฮร์รี่ช่วยชีวิตของจินนี่โดยทำลายบาซิลิสก์และหนังสือ ที่โวลเดอมอร์เก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณ (แฮร์รี่ไม่ทราบเรื่องนี้จนกระทั่งเปิดเผยภายหลัง) แนวคิดการเก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณในวัตถุเพื่อป้องกันความตายนั้นปรากฏครั้งแรกในนิยายเล่มที่หกด้วยคำว่า "ฮอร์ครักซ์"
นิยายเล่มที่สาม แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ติดตามปีที่สามของแฮร์รี่ในการศึกษาเวทมนตร์ และเป็นเพียงเล่มเดียวในเรื่องที่มิได้มีโวลเดอมอร์ปรากฏ เขาต้องรับมือกับข้อมูลที่ว่าเขาตกเป็นเป้าหมายของซิเรียส แบล็ก ฆาตกรหลบหนีผู้เชื่อกันว่ามีส่วนในการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ เมื่อแฮร์รี่ต่อสู้กับปฏิกิริยาต่อผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตมืดซึ่งมีอำนาจในการกลืนกินวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งกำลังคุ้มครองโรงเรียนอยู่ เขาพบกับรีมัส ลูปิน ครูสอนวิชาการป้องกันต้องจากศาสตร์มืดคนใหม่ ซึ่งเปิดเผยภายหลังว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ลูปินสอนมาตรการป้องกันแก่แฮร์รี่ ซึ่งเหนือไปจากระดับเวทมนตร์ที่มักพบในบุคคลที่มีอายุเท่าเขา แฮร์รี่พบว่าทั้งลูปินและแบล็กเคยเป็นเพื่อนสนิทของบิดา และแบล็กถูกใส่ร้ายจากเพื่อนคนที่สี่ ปีเตอร์ เพ็ตดิกรูว์ ในเล่มนี้ มีการเน้นย้ำธีมที่เกิดขึ้นซ้ำอีกประการหนึ่งตลอดเรื่อง คือ ทุกเล่มจะต้องมีครูสอนการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่เสมอ ไม่มีคนใดทำงานอยู่ได้นานเกินหนึ่งปี
การหวนคืนของโวลเดอมอร์
ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ระหว่างปีที่สี่ของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันการประลองเวทไตรภาคีโดยไม่เต็มใจ ซึ่งเป็นการประลองอันตรายที่แฮร์รี่จะต้องแข่งขันกับตัวแทนพ่อมดและแม่มดจากโรงเรียนที่มาเยืน เช่นเดียวกับนักเรียนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง แฮร์รี่ได้รับการชี้นำผ่านการปลองโดยศาสตราจารย์อลาสเตอร์ "แม้ด-อาย" มู้ดดี้ แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นคนอื่นปลอมตัวมา เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนของโวลเดอมอร์ คือ บาร์ตี้ เคร้าช์ จูเนอร์ จุดซึ่งปริศนาคลายปมออกนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องจากลางสังหรณ์และความไม่แน่นอนเป็นความขัดแย้งอย่างเปิดเผย แผนการของโวลเดอมอร์คือให้เคร้าช์ใช้การประลองนำตัวแฮร์รี่มาเพื่อให้โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จ แม้แฮร์รี่จะสามารถหลบหนีจากเขาได้ เซดริก ดิกกอรี่ ตัวแทนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่งในการประลอง ถูกสังหาร และโวลเดอมอร์กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
ในหนังสือเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ แฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อรับมือ ดัมเบิลดอร์ได้ให้ภาคีนกฟีนิกซ์กลับทำงานอีกครั้ง เป็นสมาคมลับซึ่งทำงานจากบ้านครอบครัวมืด ๆ ของซิเรียส แบล็ก เพื่อเอาชนะสมุนของโวลเดอมอร์ และคุ้มครองเป้าหมายของโวลเดอมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฮร์รี่ แม้รายละเอียดของแฮร์รี่เกี่ยวกับพฤติการณ์ล่าสุดของโวลเดอมอร์ กระทรวงเวทมนตร์และคนส่วนใหญ่ในโลกเวทมนตร์ปฏิเสธจะเชื่อว่าโวลเดอมอร์หวนกลับคืนอีกครั้ง ในความพยายามที่จะตอบโต้และทำให้เสียชื่อเสียงดัมเบิลดอร์ในท้ายสุด ผู้ซึ่งร่วมกับแฮร์รี่เป็นเสียงสำคัญที่สุดในโลกเวทมนตร์เพื่อพยายามเตือนการกลับมาของโวลเดอมอร์ กระทรวงได้แต่งตั้งโดโลเรส อัมบริดจ์ เป็นเจ้าพนักงานสอบสวนใหญ่แห่งฮอกวอตส์ เธอได้เปลี่ยนการปกครองโรงเรียนอย่างเข้มงวด และปฏิเสธจะอนุญาตให้นักเรียนเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากเวทมนตร์มืด
แฮร์รี่ก่อตั้ง "กองทัพดัมเบิลดอร์" กลุ่มเรียนลับเพื่อสอนทักษะการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดระดับสูงขึ้นแก่เพื่อนร่วมชั้นของเขาที่เขาเคยเรียนมา มีการเปิดเผยถึงคำทำนายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแฮร์รี่และโวลเดอมอร์ และแฮร์รี่ค้นพบว่าเขากับโวลเดอมอร์มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างเจ็บปวด ซึ่งให้แฮร์รี่เห็นพฤติการณ์บางอย่างของโวลเดอมอร์ทางกระแสจิต ในช่วงจุดสุดยอดของเรื่อง แฮร์รี่กับเพื่อนของเขาเผชิญหน้ากับผู้เสพความตายของโวลเดอมอร์ แม้การมาถึงทันเวลาของสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์จะช่วยชีวิตของเด็ก ๆ แต่ซิเรียส แบล็กก็ถูกสังหารไปในคราวเดียวกัน
โวลเดอมอร์เริ่มทำสงครามอย่างเปิดเผยในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม แม้แฮร์รี่กับเพื่อนจะค่อนข้างได้รับการคุ้มครองจากภัยอันตรายที่ฮอกวอตส์ แต่พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากช่วงวัยรุ่นทั้งหลาย แฮร์รี่เริ่มต้นเดตกับจินนี่ วีสลีย์ ในช่วงต้นของนิยาย แฮร์รี่ได้รับหนังสือเรียนปรุงยาเล่มเก่าซึ่งเติมไปด้วยความเห็นประกอบและข้อแนะนำโดยนักเขียนลึกลับ เจ้าชายเลือดผสม แฮร์รี่ยังได้เรียนพิเศษเป็นการส่วนตัวกับดัมเบิลดอร์ ซึ่งแสดงให้เขาเห็นความทรงจำทั้งหลายที่เกี่ยวข้องในชีวิตช่วงต้นของโวลเดอมอร์ ซึ่งยังแสดงให้เห็นว่าวิญญาณของโวลเดอมอร์ได้แยกไปอยู่ในฮอร์ครักซ์หลายอัน ซึ่งเป็นวัตถุวิเศษชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ยังที่ต่างๆ คู่ปรับหัวสูงของแฮร์รี่ เดรโก มัลฟอย พยายามโจมตีดัมเบิลดอร์ และหนังสือจบลงด้วยการสังหารดัมเบิลดอร์โดยศาสตราจารย์สเนป ผู้เรียกตัวเองว่าเจ้าชายเลือดผสม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต นิยายเล่มสุดท้ายในชุด เริ่มขึ้นทันทีหลังเหตุการณ์ในหนังสือเล่มก่อน โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จในการเถลิงอำนาจและควบคุมกระทรวงเวทมนตร์ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนีออกจากโรงเรียนเพื่อที่พวกเขาจะสามารถค้นหาและทำลายฮอร์ครักซ์ที่เหลืออยู่ของโวลเดอมอร์ เพื่อประกันความปลอดภัยของพวกตน เช่นเดียวกับความปลอดภัยของครอบครัวและเพื่อนฝูง พวกเขาถูกบีบให้โดดเดี่ยวตนเอง ระหว่างที่พวกเขาค้นหาฮอร์ครักซ์ ทั้งสามเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับอดีตของดัมเบิลดอร์ เช่นเดียวกับเจตนาที่แท้จริงของสเนป เขาทำงานในนามของดัมเบิลดอร์นับแต่มารดาของแฮร์รี่ถูกฆาตกรรม
นิยายจบลงด้วยการต่อสู้ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่ รอนและเฮอร์ไมโอนี ร่วมกับสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์ ตลอดจนครูและนักเรียนหลายคน ป้องกันฮอกวอตส์จากโวลเดอมอร์ ผู้เสพความตายของเขา และสิ่งมีชีวิตเวทมนตร์ทั้งหลาย ตัวละครหลักหลายคนถูกสังหารในการต่อสู้ระลอกแรก หลังเรียนรู้ว่าตัวเขาเองเป็นฮอร์ครักซ์ แฮร์รี่มอบตัวต่อโวลเดอมอร์ ผู้ร่ายคาถาปลิดชีพเขา อย่างไรก็ดี ผู้ป้องกันฮอกวอตส์ยังไม่ยอมจำนนแม้จะทราบข้อเท็จจริงนี้ และยังคงสู้ต่อไป หลังกลับจากความตาย แฮร์รี่เผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในท้ายที่สุด ซึ่งฮอร์ครักซ์ทั้งหมดถูกทำลายแล้ว ในการต่อสู้ที่เกิดตามมา คาถาของโวลเดอมอร์สะท้อนใส่ตัวเองและฆ่าโวลเดอมอร์ บทส่งท้ายอธิบายถึงชีวิตของตัวละครที่เหลือรอด และผลกระทบต่อโลกพ่อมด
งานสมทบ
โรวลิงขยายจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วยหนังสือสั้นหลายเล่มซึ่งผลิตออกมาให้การกุศลหลายอย่าง ใน พ.ศ. 2544 เธอวางจำหน่ายสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (สมมติว่าเป็นหนังสือเรียนฮอกวอตส์) และควิดดิชในยุคต่าง ๆ (หนังสือที่แฮร์รี่อ่านเอาสนุก) รายได้จากการขายหนังสือทั้งสามเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อมูลนิธิคอมิครีลิฟ ใน พ.ศ. 2550 โรวลิงประพันธ์นิทานของบีเดิลยอดกวีฉบับเขียนด้วยมือเจ็ดเล่ม ซึ่งเป็นการรวมเทพนวนิยายซึ่งปรากฏในเล่มสุดท้าย หนึ่งในนั้นถูกประมูลขายเพื่อระดมทุนแก่ชิลเดรนส์ไฮเลเวลกรุ๊ป กองทุนเพื่อเด็กพิการในประเทศยากจน หนังสือนี้ได้รับตีพิมพ์ระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โรวลิงได้เขียนพลีเควล 800 คำ ใน พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนซึ่งจัดโดยร้านขายหนังสือวอเทอร์สโตนส์ ใน พ.ศ. 2554 โรวลิงออกเว็บไซต์ใหม่ซึ่งประกาศเป็นโครงการในอนาคต ชื่อ พอตเตอร์มอร์
โครงสร้างและประเภท
นวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมแฟนตาซี อย่างไรก็ดี ในหลายแง่มุม ยังเป็นนวนิยายการศึกษา (bildungsromans) หรือการเปลี่ยนผ่านของวัย และมีส่วนที่เป็นประเภทลึกลับ ตื่นเต้นเขย่าขวัญ และโรแมนซ์ นวนิยายชุดนี้อาจถูกมองว่าเป็นประเภทโรงเรียนกินนอนเด็กของอังกฤษ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่ในชุดเกิดขึ้นในฮอกวอตส์ ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนอังกฤษสำหรับพ่อมดในนวนิยาย โดยมีหลักสูตรรวมถึงการใช้เวทมนตร์ด้วย ชุดนวนิยายนี้ยังเป็นประเภทที่สตีเฟน คิงใช้คำว่า "เรื่องลึกลับหลักแหลม" และแต่ละเล่มมีโครงสร้างคลึยคลึงกับการผจญภัยลึกลับสไตล์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เรื่องราวเล่าโดยบุคคลที่สามจำกัดมุมมองโดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อย (เช่น บทแรก ๆ ของศิลาอาถรรพ์และเครื่องรางยมทูต และสองบทแรกของเจ้าชายเลือดผสม)
ช่วงกลางของหนังสือแต่ละเล่ม แฮร์รี่ต่อสู้กับปัญหาที่เขาประสบ และการจัดการปัญหาเหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับความต้องการละเมิดกฎโรงเรียนบางข้อ หากนักเรียนถูกจับได้ว่าละเมิดกฎ พวกเขาจะถูกลงโทษโดยศาสตราจารย์ฮอกวอตส์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลงโทษที่มักพบในประเภทย่อยโรงเรียนกินนอน อย่างไรก็ดี เรื่องราวถึงจุดสูงสุดในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน ช่วงใกล้หรือช่วงเพิ่งสอบปลายภาคเรียนเสร็จ โดยมีเหตุการณ์บานปลายขึ้นเกินการวิวาทและการดิ้นรนอยู่ในโรงเรียน และแฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์หรือหนึ่งในผู้ติดตามของเขา ผู้เสพความตาย โดยเดิมพันเรื่องคอขาดบาดตาย ประเด็นหนึ่งเน้นย้ำว่า เมื่อเรื่องราวดำเนินไป มีตัวละครหนึ่งตัวหรือมากกว่าถูกฆ่าในแต่ละเล่มในสี่เล่มสุดท้าย หลังจากนั้น เขาเรียนรู้บทเรียนสำคัญผ่านการชี้แจงและการอภิปรายกับอาจารย์ใหญ่และที่ปรึกษา อัลบัส ดัมเบิลดอร์
ในนวนิยายเล่มสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต แฮร์รี่กับเพื่อนใช้เวลาส่วนใหญ่นอกฮอกวอตส์ และเพียงกลับมาเพื่อเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในตอนจบ ด้วยรูปแบบนวนิยายการศึกษา ในส่วนนี้แฮร์รี่ต้องเติบโตขึ้นก่อนวัยอันควร ละทิ้งโอกาสปีสุดท้ายในฐานะนักเรียนโรงเรียนและจำต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งคนอื่นต้องพึ่งพาการตัดสินใจของเขา ซึ่งรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย
แก่นเรื่อง
โรวลิงว่า แก่นเรื่องหลักของชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์คือ ความตาย "หนังสือของฉันเกี่ยวข้องกับความตายเป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวเกิดขึ้นด้วยการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ มีความคิดครอบงำของโวลเดอมอร์เรื่องการพิชิตความตายและภารกิจของเขาเพื่อความเป็นอมตะไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปก็ตาม เป้าหมายของทุกคนที่มีเวทมนตร์ ฉันเข้าใจดีว่าทำไมโวลเดอมอร์ต้องการพิชิตความตาย เราทุกคนกลัวมัน"
