ถาษา - ถาษา นิยาย ถาษา : Dek-D.com - Writer

    ถาษา

    พ่อขุนรามคำแหง คิดภาษาไทยขึ้นมาเหรอ???

    ผู้เข้าชมรวม

    214

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    214

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 เม.ย. 54 / 19:37 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ภาษา
       
      หลังจากที่เป็นแฟนคลับเลนก้า และไปโพสต์บ้าๆบอๆไว้ในวอลเค้า เลยได้เจ๊คนนึงแอดเค้ามา (มีหลายคนมาก แต่คนนี้น่าสนใจ) เลยรับแอดไว้ และก็ได้รู้ว่าเป็นคนอินโดนีเชีย
      และก็ได้เห็นอะไรบางอย่าง คือ เจ๊โพสต์ว่าโดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกิด แต่ ไม่ใช่ภาษาอังกิด คงเป็นภาษาอินโด หรืออะไรนี่
       
      เลยสงสัยว่า คอมที่อินโดไม่มีตัวหนังสือภาษาอินโด ประมาณที่ลาวโทรศัพท์ไม่มีตัวหนังสือลาวประมาณนั้นป่าว (มีเพื่อนเป็นลาวเลยรู้อะไรเกี่ยวกับลาวมานิดหน่อย)
      หรือไม่อีกอย่างหนึ่งก็คือ อินโดมีภาษาแต่ไม่มีตัวหนังสือเป็นของตัวเองเลยต้องให้ตัวหนังสือภาษาอังกิด คล้ายๆกับทางยุโรป ที่ไม่ได้พูดภาษาอังกิด แต่ใช้ตัวหนังสือในภาษาอังกิดในการสะกดคำ
      หรือเคสสุดท้าย คือ ให้ภาษาอสลาม ตัวหนังสือแบบอาหรับประมาณในโรงเรียนอิสลามแถวใต้ของไทยใช้กัน คืออิสลามทั่วทั้งโลกจะมีภาษาของเค้าเอง
       
      อืม แต่ถ้าลองไปอ่านอะไรอีกนิดหน่อยคงรู้หมด ว่ามันจะตอบว่าอะไร แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น
       
      ประเด็นอยู่ที่ เพื่อนคนนึงถามขึ้นว่า พ่อขุนรามคำแหง คิดภาษาไทยขึ้นมาเหรอ???
       
      หอยหลอด!! (ด่ามันก่อนทีนึง)
       
      ภาษาไทยมีมานานแล้ว ภาษามีมาก่อน และการสื่อสารด้วยเสียงมีมาก่อนอีก ก่อนที่ลิงไร้หางจะลุกขึ้นยืนหลังตรงกลายมาเป็นป้าลูซี่ซะอีก แม้แต่ในสัตว์ทั่วไปก้มีการสื่อสารกันด้วยเสียง
       
      แต่ในที่นี้เราจะไม่นับการสื่อสารด้วยเสียงว่าเป็นภาษา ภาษาในที่นี้หมายถึงเสียงที่มีการสื่อความหมายได้
       
      คำถามต่อไป (จากเพื่อนคนเดิม) ว่า สมัยพ่อขุนราม พูดกันอย่างที่เราพูดกันอย่างนี้หรือไม่
       
      คำตอบคือไม่ ภาษาทุกภาษามีวิวัฒนาการ พูดให้ใจง่ายขึ้นคือ วิวัฒนาการของภาษามาจากคลังศัพท์และการนิยาม ในสมัยพ่อขุนราม คำพูดการสื่อสาร การสื่อหมายให้ในการออกเสียงของภาษานั้นอาจมีน้อยว่า เช่น ในสมัยก่อนในตลาดมีของร้อยชนิดเราก็จะรู้จัก คำพูดที่ใช้เรียกสิ่งของนั้นร้อยคำ แต่ซุปเปอร์มาเก็ตในปัจจุบันมีของล้านอย่าง เราก็จะรู้จักคำพูดเพิ่มขึ้นเป็นล้านคำ ซึ่งทำทั้งหลายเหล่านี้ก็เป็นการเลียนแบบเสียง ทั้งที่มีที่มา อย่างที่พ่อขุนรามเอาภาษาขอม เขมรมาดัดแปลง เราปัจจุบัน ก็เอาภาษาอังกิดบ้าง เกาหลีบ้างอะไรบ้างมาแปลงๆกัน หรือแม้แต่การเลียนเสียงตามธรรมชาติ เช่นเราตั้งชื่อนกกาเหว่าเพราะมันร้อง หว่าวๆ เป็นต้น (แต่สงสัยว่า ทำไมแมวไทย ไก่ไทย และแมวฝรั่ง ไก่ฝรั่งมันร้องไม่เหมือนกัน หรือว่าคนต่างเชื้อชาติกันเสียงที่เข้าหูมันต่างกันด้วย) สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคำมาใหม่ๆขึ้นมาเรื่อยๆ คำศัพท์ เสียง และภาษาจึงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
       
