ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : สาธารณรัฐโคลัมเบีย
|
|
Republic of Colombia |
ข้อมูลทั่วไป |
ขนาดพื้นที่ 1,138,910 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตอนกลางเป็นดอย มีเทือกเขาสูง คือ แอนดีส และทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้าง
ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้นในบริเวณแถบชายฝั่งและที่ราบทางด้านตะวันออก บริเวณดอยจะมีอากาศเย็น
ทรัพยากรธรรมชาติ ปิโตรเลียม (มีปริมาณสำรอง ร้อยละ 3.5 ของปริมาณน้ำมันโลก) ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน (มีปริมาณสำรองมากที่สุดในโลก) (El Cerrejon เป็นเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา) เหล็กกล้า นิกเกิล ทองคำ ทองแดง มรกต
ประชากร 42 ล้านคน
เมืองหลวง กรุงโบโกตา (Bogota) ประชากรประมาณ 7 ล้านคน
ภาษา สเปน (ภาษาราชการ)
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 90
เชื้อชาติ mestizo (ผิวขาวผสมอินเดียนแดง 58%) ชาวผิวขาว (20%) mulatto (ผิวดำผสมผิวขาว14%) ผิวดำ (4%) ผิวดำผสมอินเดียนแดง (3%) และอินเดียนแดง (1%)
อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 92.5 (ก.ค. 2003)
หน่วยเงินตรา โคลอมเบียเปโซ (Colombian peso) (Col$)
วันประกาศอิสรภาพ 20 กรกฎาคม ค.ศ 1810 จากสเปน
วันชาติ Independence Day วันที่ 20 กรกฎาคม
วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 5 กรกฎาคม ค.ศ 1991
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ UN, ANDEAN PACT, GATT, LAIA, กลุ่ม CONTADORA, SELA, G77, UNHCR, UNESCO, UNPROFOR, UNCTAD, ITU, IMF, ILO, etc.,
เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง
การเมืองการปกครอง |
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ
ประมุขของประเทศ นาย Alvaro Uribe Velez ประธานาธิบดีโคลอมเบีย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 7 สิงหาคม 2545
หัวหน้ารัฐบาล นาย Alvaro Uribe Velez
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาง Calorina Barco Isakson
การแบ่งเขตการปกครอง 32 เขต
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 26 พฤษภาคม 2002 การเลือกตั้งครั้งต่อไป พฤษภาคม 2006
ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 102 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 163 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 10 มีนาคม 2002
การเลือกตั้งครั้งต่อไป มีนาคม 2006
ระบบกฎหมาย ใช้ระบบกฎหมายสเปน ยอมรับคำพิพากษาศาลยุติธรรมโลก (International Court of justice)
สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป อายุ 18 ปี
ฝ่ายตุลาการ แบ่งออกเป็น
1) ศาลสถิตยุติธรรมสูงสุด (Supreme Court of Justice) เป็นศาลสูงสุดของกฎหมายอาญา ผู้พิพากษาได้รับการเลือกสรรจากคณะตุลาการสูง (Higher Council of Justice) มีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี
2) ศาลแห่งรัฐ (Council of State) เป็นศาลสูงสุดของกฎหมาย Administrative law ผู้พิพากษาได้รับการเลือกสรรจากคณะตุลาการสูง (Higher Council of Justice) มีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี
3) ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court) มีหน้าที่รักษาความเป็นเอกภาพและอำนาจสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ควบคุมกฎหมายต่างๆ
พรรคการเมืองสำคัญLiberal Party (LP) พรรครัฐบาลที่ครองเสียงส่วนใหญ่
Social Conservative Party (PSC)
กลุ่มพลังทางการเมือง National Liberation Army (ELN)
Revolutionary Armed Forces of Colombia (FARC)
เศรษฐกิจการค้า |
อัตราการเจริญเติบโต ร้อยละ 4.0
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 5.5
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 94.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 6,600 ดอลลาร์สหรัฐ
โครงสร้าง GDP (2002)
ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 13
ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30
ภาคบริการ ร้อยละ 57
เกษตรกรรม กาแฟ ดอกไม้สด กล้วย ข้าว ข้าวโพด อ้อย กล้วย ยาสูบ เมล็ดโกโก้ ผักผลิตภัณฑ์จากป่า กุ้งฝอย (shrimp)