อาจารย์และนักหนังสือพิมพ์ได้พัฒนาการตีความแก่นเรื่องอื่นอีกมากในหนังสือ บ้างก็ซับซ้อนกว่าแนวคิดอื่น และบ้างก็รวมถึงการแฝงนัยทางการเมืองด้วย แก่นเรื่องนี้อย่างเช่น ปกติวิสัย การครอบงำ การอยู่รอด และการก้าวข้ามความแปลกประหลาดที่เพิ่มขึ้นมาล้วนถูกมองว่าพบเห็นได้บ่อยตลอดทั้งเรื่อง เช่นเดียวกัน แก่นเรื่องในการก้าวหน้าผ่านช่วงวัยรุ่นและ "การก้าวข้ามอุปสรรคที่ทรมานที่สุด และอยู่กับมันในท้ายที่สุด" ได้ถูกพิจารณาด้วย โรวลิงว่า หนังสือของเธอประกอบด้วย "ข้อพิสูจน์ยืดเยื้อแก่ความอดกลั้น คำขอร้องยาวนานให้ยุติความเชื่อไร้เหตุผล" และว่ายังผ่านข้อความเพื่อ "ตั้งคำถามถึงทางการและ ... ไม่สันนิษฐานว่าสถาบันหรือสื่อบอกความจริงแก่คุณทั้งหมด"
ขณะที่อาจกล่าวได้ว่าหนังสือนั้นประกอบด้วยแก่นเรื่องอื่นอีกหลากหลาย เช่น อำนาจ การละเมิดอำนาจ, ความรัก, อคติ และทางเลือกเสรี ซึ่งทั้งหมดนี้ ตามคำกล่าวของเจ. เค. โรวลิง ว่า "ฝังลึกอยู่ในโครงเรื่องทั้งหมด" ผู้เขียนยังพึงใจปล่อยให้แก่นเรื่อง "การเติบโตทางชีวิต" มากกว่านั่งลงและเจตนาพยายามที่จะบอกแนวคิดนั้นแก่ผู้อ่านของเธอ ในบรรดาแก่นเรื่องนั้นคือ แก่นเรื่องที่มีอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับวัยรุ่น ซึ่งในการพรรณนา โรวลิงมีจุดประสงค์ในการรับรองเพศภาพตัวละครของเธอและไม่ทิ้งให้แฮร์รี่ ตามคำพูดของเธอ "ติดอยู่ในสภาพก่อนวัยหนุ่มสาวไปตลอดกาล" โรวลิงกล่าวว่า สำหรับเธอ ความสำคัญทางศีลธรรมของเรื่องนี้ดู "ชัดเจนมากอย่างที่สุด" สิ่งสำคัญสำหรับเธอคือทางเลือกระหว่างสิ่งที่ง่ายกับสิ่งที่ถูก "เพราะว่า ... คือสิ่งที่ทรราชเริ่มต้น โดยคนไม่ยินดียินร้ายและเลือกเส้นทางที่ง่าย และทันใดนั้นก็พบว่าตนเองอยู่ในปัญหาร้ายแรง"
จุดกำเนิดและประวัติการตีพิมพ์
ใน พ.ศ. 2533 เจ. เค. โรวลิงอยู่ในรถไฟที่มีคนเนืองแน่นจากแมนเชสเตอร์ไปยังลอนดอน เมื่อแนวคิดแฮร์รี่ "ตกลงมาใส่หัวของเธอ" ทันใดนั้นเอง โรวลิงเล่าถึงประสบการฯณ์บนเว็บไซต์ของเธอโดยระบุว่า
ฉันเคยเขียนค่อนข้างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่อายุได้หกขวบ แต่ฉันไม่เคยตื่นเต้นกับแนวคิดไหนมาก่อน ฉันเพียงแค่นั่งลงและคิด เป็นเวลาสี่ (รถไฟล่าช้า) ชั่วโมง และทุกรายละเอียดก็ผุดขึ้นในสมองของฉัน และเด็กชายผอมกะหร่อง ผมดำ สวมแว่นตาผู้ไม่รู้ว่าตนเองเป็นพ่อมดนี้ก็ค่อย ๆ กลายเป็นจริงขึ้นสำหรับฉัน
โรวลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน พ.ศ. 2538 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent) ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บิวรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรวลิงเป็นค่าจัดพิมพ์ แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรวลิงได้รับคำถามจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรวลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรวลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) ได้รับตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี ผู้จัดพิมพ์หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกเล่มในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2541 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สโกลาสติก สำนักพิมพ์หนังสือของอเมริกา ในชื่อ Harry Potter and the Sorcerer's Stone หลังโรวลิงได้รับเงิน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐเป็นค่าลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับหนังสือเด็กโดยนักเขียนที่ขณะนั้นยังไร้ชื่อ ด้วยกลัวว่าผู้อ่านชาวอเมริกันจะไม่เชื่อมโยงคำว่า "philosopher" (นักปราชญ์) กับแก่นเรื่องเวทมนตร์ (แม้ศิลานักปราชญ์จะเกี่ยวข้องกับการเล่นแร่แปรธาตุก็ตาม) สโกลาสติกจึงยืนยันว่าหนังสือควรให้ชื่อนี้สำหรับตลาดอเมริกัน
หนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และในสหรัฐอเมริกาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันตีพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และในสหรัฐอเมริกา 8 กันยายน ปีเดียวกัน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีตีพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เวลาเดียวกันทั้งบลูมสบิวรีและสโกลาสติก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหนังสือเล่มยาวที่สุดในชุด ด้วยความหนา 766 หน้าในรุ่นสหราชอาณาจักร และ 870 หน้าในรุ่นสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ทั่วโลกในภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2546 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมตีพิมพ์วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทำยอดขาย 9 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกทั่วโลก นิยายเล่มที่เจ็ดและสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทำยอดขาย 11 ล้านเล่มในช่วงวางขาย 24 ชั่วโมงแรก แบ่งเป็น 2.7 ล้านเล่มในสหราชอาณาจักร และ 8.3 ล้านเล่มในสหรัฐอเมริกา
การแปล
หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นอีกอย่างน้อย 67 ภาษา เล่มแรกนั้นได้รับการแปลเป็นภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ โดยเป็นงานเขียนภาษากรีกโบราณที่ยาวที่สุดนับแต่นวนิยายของเฮลิโอโดรัสแห่งอีเมซาในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ทำให้โรวลิงเป็นผู้ประพันธ์ที่ผลงานได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นมากที่สุดในโลก การแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีความยากลำบากหลายประการ เช่น จากการถ่ายทอดวัฒนธรรมโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ การใช้ภาษาที่แสดงถึงบุคลิกภาพหรือสำเนียง รวมถึงการคิดค้นศัพท์ใหม่ ๆ ของผู้แต่งด้วย
นักแปลบางคนที่ได้รับว่าจ้างมาแปลหนังสือนั้นเป็นผู้ประพันธ์มีชื่อเสียงก่อนมีผลงานกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ วิกตอร์ โกลูเชฟ ผู้ควบคุมการแปลหนังสือเล่มที่ห้ารเป็นภาษารัสเซีย การแปลหนังสือเล่มสองถึงเจ็ดเป็นภาษาตุรกีอยู่ภายใต้การดูแลของเซวิน ออคเย นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม ด้วยเหตุผลด้านความลับ การแปลสามารถเริ่มต้นได้เฉพาะหลังหนังสือนั้นออกมาในภาษาอังกฤษแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้รุ่นภาษาอังกฤษถูกขายให้แก่แฟนที่รอไม่ไหวในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกที จนทำให้เล่มที่ห้าในชุดกลายมาเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกและเล่มเดียวที่ขึ้นเป็นที่หนึ่งของรายการหนังสือขายดีในฝรั่งเศส
รุ่นสหรัฐอเมริกาของนวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องผ่านการดัดแปลงข้อความเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเสียก่อน เพราะคำหลายคำและหลายแนวคิดที่ใช้โดยตัวละครในนวนิยายนั้นอาจไม่เป็นที่เข้าใจแก่ผู้อ่านชาวอเมริกัน
ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิ่งยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร ส่วนฉบับภาพยนตร์ที่สร้างโดย Warner Bros. ฉบับพากย์ไทย โดย บริษัท แคททาลิสต์ แอตลายแอนส์ (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดจำหน่าย
ความสำเร็จ
แรงกระทบทางวัฒนธรรม
บรรดานักอ่านผู้ชื่นชอบนิยายชุดนี้ล้วนเฝ้ารอการวางจำหน่ายตอนล่าสุดที่ร้านหนังสือทั่วโลก เริ่มจัดงานให้ตรงกับวันวางจำหน่ายวันแรกตอนเที่ยงคืน เริ่มตั้งแต่การตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีใน พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา กิจกรรมพิเศษระหว่างรอจำหน่ายมีมากมาย เช่น การแต่งกายเลียนแบบตัวละคร เล่นเกม ระบายสีหน้า และการแสดงอื่น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนพอตเตอร์และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดึงดูดแฟนและขายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้เกือบ 9 ล้านเล่ม จากจำนวนที่พิมพ์ไว้ครั้งแรก 10.8 ล้านเล่ม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการวางแผง หนังสือเล่มสุดท้ายของชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นหนังสือที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยขายได้ 11 ล้านเล่มในยี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการวางจำหน่าย
นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า "มักเกิ้ล" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิ้ลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์ ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก
รางวัลและเกียรติยศ
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ตั้งแต่การพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ครั้งแรก รวมทั้งรางวัลหนังสือวิตเทกเกอร์แพลตินัมสี่รางวัล (ทั้งหมดได้รับเมื่อ พ.ศ. 2544) รางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์สามรางวัล (พ.ศ. 2540-42), รางวัลหนังสือสภาศิลปะสกอตสองรางวัล (พ.ศ. 2542 และ 2544), รางวัลหนังสือเด็กแห่งปีวิตเบรดเล่มแรก (พ.ศ. 2542), และหนังสือแห่งปีดับเบิลยูเอชสมิท (พ.ศ. 2549) และอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2543 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฮิวโกนวนิยายยอดเยี่ยม และใน พ.ศ. 2544 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีได้รับรางวัลดังกล่าว เกียรติยศที่ได้นั้นมีทั้งการมอบเหรียญรางวัลคาร์เนกี (พ.ศ. 2540), รายชื่อสั้นสำหรับรางวัลเด็กการ์เดี้ยน (พ.ศ. 2541) และอยู่ในรายการหนังสือมีชื่อเสียง หนังสือที่คัดเลือกโดยบรรณาธิการ และรายการหนังสือดีที่สุดของสมาคมหอสมุดอเมริกา, เดอะนิวยอร์กไทมส์, หอสมุดสาธารณะชิคาโก และพับลิชเชอร์วีกลี
ความสำเร็จทางการค้า
ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่างๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิ่งได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ "มหาเศรษฐี" ของโลก มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน นับแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ได้เป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลอันดับที่ 5 ส่วนตอนอื่นๆ อีก 4 ตอนก็ติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลใน 20 อันดับแรก
ภาพยนตร์ได้รับการดัดแปลงไปเป็นวีดีโอเกม 8 ชุด และยังได้รับค่าลิขสิทธิ์ในการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มากกว่า 400 รายการ (รวมถึงไอพอด) นับถึงปี พ.ศ. 2548 ยี่ห้อ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้โรว์ลิ่งกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก ทว่าโรว์ลิ่งชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง
ความต้องการอย่างสูงในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้ นิวยอร์กไทมส์ ตัดสินใจเปิดอันดับหนังสือขายดีอีก 1 ประเภทสำหรับวรรณกรรมเด็กโดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก่อนการวางจำหน่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และหนังสือของโรว์ลิ่งก็อยู่บนอันดับหนังสือขายดีนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 79 สัปดาห์ โดยที่ทั้งสามเล่มแรกเป็นหนังสือขายดีในประเภทหนังสือปกแข็งด้วย การจัดส่งหนังสือชุด ถ้วยอัคนี ต้องใช้รถบรรทุกของเฟดเอกซ์กว่า 9,000 คันเพื่อการส่งหนังสือเล่มนี้เพียงอย่างเดียว วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ร้านหนังสือ บาร์นส์แอนด์โนเบิล ประกาศว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิติหนังสือจองผ่านเว็บไซต์โดยมียอดจองมากกว่า 500,000 เล่ม เมื่อนับรวมทั้งเว็บของบาร์นส์แอนด์โนเบิล กับอเมซอนดอตคอม จะเป็นยอดจองล่วงหน้ารวมกันมากกว่า 700,000 เล่ม แต่เดิมสถิติการพิมพ์หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 ล้านเล่ม แต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำลายสถิตินี้ด้วยยอดพิมพ์ครั้งแรก 8.5 ล้านเล่ม และต่อมาก็ถูกทำลายสถิติลงอีกด้วย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม ที่ 10.8 ล้านเล่ม ในจำนวนนี้ได้ขายออกไป 6.9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากวางจำหน่าย ส่วนในอังกฤษได้ขายออกไป 2 ล้านชุดภายในวันแรก
