ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้

    ลำดับตอนที่ #6 : เอกวาดอร์

    • อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 50





     
    เอกวาดอร์
    Republic of Ecuador


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง อยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร พรมแดนทางตอนเหนือจรดโคลัมเบีย ทางตะวันออกและทางใต้ติดกับประเทศเปรู และมีชายฝั่งทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก

    ภูมิอากาศ บริเวณชายฝั่งมีภูมิอากาศแบบเมืองร้อน บริเวณส่วนในของประเทศมีอากาศเย็นตามความสูงของภูมิประเทศ

    พื้นที่ 272,245ตารางกิโลเมตร

    ประชากร (ก.ค. 2544) 13.17ล้านคน

    อัตราการเจริญเติบโตของประชากร ร้อยละ 2 (2544)

    เมืองหลวง กรุงกิโต (Quito)

    ภาษา สเปนเป็นภาษาราชการและภาษาของชาวอินเดียนพื้นเมือง เช่น Quechua

    ศาสนา ร้อยละ 95 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก

    เชื้อชาติ
    เมสติโซ (เลือดผสมระหว่างยุโรปกับชาวอินเดียนพื้นเมือง) ร้อยละ 65
    ชาวอินเดียนพื้นเมือง ร้อยละ 25
    คอเคเชียนและอื่น ๆ ร้อยละ 7
    แอฟริกัน ร้อยละ 3

    วันชาติ 24 พฤษภาคม (Independence Day)

    อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 90.1 (2544)

    อาชีพ (2538)
    เกษตรกรรมร้อยละ 42
    พาณิชยกรรม ร้อยละ 20
    การบริการร้อยละ 19
    หัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 11
    อื่น ๆ ร้อยละ 8

    หน่วยเงินตรา ซูเคร (Surcres)
    อัตราแลกเปลี่ยน :1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 4,261 ซูเคร (4 พฤศจิกายน 2540) และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25,000 ซูเคร ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างประกาศใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แทนเงินซูเคร (dollarization)

    สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ FAO G77 IBRD ILO IMF INTELSAT LAIA NAM OAS UN UNCTAD UNESCO UNIDO WHO WIPO WTO

    การเมืองการปกครอง
    รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ

    รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541

    ประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 พลเอก Carlos Mendoza รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำการยึดอำนาจและบังคับให้ประธานาธิบดี Jamil Maherad ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้น คณะผู้ก่อการรัฐประหารได้แต่งตั้งนาย Gustavo Noboa รองประธานาธิบดี ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2543 รัฐสภาเอกวาดอร์ได้มีมติเห็นชอบการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนาย Noboa โดยให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2543 ไปจนครบวาระที่เหลือของอดีตประธานาธิบดี Mahuad คือจนถึงปี 2546 โดยพิธีรับตำแหน่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2543

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Heinz Moeller

    สภานิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว (Unicameral) มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 121 ที่นั่ง (20 ที่นั่งจากระดับชาติ และ 101 ที่นั่งจากระดับจังหวัด จำนวน 22 จังหวัด)

    ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร (และเป็นประมุขรัฐ) และคณะมีรัฐมนตรีอีก 14 คน

    ฝ่ายตุลาการ มีระบบศาลยุติธรรมแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
    การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2541
    การเลือกตั้งครั้งต่อไป เลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2545

    เศรษฐกิจการค้า
    อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2543) ร้อยละ 0.8

    ผลิตภัณฑ์มวลชนรวมภายในประเทศ (GDP) (2547) 29.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

    รายได้หลัก เศรษฐกิจส่วนใหญ่พึ่งพิงกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าโภคภัณฑ์และอาหารทะเล อุตสาหกรรมน้ำมัน มีมูลค่า ร้อยละ 10 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 37 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ของรัฐบาล (ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 12 ของ GDP)

    รายได้ประชาชาติต่อหัว (2543) 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ

    อัตราเงินเฟ้อ (2547) 2%

    อัตราการว่างงาน (2543) ร้อยละ 13

    ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน ปลา ไม้

    อุตสาหกรรม น้ำมัน การแปรรูปอาหาร สิ่งทอ งานโลหะ กระดาษ ไม้ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ประมง

    เกษตรกรรม กล้วย กาแฟ โกโก้ ปลา กุ้ง ข้าว มันฝรั่ง มันสำปะหลัง อ้อย ปศุสัตว์

    สินค้าเข้า (2543) มูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์

    สินค้าออก (2543) มูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ น้ำมัน กล้วย กุ้ง โกโก้ กาแฟ

    ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ประเทศต่าง ๆ ในลาตินอเมริกาและแคริบเบียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น

    สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) สมัครเข้าเป็นสมาชิกในปี 2538

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเอกวาดอร์
    ไทยกับสาธารณรัฐเอกวาดอร์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2523 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 อนุมัติปรับเปลี่ยนให้สาธาณรัฐเอกวาดอร์อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลีแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และมีนาย Luis A. Garcia Jara เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยประจำเอกวาดอร์ ในส่วนของเอกวาดอร์ รัฐบาลเอกวาดอร์ได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ประจำสาธารณรัฐเกาหลีดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง และมีนายยง อารีเจริญเลิศ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเอกวาดอร์ประจำประเทศไทย

    สถิติการค้าระหว่างไทยกับเอกวาดอร์ ดูเอกสารแนบ

    สินค้าที่สำคัญ ๆ ที่ไทยนำเข้า น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ และเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

    สินค้าที่สำคัญ ๆ ที่ไทยส่งออก ผลิตภัณฑ์ยาง ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ รองเท้าและชิ้นส่วนเม็ดพลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ และของเด็กเล่น เป็นต้น

    วันที่ 22 มิถุนายน 2548

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×