      คุณเพื่อนดูงงๆ ถามซ้ำอีกครั้งว่า สรุป พ่อขุนรามคำแหงคิดภาษาไทยหรือไม่??
       
      (หันไปมองหน้าเพื่อนและทำตาชั่วร้าย)  ลองไปเปิดสารานุกรม หรืออะไรก็ได้ที่มันเป็นสาระ ไม่มีบรรทัดไหนบอกว่าพ่อขุนรามคิดภาษาไทย ภาษาไทยมันมีอยู่แล้วตามวิวัฒนาการของมัน
      แต่พ่อขุนราม เป็นคนคิด "ตัวหนังสือไทย"  
       
      แล้วตัวหนังสือมันต่างจากภาษายังไง?
      ภาษาคือการสื่อสารที่สื่อความหมายได้ อาจจะมาจากเสียง หรือท่าทาง หรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ เฟสบุคก็เป็นภาษาอย่างนึง
      แต่ตัวหนังสือ ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างนึง ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้แทนการออกเสียงที่จะสื่อเป็นภาษา เอาให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เราออกเสียงว่า กอ เราจะทำยังไงที่จะทำให้เสียงกอของเรานั้นลงไปอยู่ในสมุด เขียนในกระดาษ ให้คนที่ไม่ได้ยินเสียงเรา สามารถเข้าใจว่าเราออกเสียง กอ และรับรู้ว่าเราต้องการสื่อความหมายอะไร สิ่งที่พ่อขุนรามทำก็คือ ขีดเส้นโค้งเป็บระฆังคว่ำมีหัวนิดนึง และบอกว่าเห็นสัญลักษณ์แบบนี้เมื่อไหร่ก็ให้อ่านออกเสียงว่า กอ
       
      ตัวหนังสือโบราณของกรีก โรมัน ไทย ออตโตมัน หรือปัจจุบันก็มีที่มาจาก การบัญญัติขึ้นแบบนี้
      ปละผลจากการบัญญัตินี้ทำให้เกิดองค์ประกอบที่น่าทึ่งของตัวหนังสือขึ้นมาอย่างนึง คือ communication หรือการสื่อสาร ต้องมีทั้งผู้สื่อและผู้รับขึ้นมา(ต้องเข้าใจตรงกันด้วยถึงจะประสบความสำเร็จ)
      และก็จะเกิดหลักภาษาอะไรต่างๆอีกมากมาย ที่เราพยายามเรียนกันตอนมัธยม (แต่ตอนนี้ลืมไปหมดแล้ว)
       
      ยิ่งพูดก็ยิ่งยาว แค่ความเป็นตัวอักษรซักตัวก็มีเรื่องราวอะไรมากมาย (แถมสนุกด้วย โดยเฉพาะนิยายกรีกโบราณ จีน และอินเดีย)
       
      แต่ในที่นี้ จะพูดแค่เรื่องของภาษา แต่ขอเกริ่นไว้ถึงความเป็นภาษาอื่นๆที่ไม่ได้หมายคำพูด หรือตัวหนังสือบ้าง ได้แก่ ท่าทาง น้ำเสียง แววตา หรือแม้แต่ระดับเสียง และอื่นๆ
      ซึ่งมีความซับซ้อนในการแสดงออก การสื่อความหมายและความเข้าใจ  แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นความน่าสนใจ เป็นเสน่ห์ และมีพลังมากกว่าคำพูดที่พูดออกมากหรือตัวหนังสือที่เขียนออกไปซะอีก
      ซึ่งเราจะมาพูโกนในตอนต่อไป
       
      คำเตือน  บทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ไม่มีการอ้างอิงใดๆ ทุกอย่างที่เขียนมาจากคิดเอาเองล้วนๆ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×