คำชื่นชมและวิจารณ์
การวิจารณ์ทางวรรณกรรม
ในช่วงแรกๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี ทำให้นวนิยายชุดนี้ขยายฐานผู้อ่านออกไปอย่างมาก หนังสือเล่มแรกของชุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ได้จุดประเด็นความสนใจแก่หนังสือพิมพ์ของสกอตแลนด์หลายเล่ม เช่น The Scotsman บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "มีทุกอย่างของความคลาสสิก" หรือ The Glasgow Herald ตั้งสมญาให้ว่าเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" ไม่นานหนังสือพิมพ์ของทางอังกฤษก็เข้าร่วมวงด้วย มีหนังสือพิมพ์มากกว่า 1 เล่มเปรียบเทียบงานเขียนชุดนี้กับงานของโรอัลด์ ดาห์ล หนังสือพิมพ์ The Mail on Sunday เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น "งานเขียนที่เปี่ยมจินตนาการนับแต่ยุคของโรอัลด์ ดาห์ล" ส่วน The Guardian เรียกหนังสือนี้ว่า "นวนิยายอันงดงามที่สร้างโดยนักประดิษฐ์อัจฉริยะ"
ครั้นเมื่อหนังสือออกวางจำหน่ายถึงเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ นวนิยายก็ได้รับการวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้นจากเหล่านักวิชาการด้านวรรณกรรม ฮาโรลด์ บลูม ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล นักวิชาการวรรณศิลป์และนักวิจารณ์ เป็นผู้ยกประเด็นการวิจารณ์วรรณกรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เขากล่าวว่า "ในใจของโรว์ลิ่งมีแต่เรื่องอุปมาเกี่ยวกับความตายวนไปวนมา ไม่มีสไตล์การเขียนแบบอื่นเลย" เอ. เอส. ไบแอต นักเขียนประจำนิวยอร์กไทมส์ บอกว่าจักรวาลในเรื่องของโรว์ลิ่งสร้างขึ้นจากจินตนาการที่ผสมปนเปจากวรรณกรรมเด็กหลายๆ เรื่อง และเขียนขึ้นเพื่อคนที่มีจินตนาการหมกมุ่นกับการ์ตูนทีวี โลกในฟองสบู่ที่เว่อร์เกินจริง รายการเรียลลิตี้ และข่าวซุบซิบดารา
นักวิจารณ์ชื่อ แอนโทนี โฮลเดน เขียนความรู้สึกของเขาจากการตัดสินรางวัลวิทเบรด ปี พ.ศ. 2542 ส่วนที่เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ไว้ใน The Observer โดยที่ค่อนข้างมีมุมมองไม่ค่อยดี เขากล่าวว่า "มหากาพย์พอตเตอร์เป็นงานอนุรักษ์นิยม ย้อนยุค โหยหาความเป็นอดีตและระบบอุปถัมภ์ในอดีตของอังกฤษที่ผ่านไปแล้ว" เขายังวิจารณ์อีกว่าเป็น "งานเขียนร้อยแก้วที่ผิดไวยากรณ์ ใช้สำนวนตลาด"
แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้" เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน The Times โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ.เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่งดิกเก้นส์ ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา" ชาร์ลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม"
สตีเฟน คิง เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิ่งในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ คิงยังว่า "โรว์ลิ่งจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับ อลิซ ฮัค โฟรโด และโดโรธีแล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล"
การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม
นิตยสารไทมส์ประกาศให้โรว์ลิ่งเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์เป็น "บุคคลแห่งปี" ของไทมส์ในปี พ.ศ. 2550 ในฐานะที่มีผลงานโดดเด่นทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากต่อกลุ่มแฟนคลับของเธอ ทว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อนิยายชุดนี้ก็มีทั้งด้านดีและไม่ดีปะปนกัน นักวิจารณ์หนังสือจากวอชิงตันโพสต์ รอน ชาร์ลส์ แสดงความเห็นของเขาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่าจำนวนผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากซึ่งอ่านหนังสืออื่นค่อนข้างน้อย อาจสะท้อนถึงตัวอย่างที่ไม่ดีของวัฒนธรรมวัยเด็ก รูปแบบการนำเสนอแบบตรงไปตรงมาในเรื่องที่แยกระหว่าง "ความดี-ความเลว" อย่างชัดเจนนั้นก็เป็นแนวทางแบบเด็ก ๆ เขายังบอกว่า ไม่ใช่ความผิดของโรว์ลิ่งเลย แต่วิธีทางการตลาดแบบ "ฮีสทีเรีย" (กรี๊ดกร๊าดคลั่งไคล้อย่างรุนแรง) ที่ปรากฏให้เห็นในการตีพิมพ์หนังสือเล่มหลังๆ "ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันหลงใหลเสียงกรีดร้องในโรงมหรสพ ประสบการณ์สื่อแบบมหาชนซึ่งนิยายอื่นอาจจะทำให้ไม่ได้"
เจนนี่ ซอว์เยอร์ เขียนไว้ใน Christian Science Monitor เมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่า หนังสือชุดนี้เป็นตัวแทนถึง "จุดเปลี่ยนค่านิยมการเล่านิทานและสังคมตะวันตก" โดยที่ในนิยายชุดนี้ "หัวใจแห่งศีลธรรมกำลังเหือดหายไปจากวัฒนธรรมยุคใหม่... หลังจากผ่านไป 10 ปี, 4195 หน้า และ 375 ล้านเล่ม ท่ามกลางความสำเร็จอย่างสูงยิ่งของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง แต่เสาหลักของวรรณกรรมเด็กอันยิ่งใหญ่กลับขาดหายไป นั่นคือการเดินทางของวีรบุรุษเพื่อยืนหยัดความถูกต้อง" ซอว์เยอร์กล่าวว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เคยประสบความท้าทายทางศีลธรรม ไม่เคยตกอยู่ใต้ภาวะลำบากระหว่างความถูกผิด ดังนั้นจึง "ไม่เคยมีสถานการณ์ใดที่ความถูกผิดไม่เป็นสีขาวและสีดำ"
คริส ซุลเลนทรอพ ให้ความเห็นคล้ายคลึงกันใน Slate Magazine เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เขาเปรียบพอตเตอร์ว่าเป็น "เด็กผู้เป็นที่ไว้วางใจและชื่นชมที่โรงเรียน อันเป็นผลงานส่วนมากจากของขวัญที่เพื่อนและครอบครัวทุ่มเทให้" เขาสังเกตว่า ในนิยายของโรว์ลิ่งนั้น ศักยภาพและความสามารถทางเวทมนตร์เป็น "สิ่งที่คุณเกิดมาพร้อมกับมัน ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะไขว่คว้ามาได้" ซุลเลนทรอพเขียนว่า คำคมของดัมเบิลดอร์ที่ว่า "เราต้องเลือกเองที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่กว่าความสามารถของเรา" เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ในเมื่อโรงเรียนที่ดัมเบิลดอร์บริหารอยู่นั้นให้ความสำคัญกับพรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิดมากกว่าอะไรทั้งนั้น อย่างไรก็ดี ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คริสโตเฟอร์ ฮิทเชนส์ รีวิว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยยกย่องโรว์ลิ่งว่าได้ปรับเปลี่ยน "นิทานเกี่ยวกับโรงเรียนในอังกฤษ" ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร ที่เคยมีแต่เรื่องเพ้อฝัน ความร่ำรวย ชนชั้น และความเป็นผู้ดี ให้กลายเป็น "โลกของประชาธิปไตยและความเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว"
การโต้แย้งต่าง ๆ
หนังสือชุดนี้ตกเป็นประเด็นโต้แย้งทางกฎหมายมากมายหลายคดี มีทั้งการฟ้องร้องจากกลุ่มคริสเตียนอเมริกันว่าการใช้เวทมนตร์คาถาในหนังสือเป็นการเชิดชูศิลปะของพวกพ่อมดแม่มดให้แพร่หลายในหมู่เด็ก ๆ รวมถึงข้อขัดแย้งอีกหลายคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การที่นวนิยายชุดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและครอบครองมูลค่าตลาดสูงมาก ทำให้โรว์ลิ่ง สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ของเธอ รวมถึงวอร์เนอร์ บราเธอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของตน ทั้งนี้รวมถึงการห้ามจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เหล่าเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อโดเมนคาบเกี่ยวกับคำว่า "แฮร์รี่ พอตเตอร์" พวกเขายังฟ้องนักเขียนอีกคนหนึ่งคือ แนนซี สโตฟเฟอร์ เพื่อตอบโต้การที่เธอออกมากล่าวอ้างว่า โรว์ลิ่งลอกเลียนแบบงานเขียนของเธอ กลุ่มนักอนุรักษ์นิยมทางศาสนาจำนวนมากอ้างว่า หนังสือชุดนี้เชิดชูศาสตร์ของพ่อมดแม่มด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก นอกจากนี้ยังมีนักวิจารณ์อีกจำนวนหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือชุดนี้มีแง่มุมทางการเมืองซ่อนอยู่หลายประการ
การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น
ภาพยนตร์
ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิ่งขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง โรว์ลิ่งยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงใช้ภาษาอังกฤษบริเตน ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟองโซ กัวรอง ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าโดยเดวิด เยตส์ บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิ่ง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิ่งได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความตรงต่อหนังสือ
ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ห้าภาคที่ผ่านมา มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ โดยแสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน วอร์เนอร์บราเธอร์สได้ยืนยันว่านักแสดงหลักสามคนนี้จะร่วมแสดงในภาพยนตร์ภาคที่หกและเจ็ดด้วย
ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ถูกแบ่งเป็นสองตอน กำกับโดย เดวิด เยตส์และสตีฟ โคลฟ จะกลับมาทำหน้าที่เขียนบทเช่นเดิม และทาง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เซ็นยอมรับแล้ว ซึ่งทำให้ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์จะมีต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2554 รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้เวลานานกว่า 10 ปี
ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 6 ภาคทำรายได้รวมมากกว่า 5,400ล้านเหรียญสหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 974 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดอยู่ในอันดับที่ 11 ภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลของบ็อกซ์ออฟฟิศ
ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์แต่ละภาคได้รับคำวิจารณ์จากแฟนหนังสือมากมาย ในภาคแรกและภาคที่สองซึ่งกำกับโดยคริส โคลัมบัส ตัวภาพยนตร์เองได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเนื้อเรื่องในหนังสือไว้ แต่เนื้อหาของภาพยนตร์ก็เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับเด็ก จึงทำให้เด็กชมภาพยนตร์ภาคแรกและภาคสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในภาคที่สามกำกับโดยอัลฟองโซ กัวรองที่ได้ปรับเปลี่ยนตัวปราสาทฮอกวอตส์และใช้บรรยากาศแบบมืดครึ้ม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องมากกว่าเดิมทำให้ฉากแอ๊คชั่นที่มีในหนังสือลดลงไป ส่วนในภาคที่สี่กำกับโดยไมค์ นิวเวลล์ เน้นหนักในเรื่องฉากแอ๊คชั่นและฉากต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่การทำฉากแอ๊คชั่นมากเกินไป จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทตัวละครในเรื่องลดลงตามไปด้วย และในภาคที่ห้าที่กำกับโดยเดวิด เยตส์ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและตัดเนื้อเรื่องบางตอนออกไป เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือที่มากกว่าเล่มอื่น ๆ ฉากแอ๊คชั่นจึงลดลงทำให้ภาพยนตร์ออกมาในแนวดราม่า แต่ทางทีมงานก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษมากกว่าภาคก่อนๆ ทำให้ภาพยนตร์ภาคที่ห้านี้ทำรายได้ไปถึง 939 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในภาคที่หกเดวิด เยตส์ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์เช่นเคยโดยจะเน้นบทดราม่ามากกว่าฉากแอ๊คชั่นซึ่งมีอยู่น้อยมากและจะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครต่างๆแทน ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ภาคที่หกนี้ก็ได้สร้างสถิติใหม่นั่นก็คือ ภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดในสัปดาห์แรก โดยทำเงินไปทั้งสิ้น 394 ล้านเหรียญสหรัฐทำลายสถิติของไอ้แมงมุม 3ที่เปิดตัวด้วยรายรับทั่วโลก 381 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้รวมไป 934 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายหลังภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 เข้าฉายและทำรายได้รวม 955 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ของพวกแฮร์รี่และจบลงที่การตายของด๊อบบี้ ทำให้โทนหนังของภาคนี้จะเป็นแนวโร้ดมูฟวี่หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเสียเป็นส่วนใหญ่
และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่างๆมากมาย อาทิเช่น ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหก โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้ปิดที่ 1,328 ล้านเหรียญสหรัฐอยู่ในอันดับที่ 3ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องไททานิกและอวตารเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์Rotten Tomatoesให้คะแนนสูงถึง 96% สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบควมสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้
วิดีโอเกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ถูกดัดแปลงในรูปแบบของวิดีโอเกมหลังจากที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เข้าฉายได้ไม่นานนัก ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทเกมอิเลคโทรนิค อาร์ตที่ผลิตออกมาเป็นเกมรูปแบบผจญภัย ในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับวิดีโอเกมที่สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และต่อมาได้พัฒนาจนสามารถเล่นได้ทั้งเครื่องเอกซ์บอกซ์ 360, วี เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผลิตเกมที่ดำเนินตามเนื้องเรื่องในภาพยนตร์ออกมาแล้วจำนวนหกเกม นอกจากนี้ยังมีเกมควิดดิชเวิลด์คัพซึ่งไม่ได้ดำเนินตามเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่จะเป็นรูปแบบเกมกีฬาแทน ผลิตโดยบริษัทอิเลคโทรนิค อาร์ตเช่นกัน โดยเกมควิดดิชเวิลด์คัพนี้สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์
เกมชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการสร้างภาคต่อขึ้นและมีการพัฒนารูปแบบของเกมไปเรื่อยๆในทุก ๆ ภาค เช่น การทำภาพสมจริง และเสียงประกอบ เป็นต้น นอกจากนั้นตัวละครในเกมบางส่วนยังได้รับเสียงพากย์จากนักแสดงตัวจริงที่แสดงในภาพยนตร์อีกด้วย
ละครเพลง
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการวางแผนให้ได้รับการดัดแปลงในรูปแบบละครเพลงซึ่งจะนำเนื้อหาจากหนังสือนิยายต้นฉบับมาดัดแปลง โดยจะใช้การร้องเพลงเป็นตัวดำเนินเรื่องและคาดว่าจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นในปีต่อๆไป ปัจจุบันการวางแผนให้แฮร์รี่ พอตเตอร์ดัดแปลงในรูปแบบละครเพลงนี้ยังอยู่ในรูปแบบโครงการและยังไม่ได้มีการเริ่มดัดแปลงแต่อย่างใด
อิทธิพลและผลสืบเนื่อง
วงดนตรี
แฮร์รี่ พอตเตอร์มีอิทธิพลต่อสื่อทางด้านวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นชายเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีผลสำรวจว่ามีวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจหรืออิทธิพลจากแฮร์รี่ พอตเตอร์มากมายหลายร้อยวงด้วยกัน วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือวง "แฮร์รีแอนด์เดอะพอตเตอร์ส" ซึ่งเป็นวงดนตรีอินดี้ร็อกที่นำเสนอเพลงแบบเรียบง่าย พวกเขาได้นำเนื้อหาบางส่วนในหนังสือมาแต่งเป็นบทเพลงของตน
สวนสนุก
หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์ เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ทั้งนี้ได้รับการอนุญาตและยืนยันจาก เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ เรียบร้อยแล้ว
ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด โรว์ลิ่งตอบตกลง ขณะนี้ได้เริ่มทำการก่อสร้างและวางโครงร่างแล้ว มีกำหนดการเปิดสวนสนุกให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553
มักเกิ้ลควิดดิช
ควิดดิช ถือเป็นกีฬายอดฮิตในโลกเวทมนตร์ ที่บรรดาพ่อมดแม่มดจะขึ้นไปขี่บนไม้กวาดและเล่นกับลูกบอลสี่ลูกด้วยกัน แต่มนุษย์ทั่วไปหรือที่โลกพ่อมดเรียกกันว่ามักเกิ้ลก็พยายามเล่นกีฬาประเภทนี้ในวิธีอื่น ๆ โดยใช้จักรยานหรือจักรยานยนต์แทนไม้กวาด นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งพยายามเลียนแบบการเล่นกีฬานี้ในแบบฉบับของมักเกิ้ล มีการทดลองเล่นกีฬาควิดดิชในแบบฉบับของมักเกิ้ลเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 ที่เลียนแบบควิดดิชจากโลกเวทมนตร์ โดยใช้ห่วงติดกับท่อ ใช้ลูกบอลขนาดต่าง ๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล ลูกบาสเกตบอล แทนลูกควัฟเฟิล ใช้ไม้เทนนิสแทนบีตเตอร์ และใช้คนแทนลูกสนิช
หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และนับแต่นั้น หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม การยกย่องอย่างสำคัญและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ชุดนวนิยายดังกล่าวก็มีข้อวิจารณ์บ้าง รวมถึงความกังวลถึงโทนเรื่องที่มืดมนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ชุดหนังสือทำยอดขายประมาณ 450 ล้านเล่มทั่วโลก และมีการแปลไปเป็นภาษาต่าง ๆ 67 ภาษา หนังสือเล่มสุดท้ายของชุดยังเป็นสถิติหนังสือที่จำหน่ายออกหมดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สามารถจัดเป็นวรรณกรรมได้หลายประเภท (genre) รวมทั้งแฟนตาซีและการเปลี่ยนผ่านของวัย (coming of age) โดยมีองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทลึกลับ ตื่นเต้นสยองขวัญ ผจญภัย และโรแมนซ์ และมีความหายและการสื่อถึงวัฒนธรรมหลายอย่าง ตามข้อมูลของโรว์ลิง ธีมหลักของเรื่อง คือ ความตาย แม้โดยพื้นฐานแล้วงานนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานวรรณกรรมเด็ก นอกจากนี้ยังมีธีมอื่นอีกมากมายในชุด เช่น ความรักและอคติ
หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส จำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบกันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 หนังสือดังกล่าวจะเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน "พอตเตอร์มอร์"
จักรวาลของเรื่อง
โลกในนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้น เป็นโลกของพวกพ่อมดและแม่มดที่อยู่ร่วมกันกับโลกของมนุษย์เรานี้ในลักษณะคู่ขนาน ในเรื่องจะเรียกพวกมนุษย์ทั่วไปว่า มักเกิ้ล หรือมนุษย์ผู้ไร้เวทมนตร์ โลกพ่อมดจะมีอาณาเขตที่เชื่อมต่อกับโลกของมักเกิ้ลโดยมีสิ่งต่างๆ เช่นกำแพง เป็นสิ่งที่กั้นขอบเขตระหว่างทั้งสองโลก พ่อมดสามารถไปมาหาสู่กันได้โดยการผ่านกำแพงกั้นระหว่างโลกมักเกิ้ลกับโลกพ่อมด เช่นการผ่านแผงกั้นชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ พวกมักเกิ้ลจะไม่สามารถเห็นแผงกั้นระหว่างทั้งสองโลกได้ หรืออาจจะเห็นแต่ก็จะเห็นเป็นกำแพงหรือสิ่งของธรรมดาเท่านั้น มักเกิ้ลไม่มีทางเข้าสู่โลกพ่อมดได้แม้ว่าวิธีใด ๆ ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นกับมักเกิ้ลบางคนที่มีพลังเวทมนตร์ เช่น เฮอร์ไมโอนี่ เป็นต้น แต่สถานที่บางแห่งก็ไม่มีเขตกั้นระหว่างทั้งสองโลก พวกมักเกิ้ลสามารถเดินเข้าไปในโลกของพ่อมดได้ ทำให้บ่อยครั้งที่มีผู้พบเห็นพวกสัตว์วิเศษที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ที่ไม่มีเขตกั้น
พวกพ่อมดแม่มดนอกจากจะมีโลกที่เป็นของตัวเองแล้ว ยังมีสถานที่ที่แอบซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ ของโลกมักเกิ้ลอีกด้วย มีทั้งซ่อนไว้ใต้ดิน แต่ละที่มีเพียงพ่อมดแม่มดเท่านั้นที่จะมองเห็นและเข้าไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ แต่กระทรวงเวทมนตร์เป็นข้อยกเว้นเนื่องจากมักเกิ้ลมักพบเห็นพ่อมดเสกเวทมนตร์คาถาอยู่บ่อย ๆ จึงต้องพาตัวมักเกิ้ลมาที่กระทรวงเพื่อลบความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องโลกเวทมนตร์เพื่อไม่ให้ความลับเรื่องโลกเวทมนตร์ถูกเปิดเผย
นอกจากนั้นพวกพ่อมดแม่มดยังใช้สถานที่ของมักเกิ้ลเป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาควิดดิชอีกด้วย กีฬาประเภทนี้มักจัดตามที่ราบต่าง ๆ หรือตามป่าที่ไม่มีมักเกิ้ลอาศัยอยู่ แต่ถึงกระนั้นพวกพ่อมดก็ไม่อาจวางใจได้ พวกเขาต้องตั้งแนวป้องกันด้วยคาถาต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมักเกิ้ลที่บังเอิญหลงทางมาพบเห็นเข้า นอกจากนั้นพวกพ่อมดยังมีคาถาที่ทำให้มักเกิ้ลที่เข้ามาใกล้เปลี่ยนใจเดินออกไปให้ไกลได้อีกด้วย
การป้องกันมักเกิ้ลถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อพวกพ่อมดแม่มด เพราะหากมีมักเกิ้ลพบเห็นว่าพวกเขาเสกเวทมนตร์ ความลับเรื่องเวทมนตร์ที่พวกเขาปกปิดก็อาจจะถูกเปิดเผย ฉะนั้นจึงต้องมีพ่อมดที่คอยป้องกันมักเกิ้ลไว้เสมอ นอกจากจะมีการป้องกันมักเกิ้ลไม่ให้พบพวกพ่อมดเสกเวทมนตร์แล้ว พวกพ่อมดยังต้องป้องกันไม่ให้มักเกิ้ลพบเห็นสัตว์วิเศษ เช่น มังกร ยูนิคอร์น เอลฟ์ โทรลล์ เพราะสัตว์บางพวกอาจทำร้ายมักเกิ้ลได้
ลำดับเวลา
เหตุการณ์ต่างๆ ในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ไม่มีการระบุถึงปีตามปฏิทินจริงมากนัก อย่างไรก็ตามมีการอ้างอิงถึงปีจริงบางส่วนในเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้สามารถวางเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ตามปีปฏิทินจริงได้ ซึ่งต่อมาข้อมูลได้รับการยืนยันจากการยอมรับของผู้แต่ง ลำดับเวลาซึ่งนำเสนอในดีวีดีภาพยนตร์ และแผนผังตระกูลแบล็กซึ่งผู้แต่งได้นำออกประมูลการกุศล
ลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไปคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดในปี พ.ศ. 2523 และเรื่องราวในหนังสือเล่มแรกเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2534 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ลำดับเวลาได้อยู่ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ บทที่ 8 ซึ่งแฮร์รี่ ได้เข้าร่วม"งานเลี้ยงวันตาย ปีที่ห้าร้อย" ของตัวละครนิกหัวเกือบขาด และมีการระบุปีบนเค้กวันตายว่า "ตายวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1492" (พ.ศ. 2035) ซึ่งแปลว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535
โครงเรื่อง
นวนิยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ เด็กกำพร้าผู้พบว่าตนเองเป็นพ่อมดเมื่ออายุได้สิบเอ็ดปี อาศัยอยู่ในโลกแห่งผู้ไม่มีอำนาจวิเศษ หรือมักเกิล ซึ่งเป็นประชากรปกติ ความสามารถของเขานั้นมีมาโดยกำเนิดและเด็กเช่นนี้ได้รับเชิญให้เข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งสอนทักษะที่จำกัดเพื่อประสบความสำเร็จในโลกพ่อมด แฮร์รี่กลายมาเป็นนักเรียนที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ และเรื่องราวส่วนใหญ่ในนวนิยายเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เอง เมื่อแฮร์รี่เติบโตขึ้นผ่านช่วงวัยรุ่น เขาเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหาที่เผชิญกับเขา ทั้งทางเวทมนตร์ สังคมและอารมณ์ รวมทั้งความท้าทายอย่างวัยรุ่นทั่วไป เช่น มิตรภาพและการสอบ ตลอดจนบททดสอบอันยิ่งใหญ่กว่าที่กำลังเตรียมพร้อมเขาสำหรับการเผชิญหน้าที่คอยอยู่เบื้องหน้า
หนังสือแต่ละเล่มบันทึกเหตุการณ์หนึ่งปีในชีวิตของแฮร์รี่ โดยเนื้อเรื่องหลักเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1991-98 หนังสือยังมีการเล่าย้อนไปในอดีตหลายครั้ง ซึ่งมักอธิบายโดยตัวละครมองความทรงจำในอุปกรณ์ที่เรียกว่า เพนซิฟ
