ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ม า รู้ จั ก ธ ง ช า ติ กั น เ ถ อ ะ

    ลำดับตอนที่ #5 : เปิดประตู...สู่ ===> ประเทศเกาหลีเหนือ

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.ย. 51




    ภาพ:Flag of North Korea.svg



    ธงชาติเกาหลีเหนือ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นนอกสีน้ำเงิน พื้นในเป็นแถบสีแดงมีขอบสีขาว สัดส่วนแถบธงตามแนวตั้งมีความกว้างเป็น 6:2:17:2:6 ในพื้นสีแดงนั้นมีดาวแดงบนวงกลมพื้นขาว ธงนี้ได้ประกาศใช้เป็นธงชาติเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2491

    ธงนี้มีชื่อเรียกว่า "อินคงกี" (인공기, , ฮันจา: 人共旗, , MC: in'gonggi, , MR: in(-)gonggi ?) แปลว่า "ธงสาธารณรัฐประชาชน" ชื่อนี้ย่อมาจากคำเต็มว่า "โชซอน มินจุจูย อินมิน คงฮวากุก กุกกี" (조선민주주의인민공화국국기, 조선민주주의인민공화국국기, , MC: Chosŏn minjujuŭi inmin konghwaguk kukki, 조선민주주의인민공화국국기 ?) ซึ่งแปลว่า "ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี"

    หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีเหนือคงยังรวมกับเกาหลีใต้เป็นประเทศเกาหลี เกาหลีเหนือจึงใช้ธงแทกึกกีเป็นธงชาติเช่นเดียวกับเกาหลีใต้ ต่อมาเมื่อเกาหลีเหนือประกาศแยกตัวเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนธงชาติใหม่ให้ใกล้เคียงกับธงชาติสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ที่ให้การสนับสนุน โดยเอาสีหลักในธงชาติเกาหลีเดิม คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มาออกแบบเป็นธงชาติใหม่ เน้นให้สีแดงโดดเด่นกว่าสีอื่น และเพิ่มรูปดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ ลงบนวงกลมพื้นสีขาว ซึ่งก็คือธงชาติของเกาหลีเหนือที่ปรากฏในปัจจุบัน

    สีแต่ละสีในธงชาติล้วนมีนัยความหมายต่างๆ แฝงอยู่ โดยสีแดงหมายถึงจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อลัทธิสังคมนิยม แถบสีน้ำเงินหมายถึงอำนาจอธิปไตย สันติภาพ และมิตรภาพของประชาชน สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งอุดมคติของชาติ ดาวแดงหมายถึงความมุ่งหวังถึงความสุขของประชาชน ภายใต้การชี้นำของพรรคแรงงานเกาหลี วงกลมสีขาว (แทกึก) คือสัญลักษณ์ของจักรวาล ตามที่ปรากฏในธงชาติเกาหลีเดิม ซึ่งปัจจุบันคือเกาหลีใต้




    อ้างอิง   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×