อุตสาหกรรม สิ่งทอ การแปรรูปอาหาร น้ำมัน เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์รองเท้า เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ ทองคำ ถ่านหิน มรกต
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 12.3
แรงงาน (2001) 18.3 ล้านคน
แรงงานตามสาขาอาชีพ บริการ (46%) เกษตรกรรม (30%) อุตสาหกรรม (24%)
หนี้ต่างประเทศ 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
มูลค่า (2002) 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้า ปิโตรเลียม กาแฟ ถ่านหิน ทองคำ กล้วย ดอกไม้สด
ประเทศคู่ค้า (2002) สหรัฐอเมริกา (43%) ประชาคมแอนเดียน (โคลัมเบีย โบลิเวีย
เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา และเปรู) (26%) สหภาพยุโรป (14%)
การนำเข้า
มูลค่า (2002) 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้า อุปกรณ์อุตสาหกรรม อุปกรณ์การขนส่ง สินค้าบริโภค
เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ เชื้อเพลิง ไฟฟ้า
ประเทศคู่ค้า (2002) สหรัฐอเมริกา (35%) สหภาพยุโรป (16%) ประชาคมแอนเดียน (15%) และญี่ปุ่น (5%)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโคลัมเบีย |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 20 เมษายน 2522 (ค.ศ.1979)
สถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำไทย โคลอมเบียเปิดสถานทูตในไทยเมื่อปี 2535 โดยแต่งตั้ง
นาย Luis Toro อดีตกงสุลใหญ่โคลอมเบียประจำนครนิวยอร์ก เป็นเอกอัครราชทูตโคลอมเบีย ซึ่งมีถิ่นพำนักในไทยเป็นคนแรก และได้เข้าถวายสาส์นตราตั้งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2535 และต่อมาได้ปิด
สถานเอกอัครราชทูตฯ ในกรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2542 ด้วยเหตุผลทางด้านวิกฤติเศรษฐกิจและได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูตถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทย ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตคนใหม่ ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย มีอาณาเขตครอบคลุมดูแลโคลอมเบีย และแต่งตั้ง Dr. Cecilia Fernandez de Pallini ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ กรุงโบโกตา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 และนับเป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศโคลอมเบียคนแรก
เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย H.E.Mr. Suphat Chitranukroh
(ดำรงตำแหน่งออท.ประจำโคลอมเบียอีกตำแหน่งหนึ่ง)
ฯพณฯ นายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห์
Royal Thai Embassy
SEN Av. das Nacoes Lote 10
Brasilia-DF, - CEP: 70433-900 , Brazil
โทร. (5521) 224-6089, 224-6849
โทรสาร (5521) 321-2994, 223-7502
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงโบโกตา H.E.Dr. Cecilia Fernandez de Pallini
(Honorary Consul)
Royal Thai Consulate
Calle 100, NO 17-66, of.102
Santafe de Bogota, Colombia
โทร. (571) 257-6004
โทรสาร (571) 257-5137
สถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบีย
ที่มีเขตอาณาครอบคลุมไทย สอท. โคลอมเบีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
สินค้าส่งออกของไทย 10 รายการแรก
1) ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2) ผลิตภัณฑ์ยาง
3) ข้าว
4) ลิฟต์ บันไดเลื่อนและเครื่องจักรสำหรับลำเลียง ขนย้าย
5) ยางพารา
6) ของเล่น
7) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์
8) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์
9) ผ้าผืน
10) เคมีภัณฑ์
สินค้านำเข้าของไทย 10 รายการแรก
1) ยากำจัดศัตรูพืช
2) หนังดิบและหนังฟอก
3) เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
4) เคมีภัณฑ์
5) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
6) เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
7) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การวัด การตรวจสอบ การถ่ายรูป
8) ผ้าผืน
9) ผลิตภัณฑ์โลหะ
10) แผงวงจรไฟฟ้า
วันที่ 22 มิถุนายน 2548
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น