ช่วงปีแรก
เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์เปิดฉากขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่ามีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกพ่อมด เหตุการณ์นั้นสำคัญเสียจนแม้แต่มักเกิลก็ยังสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่าง เบื้องหลังทั้งหมดของเรื่องและบุคลิกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตลอดทั้งเรื่อง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ แฮร์รี่ค้นพบว่า เมื่อครั้งเป็นเด็ก เขาเป็นพยานการฆาตกรรมบิดามารดาของตนโดยพ่อมดมืดผู้หลงใหลในอำนาจ ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ซึ่งขณะนั้นพยายามฆ่าเขาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เปิดเผยทันที คาถาซึ่งโวลเดอมอร์พยายามปลิดชีพแฮร์รี่สะท้อนกลับไปยังเขาเอง แฮร์รี่รอดชีวิตโดยหลงเหลือแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผากเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และโวลเดอมอร์หายตัวไป ด้วยเป็นผู้ช่วยให้รอดโดยไม่ได้ตั้งใจจากยุคสมัยแห่งความกลัวของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่กลายมาเป็นตำนานมีชีวิตในโลกพ่อมด อย่างไรก็ดี ด้วยคำสั่งของพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ กำพร้าแฮร์รี่ถูกทิ้งไว้ในบ้านของญาติมักเกิลผู้ไม่น่าพิสมัยของเขา ครอบครัวเดอร์สลีย์ พวกเดอร์สลีย์รักษาเขาให้ปลอดภัยแต่ปกปิดมรดกที่แท้จริงจากเขาด้วยหวังว่าเขาจะเติบโตขึ้น "อย่างปกติ"
เมื่อย่างใกล้วันเกิดครบรอบปีที่สิบเอ็ดของแฮร์รี่ ครึ่งยักษ์ รูเบียส แฮกริด เปิดเผยประวัติของแฮร์รี่และนำเขาเข้าสู่โลกเวทมนตร์ สภาพแวดล้อมที่เจ. เค. โรว์ลิ่งสร้างขึ้นนั้นแยกจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง แต่ยังเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ขณะที่ดินแดนแฟนตาซีแห่งนาร์เนียเป็นอีกเอกภพหนึ่ง และมัชฌิมโลกแห่งลอร์ดออฟเดอะริงส์เป็นตำนานโบราณ โลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นเกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกแห่งความจริง และจึงเป็นว่า โลกของพอตเตอร์มีแบบเวทมนตร์ที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวัน สถาบันและสถานที่หลายแห่งนั้นมีอยู่จริง เช่น กรุงลอนดอน แต่ประกอบด้วยการรวบรวมชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของถนนที่ถูกซ่อน ผับเก่าแก่ที่ถูกมองข้าม คฤหาสน์ชนบทที่โดดเดี่ยว และปราสาทที่ตัดขาดจากโลกภายนอกซึ่งประชากรมักเกิลไม่อาจมองเห็นได้
ด้วยความช่วยเหลือของแฮกริด แฮร์รี่เตรียมตัวและเข้าเรียนในปีแรกที่ฮอกวอตส์ เมื่อแฮร์รี่เริ่มต้นสำรวจโลกเวทมนตร์นั้น เรื่องราวได้ระบุสถานที่สำคัญหลายแห่งที่ใช้ตลอดเนื้อเรื่อง แฮร์รี่พบกับตัวละครหลักส่วนใหญ่ และมีเพื่อนรักที่สุดสองคน รอน วีสลีย์ สมาชิกรักสนุกแห่งครอบครัวพ่อมดที่ใหญ่ เก่าแก่ มีความสุข แต่ฝืดเคือง และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ แม่มดที่มีพรสวรรค์และเรียนหนักผู้เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีเวทมนตร์ แฮร์รี่ยังพบกับอาจารย์สอนวิชาปรุงยาของโรงเรียน เซเวอร์รัส สเนป ผู้แสดงความไม่ชอบอย่างลึกซึ้งมั่นคงแก่เขา โครงเรื่องสรุปเมื่อแฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ครั้งที่สอง ผู้ซึ่งกำลังตามหาความเป็นอมตะ ปรารถนาได้รับอำนาจแห่งศิลาอาถรรพ์
เรื่องราวดำเนินต่อด้วยแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ซึ่งอธิบายปีที่สองของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ เขาและเพื่อนของเขาสืบสวนตำนานอายุ 50 ปีซึ่งกลายเป็นว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลางร้ายล่าสุดที่โรงเรียน น้องสาวของรอน จินนี่ วีสลีย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ปีหนึ่งที่ฮอกวอตส์ พบสมุดบันทึกซึ่งกลายเป็นบันทึกของโวลเดอมอร์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน จินนี่ถูกครอบงำโดยโวลเดอมอร์ผ่านบันทึก และเปิด "ห้องแห่งความลับ" และปลดปล่อยสัตว์ประหลาดโบราณซึ่งเริ่มโจมตีนักเรียนที่ฮอกวอตส์ ตอนนี้เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ฮอกวอตส์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับห้องนั้น เป็นครั้งแรกที่แฮร์รี่ตระหนักถึงอคติด้านชาติกำเนิดว่ามีอยู่ในโลกพ่อมด และเขาเรียนรู้ว่า ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์นั้นมักมุ่งไปยังพ่อมดผู้สืบเชื้อสายจากมักเกิล เขายังพบความสามารถของตนในการพูดภาษาพาร์เซล ซึ่งเป็นภาษาของงู พบได้ยากและมักเกี่ยวข้องกับศาสตร์มืด นิยายเล่มนี้จบลงหลังแฮร์รี่ช่วยชีวิตของจินนี่โดยทำลายบาซิลิสก์และหนังสือ ที่โวลเดอมอร์เก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณ (แฮร์รี่ไม่ทราบเรื่องนี้จนกระทั่งเปิดเผยภายหลัง) แนวคิดการเก็บรักษาส่วนหนึ่งของวิญญาณในวัตถุเพื่อป้องกันความตายนั้นปรากฏครั้งแรกในนิยายเล่มที่หกด้วยคำว่า "ฮอร์ครักซ์"
นิยายเล่มที่สาม แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ติดตามปีที่สามของแฮร์รี่ในการศึกษาเวทมนตร์ และเป็นเพียงเล่มเดียวในเรื่องที่มิได้มีโวลเดอมอร์ปรากฏ เขาต้องรับมือกับข้อมูลที่ว่าเขาตกเป็นเป้าหมายของซิเรียส แบล็ก ฆาตกรหลบหนีผู้เชื่อกันว่ามีส่วนในการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ เมื่อแฮร์รี่ต่อสู้กับปฏิกิริยาต่อผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตมืดซึ่งมีอำนาจในการกลืนกินวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งกำลังคุ้มครองโรงเรียนอยู่ เขาพบกับรีมัส ลูปิน ครูสอนวิชาการป้องกันต้องจากศาสตร์มืดคนใหม่ ซึ่งเปิดเผยภายหลังว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ลูปินสอนมาตรการป้องกันแก่แฮร์รี่ ซึ่งเหนือไปจากระดับเวทมนตร์ที่มักพบในบุคคลที่มีอายุเท่าเขา แฮร์รี่พบว่าทั้งลูปินและแบล็กเคยเป็นเพื่อนสนิทของบิดา และแบล็กถูกใส่ร้ายจากเพื่อนคนที่สี่ ปีเตอร์ เพ็ตดิกรูว์ ในเล่มนี้ มีการเน้นย้ำธีมที่เกิดขึ้นซ้ำอีกประการหนึ่งตลอดเรื่อง คือ ทุกเล่มจะต้องมีครูสอนการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่เสมอ ไม่มีคนใดทำงานอยู่ได้นานเกินหนึ่งปี
การหวนคืนของโวลเดอมอร์
ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ระหว่างปีที่สี่ของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันการประลองเวทไตรภาคีโดยไม่เต็มใจ ซึ่งเป็นการประลองอันตรายที่แฮร์รี่จะต้องแข่งขันกับตัวแทนพ่อมดและแม่มดจากโรงเรียนที่มาเยืน เช่นเดียวกับนักเรียนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง แฮร์รี่ได้รับการชี้นำผ่านการปลองโดยศาสตราจารย์อลาสเตอร์ "แม้ด-อาย" มู้ดดี้ แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นคนอื่นปลอมตัวมา เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนของโวลเดอมอร์ คือ บาร์ตี้ เคร้าช์ จูเนอร์ จุดซึ่งปริศนาคลายปมออกนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องจากลางสังหรณ์และความไม่แน่นอนเป็นความขัดแย้งอย่างเปิดเผย แผนการของโวลเดอมอร์คือให้เคร้าช์ใช้การประลองนำตัวแฮร์รี่มาเพื่อให้โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จ แม้แฮร์รี่จะสามารถหลบหนีจากเขาได้ เซดริก ดิกกอรี่ ตัวแทนฮอกวอตส์อีกคนหนึ่งในการประลอง ถูกสังหาร และโวลเดอมอร์กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
ในหนังสือเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ แฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อรับมือ ดัมเบิลดอร์ได้ให้ภาคีนกฟีนิกซ์กลับทำงานอีกครั้ง เป็นสมาคมลับซึ่งทำงานจากบ้านครอบครัวมืด ๆ ของซิเรียส แบล็ก เพื่อเอาชนะสมุนของโวลเดอมอร์ และคุ้มครองเป้าหมายของโวลเดอมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฮร์รี่ แม้รายละเอียดของแฮร์รี่เกี่ยวกับพฤติการณ์ล่าสุดของโวลเดอมอร์ กระทรวงเวทมนตร์และคนส่วนใหญ่ในโลกเวทมนตร์ปฏิเสธจะเชื่อว่าโวลเดอมอร์หวนกลับคืนอีกครั้ง ในความพยายามที่จะตอบโต้และทำให้เสียชื่อเสียงดัมเบิลดอร์ในท้ายสุด ผู้ซึ่งร่วมกับแฮร์รี่เป็นเสียงสำคัญที่สุดในโลกเวทมนตร์เพื่อพยายามเตือนการกลับมาของโวลเดอมอร์ กระทรวงได้แต่งตั้งโดโลเรส อัมบริดจ์ เป็นเจ้าพนักงานสอบสวนใหญ่แห่งฮอกวอตส์ เธอได้เปลี่ยนการปกครองโรงเรียนอย่างเข้มงวด และปฏิเสธจะอนุญาตให้นักเรียนเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากเวทมนตร์มืด
แฮร์รี่ก่อตั้ง "กองทัพดัมเบิลดอร์" กลุ่มเรียนลับเพื่อสอนทักษะการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดระดับสูงขึ้นแก่เพื่อนร่วมชั้นของเขาที่เขาเคยเรียนมา มีการเปิดเผยถึงคำทำนายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแฮร์รี่และโวลเดอมอร์ และแฮร์รี่ค้นพบว่าเขากับโวลเดอมอร์มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างเจ็บปวด ซึ่งให้แฮร์รี่เห็นพฤติการณ์บางอย่างของโวลเดอมอร์ทางกระแสจิต ในช่วงจุดสุดยอดของเรื่อง แฮร์รี่กับเพื่อนของเขาเผชิญหน้ากับผู้เสพความตายของโวลเดอมอร์ แม้การมาถึงทันเวลาของสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์จะช่วยชีวิตของเด็ก ๆ แต่ซิเรียส แบล็กก็ถูกสังหารไปในคราวเดียวกัน
โวลเดอมอร์เริ่มทำสงครามอย่างเปิดเผยในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม แม้แฮร์รี่กับเพื่อนจะค่อนข้างได้รับการคุ้มครองจากภัยอันตรายที่ฮอกวอตส์ แต่พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากช่วงวัยรุ่นทั้งหลาย แฮร์รี่เริ่มต้นเดตกับจินนี่ วีสลีย์ ในช่วงต้นของนิยาย แฮร์รี่ได้รับหนังสือเรียนปรุงยาเล่มเก่าซึ่งเติมไปด้วยความเห็นประกอบและข้อแนะนำโดยนักเขียนลึกลับ เจ้าชายเลือดผสม แฮร์รี่ยังได้เรียนพิเศษเป็นการส่วนตัวกับดัมเบิลดอร์ ซึ่งแสดงให้เขาเห็นความทรงจำทั้งหลายที่เกี่ยวข้องในชีวิตช่วงต้นของโวลเดอมอร์ ซึ่งยังแสดงให้เห็นว่าวิญญาณของโวลเดอมอร์ได้แยกไปอยู่ในฮอร์ครักซ์หลายอัน ซึ่งเป็นวัตถุวิเศษชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ยังที่ต่างๆ คู่ปรับหัวสูงของแฮร์รี่ เดรโก มัลฟอย พยายามโจมตีดัมเบิลดอร์ และหนังสือจบลงด้วยการสังหารดัมเบิลดอร์โดยศาสตราจารย์สเนป ผู้เรียกตัวเองว่าเจ้าชายเลือดผสม
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต นิยายเล่มสุดท้ายในชุด เริ่มขึ้นทันทีหลังเหตุการณ์ในหนังสือเล่มก่อน โวลเดอมอร์ประสบความสำเร็จในการเถลิงอำนาจและควบคุมกระทรวงเวทมนตร์ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนีออกจากโรงเรียนเพื่อที่พวกเขาจะสามารถค้นหาและทำลายฮอร์ครักซ์ที่เหลืออยู่ของโวลเดอมอร์ เพื่อประกันความปลอดภัยของพวกตน เช่นเดียวกับความปลอดภัยของครอบครัวและเพื่อนฝูง พวกเขาถูกบีบให้โดดเดี่ยวตนเอง ระหว่างที่พวกเขาค้นหาฮอร์ครักซ์ ทั้งสามเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับอดีตของดัมเบิลดอร์ เช่นเดียวกับเจตนาที่แท้จริงของสเนป เขาทำงานในนามของดัมเบิลดอร์นับแต่มารดาของแฮร์รี่ถูกฆาตกรรม
นิยายจบลงด้วยการต่อสู้ที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่ รอนและเฮอร์ไมโอนี ร่วมกับสมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์ ตลอดจนครูและนักเรียนหลายคน ป้องกันฮอกวอตส์จากโวลเดอมอร์ ผู้เสพความตายของเขา และสิ่งมีชีวิตเวทมนตร์ทั้งหลาย ตัวละครหลักหลายคนถูกสังหารในการต่อสู้ระลอกแรก หลังเรียนรู้ว่าตัวเขาเองเป็นฮอร์ครักซ์ แฮร์รี่มอบตัวต่อโวลเดอมอร์ ผู้ร่ายคาถาปลิดชีพเขา อย่างไรก็ดี ผู้ป้องกันฮอกวอตส์ยังไม่ยอมจำนนแม้จะทราบข้อเท็จจริงนี้ และยังคงสู้ต่อไป หลังกลับจากความตาย แฮร์รี่เผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในท้ายที่สุด ซึ่งฮอร์ครักซ์ทั้งหมดถูกทำลายแล้ว ในการต่อสู้ที่เกิดตามมา คาถาของโวลเดอมอร์สะท้อนใส่ตัวเองและฆ่าโวลเดอมอร์ บทส่งท้ายอธิบายถึงชีวิตของตัวละครที่เหลือรอด และผลกระทบต่อโลกพ่อมด
