natural selection กับการเบี่ยงเบนทางเพศ - natural selection กับการเบี่ยงเบนทางเพศ นิยาย natural selection กับการเบี่ยงเบนทางเพศ : Dek-D.com - Writer

    natural selection กับการเบี่ยงเบนทางเพศ

    ผู้เข้าชมรวม

    398

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    398

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ธ.ค. 53 / 14:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      natural selection กับการเบี่ยงเบนทางเพศ

       

      ก่อนหน้านี้ กิ่งได้เขียนบทความที่อ้างอิงจากทฤษฏี natural selection ว่ายังมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่หรือไม่ อย่างไรบ้าง วิธีการและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตใดบ้างของคน ที่ยังเกี่ยวข้องและสืบเนื่อง กับการคัดเลือกตามธรรมชาตินี้อยู่

       

      ส่วนนึงของบทความฉบับที่แล้ว กิ่งชี้ให้เห็นถึง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมนุษย์อย่างรวดเร็ว และมีการตายที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณอาหาร ที่อยู่อาศัยและปัจจัยอื่นๆ ที่จะมีผลต่อความอยู่รอดละคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ หรือเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งแรงขับเคลื่อนหนึ่งของการคัดเลือกตามธรรมชาติที่กิ่งได้เสนอไว้ คือ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสืบพันธุ์ หรือ พฤติกรรมทางเพศนั่นเอง

       

      ปรากาฏการณ์นี้ ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ หรือเป็นอะไรที่เป็นสมมุติฐานลอยๆที่กิ่งพูดขึ้นเอง แต่ซึ่งมันเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปลา และสัตว์บางชนิด ที่ตัวเมียสามารถเปลี่ยนเพศมาเป็นตัวผู้ได้ เมื่อยามที่ตัวผู้ขาดแคลน หรือการเกิดเพศของลูกจระเข้ ที่จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิขณะฟักเป็นตัวเป็นหลัก หรือแม้แต่สัตว์บางชนิดเช่น ไส้เดือน ก็จะมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการสืบพันธุ์  ซึ่งลักษณะของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ มีผลทำให้ประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการดำรงเผ่าพันธุ์

       

      ซึ่งการเพิ่มโอกาส และจำนวนประชากรได้มากเท่าไหร่ ก็ถือเป็นการประสบความสำเร็จทางวิวัฒนาการขั้นหนึ่ง ขั้นที่สองคือ การทำอย่างไรให้ตัวอ่อน ที่เกิดมาเติบโตอย่างสมบูณ์จนสามารถเพิ่งประชากรได้ต่อไป

       

      ปัจจัยที่สองคือ ความอยู่รอด ในสัตว์ทั่วๆไป หมายถึงอาหารและแหล่งที่อยู่ กลไลเหล่านี้จะมีผลอีกขั้น ในการควบคุมจำนวนประชากรที่จะเกิดมา จะเห็นได้ว่า สัตว์ที่เกิดมาแล้วมีความปลอดภัยในชีวิตต่ำ ไม่มีการเลี้ยงดูปกป้องจากพ่อแม่ จะมีการเกิดในอัตราที่สูง เช่นปลาที่ออกลูกครั้งล่ะเป็นแสน แต่จะมีเพียงไม่กี่ตัว ที่จะรอดจนสามารถสืบพันธุ์ได้ต่อไป ต่างกับลูกนกที่จะได้รับการดูแลจากพ่อแม่เป็นอย่างดีก็จะมีการเกิดที่ต่ำกว่า

       

      จากปรากฏการณ์มากมายที่เกิดขึ้นทั้งทางพันธุกรรม สรีระและพฤติกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ที่จะเป็นตัวควบคุมจำนวนประชากรให้พอดีกับอาหารและที่อยู่อาศัย เพื่อให้สามารถดำรงเผ่าพันธ์ดำรงอยู่ได้ต่อไป

       

      กลไกในการควบคุมจำนวนประชากรมนุษย์ที่เทคโนโลยีมีผลให้การเกิดสูง การตายต่ำ และกำลังจะขาดแคลนอาหารลงทุกวันๆนั้น natural selection อาจเป็นกลไกหลักที่คอยขับเคลื่อนพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศ เพื่อให้ประชากรมนุษย์เข้าสู่ภาวะสมดุลได้อีกครั้ง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×