งานสมทบ
โรวลิงขยายจักรวาลแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วยหนังสือสั้นหลายเล่มซึ่งผลิตออกมาให้การกุศลหลายอย่าง ใน พ.ศ. 2544 เธอวางจำหน่ายสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (สมมติว่าเป็นหนังสือเรียนฮอกวอตส์) และควิดดิชในยุคต่าง ๆ (หนังสือที่แฮร์รี่อ่านเอาสนุก) รายได้จากการขายหนังสือทั้งสามเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อมูลนิธิคอมิครีลิฟ ใน พ.ศ. 2550 โรวลิงประพันธ์นิทานของบีเดิลยอดกวีฉบับเขียนด้วยมือเจ็ดเล่ม ซึ่งเป็นการรวมเทพนวนิยายซึ่งปรากฏในเล่มสุดท้าย หนึ่งในนั้นถูกประมูลขายเพื่อระดมทุนแก่ชิลเดรนส์ไฮเลเวลกรุ๊ป กองทุนเพื่อเด็กพิการในประเทศยากจน หนังสือนี้ได้รับตีพิมพ์ระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โรวลิงได้เขียนพลีเควล 800 คำ ใน พ.ศ. 2551 เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนซึ่งจัดโดยร้านขายหนังสือวอเทอร์สโตนส์ ใน พ.ศ. 2554 โรวลิงออกเว็บไซต์ใหม่ซึ่งประกาศเป็นโครงการในอนาคต ชื่อ พอตเตอร์มอร์
โครงสร้างและประเภท
นวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมแฟนตาซี อย่างไรก็ดี ในหลายแง่มุม ยังเป็นนวนิยายการศึกษา (bildungsromans) หรือการเปลี่ยนผ่านของวัย และมีส่วนที่เป็นประเภทลึกลับ ตื่นเต้นเขย่าขวัญ และโรแมนซ์ นวนิยายชุดนี้อาจถูกมองว่าเป็นประเภทโรงเรียนกินนอนเด็กของอังกฤษ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่ในชุดเกิดขึ้นในฮอกวอตส์ ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนอังกฤษสำหรับพ่อมดในนวนิยาย โดยมีหลักสูตรรวมถึงการใช้เวทมนตร์ด้วย ชุดนวนิยายนี้ยังเป็นประเภทที่สตีเฟน คิงใช้คำว่า "เรื่องลึกลับหลักแหลม" และแต่ละเล่มมีโครงสร้างคลึยคลึงกับการผจญภัยลึกลับสไตล์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เรื่องราวเล่าโดยบุคคลที่สามจำกัดมุมมองโดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อย (เช่น บทแรก ๆ ของศิลาอาถรรพ์และเครื่องรางยมทูต และสองบทแรกของเจ้าชายเลือดผสม)
ช่วงกลางของหนังสือแต่ละเล่ม แฮร์รี่ต่อสู้กับปัญหาที่เขาประสบ และการจัดการปัญหาเหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับความต้องการละเมิดกฎโรงเรียนบางข้อ หากนักเรียนถูกจับได้ว่าละเมิดกฎ พวกเขาจะถูกลงโทษโดยศาสตราจารย์ฮอกวอตส์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลงโทษที่มักพบในประเภทย่อยโรงเรียนกินนอน อย่างไรก็ดี เรื่องราวถึงจุดสูงสุดในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน ช่วงใกล้หรือช่วงเพิ่งสอบปลายภาคเรียนเสร็จ โดยมีเหตุการณ์บานปลายขึ้นเกินการวิวาทและการดิ้นรนอยู่ในโรงเรียน และแฮร์รี่ต้องเผชิญกับโวลเดอมอร์หรือหนึ่งในผู้ติดตามของเขา ผู้เสพความตาย โดยเดิมพันเรื่องคอขาดบาดตาย ประเด็นหนึ่งเน้นย้ำว่า เมื่อเรื่องราวดำเนินไป มีตัวละครหนึ่งตัวหรือมากกว่าถูกฆ่าในแต่ละเล่มในสี่เล่มสุดท้าย หลังจากนั้น เขาเรียนรู้บทเรียนสำคัญผ่านการชี้แจงและการอภิปรายกับอาจารย์ใหญ่และที่ปรึกษา อัลบัส ดัมเบิลดอร์
ในนวนิยายเล่มสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต แฮร์รี่กับเพื่อนใช้เวลาส่วนใหญ่นอกฮอกวอตส์ และเพียงกลับมาเพื่อเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ในตอนจบ ด้วยรูปแบบนวนิยายการศึกษา ในส่วนนี้แฮร์รี่ต้องเติบโตขึ้นก่อนวัยอันควร ละทิ้งโอกาสปีสุดท้ายในฐานะนักเรียนโรงเรียนและจำต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งคนอื่นต้องพึ่งพาการตัดสินใจของเขา ซึ่งรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย
แก่นเรื่อง
โรวลิงว่า แก่นเรื่องหลักของชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์คือ ความตาย "หนังสือของฉันเกี่ยวข้องกับความตายเป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวเกิดขึ้นด้วยการตายของพ่อแม่แฮร์รี่ มีความคิดครอบงำของโวลเดอมอร์เรื่องการพิชิตความตายและภารกิจของเขาเพื่อความเป็นอมตะไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปก็ตาม เป้าหมายของทุกคนที่มีเวทมนตร์ ฉันเข้าใจดีว่าทำไมโวลเดอมอร์ต้องการพิชิตความตาย เราทุกคนกลัวมัน"
อาจารย์และนักหนังสือพิมพ์ได้พัฒนาการตีความแก่นเรื่องอื่นอีกมากในหนังสือ บ้างก็ซับซ้อนกว่าแนวคิดอื่น และบ้างก็รวมถึงการแฝงนัยทางการเมืองด้วย แก่นเรื่องนี้อย่างเช่น ปกติวิสัย การครอบงำ การอยู่รอด และการก้าวข้ามความแปลกประหลาดที่เพิ่มขึ้นมาล้วนถูกมองว่าพบเห็นได้บ่อยตลอดทั้งเรื่อง เช่นเดียวกัน แก่นเรื่องในการก้าวหน้าผ่านช่วงวัยรุ่นและ "การก้าวข้ามอุปสรรคที่ทรมานที่สุด และอยู่กับมันในท้ายที่สุด" ได้ถูกพิจารณาด้วย โรวลิงว่า หนังสือของเธอประกอบด้วย "ข้อพิสูจน์ยืดเยื้อแก่ความอดกลั้น คำขอร้องยาวนานให้ยุติความเชื่อไร้เหตุผล" และว่ายังผ่านข้อความเพื่อ "ตั้งคำถามถึงทางการและ ... ไม่สันนิษฐานว่าสถาบันหรือสื่อบอกความจริงแก่คุณทั้งหมด"
ขณะที่อาจกล่าวได้ว่าหนังสือนั้นประกอบด้วยแก่นเรื่องอื่นอีกหลากหลาย เช่น อำนาจ การละเมิดอำนาจ, ความรัก, อคติ และทางเลือกเสรี ซึ่งทั้งหมดนี้ ตามคำกล่าวของเจ. เค. โรวลิง ว่า "ฝังลึกอยู่ในโครงเรื่องทั้งหมด" ผู้เขียนยังพึงใจปล่อยให้แก่นเรื่อง "การเติบโตทางชีวิต" มากกว่านั่งลงและเจตนาพยายามที่จะบอกแนวคิดนั้นแก่ผู้อ่านของเธอ ในบรรดาแก่นเรื่องนั้นคือ แก่นเรื่องที่มีอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับวัยรุ่น ซึ่งในการพรรณนา โรวลิงมีจุดประสงค์ในการรับรองเพศภาพตัวละครของเธอและไม่ทิ้งให้แฮร์รี่ ตามคำพูดของเธอ "ติดอยู่ในสภาพก่อนวัยหนุ่มสาวไปตลอดกาล" โรวลิงกล่าวว่า สำหรับเธอ ความสำคัญทางศีลธรรมของเรื่องนี้ดู "ชัดเจนมากอย่างที่สุด" สิ่งสำคัญสำหรับเธอคือทางเลือกระหว่างสิ่งที่ง่ายกับสิ่งที่ถูก "เพราะว่า ... คือสิ่งที่ทรราชเริ่มต้น โดยคนไม่ยินดียินร้ายและเลือกเส้นทางที่ง่าย และทันใดนั้นก็พบว่าตนเองอยู่ในปัญหาร้ายแรง"
จุดกำเนิดและประวัติการตีพิมพ์
ใน พ.ศ. 2533 เจ. เค. โรวลิงอยู่ในรถไฟที่มีคนเนืองแน่นจากแมนเชสเตอร์ไปยังลอนดอน เมื่อแนวคิดแฮร์รี่ "ตกลงมาใส่หัวของเธอ" ทันใดนั้นเอง โรวลิงเล่าถึงประสบการฯณ์บนเว็บไซต์ของเธอโดยระบุว่า
ฉันเคยเขียนค่อนข้างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่อายุได้หกขวบ แต่ฉันไม่เคยตื่นเต้นกับแนวคิดไหนมาก่อน ฉันเพียงแค่นั่งลงและคิด เป็นเวลาสี่ (รถไฟล่าช้า) ชั่วโมง และทุกรายละเอียดก็ผุดขึ้นในสมองของฉัน และเด็กชายผอมกะหร่อง ผมดำ สวมแว่นตาผู้ไม่รู้ว่าตนเองเป็นพ่อมดนี้ก็ค่อย ๆ กลายเป็นจริงขึ้นสำหรับฉัน
โรวลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน พ.ศ. 2538 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent) ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บิวรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรวลิงเป็นค่าจัดพิมพ์ แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรวลิงได้รับคำถามจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรวลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรวลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) ได้รับตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี ผู้จัดพิมพ์หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกเล่มในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2541 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สโกลาสติก สำนักพิมพ์หนังสือของอเมริกา ในชื่อ Harry Potter and the Sorcerer's Stone หลังโรวลิงได้รับเงิน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐเป็นค่าลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับหนังสือเด็กโดยนักเขียนที่ขณะนั้นยังไร้ชื่อ ด้วยกลัวว่าผู้อ่านชาวอเมริกันจะไม่เชื่อมโยงคำว่า "philosopher" (นักปราชญ์) กับแก่นเรื่องเวทมนตร์ (แม้ศิลานักปราชญ์จะเกี่ยวข้องกับการเล่นแร่แปรธาตุก็ตาม) สโกลาสติกจึงยืนยันว่าหนังสือควรให้ชื่อนี้สำหรับตลาดอเมริกัน
หนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และในสหรัฐอเมริกาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันตีพิมพ์อีกหนึ่งปีให้หลังในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และในสหรัฐอเมริกา 8 กันยายน ปีเดียวกัน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีตีพิมพ์เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เวลาเดียวกันทั้งบลูมสบิวรีและสโกลาสติก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหนังสือเล่มยาวที่สุดในชุด ด้วยความหนา 766 หน้าในรุ่นสหราชอาณาจักร และ 870 หน้าในรุ่นสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ทั่วโลกในภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2546 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมตีพิมพ์วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทำยอดขาย 9 ล้านเล่มในการวางขาย 24 ชั่วโมงแรกทั่วโลก นิยายเล่มที่เจ็ดและสุดท้าย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทำยอดขาย 11 ล้านเล่มในช่วงวางขาย 24 ชั่วโมงแรก แบ่งเป็น 2.7 ล้านเล่มในสหราชอาณาจักร และ 8.3 ล้านเล่มในสหรัฐอเมริกา
การแปล
หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นอีกอย่างน้อย 67 ภาษา เล่มแรกนั้นได้รับการแปลเป็นภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ โดยเป็นงานเขียนภาษากรีกโบราณที่ยาวที่สุดนับแต่นวนิยายของเฮลิโอโดรัสแห่งอีเมซาในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ทำให้โรวลิงเป็นผู้ประพันธ์ที่ผลงานได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นมากที่สุดในโลก การแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีความยากลำบากหลายประการ เช่น จากการถ่ายทอดวัฒนธรรมโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ การใช้ภาษาที่แสดงถึงบุคลิกภาพหรือสำเนียง รวมถึงการคิดค้นศัพท์ใหม่ ๆ ของผู้แต่งด้วย
นักแปลบางคนที่ได้รับว่าจ้างมาแปลหนังสือนั้นเป็นผู้ประพันธ์มีชื่อเสียงก่อนมีผลงานกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ วิกตอร์ โกลูเชฟ ผู้ควบคุมการแปลหนังสือเล่มที่ห้ารเป็นภาษารัสเซีย การแปลหนังสือเล่มสองถึงเจ็ดเป็นภาษาตุรกีอยู่ภายใต้การดูแลของเซวิน ออคเย นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม ด้วยเหตุผลด้านความลับ การแปลสามารถเริ่มต้นได้เฉพาะหลังหนังสือนั้นออกมาในภาษาอังกฤษแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้รุ่นภาษาอังกฤษถูกขายให้แก่แฟนที่รอไม่ไหวในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกที จนทำให้เล่มที่ห้าในชุดกลายมาเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกและเล่มเดียวที่ขึ้นเป็นที่หนึ่งของรายการหนังสือขายดีในฝรั่งเศส
รุ่นสหรัฐอเมริกาของนวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องผ่านการดัดแปลงข้อความเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเสียก่อน เพราะคำหลายคำและหลายแนวคิดที่ใช้โดยตัวละครในนวนิยายนั้นอาจไม่เป็นที่เข้าใจแก่ผู้อ่านชาวอเมริกัน
ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิ่งยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร ส่วนฉบับภาพยนตร์ที่สร้างโดย Warner Bros. ฉบับพากย์ไทย โดย บริษัท แคททาลิสต์ แอตลายแอนส์ (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดจำหน่าย
ความสำเร็จ
แรงกระทบทางวัฒนธรรม
บรรดานักอ่านผู้ชื่นชอบนิยายชุดนี้ล้วนเฝ้ารอการวางจำหน่ายตอนล่าสุดที่ร้านหนังสือทั่วโลก เริ่มจัดงานให้ตรงกับวันวางจำหน่ายวันแรกตอนเที่ยงคืน เริ่มตั้งแต่การตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีใน พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา กิจกรรมพิเศษระหว่างรอจำหน่ายมีมากมาย เช่น การแต่งกายเลียนแบบตัวละคร เล่นเกม ระบายสีหน้า และการแสดงอื่น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนพอตเตอร์และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดึงดูดแฟนและขายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมได้เกือบ 9 ล้านเล่ม จากจำนวนที่พิมพ์ไว้ครั้งแรก 10.8 ล้านเล่ม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการวางแผง หนังสือเล่มสุดท้ายของชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นหนังสือที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยขายได้ 11 ล้านเล่มในยี่สิบสี่ชั่วโมงแรกของการวางจำหน่าย
นวนิยายชุดนี้ยังสามารถครองใจกลุ่มนักอ่านผู้ใหญ่ได้ด้วย ทำให้มีการจัดพิมพ์หนังสือออกเป็น 2 ฉบับในแต่ละเล่ม ซึ่งในนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันหมด เพียงแต่ฉบับหนึ่งทำปกสำหรับเด็ก อีกฉบับหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการพบปะกันออนไลน์ผ่านบล็อก พ็อตแคสต์และแฟนไซต์แล้ว แฟนผู้คลั่งไคล้แฮร์รี่ พอตเตอร์ยังสามารถพบปะกันที่สัมมนาแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ด้วย คำว่า "มักเกิ้ล" (Muggle) ได้แพร่ออกไปนอกเหนือจากการใช้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ และกลายเป็นหนึ่งในคำวัฒนธรรมสมัยนิยมไม่กี่คำได้บรรจุลงพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด แฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์ฟังพ็อตแคสต์เป็นประจำ โดยมากทุกสัปดาห์ เพื่อเข้าใจการอภิปรายล่าสุดในหมู่แฟน ทั้งมักเกิ้ลแคสต์และพอตเตอร์แคสต์ ได้แตะระดับอันดับสูงสุดของไอทูนส์และได้รับการจัดอันดับอยู่ในพ็อตแคสต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 50 อันดับแรก
รางวัลและเกียรติยศ
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย ตั้งแต่การพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ครั้งแรก รวมทั้งรางวัลหนังสือวิตเทกเกอร์แพลตินัมสี่รางวัล (ทั้งหมดได้รับเมื่อ พ.ศ. 2544) รางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์สามรางวัล (พ.ศ. 2540-42), รางวัลหนังสือสภาศิลปะสกอตสองรางวัล (พ.ศ. 2542 และ 2544), รางวัลหนังสือเด็กแห่งปีวิตเบรดเล่มแรก (พ.ศ. 2542), และหนังสือแห่งปีดับเบิลยูเอชสมิท (พ.ศ. 2549) และอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2543 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฮิวโกนวนิยายยอดเยี่ยม และใน พ.ศ. 2544 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีได้รับรางวัลดังกล่าว เกียรติยศที่ได้นั้นมีทั้งการมอบเหรียญรางวัลคาร์เนกี (พ.ศ. 2540), รายชื่อสั้นสำหรับรางวัลเด็กการ์เดี้ยน (พ.ศ. 2541) และอยู่ในรายการหนังสือมีชื่อเสียง หนังสือที่คัดเลือกโดยบรรณาธิการ และรายการหนังสือดีที่สุดของสมาคมหอสมุดอเมริกา, เดอะนิวยอร์กไทมส์, หอสมุดสาธารณะชิคาโก และพับลิชเชอร์วีกลี
ความสำเร็จทางการค้า
ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่างๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิ่งได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ "มหาเศรษฐี" ของโลก มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน นับแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ได้เป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลอันดับที่ 5 ส่วนตอนอื่นๆ อีก 4 ตอนก็ติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลใน 20 อันดับแรก
ภาพยนตร์ได้รับการดัดแปลงไปเป็นวีดีโอเกม 8 ชุด และยังได้รับค่าลิขสิทธิ์ในการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มากกว่า 400 รายการ (รวมถึงไอพอด) นับถึงปี พ.ศ. 2548 ยี่ห้อ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้โรว์ลิ่งกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก ทว่าโรว์ลิ่งชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง
ความต้องการอย่างสูงในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้ นิวยอร์กไทมส์ ตัดสินใจเปิดอันดับหนังสือขายดีอีก 1 ประเภทสำหรับวรรณกรรมเด็กโดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก่อนการวางจำหน่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และหนังสือของโรว์ลิ่งก็อยู่บนอันดับหนังสือขายดีนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 79 สัปดาห์ โดยที่ทั้งสามเล่มแรกเป็นหนังสือขายดีในประเภทหนังสือปกแข็งด้วย การจัดส่งหนังสือชุด ถ้วยอัคนี ต้องใช้รถบรรทุกของเฟดเอกซ์กว่า 9,000 คันเพื่อการส่งหนังสือเล่มนี้เพียงอย่างเดียว วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ร้านหนังสือ บาร์นส์แอนด์โนเบิล ประกาศว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิติหนังสือจองผ่านเว็บไซต์โดยมียอดจองมากกว่า 500,000 เล่ม เมื่อนับรวมทั้งเว็บของบาร์นส์แอนด์โนเบิล กับอเมซอนดอตคอม จะเป็นยอดจองล่วงหน้ารวมกันมากกว่า 700,000 เล่ม แต่เดิมสถิติการพิมพ์หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 ล้านเล่ม แต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำลายสถิตินี้ด้วยยอดพิมพ์ครั้งแรก 8.5 ล้านเล่ม และต่อมาก็ถูกทำลายสถิติลงอีกด้วย แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม ที่ 10.8 ล้านเล่ม ในจำนวนนี้ได้ขายออกไป 6.9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากวางจำหน่าย ส่วนในอังกฤษได้ขายออกไป 2 ล้านชุดภายในวันแรก
คำชื่นชมและวิจารณ์
การวิจารณ์ทางวรรณกรรม
ในช่วงแรกๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี ทำให้นวนิยายชุดนี้ขยายฐานผู้อ่านออกไปอย่างมาก หนังสือเล่มแรกของชุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ได้จุดประเด็นความสนใจแก่หนังสือพิมพ์ของสกอตแลนด์หลายเล่ม เช่น The Scotsman บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "มีทุกอย่างของความคลาสสิก" หรือ The Glasgow Herald ตั้งสมญาให้ว่าเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" ไม่นานหนังสือพิมพ์ของทางอังกฤษก็เข้าร่วมวงด้วย มีหนังสือพิมพ์มากกว่า 1 เล่มเปรียบเทียบงานเขียนชุดนี้กับงานของโรอัลด์ ดาห์ล หนังสือพิมพ์ The Mail on Sunday เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น "งานเขียนที่เปี่ยมจินตนาการนับแต่ยุคของโรอัลด์ ดาห์ล" ส่วน The Guardian เรียกหนังสือนี้ว่า "นวนิยายอันงดงามที่สร้างโดยนักประดิษฐ์อัจฉริยะ"
ครั้นเมื่อหนังสือออกวางจำหน่ายถึงเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ นวนิยายก็ได้รับการวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้นจากเหล่านักวิชาการด้านวรรณกรรม ฮาโรลด์ บลูม ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล นักวิชาการวรรณศิลป์และนักวิจารณ์ เป็นผู้ยกประเด็นการวิจารณ์วรรณกรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เขากล่าวว่า "ในใจของโรว์ลิ่งมีแต่เรื่องอุปมาเกี่ยวกับความตายวนไปวนมา ไม่มีสไตล์การเขียนแบบอื่นเลย" เอ. เอส. ไบแอต นักเขียนประจำนิวยอร์กไทมส์ บอกว่าจักรวาลในเรื่องของโรว์ลิ่งสร้างขึ้นจากจินตนาการที่ผสมปนเปจากวรรณกรรมเด็กหลายๆ เรื่อง และเขียนขึ้นเพื่อคนที่มีจินตนาการหมกมุ่นกับการ์ตูนทีวี โลกในฟองสบู่ที่เว่อร์เกินจริง รายการเรียลลิตี้ และข่าวซุบซิบดารา
นักวิจารณ์ชื่อ แอนโทนี โฮลเดน เขียนความรู้สึกของเขาจากการตัดสินรางวัลวิทเบรด ปี พ.ศ. 2542 ส่วนที่เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ไว้ใน The Observer โดยที่ค่อนข้างมีมุมมองไม่ค่อยดี เขากล่าวว่า "มหากาพย์พอตเตอร์เป็นงานอนุรักษ์นิยม ย้อนยุค โหยหาความเป็นอดีตและระบบอุปถัมภ์ในอดีตของอังกฤษที่ผ่านไปแล้ว" เขายังวิจารณ์อีกว่าเป็น "งานเขียนร้อยแก้วที่ผิดไวยากรณ์ ใช้สำนวนตลาด"
แต่ในทางตรงกันข้าม เฟย์ เวลดอน นักเขียนผู้ยอมรับว่านวนิยายชุดนี้ "ไม่ใช่งานที่กวีจะชื่นชอบ" แต่ก็ยอมรับว่า "มันไม่ใช่กวีนิพนธ์ มันเป็นร้อยแก้วที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านได้ทุกวัน และขายได้" เอ. เอ็น. วิลสัน นักวิจารณ์วรรณกรรม ยกย่องนวนิยายชุดนี้ใน The Times โดยระบุว่า "มีนักเขียนไม่มากนักเหมือนอย่างเจ.เค. ผู้มีความสามารถดังหนึ่งดิกเก้นส์ ที่ทำให้เราต้องรีบพลิกอ่านหน้าต่อไป ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่อาย พอไม่กี่หน้าถัดไปเราก็ต้องหัวเราะกับมุกตลกที่แทรกอยู่สม่ำเสมอ ... เรามีชีวิตอยู่ตลอดทศวรรษที่เฝ้าติดตามงานตีพิมพ์อันมีชีวิตชีวาที่สุด สนุกสนานที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา" ชาร์ลส์ เทย์เลอร์ แห่ง salon.com นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เห็นด้วยกับความคิดของไบแอต แต่เขาก็ยอมรับว่าผู้ประพันธ์อาจจะ "มีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง คือความเป็นวัยรุ่น มันเป็นแรงกระตุ้นของพวกเราที่จะเข้าใจความเหลวไหลของยุคสมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างกับความซับซ้อนของศิลปะยุคเดิม"
สตีเฟน คิง เรียกนวนิยายชุดนี้ว่า "ความกล้าหาญซึ่งผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศเท่านั้นจึงจะทำได้" และยกย่องการเล่นถ้อยคำสำนวนตลอดจนอารมณ์ขันของโรว์ลิ่งในนิยายชุดนี้ว่า "โดดเด่น" แม้เขาจะบอกว่านิยายชุดนี้จัดว่าเป็นนิยายที่ดี แต่ก็บอกด้วยว่า ในตอนต้นของหนังสือทั้งเจ็ดเล่มที่พบแฮร์รี่ที่บ้านลุงกับป้านั้นค่อนข้างน่าเบื่อ คิงยังว่า "โรว์ลิ่งจะไม่ใช้คำขยายความที่เธอไม่ชอบ!" เขายังทำนายด้วยว่า นวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ "จะยืนยงท้าทายการทดสอบของกาลเวลา และอยู่บนหิ้งที่เก็บหนังสือดีที่สุดเท่านั้น ผมคิดว่าแฮร์รี่ได้เทียบขั้นกับ อลิซ ฮัค โฟรโด และโดโรธีแล้ว นิยายชุดนี้จะไม่โด่งดังเพียงทศวรรษนี้ แต่จะยืนยงตลอดกาล"
การวิจารณ์ทางวัฒนธรรม
นิตยสารไทมส์ประกาศให้โรว์ลิ่งเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์เป็น "บุคคลแห่งปี" ของไทมส์ในปี พ.ศ. 2550 ในฐานะที่มีผลงานโดดเด่นทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากต่อกลุ่มแฟนคลับของเธอ ทว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อนิยายชุดนี้ก็มีทั้งด้านดีและไม่ดีปะปนกัน นักวิจารณ์หนังสือจากวอชิงตันโพสต์ รอน ชาร์ลส์ แสดงความเห็นของเขาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่าจำนวนผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากซึ่งอ่านหนังสืออื่นค่อนข้างน้อย อาจสะท้อนถึงตัวอย่างที่ไม่ดีของวัฒนธรรมวัยเด็ก รูปแบบการนำเสนอแบบตรงไปตรงมาในเรื่องที่แยกระหว่าง "ความดี-ความเลว" อย่างชัดเจนนั้นก็เป็นแนวทางแบบเด็ก ๆ เขายังบอกว่า ไม่ใช่ความผิดของโรว์ลิ่งเลย แต่วิธีทางการตลาดแบบ "ฮีสทีเรีย" (กรี๊ดกร๊าดคลั่งไคล้อย่างรุนแรง) ที่ปรากฏให้เห็นในการตีพิมพ์หนังสือเล่มหลังๆ "ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันหลงใหลเสียงกรีดร้องในโรงมหรสพ ประสบการณ์สื่อแบบมหาชนซึ่งนิยายอื่นอาจจะทำให้ไม่ได้"
เจนนี่ ซอว์เยอร์ เขียนไว้ใน Christian Science Monitor เมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ว่า หนังสือชุดนี้เป็นตัวแทนถึง "จุดเปลี่ยนค่านิยมการเล่านิทานและสังคมตะวันตก" โดยที่ในนิยายชุดนี้ "หัวใจแห่งศีลธรรมกำลังเหือดหายไปจากวัฒนธรรมยุคใหม่... หลังจากผ่านไป 10 ปี, 4195 หน้า และ 375 ล้านเล่ม ท่ามกลางความสำเร็จอย่างสูงยิ่งของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง แต่เสาหลักของวรรณกรรมเด็กอันยิ่งใหญ่กลับขาดหายไป นั่นคือการเดินทางของวีรบุรุษเพื่อยืนหยัดความถูกต้อง" ซอว์เยอร์กล่าวว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เคยประสบความท้าทายทางศีลธรรม ไม่เคยตกอยู่ใต้ภาวะลำบากระหว่างความถูกผิด ดังนั้นจึง "ไม่เคยมีสถานการณ์ใดที่ความถูกผิดไม่เป็นสีขาวและสีดำ"
คริส ซุลเลนทรอพ ให้ความเห็นคล้ายคลึงกันใน Slate Magazine เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เขาเปรียบพอตเตอร์ว่าเป็น "เด็กผู้เป็นที่ไว้วางใจและชื่นชมที่โรงเรียน อันเป็นผลงานส่วนมากจากของขวัญที่เพื่อนและครอบครัวทุ่มเทให้" เขาสังเกตว่า ในนิยายของโรว์ลิ่งนั้น ศักยภาพและความสามารถทางเวทมนตร์เป็น "สิ่งที่คุณเกิดมาพร้อมกับมัน ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะไขว่คว้ามาได้" ซุลเลนทรอพเขียนว่า คำคมของดัมเบิลดอร์ที่ว่า "เราต้องเลือกเองที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่กว่าความสามารถของเรา" เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ในเมื่อโรงเรียนที่ดัมเบิลดอร์บริหารอยู่นั้นให้ความสำคัญกับพรสวรรค์ที่มีมาแต่กำเนิดมากกว่าอะไรทั้งนั้น อย่างไรก็ดี ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คริสโตเฟอร์ ฮิทเชนส์ รีวิว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยยกย่องโรว์ลิ่งว่าได้ปรับเปลี่ยน "นิทานเกี่ยวกับโรงเรียนในอังกฤษ" ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร ที่เคยมีแต่เรื่องเพ้อฝัน ความร่ำรวย ชนชั้น และความเป็นผู้ดี ให้กลายเป็น "โลกของประชาธิปไตยและความเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว"
การโต้แย้งต่าง ๆ
หนังสือชุดนี้ตกเป็นประเด็นโต้แย้งทางกฎหมายมากมายหลายคดี มีทั้งการฟ้องร้องจากกลุ่มคริสเตียนอเมริกันว่าการใช้เวทมนตร์คาถาในหนังสือเป็นการเชิดชูศิลปะของพวกพ่อมดแม่มดให้แพร่หลายในหมู่เด็ก ๆ รวมถึงข้อขัดแย้งอีกหลายคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การที่นวนิยายชุดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและครอบครองมูลค่าตลาดสูงมาก ทำให้โรว์ลิ่ง สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ของเธอ รวมถึงวอร์เนอร์ บราเธอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของตน ทั้งนี้รวมถึงการห้ามจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เหล่าเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อโดเมนคาบเกี่ยวกับคำว่า "แฮร์รี่ พอตเตอร์" พวกเขายังฟ้องนักเขียนอีกคนหนึ่งคือ แนนซี สโตฟเฟอร์ เพื่อตอบโต้การที่เธอออกมากล่าวอ้างว่า โรว์ลิ่งลอกเลียนแบบงานเขียนของเธอ กลุ่มนักอนุรักษ์นิยมทางศาสนาจำนวนมากอ้างว่า หนังสือชุดนี้เชิดชูศาสตร์ของพ่อมดแม่มด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก นอกจากนี้ยังมีนักวิจารณ์อีกจำนวนหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือชุดนี้มีแง่มุมทางการเมืองซ่อนอยู่หลายประการ
การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น
ภาพยนตร์
ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิ่งขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง โรว์ลิ่งยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงใช้ภาษาอังกฤษบริเตน ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟองโซ กัวรอง ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าโดยเดวิด เยตส์ บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิ่ง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิ่งได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความตรงต่อหนังสือ
ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ห้าภาคที่ผ่านมา มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ โดยแสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน วอร์เนอร์บราเธอร์สได้ยืนยันว่านักแสดงหลักสามคนนี้จะร่วมแสดงในภาพยนตร์ภาคที่หกและเจ็ดด้วย
ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ถูกแบ่งเป็นสองตอน กำกับโดย เดวิด เยตส์และสตีฟ โคลฟ จะกลับมาทำหน้าที่เขียนบทเช่นเดิม และทาง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เซ็นยอมรับแล้ว ซึ่งทำให้ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์จะมีต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2554 รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้เวลานานกว่า 10 ปี
ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 6 ภาคทำรายได้รวมมากกว่า 5,400ล้านเหรียญสหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 974 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดอยู่ในอันดับที่ 11 ภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลของบ็อกซ์ออฟฟิศ
ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์แต่ละภาคได้รับคำวิจารณ์จากแฟนหนังสือมากมาย ในภาคแรกและภาคที่สองซึ่งกำกับโดยคริส โคลัมบัส ตัวภาพยนตร์เองได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเนื้อเรื่องในหนังสือไว้ แต่เนื้อหาของภาพยนตร์ก็เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับเด็ก จึงทำให้เด็กชมภาพยนตร์ภาคแรกและภาคสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในภาคที่สามกำกับโดยอัลฟองโซ กัวรองที่ได้ปรับเปลี่ยนตัวปราสาทฮอกวอตส์และใช้บรรยากาศแบบมืดครึ้ม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องมากกว่าเดิมทำให้ฉากแอ๊คชั่นที่มีในหนังสือลดลงไป ส่วนในภาคที่สี่กำกับโดยไมค์ นิวเวลล์ เน้นหนักในเรื่องฉากแอ๊คชั่นและฉากต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่การทำฉากแอ๊คชั่นมากเกินไป จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทตัวละครในเรื่องลดลงตามไปด้วย และในภาคที่ห้าที่กำกับโดยเดวิด เยตส์ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและตัดเนื้อเรื่องบางตอนออกไป เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือที่มากกว่าเล่มอื่น ๆ ฉากแอ๊คชั่นจึงลดลงทำให้ภาพยนตร์ออกมาในแนวดราม่า แต่ทางทีมงานก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษมากกว่าภาคก่อนๆ ทำให้ภาพยนตร์ภาคที่ห้านี้ทำรายได้ไปถึง 939 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในภาคที่หกเดวิด เยตส์ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์เช่นเคยโดยจะเน้นบทดราม่ามากกว่าฉากแอ๊คชั่นซึ่งมีอยู่น้อยมากและจะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครต่างๆแทน ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ภาคที่หกนี้ก็ได้สร้างสถิติใหม่นั่นก็คือ ภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดในสัปดาห์แรก โดยทำเงินไปทั้งสิ้น 394 ล้านเหรียญสหรัฐทำลายสถิติของไอ้แมงมุม 3ที่เปิดตัวด้วยรายรับทั่วโลก 381 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้รวมไป 934 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายหลังภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 เข้าฉายและทำรายได้รวม 955 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ของพวกแฮร์รี่และจบลงที่การตายของด๊อบบี้ ทำให้โทนหนังของภาคนี้จะเป็นแนวโร้ดมูฟวี่หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเสียเป็นส่วนใหญ่
และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่างๆมากมาย อาทิเช่น ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหก โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำรายได้ปิดที่ 1,328 ล้านเหรียญสหรัฐอยู่ในอันดับที่ 3ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องไททานิกและอวตารเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์Rotten Tomatoesให้คะแนนสูงถึง 96% สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบควมสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้
วิดีโอเกม
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้ถูกดัดแปลงในรูปแบบของวิดีโอเกมหลังจากที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เข้าฉายได้ไม่นานนัก ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทเกมอิเลคโทรนิค อาร์ตที่ผลิตออกมาเป็นเกมรูปแบบผจญภัย ในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับวิดีโอเกมที่สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และต่อมาได้พัฒนาจนสามารถเล่นได้ทั้งเครื่องเอกซ์บอกซ์ 360, วี เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผลิตเกมที่ดำเนินตามเนื้องเรื่องในภาพยนตร์ออกมาแล้วจำนวนหกเกม นอกจากนี้ยังมีเกมควิดดิชเวิลด์คัพซึ่งไม่ได้ดำเนินตามเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่จะเป็นรูปแบบเกมกีฬาแทน ผลิตโดยบริษัทอิเลคโทรนิค อาร์ตเช่นกัน โดยเกมควิดดิชเวิลด์คัพนี้สามารถเล่นได้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์
เกมชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการสร้างภาคต่อขึ้นและมีการพัฒนารูปแบบของเกมไปเรื่อยๆในทุก ๆ ภาค เช่น การทำภาพสมจริง และเสียงประกอบ เป็นต้น นอกจากนั้นตัวละครในเกมบางส่วนยังได้รับเสียงพากย์จากนักแสดงตัวจริงที่แสดงในภาพยนตร์อีกด้วย
ละครเพลง
แฮร์รี่ พอตเตอร์ได้รับการวางแผนให้ได้รับการดัดแปลงในรูปแบบละครเพลงซึ่งจะนำเนื้อหาจากหนังสือนิยายต้นฉบับมาดัดแปลง โดยจะใช้การร้องเพลงเป็นตัวดำเนินเรื่องและคาดว่าจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นในปีต่อๆไป ปัจจุบันการวางแผนให้แฮร์รี่ พอตเตอร์ดัดแปลงในรูปแบบละครเพลงนี้ยังอยู่ในรูปแบบโครงการและยังไม่ได้มีการเริ่มดัดแปลงแต่อย่างใด
อิทธิพลและผลสืบเนื่อง
วงดนตรี
แฮร์รี่ พอตเตอร์มีอิทธิพลต่อสื่อทางด้านวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นชายเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีผลสำรวจว่ามีวงดนตรีร็อกของกลุ่มวัยรุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจหรืออิทธิพลจากแฮร์รี่ พอตเตอร์มากมายหลายร้อยวงด้วยกัน วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือวง "แฮร์รีแอนด์เดอะพอตเตอร์ส" ซึ่งเป็นวงดนตรีอินดี้ร็อกที่นำเสนอเพลงแบบเรียบง่าย พวกเขาได้นำเนื้อหาบางส่วนในหนังสือมาแต่งเป็นบทเพลงของตน
สวนสนุก
หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์ เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ทั้งนี้ได้รับการอนุญาตและยืนยันจาก เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ เรียบร้อยแล้ว
ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด โรว์ลิ่งตอบตกลง ขณะนี้ได้เริ่มทำการก่อสร้างและวางโครงร่างแล้ว มีกำหนดการเปิดสวนสนุกให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553
มักเกิ้ลควิดดิช
ควิดดิช ถือเป็นกีฬายอดฮิตในโลกเวทมนตร์ ที่บรรดาพ่อมดแม่มดจะขึ้นไปขี่บนไม้กวาดและเล่นกับลูกบอลสี่ลูกด้วยกัน แต่มนุษย์ทั่วไปหรือที่โลกพ่อมดเรียกกันว่ามักเกิ้ลก็พยายามเล่นกีฬาประเภทนี้ในวิธีอื่น ๆ โดยใช้จักรยานหรือจักรยานยนต์แทนไม้กวาด นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งพยายามเลียนแบบการเล่นกีฬานี้ในแบบฉบับของมักเกิ้ล มีการทดลองเล่นกีฬาควิดดิชในแบบฉบับของมักเกิ้ลเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 ที่เลียนแบบควิดดิชจากโลกเวทมนตร์ โดยใช้ห่วงติดกับท่อ ใช้ลูกบอลขนาดต่าง ๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล ลูกบาสเกตบอล แทนลูกควัฟเฟิล ใช้ไม้เทนนิสแทนบีตเตอร์ และใช้คนแทนลูกสนิช
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น